พระนันทกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุณี
   พระนันทกะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาวัตถี เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้นมาได้มีโอกาสไปฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้ว เกิดศรัทธาเลื้อมใส ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

   ท่านก็เป็นอีกรูปหนึ่ง ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการละลึกชาติในอดีตของตยเองและสัตว์อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในการเเสดงธรรมแก่พุทธวริษัททั้ง ๔ สามารถชี้แจงยกอุปมาอุปไมยอธิบาย จนทำให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง

   ท่านเคยแสดงธรรมแก่พระภิกษุณี จำนวนถึง ๕๐๐ รูป จนได้บรรลุพระอรหัตผล ณ วัดราชการาม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งในครั้งนั้นขณะที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พระมหาปชาวดีเถรีได้พาภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป มาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อรับฟังธรรมเทศนาและพระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายให้ภิกษุทั้งหลาย จัดวาระผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปแสดงธรรมแก่ภิกษถณีเหล่านั้น และในบรรดาภิกษุสาวกเหล่านั้น ก็มีพระนันทกะรวมอยู่ด้วย


หลีกเลี่ยงแสดงธรรมแก่พระภิกษุณี

   พระสาวกรูปอื่น ๆ เมื่อถึงวาระของตนก็ไปแสดงธรรมตามหน้าที่ด้วยดีทุกองค์ แต่พอถึงวาระของพระนันทกะ ท่านไม่ไปแสดงธรรมเอง แต่ให้พระภิกษุรูปอื่นไปแสดงแทน เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะท่านระลึกชาติในอดีตได้ว่า “ ภิกษุณีเหล่านนั้น ในอดีตขาติเคยเป็นบาทาจาริกา ข้ารับใช้ของท่านมาก่อน” ดังนั้น ท่านจึงเกรงว่า “ ถ้าพระภิกษุพุทธสาวกรูปอื่นที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้ทราบความแล้ว อาจจะตำหนิท่านว่า ยังมีความผูกพันกับภิกษุณีเหล่านั้นอยู่ก็ได้ ”

   เรื่องนี้ ทรงทราบถึงพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชารับสั่งด้วยพระองค์เองให้พระนันทกะ ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเหล่านั้น ท่านไม่อาจจะขัดพระบัญชาได้ จึงต้องไปเมื่อถึงวาระที่มาถึง


สอนเรื่องอายตนะ

   พระเถระท่านแสดงธรรม ว่าด้วยเรื่องอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายในและภายนอกสัมผัสกันแล้ว ทำให้เกิดเวทา ถ้าชอบใจก็เกิดสุขเวทนา ถ้าไม่ชอบก็เกิดทุขเวทนา ถ้าไม่เกิดความรู้สึกชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจก็เป็นอุเบกขาเวทนา ท่านได้ชี้แจงให้เห็นว่า สิ่งเหล่านั้น ไม่เที่ยงแท้ ย่อมผันแปรเปลี่ยนไป ไม่มีตัวตนที่ควรจะยึดถือได้

   เมื่อพระภิกษุณีทั้งหลายแลเห็นพระนันทกเถระมาแต่ไกล ก็เตรียมแต่งตั้งอาสนาและจัดน้ำล้างเท้าไว้ พอพระนันทกเถระมาถึง จึงนิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะ แล้วพระภิกษุณีทั้งหลายก็พากับกราบไหว้พระเถระ และนั้งลงตามที่สมควรแก่ตน ๆ

   พระเถระจึงกล่าวกับพระภิกษุเหล่านั้นว่า “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย จะต้องมีการซักถามกัน เมื่อเธอทั้งหลายรู้ จงตอบว่ารู้ ถ้าไม่รู้ ก็ตอบว่าไม่รู้ และผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ขอให้ถามอาตมาได้ว่าข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ”

   พระภิกษุณีเหล่านั้น กราบเรียนตอบแสดงความพอใจต่อการที่พระเถระให้โอกาสว่า “ ข้าแต่ท่านพระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านกล่าวอนุญาตไว้เช่นนี้ กระทำให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความยินดียิ่ง เจ้าค่ะ ”

   พระเถระเริ่มต้นถามขึ้นว่า “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลายเข้าใจว่า จักษุ (ตา) โสตะ ( หู) ฆานะ ( จมูก) ชิวหา ( ลิ้น) กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ”

   พระภิกษุณี “ ไม่เที่ยง เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ”

   พระภิกษุณี “ เป็นทุกข์ เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือไม่ จะเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ควร เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุใดเล่า ”

   พระภิกษุณี “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเมื่อก่อนข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ได้เห็นด้วยปัญญาอันเห็นชอบตามความเป็นจริงว่า แม้ด้วยเหตุดังนี้ ๆ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราจึงไม่เที่ยง เจ้าค่ะ ” ( คำว่า อายตนะ ได้แก่ เครื่องรู้และสิ่งที่รู้หรือเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก )

   พระเถระ “ ถูกแล้ว น้องหญิงทั้งหลาย ความเห็นอย่างนี้ย่อมมีแก่พระอริยวาสก ผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง คือเห็นถ่องแท้ด้วยวิปัสสนาปัญญา ด้วยประการดังนี้ ” เมื่อท่านรับรองดังนี้แล้วท่านก็ตั้งปัญหาถามพระภิกษุณีเหล่านั้นต่อไปอีกว่า

   พระเถระ “ ดูก่อน น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งหลาย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ”

   พระภิกษุณี “ ไม่เที่ยง เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ”

   พระภิกษุณี “ เป็นทุกข์ เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป้็นตัวตนของเรา ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ควร เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ ข้อนั้นเพราะเหตุใด ”

   พระภิกษุณี “ เพราะเหตุว่า เมื่อก่อนนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้เห็นอย่างนี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า แม้ด้วยเหตุนี้ ๆ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องกาย) และธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นของเราจึงชื่อว่าไม่เที่ยงเจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ ดีแล้วน้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกย่อมเห็นข้อนี้ด้วยปัญญาอันเห็นชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ”

   เมื่อพระเถระกล่าวดังนี้แล้ว ได้เอ่ยถามพระภิกษุณีเหล่านั้นต่อไปอีกว่าว่า

   พระเถระ “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ”

   พระภิกษุณี “ ไม่เที่ยง เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ สิ่งได้ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกหรือเป็นสุขเล่า ”

   พระภิกษุณี “ เป็นทุกข์ เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ควร เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุใดเล่า ”

   พระภิกษุณี “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพเจ้าไม่ได้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า แม้ด้วยเหตุนี้ ๆ หมวดวิญญาณ ๖ เหล่านั้นของเรา ขึงชื่อว่า ไม่เที่ยง เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ ถูกแล้วน้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา คือเห็นชอบอย่างแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงอย่างนี้ ”

   ครั้นพระเถระกล่าวดังนี้แล้ว จึงกล่าวสอนพระภิกษุณีเหล่านั้นด้วยอุปมาและตั้งเป็นคำถามว่า

   พระเถระ “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เมื่อบุคคลจุดประทีปน้ำมัน อันว่าน้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวประทีปก็ดี แสงประทีปก็ดี ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปมาเป็นธรรมดาทั้งนั้น ผู้ใดจะกล่าวว่า ประทีปน้ำมันชนิดโน้นเมื่อถูกไฟไหม้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวประทีปก็ดี ล้วนเป็นของไม่เที่ยง มีการแปรผันไปเป็นธรรมดาทั้งนั้น เว่นแต่แสงประทีปนั้นเป็นของเที่ยง มีความยั่งยืนคงทน ไม่แปรสภาพดังนี้ จะเรียกว่าผู้นั้นว่าผู้กล่าวถูกหรือไม่ ”

   พระภิกษุณี “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผู้นั้นกล่าวไม่ถูก เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุไรเล่า ”

   พระภิกษุณี “ เพราะเหตุว่า ประทีปน้ำมันที่มีไฟไหม้อยู่นั้น น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวประทีบก็ดี แสงประทีปก็ดี ล้วนแต่ไม่เที่ยง มีการแปรผันไปทั้งหมด เป็นของไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนสภาพเป็นธรรมดาเหมือนกัน เจ้าค่ะ ” แสงจะมีได้ก็เพราะอาศัยไส้และน้ำมัน

   พระเถระ “ ข้อนี้อุปมาก็ฉันนั้นแหละน้องหญิงทั้งหลาย คือผู้ใดกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖ ของเราเป็นของไม่เที่ยง แต่ทุกข์หรือสุข หรือ ไม่ใช่ทุกข์หรือไม่ใช่สุขที่เราได้รับ เพราะอาศัยอายตนะภายในทั้ง ๖ นั้นเป็นของเที่ยง คือ มีสภาพยั่งยืนคงทนไม่แปรผัน ดังนี้ จะเรียกว่าผู้นั้นว่ากล่าวถูกหรือไม่ ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ถูก เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุใดเล่า ”

   พระภิกษุณี “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดจาก อายตนะภายในนั้น อาศัยปัจจัยที่เกิดขึ้นจากอายตนะภายในนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับไป เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ ถูกแล้ว น้องหญิงทั้งหลาย ควาววมเห็นเช่นนี้ ย่อมมีแก่พระอริยสาวกผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ”

   พระเถระจึงกล่าวเปรียบเทียบต่อไปอีกว่า “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ราก ลำต้น กิ่ง ใบ และเงาของต้นไม้ใหญ่ เป็นต้นไม้มีแก่น ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง มีการแปรผันไปเป็นธรรมดา จะมีผู้ใดมากล่าวว่า ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ของต้นไม้ใหญ่นั้น เป็นของไม่เที่ยง มีการแปรเปรลี่ยนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้ใหญ่นั้นเป็นของเที่ยง คือเป็นของยั่งยืนคงทนไม่แปรผัน ดังนี้ จะเรียกว่าผู้นั้นว่า ผู้กล่าวถูกหรือไม่ ”

   พระภิกษุณี “ ผู้นั้นกล่าวไม่ถูก เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุไรเล่า ”

   พระภิกษุณี “ เพราะเหตุว่า ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ตลอดถึงเงาของต้นไม้ใหญ่นั้น ล้วนเป็นของไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปสภาพไปเป็นธรรมดา เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละน้องหญิงทั้งหลาย ”

   พระเถระจึงกล่าวยกอายตนะภายนอกขึ้นมาซักซ้อมว่า “ นี่แน่ะน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราเป็นของไม่เที่ยง แต่ทุกข์หรือสุก หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ที่เราได้รับเพราะอาศัยอายตนะภายนอก ๖ นั้น เป็นของเที่ยง เป็นของยั่งยืนคงทนถาวรไม่แปรผัน ดังนี้ จะว่าผู้นั้นกล่าวถูกหรือไม่ ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ถูก เจ้าค่ะ”

   พระเถระ “ เพราะเหตุไรเล่า ”

   พระภิกษุณี “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับไป เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ“ ถูกแล้วน้องหญิงทั้งหลาย ความเห็นชอบเช่นนั้นย่อมมีแก่พระอริยสาวกผู้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังว่ามาแล้ว ”

    แล้วพระเถระ ก็กล่าวอุปมาโดยอื่นต่อไปอีกว่า “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลายคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคตายแล้ว ใช่มีดแล่โคอันคมกริบชำเเหละโค แยกเนื้อภายในไว้ส่วนหนึ่ง แยกหนังภายนอกไว้ส่วนหนึ่ง ชำแหละส่วนที่เป็นเนื้อล่ำ เอ็น เครื่องรัดรึงภายในออกเป็นส่วน ๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออกคลุมโคนั้นไว้ แล้วเขาก็กล่าวว่า โคนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้เหมือนอย่างเดิมนั้นเอง ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวถูกหรือไม่ ”

   พระภิกษุณี “ ไม่ถูก เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ“ เพราะเหตุไรเล่า ”

   พระภิกษุณี “ เพราะเหตุว่า คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชานฉลาดนั้น ครั้นฆ่าโคตายแล้ว ก็ใช้มีดที่คมแล่ แยกเนื้อภายในไว้ส่วนหนึ่ง แยกหนังไว้ส่วนหนึ่ง เอ็น เครื่องรัดรึงภายใน ออกมาเป็นส่วน ๆ แล้วเอาหนังคลุมโคนั้นไว้ ถึงผู้นั้นจะกล่าวว่า โคนั้นยังมีหนังหุ้มห่ออยู่เหมือนเดิมก็ตามโคนั้นก็แยกกันจากหนังหุ้มห่อผืนนั้นแล้ว เจ้าค่ะ ”

   พระเถระ “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย อาตมาได้ยกอุปมานี้มาแสดง เพื่อจะให้ทราบความหมายแห่งคำสอน ”

   คำว่า ก้อนเนื้อภายในนั้น ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ เนื้อที่ติดหนังภายใน เอ็นภายใน เครื่องรัดรึงภายในนั้นได้แก่ ราคะ และมีดอันคมกริบนั้น ได้แก่ ปัญญาของพระอริยเจ้า ใช้ตัดเสียซึ่งกิเลสภายใน ตัดสังโยชน์ ( กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้ในวัฏสงสาร) ภายใน และตัดเครื่องรัดรึงภายใน


สอนเรื่องโพชฌงค์

   ลำดับต่อมา พระเถระจึงกล่าวสอนโพฌงค์ คือองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ แก่ พระภิกษุณีเหล่านั้นว่า

   “ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์มีอยู่ ๗ ประการที่พระภิกษุอบรมให้มากแล้ว ก็ได้สำเร็จเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาวสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง

   โพชฌงค์ ๗ ประการนั้นได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ สติ คือ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ คือความสงบใจและอารมณ์ สมาธิ คือ ความตั้งใจมั้น อุเบกขา คือ ความวางเฉย ที่ต้องอาศัยวิเวก คือความสงัดวังเวง ความคลาย ความดับ การน้อมไปในความสละ ดังนี้

   เมื่อพระเถระสอนธรรมะแก่พระภิกษุณีเหล่านั้น ด้วยโอวาทดังที่แสดงมาแล้วทั้งหมด แล้วท่านจึงบอกกับพระภิกษุณีเหล่านั้นว่า “ กลับไปเถิดน้องหญิงทั้งหลาย เพราะถึงเวลาอันสมควรแล้ว ”

   พระภิกษุณีเหล่านั้นได้แสดงความชื่นชมยินดีต่อคำสอนของพระนันทกเถระจึงพากันลุกขึ้นแสดงความเคารพและได้พากันไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วจึงยืนเฝ้าอยู่ด้วยความเคารพยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ไปเถิดภิกษุณีทั้งหลายถึงเวลาอันควรแล้ว ”

   หลังจากพระภิกษุณีเหล่านั้นกลับไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า “ ความเคลือบแคลงหรือความสงสัยของประชุมชนย่อมไม่มีในวันอุโบสถที่ ๑๔ ค่ำว่า พระจันทร์พร่อมหรือเต็ม แต่พระจันทร์ก็ยังพร่องอยู่ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุณีเหล่านั้น ถึงจะมีความยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะก็จริง แต่ยังไม่เต็มความประสงค์ คือยังไม่บรรลุอรหัตผล ฉันนั้น ”

   เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสสั่งพระนันทกเถระว่า “ ดูก่อนนันทกะ วันพรุ้งนี้เช้า เธอจงสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยธรรโมวาทนั้นอีก ”

   วันรุ้งเช้าขึ้นมาพระเถระไปสอนพระภิกษุณีเหล่านั้น โดยใช้ธรรมะที่สอนแล้วเมื่อวานมาสอนอีกครั้งหนึ่งตามพระพุทธประสงค์

    เมื่อพระภิกษุณีเหล่านั้นได้ฟังธรรมกถาของพระนันทกเถระซ้ำอีกครั้งหนึ่งก็ได้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอรหันต์หมดทุกรูป ด้วยอนิสงส์ที่สามารถควบคุมจิตให้สงบจากความรักความผูกผันในอดีตชาติได้ แล้วได้พากันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พอสมควรแก่เวลา ได้พากันกราบทูลลากลับที่สำนักแห่งตน

    เมื่อพระภิกษุณีเหล่านั้นออกจากที่เฝ้าไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับพระภิกษุณีทั้งหลายว่า “ ความเคลือบแคลงหรือความสงสัยของคนเป็นจำนวนมาก ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์พร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็เต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้นก็มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของนันทกะ ฉันนั้น ”

   ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาดา จึงยกย่องพระนันทกเถระในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ให้โอวาทภิกษุณี

   ท่านดำรงออายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...