พระมหากัสสปะ
เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาถิฏฐะ แค้วนมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ " ปิปผลิ " แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า " กัสสปะ" เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงามวัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ

   ด้วยการจัดการของผู้ใหญ่ทั้งสองตระกูล ทั้งสองสามีภรรยาไม่มีจิตใจยินดีในโลกียวิสัย ถึงจะแต่งงานกันแล้ว ก็เป็นสามีภรรยากันแต่ในนามเท่านั้น มิได้ยุ่งเกี่ยวกันในทางกามคุณแต่อย่างใด

    เมื่อบิดามารดาของทั้งสองคนสิ้นชีวิตแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของสองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัยพ์มาก เมื่อรวมสองตระกูลเข้าเป็นตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงานจำนวนมาก สองสามสามีภารยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง

   จนกระทั้งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมการทำงานอยู่ในไร่นา ได้เห็นนกกาจิกกินสัตว์เล็กสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตายเพราะตนเป็นเหตุ

   ส่วนนางภัททกาปิลานีก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงอกที่ลานหน้าบ้าน เห็นหมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามีภรรยามีโอกาสอยุ่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสองก็มีความคิดตรงกันว่า

   " ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและกรรมการทำให้" จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆรวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติและบริวาร

   ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติและบริวาร

   ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาพัสตร์ และบริขารพากันปลงผมแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐารเพศบรรชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทางกันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกันปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลาไปทางซ้าย นางเดินทางไปพบสำนักปริชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงอนุญาติให้สัตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางมหาปชาวดีโคตมีได้บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถรี ศึกษาพระกรรมฐานบำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


อุปสมบทด้วยวิธีรับโอวาท ๓ ข้อ

    ส่วนปิปผลิมาณพพบพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่ม “ พหุปุตตนิโครธ ” ( ต้นกร่าง ) ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองลันทาต่อกัน เห็นพุทธจริยารู้สึกน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบมา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคับแทบพระบาท กราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ทรงประทานพระโอวาท ๓ ประการ เรียกว่า " โอวาทปฏิคคหญูปสัมปทา " โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ

    ๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และผู้บวชใหม่

    ๒. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วยความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น

    ๓. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์โดยสม่ำเสมอ


ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์

   เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจาหอุปสมบทได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม " พระมหากัสสปะ" ท่านๆด้ช่วยรับภาระธุระอบรมสั่งสอนพระภิกษุและพุทะบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทานธุดงค์ ๓ ประการอย่างเคร่งครัด คือ

   ๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสกุลเป็นวัตร (หาเศษผ้ามาทำจีวรไม่รับผ้าที่ทายกถวาย)

   ๒. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

   ๓. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

   เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งลหาย ในทางผู้ทรงธุดงค์

   นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ

   ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้าสังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

    " กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี "

   " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช่สอยเถิด พระเจ้าข้า "

   " กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำอะไรสังฆาฏิเล่า ? "

   " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า "

   ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่านแล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการ คือ

   ๑. กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้งหลายควรคือเป็นแบบอย่าง

   ๒. กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า " ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็มีในเป็นฉันนั้น "

   ๓. กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น

   ๔ . ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช่สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง


พระเถระขับไล่นางเทพธิดา

   ครั้งหนึ่ง พระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌาณแล้วเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน หญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตรพระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าวอนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก

   ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นามว่า " ชาลา " ( ลาชา = ข้าวตอก ) มีวิมานทองประดับด้วยขันทองห้อยย้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มไปด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน

   นางมองดูสมบัติทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแด่พระมหากัสสปะซึ่งเป็นเพียงบุญเล็กน้อย นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากพิภพเข้าไปปัดกวาดเสนาสนะและบริเวรที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน

   พระเถระคิดว่า กิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นางเทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสงสว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า " นั้นใคร ?"

   " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน "

   พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดากำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นเรื่องแล้วจึงกล่าวห้ามว่า " กิจที่เธอทำแล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่ามาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึงยกเอาเรื่องเหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า " พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้สอย " ดังนี้ เธอจงกลับไปเถิด "

   นางเทพธิดา อ้อนวอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ขอพระคุณเจ้าอย่าทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย ขอดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอกกาลนานเถิด

   พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโปกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่ไม่มีโอกาสทำทิพย์สมบัติของตนให้ถาวรได้


พระมหากัสสปเถระเป็นประธานปฐมสังคายนา

   ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจากอาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว

   ภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็นั่งสงบปลงธรรมสังเวช ฝ่ายที่เป็นปุถุชนก็ร้องให้อาลัยอาวรณ์ในพระองค์ แต่มีภิกษุชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระพุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำอะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว "

    มหากัสสปเถระเกิดความสังเวสสลดใจว่า " พระพุทธองค์ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้า ก็คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้อยากยิ่ง"

   ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคยนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป


สาระสำคัญของปฐมสังคายนา

   ๑. พระมหากัสสปเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย

   ๒ . พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย

   ๓. พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวพระสูตร และพระอภิธรรม

   ๔. กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวรบรรพต กรุงราชคฤห์

   ๕. พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์

   ๖ . กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ


ชีวิตในบั้นปลาย

   ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าวว่า พระมหากัสสปเถระเมื่อทำหน้ที่เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวันเดียวเท่านั้น

   ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอนภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธปาฏิหาริย์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทบริษัทแล้วอธิษฐานจิตขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูเขาทั้ง ๔ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำประฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ณ ที่นั้น

   ท่านยังได้อธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั้งพระศาสนาพระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิษุสงฆ์มายังภุเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น.....


อดีตชาติตั้งความปรารถนา

   ในกาลแห่งพระศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหากัสสปเถระนี้ ได้บังเกิดขึ้นในเรือนตระกูลหงสาวดีนคร มีชื่อว่า " เวเทหะ " วันหนึ่งได้ไปสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาจบการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

   ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระปทุมุตตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ขณะที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกกำลังฉันภัตตาหารอยู่ที่บ้านของท่านนั้น พระมหานิสภะเดินบิณฑบาตผ่านมาพอดี ท่านจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในบ้าน พระมหานิสภะปฏิเสธเพราะท่านสมาทานธดงค์ครอบทั้ง ๑๓ ข้อ และธุดงค์อยู่ในข้อหนึ่งว่าด้วยการฉันแต่เฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มา

   โดยจะไม่ยอมฉันในที่นิมนต์ ท่านจึงให้คนจัดอาหารมาใส่บาตร ครั้นพระมหานิสภะกลับไปแล้ว ท่านได้กราบทูลเรื่องพระมหานิสภะให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญพระมหานิสภะในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องธุดงค์ ยิ่งทำให้ท่านเกิดความเลื่อใสจึงถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกเพิ่มอีกเป็น ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันภัตตาหารแล้ว ท่านได้ถวายผ้าไตรจีวรให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกครอง แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระสัมปทุมุตรพุทธเจ้าพลางกราบทูลว่า

   " ข้าแต่พระบรมศาสดาจารย์ ตลอด ๗ วันที่ข้าพระองค์ถวายมหาทานอยู่นี้ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ข้าพระองค์ไม่จำนงถึงซึ่งสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าสวรรค์สมบัติหรือมนุษย์สมบัติ นอกจากนิพพานสมบัติเท่านั้น ด้วยผลบุญนี้ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในด้านสมาทานธุดงค์เหมือนพระมหานิสภะ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้านี้เถิด พระเจ้าข้า "

   พระปทุมุตตพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นว่าการตั้งปณิธานของกุลบุตรผู้นี้จักสำเร็จสมมโนรถเป็นแน่แท้ จึงมีกระแสพระพุทธฏีกาว่า

   " ในที่สุดอีกแสนกัปข้างหน้า จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระโคดม จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผลและได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์"

   ท่านได้ฟังพระปทุมุตตพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึง

   ในสมัยของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ท่านได้มาเกิดพราหมณ์ยากจนชื่อ " จูเฬกสาฏก" ได้นางพราหมณียากจนคนหนึ่งเป็นภรรยา จูเฬกสาฏกกับภรรยาต่างผลัดเปลี่ยนกับไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ภรรยาไปฟังธรรมตอนกลางวัน ส่วนเฬกสาฏกไปฟังธรรมตอนกลางคืน เหตุที่ทั้งสองสามีภรรยาไม่สามารถไปฟังธรรมพร้อมกันได้เหราะมีผ้าห่มออกข้างนอกเพียงผืนเดียว ซึ่งต้องผลัดกันใช้ คืนวันหนึ่ง ขณะที่นั่งฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั้น จูเฬกสาฏกเกิดศรัทธาจึงได้ถวายผ้าห่มที่มีอยู่ผืนเดียวของตนนั้นเป็นพุทธบูชา พร้อมทั้งเปล่งวาจาว่า " ข้าพระองค์ชนะแล้ว "

   ชัยชนะที่จูเฬกสาฏกหมายถึง คือ ชนะความตระหนีในใจของตนเองได้ พระเจ้าพันธุมราชกษัตริย์แห่งเมืองพันธุมดีทรงทราบความจริงจึงพระราชทานทรัพย์ให้เขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาพ้นจากความยากจน จูเฬกสาฏกกับภรรยาแม้จะมั่งมีขึ้นก็ไม่ได้ประมาท ทั้งสองได้บริจากทรัพย์ส่วนหนึ่งบำรุงพระพุทธศาสนาและบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธดรหนึ่ง ( ช่วงระยะเวลาที่โลกว่างพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธศาสนา)

   ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้นท่านได้เกิดเป็นบุตรกฏมพี วันหนึ่งขณะเดินไปตามริมฝั่งน้ำพบพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังทำจีวรอยู่ ทราบว่าผ้าสำหรับทำอนุวาตะ ( ผ้าทาบชายจีวร ) ไม่พอท่านจึงได้ถวายผ้าชิ้นหนึ่ง และท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพพูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ท่านได้เกิเเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทได้ช่วยกันสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ท่านได้สละทรัพย์จำนวนหนึ่งออกร่วมทำบุญถวายเป็นพุทธบูชา

   นอกจากนั้นยังได้จัดดอกไม้บูชาพระเจดีย์จนดูสวยงาม ท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์กปิละดังกล่าวมาแล้ว ครั้นท่านออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล...