พระราธะเถระ
เอตทัคะในทางผู้ว่าง่าย
   พระราธะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ ฐานะเดิมของท่านนั้นจัดว่าอยู่ในขั้นเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราถูกภรรยาและบุตรธิดาทอดทิ่ง ต้องกลายเป็นคนยากจนอนาถา ไร้ที่พึ่งพาอาศัยต้องเลี้ยงชีพด้วยการอาศัยพระภิกษุอยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหาร ท่านได้ได้เรียนรู้ว่าชีวิตพระเป็นชีวิตที่สงบไม่วุ่นวายจึงปรารถนาจะมีชีวิตที่สงับอย่างนั้นบ้าง วันหนึ่งจึงเข้าไปหาพระที่คุ้นเคยกันแล้วแจ้งความประสงค์ให้ทราบ ไม่มีพระรูปใดรับบวชให้ แต่ไม่มีภิกษุรูปใดที่จะสงเคราะห์บวชให้ ทำใหเกิดความทุกข์ใจจนร่างกายซอบผอม หน้าตาผิวพรรณหม่นหมอง วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลให้ทราบถึงความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของท่านแล้วเห็นว่า แม้จะแก่แต่ก็สามารถบรรลุอรหัตผลได้ จึงตรัสสั่งให้ประชมสงฆ์รับสั่งถามว่า

   “ ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณของราธพราหมณ์ ผู้นี้บ้าง ? ”

   ขณะนั้น พระสารีบุตรเถระ ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ได้กราบทูลว่า

   “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ระลึกได้ พระเจ้าข้า คือ วันหนึ่ง ข้าพระองค์ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้เคยได้ถวายอาหารข้าวสุกแก่ข้าพระองค์ ทัพพีหนึ่ง พระเจ้าข้า”


ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม

   พระบรมศาสดา ได้สดับแล้วตรัสยกย่องพระสารีบุตรเถระว่า เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที แล้วมอบราธพราหมณ์ให้ท่านเป็นพระอุปชฌาย์ ดำเนินการบวชให้ และทรงประกาศยกเลิกการอุปสมบทด้วยวิธีไตรสรณคมน์ ที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้แต่เดิมแล้ว ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมอันเป็นวิธีอุปสมบทโดยมีสงฆ์เป็นใหญ่ พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปฌาย์รูปแรกและพระราธะเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็นรูปแรก การอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปจุบัน

   เมื่ออุปสมบทแล้ว วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอให้พระพุทธองค์ตรัสสอนธรรมอันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า

    “ ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอจงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย สิ่งที่เรียกว่า มาร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นของมิใช่มีตัวตน มีความเกิดขึ้น ดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลง และสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนั้น เธอจงละความพอใจในสิ่งอันเป็นมารเหล่านั้นเสีย”

    พระราธะรับเอาพระโอวาทนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่ก็ยังไม่ได้บรรลุธรรมทันทีหลังจากบวชเนื่องจากจิตไม่สงบ ทั้งนี้เพราะไม่ได้รับความสดวกเรื่องอาหาร แต่ละวันท่านได้อาหารไม่พอฉัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะท่านเป็นพระบวชใหม่นั่งบนอาสนะท้ายสุดเวลาฉันอาหารในโรงฉัน ในโรงฉันมีพระมาก อาหารต้องแจกตามกันตามลำดับอวุโสจึงไม่ค่อยเหลือถึงท่าน พระสารีบุตรผู้เป็นอุปชฌาย์ทราบถึงความลำบากของท่านในเรื่องนี้จึงได้แก้ปัญหาด้วยการพาท่านจาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทำให้ท่านได้อาหารพอฉันครั้นได้อาหารพอแล้วท่านกลับมีร่างกายแข็งแรงจิตเริ่มสงบ ประกอบกับได้พระสารีบุตรเถระคอยแนะนำพร่ำสอนอยู่เนือง ๆ ท่านเป็นคนว่าง่ายปฏิบัติตามที่พระอุปชฌาย์พร่ำสอนทุกประการแล้วเข้าใจได้รวดเร็ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตผลหลังจากนั้น พระสารีบุตรเถระได้พาท่านมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ตรัสถามว่า

   “ ดูก่อนสารีบุตร พระราธะสิทธิวิหาริกศิษย์ของเธอเป็นอย่างไรบ้าง ? ”

   “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เธอเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย แนะนำสั่งสอนตักเตือนอย่างไร ก็ปฏิบัติตามแต่โดยดี ไม่เคยโกรธเคืองเลย พระเจ้าข้า”


ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

   พระบรมศาสดา ทรงสดับแล้ว ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาพระราธะเป็นแบบอย่างในการเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และทรงยกย่องพระราธะในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ว่าง่าย และ ผู้มีปฏิภาณ คือ เป็นผู้มีความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา

   อยู่มาวันหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสถาว่า “ ข่าวว่าพระสารีบุตรเถระเป็นผู้มีความกกตัญญูกตเวทีได้ให้ราธะพราหมณ์ผู้ขัดสนบรรพชา เพราะระลึกถึงอุปการคุณแห่งข้าวเพียงทัพพีเดียวเท่านั้น ฝ่ายพระราธเถระ ผู้ควรแก่โอวาทก็ได้อาจารย์ที่ดีเป็นผู้ให้โอวาท”

   พระบรมศาสดาทรงสดับการสนทนาสรรเสริญพระสารีบุตรเถระนั้นแล้ว จึงตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรเป็นผู้ประกอบด้วยความกตุญญูกตเวที ในกาลบัดนี้ยังไม่สู้เป็นการอัศจารรย์นัก เพราะในอดีตชาติที่ล่วงมาแล้ว พระสารีบุตรถือกำเนิดใน “ อเหตุกปฏิสนธิ” คือ การปฏิสนธิด้วยจิตที่ไม่มีเหตุ ได้แก่เกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน แต่เป็นผู้มีใจประกอบด้วยกตัญญูกตเวทีตาธรรม นั้นแหละน่าอัศจารรย์นัก”

   พระภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามว่า “ ในกาลไหน พระเจ้าข้า ที่พระสารีบุตรเถระบังเกิดในอเหตุกปฏิสนธิ และประกอบกตัญญูกตเวที พระเจ้าข้า”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสาธก อลีนจิตตชาดก ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาชาดก คัมภีร์ขุทททกนิกาย ชาดก แห่งทุกนิบาต ความว่า

   “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาลที่ล่วงมาช้านานแล้ว มีพวกบุรุษช่างไม้ประมาณ ๕๐๐ คน อยู่แทบเชิงภูเขา ได้พากันไปในราวป่าใหญ่ เพื่อตัดต้นไม้เอามากระทำทัพสัมภาระต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และเมื่อตัดไม้แล้วจึงนำมารวมกันเป็นแพใหญ่ แล้วหย่อนลงไปในแม่น้ำคงคา ปล่อยล่องลอยลงมาตามลำแม่น้ำ

   ในครั้งนั้นมีช้างตัวหนึ่ง เอางวงโน้มเหนี่ยวเกี่ยวกิ่งไม้ กิ่งไม้นั้นทานน้ำหนักช้างไม่ไหวก็หักลงมา ช้างนั้นเสียหลัก เท้าไปเยียบบนตอไม้แหลมแทงเท้าจนทะลุ เกิดความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาแสนสาหัส จนไม่สามารถพยุงกายลุกขึ้นไปได้ จึงต้องนอนทนทุกขเวทนาอยู่ที่นั้นเอง

   พอเวลาล่วงมาได้ ๒ - ๓ วัน พวกช่างไม้เดินทางผ่านมาทางที่ช้างบาดเจ็บอยู่ ฝ่ายช้างนั้นได้แลเห็นพวกช่างไม้เดินเข้ามาใกล้จึงดำริว่า “ เราจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ก็เพราะอาศัยบุรุษเหล่านี้ช่วย” คิดแล้วจึงค่อย ๆ ทรงกายลุกขึ้นเดินโขยกเขยกไปเดินตามพวกช่างไม้เหล่านั้น

   พวกช่างไม้เหล่านั้นครั้นเหลี่ยวกลับมาเห็นว่าได้มีช้างเดินตามหลังมา ต่างคนก็ต่างตกใจกลัว พากันวิ่งหนีไป

