พระมหากัปปินเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ
    พระมหากัปปินะ เป็นพระโอรสของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองนครกุกฏวดี ในปัจจันตชนบท มีพระนามเดิมว่า “ กัปปินะ” เมื่อพระราชบิดาทิวงคตแล้วได้อักครมเหสีพระนามว่า “ อโนชาเทวี ” ซึ่งเป็นพระราชธิดาบิดาทิวงคตแล้วได้ครอบครองราชสาบัติสืบต่อมา ได้พระนามใหม่ว่า “พระเจ้ามหากัปปินะ” มีพระอีครเหสีพระนามว่า “ อโนชาเทวี ” ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระผู้ครองนครสาคละ แห่งแคว้นมัททรัฐ

   พระเจ้ามหากัปปินะ มีพระราชหฤทัยใฝ่ต่อการศึกษาแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะทรงฝักใฝ่ในการออกบวชเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานอันเป็นธรรมเบื้องสูง ๆ วันพระองค์จะส่งอำมาตย์ออกไปสืบข่าวจากทิศทั้ง ๔ ว่ามีข่าวอะไรบ้าง โดยเฉพาะข่าวเกี่ยวกับพระรัตนตรัย อำมาตย์เหล่านั้นออกจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ทุกวัน ค่ำแล้วก็กลับมารายงานข่าวให้ทรงทราบ

   พระเจ้ามหากัปปินะ มีม้าเป็นพระพาหนะ ๕ ม้า คือ ม้าชื่อพละม้าชื่อพลวาหนะ ม้าชื่อปุปผะ ม้าชื่อปุปผวาหนะ และม้าชื่อสุปุตตะ โดยปกติพระองค์จะทรงม้าชื่อสุปัตตะเป็นประจำ ส่วนม้าเหลือจะพระราชทานให้อำมาตย์หรือทหารใช้เป็นพาหนะไปสืบข่าวต่าง ๆ


ทรงทราบข่าวพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลก

   วันหนึ่ง พระองค์เสด็จประพาสราชอุทยานพร้อมด้วยอำมาตย์ และราชบริพาร ๑,๐๐๐ คน ได้พบพ้อค้าที่เดินทางมาจากเมืองสาวัตถี รับสั่งให้เข้าเฝ้าถามข่าวสารจากเมืองสาวัตถีนั้น ครั้นเมื่อพ่อค้าได้กราบทูลว่า

   “ ขอเดชะ ข่าวอื่นไม่มี แต่ในเมืองสาวัตถีนั้น บัดนี้ มีพระพุทธเจ้ามีพระธรรม และมัพระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก พระเจ้าข้า ”

   พระเจ้ามหากัปปินะ พอได้สดับคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น ทั่วทั้งพระวรกายถูกปีติโสมนัสเข้าครอบงำอย่างท้น จนหลงลืมพระสติไปชั่วขณะ พอสติสัมปชัญญะกลับคืนมาแล้ว พระองค์ได้ตรัสถามซ้ำอีกถึง ๓ ครั้ง บรรดาพ่อค้ากราบทูลยืนยันเช่นเดิม

    จึงรับสั่งให้อำมาตย์เขียนพระราชสาสน์ถึงพระชายา แล้วรับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้าจำนวน ๓ แสนกหาปณะและขอสละราชสมบัติให้พระชายารับครอบครองสืบต่อไป ส่วนพระองค์เองพร้อมด้วยอำมาตย์ผู้ใกล้ชิดเหล่านี้ จะขอออกบวชอุทิศเฉพาะแด่พระผู้มีพระดังนี้แล้ว มอบพระราชสาสน์นั้นให้พ่อค้านำไปถวายแด่พระชายา แม้อำมาตย์เหล่านั้นก็เขียนจดหมายถึงภรรยาของตน ๆ ดุจเดียวกัน จากนั้นได้ติดตามพระเจ้ามหากัปปินะ ออกจากพระราชอุทยานมุ่งสู่พระนครสาวัตถี


เสด็จออกผนวชพร้อมด้วยอำมาตย์

   เส้นทางเสด็จของพระเจ้ามหากัปปินะนั้น เต็มไปด้วยความยากลำบากทุรกันดารผ่านทั่งป่าและภูเขา โดยเฉพาะมีแม่น้ำใหญ่ ๓ สาย คือ แม่น้ำอาราวปัจฉา แม่น้ำนีลวาหนา และแม่น้ำจันทภาคา ขวางหน้าอยู่ ซึ่งแต่ละสายนั้น ทั้งกว้างและลึกมาก จะข้ามได้ก็ต้องอาศัยเรือหรือแพขนาดใหญ่ ซึ่งก็หาได้ยาก

