พระมหากัจจายนเถระ
เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
พระมหากัจจานะ เป็นบุตรของพราหมณ์ในตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต ( ที่ปรึกษา) ของพระเจ้าจัณฑปัชโซต ในกรุงอุชเชนี ในวันที่ท่านเกิด บิดามารดาปรึกษากันว่า “ บุตรของเรามีผิวพรรณดังทองคำ ควรถือเอานิมิตที่ดี แล้วตั้งชื่อให้ทารกนั้นว่า “ กาญจนะ” หรือ “ กัญจนะ” ซึ่งแปลว่า เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพทจนเจนจบ คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพาหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

    เมื่อพระบรมศาดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคมชนบทอยุ่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์สู่กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิตกัจาจยนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือโอากาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาดา เมื่อเดินทาางไปถึงก็รีบเข้าเฝ้า พระพทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาให้ฟัง และท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ( ปัญญาอันแตกฉาน หรือเกิดความรู้แตกฉาน) แล้วกราบทูลขออุปสมบท

   

    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเอง พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองก็เกิดศรัทธาเหมือนกัน

    พระกัจจายนะเถระคิดว่า “ พระวาจาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เป็นสอง ท่านจึงกราบถวายบังคมทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารทั้ง ๗ องค์ทั้ง เดินทางกลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก


กราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาตแก้ไขพุทธบัญญัติ

    สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท ขณะนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า โสณกุฏิกัณณะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่เนื่องจากในอวันตีชนบทนั้น ทีพระภิกษุจะนวนน้อย ไม่ครบเป็นคณปูรกะจำนวน ๑๐ รูป (ทสวรรค) ตามพระบรมพุทธานุญาตท่านจึงให้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปี กว่าจะได้อุปสมบท และเมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะได้อุปสมบทแล้ว ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้กราบลาพระมหากัจจายนะพระอุปชฌาย์ และพระมหากัจจายนะ ก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธนุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ

    ๑. ในอวันตีชนบท มีพระภิกษุจำนวนน้อย ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยขณะพระภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูปได้

    ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยขณะภิกษุ ๕ รูปได้”

    ๒. ในอวันตีชนบท มีพื้นดินขรุขระไม่เรียบไม่สม่ำเสมอ ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระภิกษุในอวันตีชนบทสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้

    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้าทีพื้นหลายชั้น ในปัจจันตชนบทได้ ”

    ๓ . ในอวันจีชนบทอากาศร้อน บุคคลต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์ได้

    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์แก่ภิกษุผู้อยู่ในปัจจันตชนบท ”

    ๔. ในอวันตีชนบท มีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ และ หนังแกะ เป็นต้น สมบูรณ์ดีเหมือนในมัชฌิมชนบท และเขาใช้หนังสัตว์กันทั้งนั้น ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตเครื่องลาดที่กระทำด้วยหนังสัตว์ แทนเสือ เพราะเสือหายาก

    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์เหล่านั้น ”

    ๕. ขอให้ภิกษุรับผ้าอันคนเขาฝากมาถวายแต่ที่ไกล แม้นานเกิน ๑๐ วันได้ เพราะการคมนาคมลำบาก และฝ่าย ทายกเล่าก็อยู่ห่างไกล กว่าจะมาถึงบางทีได้พ้นกำหนดวาระไปแล้ว พระไม่กล้ารับ ทำให้อยู่ลำบาก

    เมื่อพวกเธอเหล่านั้นกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัดแจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจ ไม่ยอมรับด้วยเข้าใจว่า ผ้าเป็นนิสสัคคีย์ ( จำต้องเสียสละ เพราะล่วง ๑๐ ราตรีแล้ว) ขอพระองค์ตรัสบอกการปฏิบัตในจีวรเช่นนั้น

    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุรับจีวรที่ทายก ถวายลับหลังได้ ด้วยว่า ผ้ายังไม่ถึงมือภิกษุผู้รับตราบใด จะถือว่าเธอมีกรรมสิทธิ์ในผ้าผืนนั้นเต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น ”


ภูมิคนแก่และภูมิของเด็ก

    ครั้งหนึ่ง พระมหากัจจายนเถระพักอยู่ที่คุรธาวัน ใกล้เมืองมธุราในคราวนั้น กัณฑรายพราหมณ์เข้าไปหาพระเถระ แล้วกล่าวว่า “ ท่านกัจจายนะ ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า “ พระกัจจายนะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับซึ่งพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ไม่ยอมหลีกที่นั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ การที่ท่านกัจจายนะทำอย่างนี้ไม่สมควรเลย ดูก่อนพราหมณ์ ภูมิของคนแก่ ภูมิของคนหนุ่ม มีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ นี่แนะพราหมณ์ถึงคนแก่อายุ ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปี ก็ตาม ถ้ายังบริโภคกามารมณ์อยู่ ยังฝังอยู่ในท่างกลางกามารมณ์ ยังเร่าร้อนด้วยกามารมณ์ ยังถูกกามวิตก ( คือความรำพึงในกาม ) กัดกินอยู่ ยังขวนขวายแสวงหากามารมณ์อยู่

    ก็ยังนับว่าเป็นคนหนุ่มอยู่โดยแท้ ไม่นับว่าเป็นคนแก่เฒ่าเลย แต่แม้ถึงยังเป็นคนหนุ่ม มีผมดำสนิทก็ตามยังมีอายุอยู่ในปฐมวัยก็ตาม ถ้าไม่บริโภคกามารมณ์ ไม่ถูกกามวิตกกัดกิน ไม่ขวนขวายแสวงหาหามารมณ์ ก็นับว่าเป็นคนแก่เฒ่าโดยแท้ ”

    เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว กัณฑรานพรหามณ์ได้ลุกขึ้นห่มผ้าลดไหล่ข้างหนึ่ง และกราบลงที่แทบเท้าของพระภิกษุหนุ่มทั้งหลาย แล้วกล่าวขึ้นว่า “ ท่านทั้งหลายเป็นคนแก่ ท่านทั้งหลายตั้งอยู่ในภูมิคนแก่ พวกข้าพเจ้าเป็นคนหนุ่ม เป็นเด็ก ตั้งอยู่ในภูมมิของคนหนุ่มของเด็ก ข้าพเจ้าขอนับถือพระพุทธศานาตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ”

    อนึ่ง พระภิกษุและสามเณรทั้งหลายไม่ไหว้พวกคฤหัสถ์ ทั้งที่เป็นคนหนุ่มและคนแก่นั้น ๆ ก็เป็นเพราะพวกคฤหัสถ์ ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกามารรมณ์จึงจัดว่าตั้งอยู่ในภูมิของเด็ก และภูมิของคนหนุ่มนั้นเอง

    ส่วนพระภิกษุและสามเณรทั้งหลาย จัดว่าอยู่ในภูมิของผู้ใหญ่ ในภูมิของคนแก่ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์ทั้งหลาย


ความสามารถพิเศษของพระมหากัจจายนเถระ

    พระมหากัจจายนเถระ เป็นพระพุทธสาวก ที่มีสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดสามารถอธิบายธรรมที่เพื่อให้พิศดาร ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเลื่อมใสๆ

    ๑. อัตตปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ สามารถอธิบายความย่อให้พิศดารได้

    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถเอาความโดยย่อจากธรรมที่พิสดารได้

    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในนิรุตติ มีความเชี่ยวชาญในภาษา สามารถพูดให้คนอื่นเลื่อมใสได้

    ๔. ปฏิภานปฏิสมัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาร มีไหวพริบและปฏิภาน สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้

    นอกจากนี้ ยังมีพระะรรมเทศนาของท่านอีกหลายกัณฑ์ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ คือ การทำสังคายนา ได้แก่

    ๑ . ภัทเทกรัตตสูตร เป็นสูตรที่แสดงถึงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่ง ๆ มีแต่ความงาม ความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู่ที่ไม่มัวครุ่นคิดถึงอดีต ไม่เพ้อฝันหวังอนาตค ใช้ปัญญาพิจรณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายามทำกิจที่ควรทำตั่งแต่ในวันนี้

    ๒ มธุรสูตร เป็นสูตรที่ท่านแสดงแก่พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ในขณะที่ท่านพักอยู่ที่คุณธาวัน มธุรราชธานี สุตรนี้มีใจความแสดงถึงความไม่แตกต่างกันของวรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พรามณ์ แพศย์ และศูทร วรรณะทั้ง ๔ นี้แม้จะถือตัวอย่างไร เหยียดหยามกันอย่างไร แต่ถ้าทำดีก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันทั้งหมดถ้าทำชั่วก็ต้องรับโทษไปอบายเหมือนกันทั้งหมดทุกวรรณะเสมอกัน ในพระธรรมวินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะอะไร แต่เป็นสมณะเหมือนกันทั้งหมด ที่พระเถระกล่าวสูตรนี้ ก็เพราะพระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรถามปัญหากับท่านเกี่ยวกับเรื่องของพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเกิดจากพรหม ท่านจึงแก้ว่าไม่เป็นความจริงแล้วยกตัวอย่างเป็นข้อ ๆ ดังนี้

    ๑ . ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นผู้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง วรรณะเดียวกัน และวรรณะอื่นย่อมเข้าไปหา ย่อมเป็นบริวารของวรรณะนั้น

    ๒. วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอ เหมือนกันทั้งหมด

    ๓ วรรณะใดทำโจรกราม ทำปรทาริกกรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับอาญาเหมือนกันทั้งหมดไม่มียกเว้น

    ๕. วรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ การบำรุง และการคุ้มครองรักษา เสมอเหมือนกันทั้งหมด

    เมื่อพระเถระแสดงเทศนานามมธุรสูตรจบลงแล้ว พระเจ้ามธุรราช ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา


พระมหากัจจายนเถระแปลงร่าง
ดังที่เคยกล่าวมาแล้วในตอนต้นแล้วว่า พระมหากัจจายนะเถระเป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลืองดุขจดังทองคำสะอาดผ่องใส เป็นที่ต้องตาถูกในแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั้งทีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่าโสเรยยะเหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยานพาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระมหาเถระกำลังยืนห่มจีวรเพื่อเข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “ งามจริงหนอ พระเถระรูปนี้น่าจะเป็นภรรยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภรรยาของเรามีผิวกายเหมือนพระเถระรูปนี้ ”

    ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก

    และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียนพ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา แต่เขาเดินเขาเดินได้ไม่เท่าไหร่ ก็เดินไม่ไหว จึงได้ถอดแหวนวงหนึ่งเป็นค่าจ้าง เพื่อขออาศัยนั่งไปบนเกวียน

    ชนทั้งหลายเห็นโสเรยะแล้ว ต่างชมกันเป็นเสียงเดียวว่า “ สวย” หาที่ติมิได้และนางก็ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น

    “ ชายที่ไม่เคยเป็นหญิง หรือหญิงที่ไม่เคยเป็นชายไม่มีเลย”

    ด้วยกว่าชายทั้งหลายประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น ตายไปถูกไฟไหม้อยู่ในนรกหลายร้อยแสนปี แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ แต่ต้องเป็นหญิงตั้ง ๑๐๐ ชาติ

    แม้พระอานนทเถระได้สร้างบารมีมาแล้วหนึ่งแสนกัป ชาติหนึ่งท่านเกิดในตระกูลช่างทอง ได้ประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น ตายไปถูกไฟไหม้อยู่ในนรก แล้วกลับมาเกิดเป็นหญิงและเป็นภรรยาของบรุษอยู่ ๑๔ ชาติ ทั้งได้เป็นหมันอยู่ได้ ๗ ชาติ

    แต่ถ้าปรารถนาจะเป็นชาย กระทำบุญทั้งหลาย มีทานเป็นต้นหมดควาวมพอใจเป็นหญิง พึงตั้งไว้ใจว่า

    “ ขอบุญของเรานี้ จงให้เราได้เกิดเป็นชาย” เวลาตายแล้วก็จะได้เกิดเป็นชายได้ด้วยอำนาจการปฏิบัติดีต่อสามี

    โสเรยะได้อยู่ร่วมกับบุตรเศรษฐี จนมีบุตร ๒ คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมืองโสรยยะนั้น เขามีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียวกัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและทั้งแม่ หรือเป็นทั้งผัว และก็เมียในชาติเดียวกันนี้

    ต่อมา พระมาหากัจจายนเถระจาริกมายังเมืองตักศิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราวของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระมหาเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดยตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระมหาเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัตภาพเดียวเท่านนั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักของพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา

    พระมหากัจจายนเถระ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “ พระบรมศาดาของพวกเราเสด็จมาแล้ว ” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปร่างลักษณะละม้ายคล้ายกับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง

    พระกัจจายนเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตร่างกายของท่านให้เปลี่ยนแปลงผิดแปลกผิดไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อเตี้ยท้องป่อง หมดความงามดังที่พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการะบูชาในทุกวันนี้


ได้รับยกย่องในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะกราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ฟัง

    พระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังพิศดารแล้วกล่าวแนะนำว่า “ ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด”

    พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระมหาเถระ เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะอธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็อธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”

    เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิศดาร

    ท่านพระมหากัจจายนเถระ ดำรงสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน..