พระมหาโกฏฐิตเถระ
เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
   พระมหาโกฏิฐิตะ เป็นพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะกับนางพรหามณีชื่อ จันทวดี ในเมืองสาวัตถี เดิมชื่อว่า “ โกฏฐิตะ ” ตระกูลของท่านจัดว่าอยู่ในระดับมหาเศรษฐี ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี แต่บิดาของท่านมีทิฏฐิแรงกล้ายึดมั่นในลัทธิศาสนาพรหามณ์อย่างมั่นคง เมื่อท่านเจริญวัยได้ศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์จบไตรเพท

   เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เที่ยวงจาริกเผยแผ่หลักธรรมคำาอนไปตามคามนิคมต่าง ๆ ทั้งในเมืองและชนบท ได้เสด็จมาถึงหมู่บ้านที่อัสสลายนพราหมณ์ตั้งนิวาสสถานอยู่ ได้ทรมานอัสสลายนพราหมณ์จนละทิฏฐมานะ และแสดงตนเป็นพุทธมามกะปวารณาตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสารณะตลอดชีวิต


ทิ้งพราหม์ถือพุทธ

   โกฏฐิมาณพ เห็นบิดาหันมายอมรับนับถือพระรัตนตรัยก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นบ้าง ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ยิ่งเกิดศรัทธามากขึ้น ถึงกับมีจิตน้อมไปในการออกบวชเพื่อปฏบัติตามพระธรรมวินัย จึงกราบทูลขอบวชต่อพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้พระโมคคัลลานเถระเป็นพระอาจารย์

   ในขณะที่ท่านกำลังโกนผมอยู่นั้นท่านได้พิจรณาในกรรมฐานไปเรื่อย ๆ พอผลัดเปลี่ยนผ้าสาฏกของคฤหัสถ์ออกแล้วนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ในขณะนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๓ และวิโมกข์ ๓

   พระมหาโกฏฐิตะนั้น แม้ท่านจะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ท่านก็ยังมีปกติฝักใฝ่ในการศึกษา ไม่ว่าท่านจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาหรือเข้าไปหาพระเถระรูปอื่น ๆ ท่านก็มักจะถามปัญหาในปฏิสัมภิทาอยู่เสมอ ๆ จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาเป็นพิเศษ มีเรื่องปรากฏในมหาเวทัลลสูตรมัชฌิมนิกายว่า


เป็นผู้แตกฉานเพราะชอบถามปัญหา

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ พระมหาโกฐิตเถระ ได้ขอโอกาสกราบเรียนถาม ข้อข้องใจกับพระสารีบุตรเถระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า

   “ ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ คนเช่นไร ที่เรียกว่าคนทุปัญญา ขอรับ ? ”

   “ ดูก่อนมหาโกฏฐิตะ คนทุปัญญา ก็คือ คนไม่มีปัญญา ”

   “ เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า คนไม่มีปัญญา ขอรับ ? ”

   “ คนไม่มีปัญญา ก็คือคนไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ทำให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ และสิ่งนี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ส่วนคนอีกพวกหนึ่งที่รู้ความจริงเหล่านี้ ท่านเรียกว่า คนมีปัญญา ”

    พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้กราบเรียนถามต่อไปว่า

   “ ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น หมายความว่าอย่างไร ขอรับ ? ”

   “ ดูก่อนมหาโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น ก็เพราะรู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ”

   “ ท่านขอรับ ปัญญากับวิญญาณนี้ รวมกันหรือแยกกัน ขอรับ ? ”

   “ ดูก่อนมหาโกฏญิตะ ปัญญากับวิญญาณนี้ อยู่รวมกัน ไม่อาจแยกกันได้ กล่าวคือ บุคคลรู้ในสิ่งใดก็รู้สึกในสิ่งนั้น บุคคลรู้สึกในสิ่งใดก็รู้ในสิ่งนั้นเป็นต้น ”

   พระเถระทั้งสองนั้น ได้สนทนาธรรมในข้อสงสัยต่าง ๆ กันต่อไป พอสมควรแก่เวลาแล้ว พระมหาโกฏฐิเถระ ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ยินดีในปรีชาความรู้ของพระอุปัชฌาย์ ( พระสารีบุตรเถระ) แล้วกราบลากลับสู่ที่พักของตน

   ด้วยเหตุแห่งการฝักใฝ่ในการศึกษา จนเป็นที่เชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทาเป็นพิเศษนี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำเเหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔

   ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนา สมควรแก่การเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...


ปฏิสัมภิทา ๔

   

๑ . อัตถปฏิสัมภิทา    ปัญญาแตกฉานในอรรถ

   ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา     ปัญญาแตกฉานในธรรม

   ๓ . นิรุตติปฏิสัมภิทา    ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ

   ๔ . ปฏิภาณปฏิสัมภิทา     ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ


วิชชา ๓

   

๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ     รู้จักระลึกชาติได้

    ๒ . จุตูปปาตญาณ     รู้จักกำหนดจุติและเกิด

    ๓ . อาสวักขยญาณ     รู้จักทำอาสวะให้สิ้น


วิโมกข์ ๓

   

๑ . สุญญตวิโมกข์     ความพ้นโดยเป็นสภาพว่าง
คือว่างจากระคะ โทสะ โมหะ

   ๒ . อนิมิตตวิโมกข์     ความพ้นโดยหาเครื่องหมายมิได้
เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องหมาย

   ๓ . อัปปณิหิตวิโมกข์     ความพ้นโดยหาที่ตั้งมิได้ คือไม่มี
ราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้ง