   พระเจ้ามหากัปปินะ ทรงพระดำริว่า “จะรอเวลาหาเรือหรือแพก็จะทำให้ล่าช้า เพราะความเกิดไปความแก่ ความแก่นำไปสู่ความเจ็บและความเจ็บนำไปสู่ความตาย ทุกลมหายใจเข้าออกย่อมนำไปสู่ความแก่และความตายทั้งนั้น เราไม่ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร จึงทรงกระทำสัตยาอธิษฐานว่า

   “ ถ้าพระศาสดาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงแล้วขอให้ม้าวิ่งไปบนหลังน้ำได้อย่าให้เปียกแม้แต่หลังเล็บเท้า ”

    ครั้นทรงมีพระตั้งสัตยาอธิษฐานดังนี้แล้ว ทรงระลึกถึงคุณพุทธคุณเป็นอารมณ์มั่นคงดีแล้ว จึง เสด็จลงสู่แม่น้ำพร้อมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ คน ม้าทั้งหลายวิ่งบนผิวน้ำเหมือนกับวิ่งลงบนแผ่นดิน แม้แต่ปลายกีบม้าก็ไม่เปียกเลยสักนิดเดียว

   ครั้นเสด็จมาถึงแม่น้ำสายที่สองชื่อว่า นิลวาหนาและแม่น้ำจันทรภาคา สายที่สาม พระองค์ก็ตั้งสัตยาธิษฐานระลึกถึงพระธรรมคุณและพระสังฆ์คุณอย่างมั่นคง ก้เสด็จข้ามไปได้โดยความสดวกสบาย


พระพุทธองค์ทรงรับเสด็จ

   เวลาใกล้รุ่งของราตรีนั้น พระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้ามหากัปปินะพร้อมทั้งบริวาร ผู้ทรงสละราชสมบัติ ออกผนวชอุทิศเฉพาะพระรัตนตรัย ท้าวเธอพร้อมทั้งบริวารจักบรรลุพระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สมควรที่เราตภาคตจักกระทำการต้อนรับเสด็จ ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ทรงบาตรและจีวร เสด็จออกต้อนรับสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ประหนึ่งว่าพระเจ้าจักรพรรดิทรงต้อนรับกำนันนายบ้าน ฉะนั้น ได้ประทับเปล่งพระรัศมีภายใต้ต้นนิโครธ ณ ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา

   พระจ้ามหากัปปินะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระรัศมีนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า “ แสงสว่างนี้ไม่ใช่แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ หรือแสงสว่างจากเทวดาตนใดตนหนึ่ง จักต้องเป็นแสงสว่างแห่งพระบรมศาดาอย่างแน่นอน ” เมื่อทรงพระดำริดังนี้แล้ว เสด็จลงจากหลังม้าหร้อมทั้งบริวาร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามสายแห่งพระรัศมีนั้น ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง

   พระพุทธองค์ ทรงแสดงอนุปปุพพิกถา คือ พระวาจาที่กล่าวไปโดยลำดับ นับแต่ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอนิสงส์การออกจากกามทั้งอนิสงส์การบวช เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมทั้งบริวารได้บรรลุโสดาบัน คือ พระอริยบุคคลชั้นต้น ( โสดาบัน คือผู้ถึงกระแสธรรมหรือกระแสพระนิพพาน)

   ลำดับนั้น ชนทั้งปวงมีพระเจ้ามหากัปปินะทรงเป็นประธานได้พากันลุกขึ้นยืนกราบทูลขอ ขออุปสมบท พระพุทธองค์ได้ประทานด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา


พระราชเทวีและภรรยาอำมาตย์ออกบวช

   พระนางอโนชาเทวี ได้รับสารจากพ่อค้าเหล่านั้น ตรัสซักถามได้ทราบความแน่ชัดทุกประการแล้ว เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าเช่นกัน ให้รางวัลแก่พ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ชักชวนภรรยาอำมาตย์ทุกคนเสด็จออกบวช พอบรรลุถึงแม่น้ำ อารวปัจัฉา อันเป็นแม่น้ำสายที่หนึ่งแล้ว พระนางทรงดำริว่า “ น้ำก็ลึก และแม่น้ำก็กว้าง ยานพาหนะที่จะให้ข้ามก็ไม่มี ในการนี้ พระมหากษัตริย์คงจะทรงกระทำสัจกิริยาเป็นแน่ จึงทรงสามารถเสด็จข้ามไปได้ ”

   การเสด็จอุบัติขึ้นในโลกของพระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ว่าพระองค์จะทรงอำนวยประโยชน์แก่บุรุษจำพวกเดียวเท่านั้น แม้จริงพระองค์อำนวยประโยนช์แก่ชาวโลก เมื่อพระนางทรงดำริดังนี้แล้ว จึงทรงกระทำสัจกิริยาว่า

   “ ถ้าพระศาสดาทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงแล้ว ขออย่าให้รถของข้าพระองค์ทั้งหลายจมหายลงในแม่น้ำนี้เลย ”

   ครั้นพระราชเทวีทรงเสียงสัตย์ฉะนี้แล้ว ทรงตั้งพระทัยยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่เพิ่ง พากันขับรถข้ามแม่น้ำอารปัจฉาไป โดยน้ำไม่ได้เปียกเลยสักนีดเดียว

   การข้ามแม่น้ำนีลวาหนาสายที่สองและแม่น้ำจันทรภาคา สายที่สามพระนางได้ทรงกระทำสัจกิริยาพาบริวารข้ามไปได้โดยสวัสดิ์ดี ด้วยการระลึกถึงพระธรรมและพระสงฆ์

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเสด็จดุจเดียวกันกับพระเจ้ามหากัปปินะและทรงบันดาลฤทธิ์มิให้สามีภรรยาเหล่านั้นเห็นกัน เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อการฟังธรรม

   อนึงการที่พระองค์ทรงใช้พระพุทธานุภาพบิดปังไว้ไม่ให้พวกหญิงเหล่านั้นแลเห็นพระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสามี มีลักษณะอันแปลกไปเช่น ครองผ้าเหลือง ศรีษะโล้น ตั้งแต่ในขณะที่มาถึงซึ่งจิตยังไม่แน่วแน่ พอเห็นเข้าแล้ว ฉันทราคะ คือ ความกำหนัดยินดีจะเกิดขึ้น ไม่อาจฟังพระธรรมเทศนาและบรรลุมรรคผลได้

   เมื่อพระนางเสด็จมาถึงแล้ว ได้กราบทูลถามถึงพระราชสามีและหมู่อำมาตย์ พระบรมศาสดารับสั่งให้ประทับนั่งลงก่อนแล้วจะได้พบกัน ณ ที่นี่ เมื่อพระราชเทวีและหญิงเหล่านั้นประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปพพิกถาให้สดับ เมื่อจบคาถา พระราชเทวีและหญิงเหล่านั้นก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ส่วนพระมหากัปปินะและพระภิกษุบริวารเหล่านั้นซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วยก็ได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยการทั้งหมด พระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์ให้พระราชเทวีเห็นพระราชสามี และหญิงเหล่านั้นเห็นสามีของตน เวลานี้ท่านเหล่านั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว พระนางอโนชาและหญิงบริวารเหล่านั้นพากันกราบไหว้ และทรงทูลขอบรรพชาอุปสมบท

    พระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงพระอุบลวรรณาเถรี ๆ รู้วาระการทรงดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ต้องการให้ท่านไปสู่สถานที่นั้น ด้วยเจโตปริยญาณ คือ ความรู้จักวาระจิตของผู้อื่น พระเถรีจึงเหาะมาในสถานที่นั้น

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอุบาสิกาเหล่านั้นว่า พวกเธอจงไปสู่กรุงสาวัตถี จงบรรพชาอยู่ในสำนักภิกษุณีเหล่านั้นเถิด

   พระอุบลวรรณาเถรีนำพาอุบาสิกาทั้งหลายมีพระนางอโนชาอุบาสิกาเป็นต้น เดินทางมาสิ้นระยะทางหนึ่งร้อยยี่สิบโยชน์ ก็ถึงสำนักของพระภิกษุณีทั้งหลาย และบรรพชาอยู่ในสำนักพระภิกษุณีเหล่านั้น แล้วประพฤติพรตพรหมจรรย์จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาพระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป เสด็จตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหารโดยทางอากาศ


พระมหากัปปินะเปล่งอุทาน

   พระมหากัปปินเถระนั้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่พักหรือที่ใดก็ตามท่านมักจะเปล่งอุทานว่า “ สุขหนอ สุขหนอ ” อยู่เสมอ พระภิกษุทั้งหลายคิดว่าท่านยังระลึกถึงความสุขในราชสมบัติอยู่ จึงพากันไปกราบทูลพระบรมศาสดา พระพุทธองค์แม้ทราบแล้ว แต่ก็รับสั่งให้พระมหากัปปินเถระเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามเหตุแห่งการเปล่งอุทานให้ได้ยินกันทั่ว ณ ที่นั้น เพื่อคลายความสงสัยแล้วตรัสว่าว่า

   “ ดูก่อนกัปปินะ ได้ทราบข่าวว่า เธอเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ นั้น หมายถึงความสุขในราสมบัติใช่หรือไม่ ”

   พระมหากัปปินเถระกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ย่อมทรงทราบอยู่แล้วว่า ข้าพระองค์เปล่งอุทาน หมายถึงกามสุข คือ สุขในราชสมบัติหรือไม่ พระเจ้าข้า ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัปปินะบุตรของเรานี้ เปล่งอุทานอย่างนั้นเพราะปรารภอมตมหานิพพาน เป็นการเปล่งเพราะความเอิบอิ่มในธรรม ” ครั้นตรัสรับรองพระมหากัปปินเถระดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาธรรมความว่า

   ผู้มีปิติในธรรม ผู้มีใจผ่องใส ย่อมนอนเป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมะที่พระอริยประกาศไว้แล้วในกาลทุกเมื่อ ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชมเชยท่านพระมหากัปปินเถระว่า เป็นผู้มีความสง่างาม มีฤทธิ์มาก มีอนุภาพมาก และมีความสามารถ

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหารอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

   ครั้งนั้นท่านพระมหากัปปินเถระจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินเถระผู้มาแต่ไกลแล้ว จึงตรสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาตรัสถวามว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุที่กำลังมานั้นหรือไม่ เป็นผู้มีผิวขาว สูงโปรง จมูกโด่ง ”

   พระภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็น พระเจ้าข้า ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชมเชยว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแหละมีฤทธิ์มมาก มีอานุภาพมาก ก็สมาบัตินั้นไม่เคยเข้าแล้ว ไม่ใช่หาได้ง่าย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบพึงต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ( ของเธอ) ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จไปดีแล้ว ทรงเป็นพระศาสดา ครั้นตรัสไวยกรณภาษิตแล้ว จึงตรัสคาถาคือคำประพันธ์ประเภทร้อยกลองในภาษาบาลี ต่อไปว่า

   ในชุมนุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร ( วงศ์สกุล หรือเผ่าพันธิ์) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐในเทวดาและมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยววิชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐ

   พระอาทิตย์ย่อมแผดแสงในเวลากลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องสว่างในเวลากลางคืน กษัตริย์ผู้ทรงผูกสอดเครื่องรบ ย่อมมีสง่า พราหมณ์ผู้เพ่งฌาณย่อมรุ่งเรือง

   ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ด้วยเดชานุภาพตลอดเวลา กลางวันและเวลากลางคืนทั้งหมด ดังนี้


ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ

   วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกพระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระมหากัปปินเถระเข้ามาพร้อมกัน แล้วตรัสถามว่า

   “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัปปินะผู้เป็นอาจารย์ของพวกเธอเคยแสดงธรรมข้อใดข้อหนึ่งให้พวกเธอฟังบ้างหรือเปล่า ”

   พระภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอาจารย์แห่งข้าพระองค์ทั้งปวงไม่เคยแสดงธรรมะข้อใดข้อหนึ่งแก่ข้าพระองค์เลย พระอาจารย์ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ย่อมประกอบอยู่ในทิฐธรรมสุขวิหาร คือ อยู่เป็นสุขสบายในธรรมที่ท่านได้เห็นแล้ว ไม่ยอมให้โอวาทสั่งสอนผู้ใดผู้หนึ่งเลย พระเจ้าข้า ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้พระมหากัปปินถระมาเฝ้าแล้วตรัสถามว่า “ ดูก่อนกัปปินะ เธอไม่ได้ใหโอวาทแก่อันเตวาสิก ( ภิกษุผู้อยู่ในปกครองของอาจารย์ , ภิกษุผู้เป็นศิษย์ ) ทั้งปวงนั้นจริงหรือไม่ประการใด ”

   พระมหากัปปินเถระกราบทูลตอบว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงดังนั้น พระเจ้าข้า ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ กัปปินะ เธอเป็นขีณาสพ เธออย่ากระทำอย่างนี้เลย นับตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมะแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด ”

    ท่านพระมหากัปปิเถระน้อมรับพระพุทธฏีกาใส่เศียรเกล้า แล้วแสดงธรรมะแก่ภิกษุทั้งหลายสืบต่อมาโดยลำดับ

   ครั้นต่อมาวันหนึ่งท่านสอนพระภิกษุณี คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ในอนาคตกาล แล้วรีบกระทำสิ่งที่มีประโยชน์ ละสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อย่าให้ทันศัตรูหรือหมู่อมิตรจับผิดได้ บุคคลผู้นนั้นเรียกว่า ผู้มีปัญญาดี

   ผู้ใดเจริญอานาปานุสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าและออกให้บริบูรณ์ดีและถูกต้องตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นจะให้โลกนี้ให้สว่างได้เหมือนกับพระจันทร์พ้นจากกลีบเมฆ ฉะนั้น

   จิตของเราผ่องใสแล้ว เจริญดีหาประมาณมิได้ เป็นจิตที่เราประคองไว้เป็นนิจย์ ย่อมกระทำให้ทิศทั้งสิ้นสว่างไสว

   ท่านยังได้สอนพระภิกษุณีให้เข้าใจถึงคุณค่าของปัญญาว่า

   บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็มีชีวิตอยู่ได้ ผู้ไม่มี ปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็ไม่ชื่อว่ามีชีวิตอยู่ ปัญญาย่อมเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องทำให้มีชื่อเสียง และความสรรเสริญ ( จากวิญญูชนทั้งหลาย )

   นรชนในโลกนี้ บุคคลผู้มีปัญญา แม้ในเวลาที่ตกทุกข์ ก็อาจแสวงหาความสุขได้ ธรรมะนี้ไม่ใช่เป็นของมีในวันนี้ ไม่ใช่เป็นของอัศจรรย์ ไม่ใช่เป็นของที่เคยมีมาแล้ว

   ต่อจากนั้น ท่านได้สอนพระภิกษุณีให้เข้าใจถึงเรื่องความไม่เที่ยงว่า

   ความไม่เที่ยง ไม่ใช่ไม่เคยมีมา ไม่ใช่เพิ่งมามีในวันนี้ แต่มีมานานแล้ว และไม่ใช่ของแปลกประหลาด เพราะมีให้เห็นอยู่เนือง ๆ เมื่อสัตว์ที่เกิดมาแล้วก็มีความเป็นอยู่กับความตายเท่านั้นเป็นของแท้แน่นอน สัตว์ที่เกิดมาแล้ว ย่อมตายไปเป็นธรรมดาอย่างนี้

   ชีวิตใดเป็นประโยชน์แก่บุคคลเหล่าอื่น ชีวิตอย่างนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว

   ขณะนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่าภิกษุณีบางรูปยังเสียใจถึงคนที่ตายจากไป จึงสอนว่า

   อันการร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้เกิดยศ เกิดทรัพย์ไม่ทำให้เกิดความสรรเสริญ สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญการร้องไห้ การร้องไห้ย่อมกระทำให้เสียจักษุ กระทำให้ผิวพรรณและเสื่อมกำลังกระทำให้เสียความคิด ผู้ที่เป็นข้าศึกทั้งหลายย่อมมีจิตใจยินดี ส่วนที่เป็นมิตรพลอยเป็นทุกข์ไปด้วย

   เพราะฉะนั้น บุคคลจึงต้องการให้ผู้มีปัญญา ( นักปราชญ์) ผู้สดับเล่าเรียนมา ( พหูสูต ) อยู่ในตระกูลของตน เพราะบุคคลทั้งหลายย่อมกระทำกิจด้วยกำลังปัญญา ผู้มีปัญญาและพหูสูตเหล่านั้น เหมือนกับบุคคลข้ามแม่น้ำ อันมีน้ำเต็มเปี่ยมฝั่งได้ด้วยเรือฉะนั้น

   เมื่อพระภิกษุณีเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทเหล่านี้แล้ว ก็บรรเทาความเศร้าโศกลงได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องดี แล้วกระทำประโยชน์ของตนให้บริบูรณ์

   พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ให้โอวาทภิกษุ

   ท่านพระมหากัปปิเถระ เมื่อท่านดำรงอายุสังขารมาถึงกาลอันสมควรแล้ว ท่านก็ได้ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นสถานบรมศานติสุขนั้น....