พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมถึก
    พระปุณณมันตานี เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหมู่บ้านพรหาหมณ์โทณวัตถุ อันไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์อันตำราทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ พระชาติภูมิ ” หมายถึงว่าพระเถระที่เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ทุกรูป ถือว่ามีชาติภูมิเดียวกับพระบรมศาสนา

    ท่านเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระอัญญาโกฑัญญะกับพรรคพวกอีก ๕ คน อันเรียกว่า “ ปัญจวัคคีย์ ” มาบวชนั้น ท่านแก่แล้วบวชปั๊บก็เป็นหลวงตาทันที ท่านเห็นว่าเวลาท่านมีน้อย จึงเข้าป่าแสวงวิเวกเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสุงสิงกับผู้คน

    ท่านสอนคนไม่เก่ง จึงไม่ค่อยได้ออกไมแสดงธรรมให้ผู้คน แต่สำนึกในการธำรงพระพุทธศาสนาของท่านสูงมาก ทำหน้าที่เองไม่ได้ก็ไปหาคนมาทำแทน ท่านเห็นว่าหลานชาย (ลูกชายของน้องสาว) ชื่อ ปุณณะเป็นเด็กฉลาด ปฏิภานดี น่าจะนำเอามาบาชเพื่อสืบทอดพระศาสนา จึงไปขอน้องสาวนำมาบวช เมื่อปุณณะมาบวชแล้ว ได้กลายเป็นนักเทศน์ฝีปากเอก เล่าลือกับทั่วว่า ท่านอธิบายธรรมได้วิจิตรพิสดารไพเราะ สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ


ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น

    เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั่งมั่นอยู่ในคุณธณรม ๑๐ ประการ คือ..

    ๑ . อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย

    ๒. สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ

    ๓. ปวิเวกตา เรื่องความสงัด

    ๔. อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ๕. วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร

    ๖. สีลตา เรื่องศีล

    ๗. สมาธิ เรื่องสมาธิ

    ๘. ปัญญา เรื่องปัญญา

    ๙. วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น

    ๑๐. วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น

    คุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารถความเพียรบริบุรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วยคุณธรรม ๑๐ ประการนี้ แม้แต่พระอานนท์ เมื่อบวชใหม่ ๆ ก็ได้ฟังธรรมกถา ๑๐ ประการนี้จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้

    ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้เป็นพระอุปชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน


สนทนาธรรมกับพระสารีบุตร

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้น พระสารีบุตรกับพระปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรเถระได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับวิสุทธ ๗ ประการ อันได้แก่..

    ๑ . สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต

    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ

    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย

    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง

    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ

    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือมรรคญาณ

    พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ ๗ นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกันไปจนถึงพระนิพพาน พระปุณณมันตานีบุตรเถระยกอุปมาอุปไมยขึ้นมาจตอบว่า สมมุติว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากเมืองสาวัตถีไปยังเมืองสาเกต สิ้นระยะทาง ๗ โยชน์ ต้องใช้รถม้า ๗ ผลัด จึงถึงที่หมาย ถ้าถามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไปถึงเมืองสาเกตด้วยรถม้าผลัดใด ผลัดที่หนึ่งหรือ ตอบว่าไม่ใช่ ผลัดที่สอง ที่สาม ที่สี่ ...ทีเจ็ดหรือ ตอบว่าไม่ใช่เช่นกัน ถามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไปถึงเมืองสาเกตด้วยรถทั้ง ๗ ผลัดพร้อมกันหรือ ตอบว่าไม่ใช่อีก ถามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไปถึงเมืองสาเกต ด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากนั่งราชรถไปหรือ ต้องตอบว่าไม่ใช่อีกเช่นกัน

    เมื่อสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถาของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน

    การเผ่ยแพร่พระพุทธศาสนาให้เป็นที่รับรู้กับทั้วไป ต้องอาศัยผู้มีความรู้ มีความสามารถในการถ่ายทอดที่ดีเยี่ยม เช่นพระสารีบุตรเถระ พระมหากัจจายนเถระ พระปุณณมันตานีเถระ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ แห่งการประกาศพระศาสนา พระพุทธองค์ทรงต้องการ “มือ” ช่วยทำงาน

    พระอัญญาโกณฑัญญะท่านไม่สามารถจะช่วยงานด้านนี้ได้ดี จึงไปขอลูกน้องสาวมาบวช เพื่อเป็นกำลังเผยแพร่พระศาสนา นับว่าท่านผู้เฒ่าได้มีคุณูปการต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

    น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งนักเทศน์มิเพียงเทศน์เก่งอย่างเดียว แต่ความประพฤติต้องดีเป็นแบบอย่างด้วย พระปุณณมันตานีบุตรเถระนี้เป็นแบบอย่างของนักเทศน์ที่ “สอนเขาได้ และประพฤติตัวดี ”

    เพราะความที่พระปุณณมันตานีเถระ ท่านดำรงตนตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย

    พระผู้มีพระภาค จึงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก

    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน....

    เล็กๆน้อยๆมาเล่าสู่กันฟัง ...... เคยมีผู้เขียนนามหนึ่งได้เล่าไว้ว่า

    พระนักเทศน์รูปหนึ่งเทศน์เก่งมากเทศน์เป็นไฟแลบ คนขึ้นกันคึก ไปเทศน์ที่ไหนศาลาแทบพังเพราะมี “ โยมยก ” ( เลียนแบบแม่ยกนักร้องลูกทุ่งและแม่ยกลิเก ) วันหนึ่งพอเทศน์จบ โยมยกกัณฑ์เทศน์ขึ้นถวาย ในนั้นมีขวานแล่มขนาดเหมาะมือมาด้วย

    “ เอ๊ะ กัณฑ์เทศน์มีขวานด้วยหรือโยม ” นักเทศน์ทักด้วยความสงสัยและเสียวสันหลังว๊าบๆๆ

    “ มีครับ วันนี้ถวายขวานไปให้ท่านใช้ คมดีนะครับ ถากอะไรได้สารพัดเสียอย่างเดียว.. .”

    “ เสียอะไรเหรอโยม ”นักเทศน์แข็งใจถาม

    ก็ได้รับคำตอบที่ฟังดังชัดถ้อยชัดเจน “ มันถางด้ามของมันไม่ได้ ”

    เล่นเอาพระนักเทศน์สะดุ้ง ก็ได้ “ ถาก ” คนอื่น สันดานของตนไม่เคยถากเลย อย่างนี้เขาเรียก “ นักเทศน์โยมถวายขวาน ”