   เมื่อช้างเห็นผู้คนเหล่านั้นกลัว จึงหยุดยืนอยู่กับที่ แต่ถ้าพวกช่างไม้หยุด ช้างก็เดินกะโผลกกะเผลกติดตามไปอีก เป็นอย่างนี้หลายครั้ง นับเป็นที่น่าฉงนสงสัยนัก

    หัวหน้าช่างไม้จึงมาใคร่ครวนว่า “ เหตุไฉนหนอ ช้างตัวนี้ พอพวกเราหยุด ก็เดินตามเรามา ครั้นพวกเราเดินหนีกลับหยุดยืนอยู่เฉย ๆ ชะรอยจะมีเหตุในช้างตัวนี้เป็นแน่แท้ ” เมื่อคิดดังนี้แล้วจึงร้องสั่งให้บริวารปีนขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ส่วนตนเองนั้นนั่งคอยดูท่วงทีของช้างนั้นว่าจะมาไม้ไหนกันแน่ เพราะไม่รู้ว่าช้างนั้นจะมาร้ายหรือดี

   เมื่อช้างนั้นเดินเข้ามาใกล้พวกช่างไม้ด้วยอาการเป็นมิตร และแฝงไปด้วยความเจ็บปวดบาดแผลที่เท้านั้น เพื่อจะแสดงให้พวกช่างไม้ได้รู้จึงได้ล้มตัวลงนอนกลิ้งนอนเกลือกไปมาแล้วก็นอนนิ่งๆอยู่ในที่นั้น

    หัวหน้าช่างไม้จึงได้เดินไปพิจารณาใกล้ ๆ จึงเห็นว่าช้างตัวนี้ได้รับบาดเจ็บมาต้องการความช่วยเหลือ จึงได้ร้องบอกพวกช่างไม้บริวารว่า “ ดูก่อนท่านทั้งหลายผู้เจริญ ช้างนี้มาด้วยความเจ็บไข้ มิไช่จะมาด้วยเหตุอื่นท่านทั้งหลายจงลงมาเถิด ” ว่าแล้วก็เดินเข้าไปหาช้างนั้น ได้แลเห็นแผลซึ่งถูกตอไม้ตำที่เท้า จึงใช้พร้าคว้านปากแผลเพื่อจะจับเสี้ยนตอไม้ให้ได้ถนัด แล้วใช้เชือกผูกเสี้ยนตอไม้แล้วช่วยกันฉุดกระชากดึงเสี้ยนออกมาและรีบบีบปากแผลนั้น คั้นเอาน้ำเลือดน้ำหนองที่ขังอยู่ในแผลออกจนหมด แล้วชำระล้างด้วยน้ำฝาด ทายาสมุนไพรตามที่พวกตนได้เข้าใจ ชั่วเวลาไม่นานเท่าไหร่ ช้างนั้นก็ฟื้นจากการเจ็บปวดลุกขึ้นได้

   เมื่อหายจากเจ็บไข้แล้ว จึงดำริว่า “ พวกช่างไม้เหล่านี้มีอุปการะแก่เรามาก เรารอดชีวิตมาได้ก้เพราะพวกเขาเหล่านี้ เราควรจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อชนเหล่านี้” คิดแล้วจึงกลับไปสุ่ที่อยู่ของตน และได้นำพาลูกช้างเผือกมาให้แก่พวกช่างไม้

   พวกช่างไม้ ได้แลเห็นโปดกลูกช้างเผือกนั้น ก็มีความยินดียิ่งนักด้วยคิดว่าช้างตัวนี้ ไปหาลูกช้างมาให้แก่พวกเรา

   ส่วนช้างนั้นครุ่นคิดอยู่ว่า “ เมื่อเรายืนอยู่ ชนทั้งหลายจะรู้ซึ่งกิริยาของเราหรือ” คิดแล้วจึงเดินหลีกหนีไฟเสียจากที่นั้น

   ฝ่ายโปดกลูกช้างเผือก เมื่อเห็นพ่อช้างเดินไปก็เดินตามพ่อช้างไปข้างหลัง ช้างผู้เป็นพ่อ ครั้นเหลี่ยวหลังก็รู้ว่าลูกน้อยเดินตามมาข้างหลัง จึงส่งเสียงให้สัญญาณเพื่อจะให้ลูกช้างเผือกนั้นกลับไปหาพวกช่างไม้

   ลูกช้างพอได้ยินเสียงของช้างผู้เป็นพ่อ ก็กลับหลังไปยังที่อยู่ของพวกช่างไม้เหล่านั้น ๆ ก็รู้แน่ชัดว่า ช้างตัวนี้ชะรอยจะพาลูกมาให้แก่พวกเราอย่างแน่นอนจึงร้องบอกกับลูกช้างน้อยนั้นว่า “ ในสำนักของพวกเราไม่มีกิจการอะไรจะให่เจ้ากระทำดอก เจ้าจงกลับไปหาช้างพ่อของเจ้าเสียเถิด”

   ลูกช้างน้อยเมื่อพวกช่างไม้บอกให้กลับ ก็กลับไปหาช้างพ่อ แล้วช้างพ่อก็ได้บอกให้กลับไปหาบวกช่างไม้อีก พวกช่างไม้ก็บอกให้กลับไปหาช้างพ่ออีกเช่นกัน ช้างพ่อก็บอกให้ลูกช้างน้อยกลับไปหาพวกช่างไม้อีกเป็นอย่างนี้จนถึง ๓ ครั้ง ด้วยกัน

   จำเดิมแต่นั้นมาพวกช่างไม้จึงต้องรับเอาลูกช้างน้อยนั้นไว้ในสำนักของพวกตน และช่วยกันเลี้ยงดูอย่างดี พวกช่างไม้ได้แบ่งอาหารให้แก่ลูกช้างน้อยคนละปั้น ๆ รวมอาหารได้ประมาณ ๕๐๐ ปั้น ก็พอช้วยให้ช้างน้อยนั้นอยู่อย่างสุขสบาย

   ฝ่ายลูกช้างน้อยก็ช่วยขนทัพสัมภาระเครื่องไม้ที่พวกช่างไม้ผูกมัดไว้ให้ตนขน เอาไปรวมสุมไว้เป็นกอง ฯลฯ

   ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่าจบลงแล้วจึงมีพระพจนานถตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรเป็นผู้ประกอบด้วยความกตัญญูกตเวที มิใช่กาลบัดนี้เท่านั้น ในปางบรรพ์พระสารีบุตรผู้เกิดเป็นช้างใหญ่ ( ช้างพ่อ ) ผู้มีสภาวะรู้จักคุณูปการที่ผู้อื่นกระทำไว้แก่ตนดังเรื่องที่กล่าวมานี้

   ส่วนราธะผู้มีความเพียรพยายาม ทั้งเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย เป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ได้เคยเป็นโปดกลูกช้างเผือกตัวว่านอนสอนง่าย และขยันเอางานเอาการนั้น”

   พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพุทธฏีกาตรัสพระคาถาว่า

   “ นิธีนํ ว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ ” แปลว่า

    “ บุคคลเห็นผู้มีปัญญาใด เป็นผู้กล่าวข่มขี่ ผู้ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัยพ์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต ( เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เป็นเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก” ( เลวทราม)

หรืออีกในหนึ่งที่มักจะพูดกันว่า
    คบคนพาล     พาลหาผิด
    คบบัญฑิต     บัญฑิตพาหาผล....

   พระราธเถระ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วก็ยังสนใจในการเพิ่งพินิจธรรม วันหนึ่งขณะนั่งพินิจธรรมอยู่ในกระท่อม เกิดฝนรั่วรดลงมาทางหลังคาที่มุงไม่ดี ท่านคิดเปรียบเทียบว่า เรื่อนที่มุงไม่ดีก็เหมือนกับจิตที่ไม่ได้ฝึกฝน จึงได้กล่าวว่า

เรือนที่มุงไม่ดี ฝนตกรั่วรดได้
    จิตที่ไม่ได้ฝึกฝนก็เป็นเช่นนั้น
    เรือนที่มุงดี ฝนตกรั่วรดไม่ได้
    จิตที่ฝึกฝนไว้ดีก็เป็นเช่นนั้น
    ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้

    พระราธเถระท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนา พอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน..