พระอานนท์เถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร
    พระอานนท์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุทโกโธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นอนุชาของพระบรมศาสดา ( พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรทธะและอุบาลี ( ศึกษาประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากพระปุณณมันตานี ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    ในช่วงโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดรับปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติเช่น พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะเป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพังขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่นครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระกราบทูลว่า" ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า"" อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า"พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ทำท่าว่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    " นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด"พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามทางที่ตนต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกแล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ จึงตรัสว่า" อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้"

    พระพุทธองค์ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพังหลายครั้งจึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัตพระองค์เป็นประจำ ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเห็นว่าเป็นผู้มีสติปัญญา ขยันอดทน รอบคอบ และเป็นพระฐาติใกล้ชิด ย่อมจะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดีพระเถระทูลขอพร ๘ ประการแต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น

    ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ ดังนี้  ๑ ขออย่าประทานจีวรอันปราณีตแก่ข้าพระองค์๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันปราณีตแก่ข้าพระองค์ ๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์ ๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้ ๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ในขณะที่มาถึงแล้ว ๗ ถ้าข้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้งพระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของพระ ๘ ประการพระบรมศาดา ได้ตรัสคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพระ ๙ ประการว่า

    " ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขอพรอย่างนั้น ?"

    " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลยและข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕ - ๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่า พระอานนท์จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์

    อนึ่ง โดยเฉพาะ ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบเขาก็จะตำหนิได้ว่า พระอานนท์ ติดตามพระศาสดาไปทุกทนทุกแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพรทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า"พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั่งแต่นั้นมา ท่านกพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานยอมสละชีวิตแทนพระพุทธองค์

    พระเถระ ได้ปฏิบัติหน้าที่อุปฐากพระบรมศาสดาด้วยความอุตสาหะมิได้บกพร่อง อีกทั้งมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตของตนก็ยอมสละแทนพระพุทธองค์ได้ เช่น ในคราวที่พระเทวทัตยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้าง นาฬาคีรี ด้วยหวังจะให้ทำอันตรายพระพุทธองค์ ขณะเสด็จออกบิณฑบาตรในกรุงราชคฤห์ ในขณะที่ช้างคีรีวิ่งตรงเข้าหาพระพุทธองค์นั้น พระอานนท์เถระผู้เปี่ยมล้นด้วยความกตัญญูและความจงรักภักดี ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ได้ออกไปยืนขวางหน้าช้างไว้ หวังจะให้ทำอันตรายตนแทน แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาไปยังช้างนาฬาคีรี ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาบารมีทำใช้ช้างสร่างเมาหมดพยศลดความดุร้ายยอมหมอบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วลุกขึ้นเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการอันสงบ


อดีตชาติปรารถนาเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    พระอานนท์เถระ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นเจ้าชายสุมนะ พระอนุชาต่างพระมารดาของพระพุทธเจ้าปทุมมุตตระนั้นเอง เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุนันทะกับพระนางสุชาดา

    ต่อมาเมื่อพระเชษฐาเสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหงสวดีประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ( ๑,๙๒๐ กิโลเมตร ) ครามสามารถครั้งนั้นทำให้พระเจ้าสุนันทะพระราชบิดา ทรงโปรดปรานมากถึงขนาดรับสั่งให้เข้าเฝ้าโดยด่วน

    พระเจ้าสุนันทะพระราชทานพรให้พระราชโอรสทรงเลือกเอารางวัล ซึ่งพระองค์จะพระราชทานให้เป็นการตอบแทนความสามารถ เจ้าชายสุมนะทรงคิดเตรียมไว้พร้อมแล้วว่าจะทรงเลือกสิ่งใด ดังนั้นเมื่อพระราชบิดาทรงเปิดโอกาสให้เลือกจึงกราบทูลว่า

    " ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันไม่ปรารถนารางวัลอย่างอื่นนอกจากจะทูลขอโอกาสอุปัฏฐากพระเจ้าพี่กับพระสาวกด้วยปัจจัยสี่สัก ๓ เดือน"

    พระเจ้าสุนันทะนิ่งอึ้งด้วยทรงนึกไม่นึกว่าพระราชโอรสจะทูลอย่างนี้ เนื้องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงถวายอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาตลอด พระองค์ไม่เต็มพระทัยที่จะให้ใครทูลขอโอกาสอย่างพระองค์ แต่ครั้งนี้ทรงอ้ำอึ้ง ครั้นจะตรัสปฏิเสธก็เกรงจะทำให้พระราชโอรส เสียพระทัย จึงทรงบ่ายเบี่ยงให้พระราชโอรสไปทูลขอโอกาสจากพระพุทธเจ้าเอง

    เจ้าชายสุมนะจึงกราบทูลลาไปเฝ้าพระเชษฐา ขณะนั้นพระพุทธเจ้าปทุตตระประทับอยู่ในพระคันธกุฎี เจ้าชายสุมนะจึงไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าทันที จนเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากพระพุทธอุปัฏฐากชื่อ " พระสุมนะ " จึงสามารถเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้

    พระสุมนะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก ทำหน้าที่ถวายการรับใช้พระพุทธเจ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทำนองเป็นต้นห้องหรือเลขานุการ ใครก็ตามที่ต้องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ในพระคันธกุฎีหรือในที่หลีกเร้นต้องแจ้งให้พระสุมนะทราบก่อนเพื่อท่านจะได้พิจารณาความเหมาะสมแล้วนำเข้ากราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ ส่วนการจะได้เข้าเฝ้าหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่พระพุทธวินิจฉัย

    ในกรณีของเจ้าชายสุมนะพระอนุชาก็เช่นกัน พระสุมนะได้รับเรื่องนำเข้าไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตอบรับที่จะเสด็จออกมาพบ

    เจ้าชายสุมนะทรงดีพระทัยมากที่ได้เข้าเฝ้าพระเชษฐา ในขณะเดียวกันก็ทรงเลื่อมใสในตัวพระสุมนะที่เป็นพระใกล้ชิดพระพุทธเจ้า และทรงเลื่อมใสในวิธีการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของท่าน กล่าวคือพระสุมนะได้แสดงฤทธิ์ดำดินเข้าไปถวายในพระคันธกุฎี และเวลากลับออกมาก็แสดงฤทธิ์เช่นเดียวกันดังนั้น เมื่อทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่เมืองชายแดนของตนตลอด ๓ เดือนได้แล้วจึงทูลถามวิธีที่จะได้เป็นพระพุทธอุปัฏฐากอย่างพระสุมนะ ซึ่งทรงได้รับคำตอบว่าต้องให้ทานและรักษาศีลแล้วก็ทำอย่างอื่นสนับสนุนจึงจะได้สมปรารถนา

    เจ้าชายสุมนะ หลังจากเสด็จกลับไปเมืองชายแดนของพระองค์แล้วก็รับสั่งให้เตรียมการต้อนรับเสด็จพระพุทธเจ้าและพระสาวก พระองค์ทรงซื้ออุทยานของกฏมพีโสภะมาสร้างเป็นวัดไว้ถวายในบริเวรวัดนั้นทรงรับสั่งให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระพุทธเจ้าและสร้างกุฎี โรงปะรำ พร้อมทั้งที่พักหลางคืนและที่พักกลางวันสำหรับพระสาวก ครั้นงานก่อสรัางเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงส่งสารไปถวายพระราชบิดาให้ทูลนิมนต์พระเชษฐาเสด็จมาได้

    ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงพร้อมทั้งพระสาวกแล้ว เจ้าชายสุมนะทรงถวายการต้อนรับอย่างสมเกียรติ จากนั้นจึงทูลถวายวัด เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับและเสด็จเข้าไปประทับพร้อมพระสาวกแล้ว เจ้าชายสมุนะก็ถวายการอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔

    วันเข้าพรรษา หลังจากทรงชักชวนพระชายาพระโอรส พระธิดาและบรรดาอำมาตย์ทำบุญแล้ว เจ้าชายสุมนะก็ได้ตรัสว่า

    " ท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชา ตลอด ๓ เดือนนี้ ฉันจะสละสมบัติทุกสิ่งแล้วถือศีล ๑๐ มีเพียงผ้านุ่งผ้าห่มติดตัว ขอท่านทั้งหลายช่วยกันถวายการอุปัฏฐากแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกอย่างที่ฉันทำนี้ด้วย"

    เมื่อทรงทอบหมายภารกิจแด่ผู้ใกล้ชิดแล้ว เจ้าชายสุมนะก็ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงมานุ่งห่มอย่างธรรมดาแล้วสมาทานรักษาศีล ๑๐ และประทับอยู่ในวัดนั้นเอง พระองค์ทรงใกล้ชิดกับพระสมนะทรงเห็นวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ของท่านที่ทำถวายพระพุทธเจ้าแล้วก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใส และเพิ่มศรัทธาปรารถนาที่จะได้เป็นเช่นพระสุมนะนั้นบ้าง

    เจ้าชายสุมนะทรงเก็บความปรารถนาไว้ในพระทัยตลอด ๓ เดือน ออกพรรษาแล้วจึงทรงแสดงความปรารถนาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันเสร็จแล้ว พระองค์ได้ถวายผ้าไตรอีกรุปละ ๑ ชุด จากนั้นจึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาที่มีอยู่ และได้รับพุทธพยากรณ์คล้ายกับที่พระมหาสาวกรูปอื่น ๆ ได้รับ คือจักได้ออกบวชเป็นสาวกพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้เป็นพระอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านพุทธอุปัฏฐาก

    เจ้าชายสุมนะได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ดังนี้แล้วก็เกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านเกิดเป็นคนสามัญได้ถวายผ้ารองบาตรแด่พระเถระรูปหนึ่งด้วยจิตเลื่อมใส จากชาตินั้นบุญส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์จนมาถึงพุทธันดรหนึ่ง

    ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้นท่านเกิดเป็นพระเจ้าพาราณสี ได้ทำบุญสำคัญ คือ สร้างศาลา ๘ หลัง ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ รูป พร้อมทั้งถวายการอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ อย่างดีจนตลอดชีวิตจาก ชาตินั้นบุญส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต จนมาถึงพุทธปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุปัน  ได้รับยกย่องหลายตำแหน่ง

    พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าแลพลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพานพระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก

    พระองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอเข้ามาแล้ว ตรัสเตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากาณ์ว่า" อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา"   เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๓ เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยุ่นานถึง ๔๒ ปี และท่านได้บรรลุอรหัตผลเมื่ออายุได้ ๘๐ ปี  การที่ท่านได้บรรลุอรหัตผลช้ากว่าพระชาวกบิลพัสดุ์รูปอื่น ๆ โดยเฉพาะพระอดีตเจ้าชายศากยะที่ออกบวชพร้อมกันนั้นเป็นเพราะว่าท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรมมเนื่องจากต้องขวนขวายอยู่กับการอุปฏฐากพระพุทธเจ้า

    ท่านได้บรรลุอรหัตผลก่อนมีการทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑ ) เพียงไม่กี่ชั่วโมง พระกัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ ซึ่งทั้ง ๔๙๙ องค์ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้วิชา ๓ บรรลุอภิญญา ๖ แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ และเชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรม มีพระอานนท์รูปเดียวที่เป็นพระอริยะชั้นโสดาบัน ซึ่งยังเข้าประชุมด้วยไม่ได้ เพราะคุณสมบัติยังไม่ครบถ้อน แต่ในการทำปฐมสังคายนานั้นจะขาดท่านก็ไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้เดียวที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกกัณฑ์จากพระพุทธเจ้า ดังนั้นคณะสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปเถระเป็นประธาน จึงมีมติเลือกให้ท่านเป็น ๑ ในพระจำนวน ๕๐๐ รูป ที่จะเข้าร่วมทำปฐมสังตายนา แต่มีเงื่อนไขว่าท่านต้องเร่งบำเพ็ญเพียรให้ได้บรรลุอรหัตผลก่อนหลังจากได้รับทราบมติของคณะสงฆ์แล้ว

    พระอานนท์ก็เร่งบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ด้วยการเจริญกายคตาสติ คือ ตั้งสติกำหนดอาการ ๓๒ ในร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวอิริยาบทขณะเดินจงกลม แต่แล้วก็ไม่ได้บรรลุอรหัตผลหรือแม้แต่มรรคผลขั้นต่อไปใด ๆ เลย ทั้งนี้เป็นเพราะท่านปฏิบัติเคร่งเครียดเกินไปจนจิตฟุ้งซ่าน คืนจะบรรลุอรหัตผลนั้น ท่านคิดได้ว่าปฏิบัติไม่ถูกจึงคิดบำเพ็ญเพียรแต่พอเหมาะ จากนั้นจึงลงจากที่จงกลมเข้าที่พัก ท่านนั่งอยู่บนเตียงสักครู่หนึ่ง จึงเอนกายลงบนเตียงด้วยตั้งใจว่า จักนอนพักผ่อนสักครู่หนึ่ง

    ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ระหว่างนี้เองจิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะคลายความยึดมั่นลงแล้ว ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในระหว่างอิริยาบททั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบทอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบทยืน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆหลังจากท่านบรรลุอรหัตผลได้ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ ๔๙๙ องค์ เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ที่ถ่ำสัตตลบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์แคว้นมคธนั้น ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏเพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้วด้วยการดำดินแล้วไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่ง จากนั้นการปฐุมสังคายนาได้เริ่มขึ้นได้ตอบปัญหาของพราหมณ์โมคคัลลน

    เป็นที่แน่นอนว่าท่านได้มีบทบาทอย่างมากมายในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผร่พระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านประมวลกล่าวไว้ดังนี้ ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์เถระได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต ทั้งนี้มิใช่เพียงเพราะได้ศึกษาธรรมมากเท่านั้น แต่ยังหมายถึงว่าท่านทรงจำธรรมไว้มากด้วย ครั้งหนึ่งโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้เคยเข้าไปหาท่านซึ่งเป็นช่วงระยะหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วและได้ถามว่าโคปกโมคคัลลนพราหมณ์

    " ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข่าวว่าท่านเป็นพหูสูตทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้หมด ท่านบอกได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ท่านจำนวนเท่าไร

    "พระอานนท์เถระตอบว่า " พราหมณ์ อาตมาศึกษาธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ๘๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่เหลืออีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ศึกษาจากพระสาวกผู้ใหญ่ อาทิ พระธรรมบดีสารีบุตร....


ได้ช่วยให้พระน้านางได้บวช

    การขวนขวายเพื่อสิทธิสัตรี แต่ก่อนนั้น คือ ในช่วงพรรษาแรก ๆ นับแต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ยังไม่มีสัตรีมาบวชเป็นภิกษุณี จนต่อมาหลังจากตรัสรู้ได้ ๕ พรรษา พระนางมหาปชาบดีโคตมีพระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน ๕๐๐ นางมาทูลขอบวช ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ซึ่งมีพระอานนท์เถระเป็นพุทธอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระอานนท์เถระได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือให้พระน้านางและเจ้าหญิงศากยะบวชได้สำเร็จพระไตรปิฏกได้กล่าวบันทึกคำโต้ตอบระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์เถระไว้ดังนี้

    พระพุทธเจ้า " อย่าเลยอานนท์ เธออย่ายินดีพอใจกับการขวนขวายให้สัตรีได้บวชในธรรมวินัยนี้เลย"

    พระอานนท์เถระ " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สัตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุโสดสปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผลได้หรือไม่"

    พระพุทธเจ้า " สามารถ อานนท์"

    พระอานนท์เถระ " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสัตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลได้ ไฉนพระองค์จึงไม่ทรงอนุญาติให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้บวชเล่า พระนางทรงเลี้ยงดูพระองค์มา ทั้งยังได้ถวายน้ำนมให้ได้เสวย"

    พระพุทธเจ้า " อานนท์ ถ้าพระน้านางจะทรงสามารถรับครุธรรม ๘ ประการไปปฏิบัติได้ ก็เป็นอันว่าบวชได้

    ลำดับนั้น พระเถระได้ศึกษาครุธรรม ๘ ประการ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ คือ

    ๑ ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไหว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดี๋ยว

    ๒ ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในโอวาสที่มีพระภิกษุ

    ๓ ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

    ๔ ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ( ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ )

    ๕ ภิกษุณี ถ้อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรมต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย

    ๖ ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมามารักษาสิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒ เว้นจากการลักขโมย ๓ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔ เว้นจากการพูดเท็จ ๕ เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา ๖ เว้นจาการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร้องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร้องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่

    ๗ ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกาถาคือด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

    ๘ ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาสภิกษุมิได้

    ข้อเสนอของพระพุทธเจ้าดังที่ว่ามานี้ เมื่อพระอานนท์เถระนำไปบอกพระนางมหาปชาบดี พระนางรีบรับรองว่าปฏิบัติได้ทันที จึงเป็นอันว่าจากการขวนขวายของพระอานนท์เถระนี้เอง ทำให้สัตรีมีโอกาสได้บวชในพระพุทธศาสนาพระอานนท์เถระได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของสัตรีผู้หนึ่ง

    นอกจากการได้ขวนขวายให้พระนางมหาปชาบดีและเจ้าหญิงศากยะวงศ์ทั้งหลายได้บวชในพระพุทธศานาแล้ว คราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านมีหน้าที่จัดพุทธบริษัทให้เข้าถวายความเคารพพระบรมศพ และได้จัดให้สัตรีเข้าถวายความเคารพก่อนโดยท่านให้เหตุผลว่า สัตรีเหล่านี้ถ้าหากให้เข้าถวายความเคารพพระบรมศพภายหลังพวกเธอทั้งหลายจะลำบากเกี่ยวกับการเดินทางกลับบ้านเนื่องจากมืดค่ำเสียก่อนช่วยระงับความแตกร้าวในพระพุทธจักร

    การช่วยระงับความแตกร้าวในพระพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดวิวาทกันจนถึงขั้นแตกร้าวนั้น ทำให้พวกอุบาสกอุบาสิกาของพระเหล่านันเกิดแยกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายไปด้วย

    พระพุทธเจ้าทรงเคยตักเตือน แต่ไม่สามารถจะเกลี้ยกล่อมพระเหล่านั้นให้คลายทิธิมานะลงได้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จหลีกไปประทับอยู่กับลิงและช้าง ณ ป่าปาริเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกถึงความดื้อรั้นของตนขึ้นมาได้แล้วรู้สึกละอาย จึงเข้าไปหาพระอานนท์เถระพร้อมทั้งขอร้องให้ท่านพาพวกตนไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทุลขอขมา พระอานนท์เถระทำตามที่พระเหล่านั้นขอร้องจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ นับเป็นการช่วยลบรอยมลทินของพระพุทธศาสนาโดยแท้


ไปโปรดแสดงธรรมถึงแม้จะมีคนเดียว

    คราครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปเสวยภัตตาหารและแสดงธรรมโปรดในพระบรมมหาราชวังประจำ พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ทรงมีภารกิจต้องโปรดสัตว์โดยเสมอภาคกัน ไม่เหมาะจะไปประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ จึงทรงมีพุทธปัญชาให้พระสาวกหลายรูปไปฉันประจำ และเทศนาโปรด ในจำนวนนั้นมีพระอานนท์เถระอยู่ด้วย

     ปรากฏว่าพระเถระเจ้าหายไปทีละรูปสองรูป จนเหลือพระอานนท์รูปเดียว ที่ท่านหายไป ก็เพราะพระราชาก็ดี พระมเหสีทั้งหลายก็ดี ไม่ค่อยเอาพระทัยใส่ แรก ๆ ก็ดีอยู่มากันพร้อมหน้า ตั้งอกตั้งใจฟังธรรม นาน ๆ เข้าก็ขาดหายไปทีละองค์สององค์ พระราชาเองพระราชกรณียกิจก็มาก ตกลงเหลือเฉพาะพระนางมัลลิกา พระมเหสีองค์หนึ่งและบริวารไม่กี่คน และพระคุณเจ้าที่ไปประจำคือพระอานนท์เถระความทราบถึงพระพุทธองค์

    พระองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า พระอานนท์เถระเป็น “ การณวสิโก” แปลกันว่า เป็นผู้หนักในเหตุผล ข้าพเจ้าอยากแปลว่า เป็นผู้ยึดมั่นในหลักการ “ การโปรดสัตว์ ” นั้นแหละเป็นพระสมณศากยบุตร ต้องยึดมั่นในการเทศโปรดสัตว์หรือสั่งสอนประชาชนไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก ไม่ถือเอาเหตุอื่นใดมาเป็นข้ออ้าง ถึงคนที่เขานิมนต์มาเขาจะหายไปทีละคนสองคน แต่ตราบใดยังมีคนฟังอยู่ ท่านก็ยังมาแสดงให้ฟัง ไม่ใช่แบบนักเทศน์สมัยนี้ เห็นคนมาน้อย หรือเห็นกัณฑ์เทศน์น้อยก็ไม่อยากเทศน์แล้วอะไรทำนองนั้น

    พระอานนท์เถระเป็น “ หน้าห้องที่น่ารักของพระพุทธบริษัททุกท่านที่มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพราะท่าน “ จัดคิว ” ได้ดีมาก เป็นที่ถูกใจของพุทธบริษัท  พระอานนท์เถระท่านมีเมตตาธรรมสูงเห็นเด็กขอทานบ้าง เด็กจัณฑาลบ้างที่ไม่มีที่พึ่ง ท่านสงสาร นำเอาไปเลี้ยงไปฝึกฝนอบรม โดยการบวชเณรให้จำนวนมาก งานด้านการ “ขัดเกลา” สันดานคนเป็นเป็นงานหนัก แต่ท่านก็ทำจนพระมหากัสสปะพระผู้เฒ่าที่เมตตาท่านมากพูดสัพยอก ( ทำนองเตือนสติ ) ท่านว่า “ ดูก่อนเจ้าเด็กน้อยอานนท์ ”เป็นนักดีไซน์

    **พระอานนท์เถระเป็นศิลปินเป็นนักดีไซน์แบบที่เก่งจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นสองพันกว่าปีมาแล้ว ยังไม่ล้าสมัย และไม่มีวันที่จะล้าสมัยงานดีไซน์ของท่านยังงดงามหาที่เปรียบมิได้ ดีไซน์อะไรช่างเพอร์เฟ็กต์ปานนี้ พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระอานนท์เถระไปดีไซน์รูบแบบของจีวรพระ ท่านก็รับพุทธบัญชาออกแบบมาอย่างดีและได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์

     นัยว่าท่านเห็นคันนาของชาว มคธ แล้วนำเอามาออกแบบจีวรพระได้อย่างสวยงาม และสมวัตถุประสงค์ทีเดียว  ที่ว่าออกแบบได้สมประสงค์ก็คือ พระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ได้ใช้ไม่หวือหวาเกินไป และไม่เชยเกินไปนั้นวัตถุประสงค์หนึ่ง  อีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือ ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้โจรขโมยไปได้ พระอานนท์เลยนำเอาผ้าทั้งผืนมาตัดเป็นท่อน ๆ เรียกว่า ขัณฑ์ แล้วเย็บเข้าด้วยกันใหม่ แต่การวาง ขันฑ์ วาง อนุวาตกุสิ และ อัฑฒกุสิ ( ล้วนเป็นศัพท์เทคนิค ในการเย็บจีวรนั้นเอง ) ช่างเหมาะเจาะดีเหลือเกิน ไม่งามแต่งาม น่ามหัศจรรย์จริง ๆ เป็นศิลปะชิ้นเอกที่เดียว***ปรินิพพานกลางอากาศ

    พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง ๑๒๐ ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งสองฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้นเขตเดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วท่านก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า" เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น ๒ ส่วน จงตกลงที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ส่วนหนึ่ง

    และจะตกลงที่ฝั่งกรุงเทวทหะของพระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะวิวาทกันเพราะแย่งอัฐธาตุ"ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว เตโชธาติก็เกิดขึ้น เผาสารีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น ๒ ส่วนแล้วตกลงบนพื้นดินของ ๒ ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการท่านได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกี่ได้บรรลุกิเลสนิพพาน และขันธนิพพานแปลกกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ....