พระโสณโกฬิวิสเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ปรารถนาความเพียร
    พระโสณโกฬิวิสะ เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองจำปา แคว้นอังคะ มีชื่อเดิมว่า “ โสณะ” ซึ่งแปลว่า “ ทองคำ” เพราะว่าท่านมีผิวพรรณสวยงาม มาแต่กำเนิดส่วนคำว่า “ โกฬิวิสะ” เป็นชื่อโคตรตระกูล บิดาอุสภเซรษฐี
มีขนสีเขียวขึ้นที่ฝ่าเท้า

    ท่านโสณะ เป็นผู้มีความชำนาญในการดีดพิณสามสาย เป็นคนสุขุมาลชาติ มีความละเอียดอ่อน ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี บิดาได้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักอยู่อันเหมาะสมกับภูมิอากาศใน ๓ ฤดูกาล ให้บิริโภคเฉพาะอาหารที่ปราณีตซึ่งหุงจากข้าวสาลีชนิดเลิศ บิดาให้คนใช้ปลูกเองในเนื้อที่ ๖๐ กรีส ให้บำรุงเลี้ยงข้าวสาลีที่ปลูกเองนั้นด้วยน้ำ ๓ ชนิด คือ น้ำธรรมดา น้ำผสมน้ำนม และผสมน้ำหอม และให้ดูแลรักษาเป็นอย่างดีด้วยวิธีมุงบังด้วยผ้าขาวบาง เพื่อป้องกันสัตว์ต่าง ๆ มาเกาะกัดกินต้นข้าว

   ท่านเป็นคนสุขมมาลชาติ ฝ้ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มและมีสีแดงดังดอกชบา โดยเฉพาะที่ฝ่าเท้านั้นมีขนอ่อนสีเขียวเมือนแก้วมณีงอกขึ้น   ขนนั้นยาวประมาณ ๔ นิ้ว เส้นละเอียด มีสัมผัสอ่อนนุ่ม เสมอเหมือนปุยนุ่นอันงาม ( ซึ่งปะชี คือ ดีดฝ่ายให้เป็นปุย ขนนั้นเกิดที่พื้นเท้าทั้งสองของท่าน และสิ่งนี้ทำให้เป็นพิเศษประการหนึ่ง และตลอดเวลา ๙๐ กัปที่ล่วงมา ท่านไม่รู้สึกในเมื่อเท้าวางลงภาคพื้นที่ไม่มีเครื่องลาดรองรับเท้า ซึ่งแปลกว่ากว่าคนอื่นทั่วไป

    ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้พสกนิการของพระองค์ในหมู่บ้าน ๘๐,๐๐๐ ตำบล ในแคว้นอังคะ มาประชุมกันที่ลานของพระราชวัง เพื่อรับฟังพระราโชบาย พร้อมกันนี้ได้รับสั่งให้อุสภเศรษฐี ส่งโสณะ โกฬิสะบุตรของตนมาเข้าเฝ้าด้วย เพื่อจะทอดพระเนตรฝ่าเท้าที่มีขนสีเขียวเหมือนเเก้วมณีงอกออกมาตามที่ข่าวเล่าลือ

    อุสภเศรษฐี ได้อบรมบุตรของตนให้ทราบถึงระเบียบมารยาทในการเข้าเฝ้าโดยห้ามเหยียดเท้าไปทางที่ประทับ อันเป็นการไม่สมควร แต่ให้นั่งขัดสมาธิซ้อนเท้าทั้งสองไว้บนตัก หงายฝ่าเท้าขึ้น เพื่อให้ทอดพระเนตร

    โสณโกฬิวิสะ เมื่อเข้าเฝ้า ก็ได้ปฏิบัติตามที่บิดาสั่งสอนทุกประการ พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรแล้วหายสงสัย จากนั้นได้โปรดประทานโอวาท และชี้แจงพระราโชบายเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองให้พสกนิการทราบแล้ว ทรงนำพสกนิการเหล่านั้นพร้อมทั้งโสณโกฬิวิสะ ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดาถึง ที่ประทับ

    ขณะนั้น พระสาคตะ รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงพาพสกนิกร มาขอโอกาสเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงฤทธิ์ โดยดำดินลงไปแล้ว โผล่ขึ้นที่หน้าพระคันฑกุฏีบนยอดภูเขาชฌกูฏนั้น ประชาชนทั้งหลายเห็นแล้วก็เกิดศรัทธาอัศจรรย์ใจและสนใจในตัวท่านจนลืมสนใจพระพุทธเจ้าไปขณะหนึ่ง

    พระผู้มีพระเจ้าทรงทราบความอัศจรรย์ใจของคนเหล่านั้น จึงทรงรับสั่งให้พระสาคตะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก พระสาคตะได้เหาะขึ้นไปแสดงฤทธิ์กลางอากาศทันทีด้วยการเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บังหวน ควันบ้าง พ่นไฟบ้าง หายตัวบ้าง ครั้นแล้วก็ลงมาจากอากาศเข้าไปหมอบกราบพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้วประกาศขึ้น ๓ ครั้งว่า

    “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นพระศาสดา ส่วนข้าพระองค์เป็นพระสาวกของพระองค์”

    พสกนิกรของพระเจ้าพิมพิสารที่มาชุมนุมอยู่นั้นได้เห็นและได้ฟังดังนั้นก็คิดก็คิดได้ว่า พระสาวกยังมีความสามารถเพียงนี้ แล้วพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ( ครูสอน) เล่าจะมีความสามารถถึงเพียงไหน พวกเขาต่างละความสนใจจากพระสาคตะหันมาสนใจในพระพุทธเจ้าดุจเดิม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาสจึงทรงแสดงอนุปพพิกาและอริยสัจ ๔ มี

    ๑. ทุกข์ คือความลำบาก หรือความเดือนร้อน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ทำให้เกิดปัญหาแก่การดำเนินชีวิตมนุษย์และสัตว์ แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆคือ

   สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

   ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่ได้คาดคิด

   ๒. สมุทัย คือ ต้นเหตุหรือที่เกิดแห่งทุกข์ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา(ความอยาก) มี ๓ ลักษณะคือ กามตัณหา คือ ความอยากในกาม คำว่ากามในพระพุทธศาสนาแปลว่า ความใคร่ ภวตัณหา คือ ความอยากได้มากขึ้น หรือความอยากที่เป็นนามธรรม วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น คือ ไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่เป็นการหนีปัญหา

   ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ คือการละตัณหา ๓ ประการดังกล่าว เมื่อละเหตุกระตุ้นแห่งทุกข์เสียได้ความทุกข์ย่อมไม่มี

   ๔. มรรค คือ ทางดับทุกข์ ( ศีล สมาธิ ปัญญา ) โปรดคนเหล่านั้นให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล

   ส่วนโสณโกฬิวิสะ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ได้พิจารณาเห็นว่าการอยู่ครองเพศฆราวาสนั้น ยากนักที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึงกราบทูลขออุปสมบท ซึ่งพระบรมศาสดารับสั่งให้กลับไปขออนุญาตจากบิดามารดาก่อน เมื่อโสณโกฬิวิสะปฏิบัติตามระเบียบเรียบร้อยแล้วจึงประทานการอุปสมบทให้ตามความประสงค์


ทรงแนะนำให้ทำความเพียรเหมือนพิณ ๓ สาย

   ครั้นบวชแล้ว ได้บำเพ็ญเพียรที่ป่าสีตวัน เขตเมืองราชคฤห์ ท่านเดินจงกรมอย่างหนักจนฝ่าเท้าแตก เลือดไหล เมื่อเดินด้วยเท้าไม่ได้ ท่านจึงใช้วิธีคลานด้วยเข่าและฝ่ามือทั้งสอง จนกระทั่งเข่าและฝ่ามือทั้งสองแตกอีกแม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่บรรลุมรรคผลอันใด ท่านจึงเกิดความท้อแท้น้อยใจในวาสนาบารมีของตนว่า “ บรรดาสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนักนั้น เราก็เป็นหนึ่ง ที่มิได้ย่อหย่อนกว่าผู้อื่น ถ้ากระไรเราควรลาสิกขาออกไปครองเพศฆราวาส ทำบุญสร้างกุศลตามสมควรแก่ฆราวาส ใช้ทรัพย์ของเราตามสบาย เช่น ให้ทานกระทำบุญดีกว่า เพราะว่าทรัพย์สมบัติในตระกูลของเราก็มีอยู่เป็นจำนวนมากมากมาย ”

   พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบดำริของท่านเช่นนั้น จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของท่าน และประทับนั่งบนอาสนะที่พระเถระจัดตั้งรับไว้เป็นดันดีแล้วตรัสกับท่านว่า

   “ นี่แนะ โสณะ ขณะที่เธออยู่ในที่สงัดเธอได้คิดว่า “เราเป็นผู้มีความเพียรแรงกล้าผู้หนึ่งในจำนวนพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนักนั้น เราก็เป็นหนึ่ง ที่มิได้ย่อหย่อนกว่าผู้อื่น ถ้ากระไรเราควรลาสิกขาออกไปครองเพศฆราวาส ทำบุญสร้างกุศลตามสมควรแก่ฆราวาสวิสัยจะดีกว่า ดังนี้มิใช่หรือ”

   “ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ใช่ พระเจ้าข้า” พระโสณะโกฬิวิสเถระ กราบทูลตอบไปตามความเป็นจริง

   พระผู้มีพระภาคเจ้า “ นี่แนะโสณะ ในสมัยที่เธอยังเป็นฆราวาสอยู่ เธอฉลาดในการดีตพิณมิใช่หรือ” การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเรื่องพิณเพื่อจะทรงนำข้อเปรียบเทียบมาตรัสสอน

   พระโสณะโกฬิวิเถระ “ ใช่พระเจ้าข้า”

   พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนโสณะ สายพิญที่ขึงตึงเกินไป เวลาดีตเสียงพิณดังเพราะหรือไม่”

   พระโสณะโกฬิวิเถระ “ ไม่เพราะ พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนโสณะ สายพิญที่ขึงหย่อนเกินไป เวลาดีตเสียงพิณจะมีเสียงเพราะหรือไม่”

   พระโสณะโกฬิวิเถระ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พิณมีเสียงไม่เพราะ พระเจ้าข้า”

   พระผู้มีพระภาคเจ้า “ โสณะ สายพิณที่ขึงไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไปนัก ขึงตึงอยู่ในระดับพอดี เสียงพิณก็จะมีเสียงเพราะชวนฟังใช่ใหม”

   พระโสณะโกฬิวิเถระ “ ใช่ พระเจ้าข้า”

   พระผู้มีพระภาคเจ้า “ นี่แนะโสณะ สายพิณนี้ฉันใด ความเพียรก็ฉันนั้น ขณะที่มีความเพียรแรงกล้าเกินไป ใจก็ฟุ้งซ่าน ถ้ามีความเพียรย่อหย่อนนัก ใจก็เกียจคร้าน เพราะฉนั้นเธอจงกระทำความเพียรให้พอดี และจงรู้จักความพอดีแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ได้แก่ ศรัทธากับปัญญา วิริยกับสมาธิ ต้องพอดี ๆ กันโดยตลอด เธอจงกำหนดหมายในข้อนี้”

   พระโสณะโกฬิวิเถระกราบทูลรับว่า “ พระเจ้าข้า”

   ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสอนท่านอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จนิวัติยังภูเขาคิชฌกูฏ

   พระโสณโกฬิวิสเถระ ปฏิบัติตามพระดำรัสที่ทรงแนะนำ ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกินไป ปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้แล้ว ไม่นานนักท่านก็ได้บรรลุพระอรหันผล อันเป็นที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลายผู้บรรพชา แล้วรู้แจ้งว่า สิ้นความเกิดอีกแล้วสำเร็จพรหมณ์จรรย์ ได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำแล้ว ไม่มีสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อความอย่างนี้อีก เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ณ ป่าสีตวันนั้น


มูลเหตุทรงอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้าได้

   พระโสณฬิวิสเถระ ครั้นได้เป็นพระอรหันต์แล้ว จึงคิดว่า “ เราควรไปเฝ้าพระผู้มีพระถาคเจ้า ควรประกาศความเป็นพระอรหันต์ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า” แล้วท่านได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบถวายบังคมแล้วนั่งลงในสถานที่สมควรกับฐานะของตน และพอท่านนั่งลงเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลขึ้นว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระภิกษุรูปใดเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ สำเร็จพรหมณ์จรรย์ ได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำเสร็จแล้ววางภาระอันหนักแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตน หมดเครื่องเกาะเกี่ยวไว้ในภพ รูปชอบแล้วจึงหลุดพ้นจากอาสวะ พระภิกษุรูปนั้นย่อมเป็นผู้มีใจน้อมไปในคุณ ๖ สถาน คือ

    ๑. มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ คือ การบรรพชา หรือการออกจากกาม

   ๒. มีใจน้อมไปในวิเวก คือความเงียบสงัด

   ๓. มีใจน้อมไปในความไม่พยาบาท คือ ไม่มีความคิดปองร้ายหรือแก้แค้น

   ๔. มีใจน้อมไปในความสิ้นตัณหา คือ สิ้นความทะยานอยาก

   ๕. มีใจน้อมไปในความไม่มีอุปาทาน คือหมดความยึดมั่นถือมั่น

   ๖. มีใจน้อมไปในความไม่มีโมหะ คือ ไม่ลุ่มหลง

    บางคนคงคิดเห็นว่า ท่านผู้นี้มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ เพราะอาศัยสักว่า ศรัทธา คือความเชื่อเท่านั้น แต่ไม่ควรคิดเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า เพราะว่าพระภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จพรหมณ์จรรย์ได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำแล้ว เมื่อเล็งไม่เห็นสิ่งที่ตนยังควรกระทำมีอยู่ หรือเล็งไม่เห็นการสะสมสิ่งที่ตนได้กระทำแล้ว ใจก็น้อมไปในเนกขัมมะ เพราะความปราศจากสิ้นราคะ โทสะ โมหะ

   บางคนคงคิดเห็นว่า ท่านผู้นี้ มีใจน้อมไปในวิเวก เพราะมุ่งหวังลาภสักการะ สรรเสริญ...ฯลฯ

   บางคนคงคิดเห็นว่า ท่านผู้นี้ มีใจน้อมไปในการไม่พยาบาท ...ฯลฯ ท่านผู้นี้มีใจน้อมไปในความสิ้นตัญหา...ฯลฯ ท่านผู้มีใจน้อมไปในความไม่มีอุปาทาน...ฯลฯ ท่านผู้นี้ มีใจน้อมไปในความไม่มีโมหะ เพราะถือสีลัพพตปรามาส . คือถือว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลและวัตร ว่าเป็นแก่นสาร

   แต่ไม่ควรคิดเห็นอย่างนั้น เพราะว่าพระภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จพรหมณ์จรรย์ได้กระทำสิ่งที่ควรกระทำแล้ว เมื่อเล็งไม่เห็นสิ่งที่ตนควรกระทำมีอยู่ หรือเล็งไม่เห็นการสะสมสิ่งที่ตนได้กระทำแล้ว จึงมีใจน้อมไปในวิเวกในการไม่พยาบาท ในความสิ้นตัญหา ในความไม่มีอุปาทาน ในความไม่มีโมหะเพราะความปราศจากสิ้นราคะ โทสะ โมหะแล้ว พระเจ้าข้า

   ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ถึงจะมี “รูป” ที่ต้องรู้สึกด้วย “ ตา” “ เสียง” ที่ต้องรู้สึกด้วย “หู” “กลิ่น” ที่ต้องรู้สึกด้วย “ จมูก” “รส” ที่ต้องรู้สึกด้วย “ ลิ้น” “ โผฏฐะพพะ” ที่ต้องรู้สึกด้วย “ กาย” และ “ ธรรม” ที่ต้องรู้สึกด้วยใจ “ ใจ” มาปรากฏกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของพระภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้

   สิ่งเหล่านั้นไม่อาจครอบงำจิตของ พระภิกษุนั้นได้ จิตของพระภิกษุนั้นไม่ถูกทำเจือปน ก็ตั้งมั่นอยู่เนื่อง ๆ เท่านั้น จิตของพระภิกษุนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอารมณ์ทั้งหลายที่มากระทบเหมือนภูเขาศิลาล้วน ไม่มีช่อง หรือไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ ถึงจะมีลมฝนแรงกล้า พัดมาจากทิศทั้ง ๔ คือ ทิศบูรพา ( ทิศตะวันออก) ทิศประจิม ( ทิศตะวันตก) ทิศอุดร ( ทิศเหนือ) ทิศทักษิณ (ทิศใต้ ย่อมไม่สามารถทำให้หวั่นไหวได้ ฉันนั้น พระเจ้าข้า”

   พระโสณฬิวิสเถระ พอท่านกล่าวเช่นนี้แล้ว และ กล่าวคาถา ( คือบทประพันธ์ประเภทร้อยกรองเป็นภาษาบาลี) ดังต่อไปนี้อีก ความว่า

   จิตของภิกษุผู้น้อมไปในเนกขัมมมะ ผู้น้อมไปในความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไปในความไม่เบียดเบียน ผู้น้อมไปในความสิ้นตัญหา ผู้น้อมไปในความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้น ( จากกิเลส) โดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำและการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นโดยชอบ มีจิตสงบ

   ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย) และธรรมารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดกับใจ) ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็น “ อิฎฐารมณ์” ( อารมณ์ที่น่ายินดี) และ “ อนิฏฐารณ์” ( อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี) ย่อมทำจิตอันนั้นตั้งมั่น ที่หลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้มีใจคงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น และภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น

   มีเรื่องพระพุทดำรัสชมเชยและตรัสอนุญาติแก่ท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ อยู่ในพระบาลีคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฏก ซึ่งว่าด้วยเรื่องธัมมขันธกะ ( เครื่องหนังต่าง ๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดต้น) กล่าวต่อไปว่า

   “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วตรัสสรรเสริญพระโสณโกฬิวิสเถระกับภิกษุทั้งหลายว่า “ กุลบุตรทั้งหลายเช่นโสณะ ย่อมประกาศความเป็นพระอรหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมกล่าวแต่ใจความไม่น้อมตนเข้ามาเปรียบเทียบ ส่วนโมฆบุรุษ ( คือบุรุษไม่มีความรู้) บางจำพวกชอบ อวดอ้างยืนยันว่า “ ตนเป็นพระอรหันต์ แล้วเดือดร้อนในภายหลัง”

   ครั้นตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสต่อไปอีกว่า “ ดูก่อนโสณะ” เธอเป็นผู้มีความสุขมาแต่กำเนิด ตถาคตอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวให้แก่เธอ”

   พระโสณะโกฬิวิสเถระกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงสวัสดิ์ ข้าพระองค์ได้สละเงินทองมีเป็ยจำนวนแปดสิบเล่มเกวียนออกบรรพชา และโขลงช้างอีกเจ็ดโขลง จะมีผู้ติเตียนได้ว่า บัดนี้พระโสณะก็ยังเกี่ยวข้องกับรองเท้าเพียงชั้นเดียวอยู่อีก ถ้าพระองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายใช้รองเท้าได้ ข้าพระองค์ก็จะใช้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงอนุญาติ ข้าพระองค์ก็ไม่ใช้ พระเจ้าข้า”

   สาเหตุที่พระเถระกราบทูลเป็นเชิงเเกมรับแกมปฏิเสธอยู่ในที เพราะกลัวคำครหา

   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ ตถาคตอนุญาตรองเท้าชั้นเดียวแก่ภิกษุทั้งหลาย และเว้นรองเท้าหลายชั้นเสีย

   (ต่อมาภายหลัง พระมหากัจจยนะ กราบทูลอนุญาตรองเท้าหลายชั้นในปัจจันตชนบท ตั้งแต่นั้นมาพระภิกษุสงฆ์จึงสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้)

   ด้วยเหตุที่ท่านทำความเพียรอย่างหนักดังกล่าวมา พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ปรารภความเพียร

   ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...


ตั้งความปรารถนาในอดีตชาติ

   ในศาสนาของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ท่านได้เกิดเป็นมหาเศรษฐีผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ก่อสร้างที่จงกรมโบกด้วยปูน และประดับด้วยดอกไม้ต่าง ๆ พร้อมทั้งขึงผ้าเป็นเพดานไว้ในเบื้องบนสถานที่จงกรมถวายแด่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทั้งยังสร้างศาลาขึ้นอีกหนึ่งหลังถวายแก่พระภิกษุสงฆ์

   เมื่อบรรลุมาถึงพุทธกาลของพระปทุมุตตะพุทธเจ้า ท่านได้เกิดขึ้นในตระกูลเศรษฐี ในเมืองหงสวดี มีชื่อว่า “ สิริวัฑฒะ”

   เมื่อสิริวัฑฒะเจริญวัยใหญ่กล้า วันหนึ่งได้ไปฟังธรรมในพระวิหาร ได้เห็นพระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระเถระรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ คือเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ฝ่ายมีความเพียร จึงคิดว่า “ เราก็ควรจะได้เป็นเช่นพระเถระรูปนั้นบ้างในอนาคตกาล”

   พอเขาคิดได้อย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลอาราธนาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พร้อมกับพระภิกษุสาวกทั้งหลาย เพื่อไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น

   พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ

   การถวายภัตตาหาร ท่านสิริวัฑฒเศรษฐีกระทำอยู่เจ็ดวัน และในวันที่เจ็ดหลังจากถวายภัตตหาร และพระฉันจังหันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาจึงตั้งความปรารถนาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ขอให้ได้รับตำแหน่งอันเลิศ เช่นพระเถระรูปนั้นในอนาคตกาลโน้น

   พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นความสำเร็จแห่งการปรารถนานั้น จึงทรงพยากรณ์ว่า “ ความปราถนาของเธอจะสำเร็จสมมโนรถ” ( ความหวัง, ความใฝ่ฝัน) แล้วเสด็จกลับพระวิหารที่ประทับ

   สิริวัฑฒเศรษฐีดีใจมากดูเหมือนว่าความปรารถนานั้นจะสำเร็จในวันนี้พรุ้งนี้ ความศรัทธาเลื่อมใสยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ และตั้งใจบำเพ็ญกุศลต่อมาจนตลอดชีวิต พอท่านสิ้นชีวิตก็ได้ท่องเที่ยวเสวยทิพย์สมบัติ และมนุษยสมบัติอยู่ชั่วหนึ่งแสนกัป สิริวัฑฒเศรษฐีได้กลับมาเกิดเป็นกุลบุตรผู้หนึ่งในเมืองพาราณสี

   วันหนึ่ง สิริวัฑฒะพร้อมด้วยสหายได้พากันไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา บังเอิญไปพบกับพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ซึ่งมีจีวรเก่าคร่ำคร่า ท่านกำลังเที่ยวหาท้อนไม้และเครือเถาไม้ที่น้ำพัดมา ๆ รวมกันอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงพร้อมกับพวกสหายเข้าไปกราบไหว้และเรียนถามท่านว่า” ข้าแต่พระคุณเจ้าจะกระทำสิ่งใด ขอรับ”

   พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า “ เวลานี้เป็นเวลาจวนจะเข้าพรรษา บรรพชิตทั้งหลายควรจะหาสถานที่เข้าจำพรรษา อาตมาจะกระทำบรรณศาลา ( โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้) เพื่ออยู่จำพรรษา”

   เมื่อรู้ความประสงค์ดังนี้แล้ว สิริวัฑฒกุลบุตรและพวกสหายจึงกราบเรียนว่า ” ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้าจงรออยู่ที่นี่ พวกข้าพเจ้าจะกระทำที่อยู่ถวายพระคุณเจ้าในวันพรุ้งนี้ ขอรับ”

   พระปัจเจกพุทธเจ้าก็รับนิมนต์ด้วยคิดที่จะสงเคราะห์พวกกุมารเหล่านี้

   ครั้นพวกกุมารพอทราบว่าพระปัจเจกพุทธเจ้ารับแล้ว จึงกลับมาจัดเครื่องสักการะบูชา คอยท่าพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่แต่เช้าตรู่

   ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านคิดขึ้นในตอนเช้าว่า “ วันนี้เราจะได้อาหารที่ไหน แล้วท่านก็นึกถึงสิริวัฑฒกุมารขึ้นได้ จึงไปที่ประตูบ้านของสิริวัฑฒกุมาร ๆ พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามาถึงบ้าน ก็รีบออกไปรับบาตรของท่านนำไปจัดอาหารใส่บาตร แล้วนำกลับมาถวายและกล่าวนิมนต์ว่า “ ขอพระคุณเจ้าจงมารับบิณฑบาตที่บ้านของกระผมนี้จนตลอดพรรษานี้เถิด ขอรับ”

   เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าฉันจังหันเสร็จแล้ว สิริวัฑฒกุมารพร้อมทังพวกสหายพากันไปสร้างบรรณศาลา ที่จงกรมที่พักกลางวันและกลางคืนถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า

   ส่วนสิริวัฑฒกุมารนั้นได้ถวายผ้ากัมพลแดงผืนหนึ่ง ซึ่งมีราคาหนึ่งพันกหาปณ อันเป็นผ้าห่มของตนสำหรับใช้เป็นผ้าปูพื้นเวลาจะนิมนต์ท่านขึ้นสู่ศาลา ด้วยคิดว่า “ อย่าให้ดินที่เท้าของท่านเปื้อนศาลาเลย และเมื่อได้เห็นสีกายของพระปัจเจกพุทธเจ้ากับผ้ากัมพลเป็นอันเดียวกัน ยิ่งเกิดความเลื้อมใสขึ้นอีก จึงกล่าวขึ้นว่า “ เวลาที่พระคุณเจ้าเหยียบไปบนผ้ากัมพลนี้ สีผ้ากัมพลนี้ย่อมแลดูงามมากขึ้นฉันใด ขอให้สีมือและสีเท้าของข้าพเจ้าจงมีสีแดงเหมือนดอกสะเอ้ง หรือดอกชบา จงให้สัมผัสของข้าพเจ้าเหมือนกับสำลีที่ประชีแล้วตั้ง ๗ ครั้ง ทุกภพทุกชาติไป”

   สิริวัฑฒกุมารนั้น ได้ถวายจตุปัจจัยบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ตลอดหนึ่งพรรษา เวลาปรารณาออกพรรษาแล้วจึงตัดถวายผ้าไตรจีวรอีก

   พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อรับถวายสิ่งของต่าง ๆ จนมีบริขารบริบูรณ์แล้วท่านก็กลับไปที่ภูเขาคันธมาทน์

   อีกเรื่องหนึ่งในอดีตชาติของท่าน (ในพระบาลีคัมภีร์ ขุททกนิกาย อปทาน แห่งอัมพฏผลวรรค ท่านได้เล่าเรื่องของท่านไว้ว่า

   ในพระศาสนาของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ท่านได้สร้างถ้ำสำหรับเป็นที่อยู่แห่งหนึ่ง ถวายแด่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ในสถานที่ใกล้กับ “ พันธุมาราชธานี” ท่านได้บริจากผ้าหลายผืนเพื่อปูลาดที่พื้นถ้านั้น และท่านได้บวช แต่ไม่สำเร็จพระอรหัต

   กาลครั้งนั้น ท่านเกิดมีจิตเบิกบานโสมนัส ( ดีใจ) ได้ตั้งความปรารถนาว่า ” ขอให้เราได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระทัยโปรดปราน พึงได้บรรพชา และพึงได้บรรลุพระนิพพานอันยอดเยี่ยม อันเป็นอุดมสันติ ( ความสงบอันสูงสุด) ด้วยกุศลมูล ( รากฐานของความดี) นั้นนั่นแหละ ท่านสามารถระลึกชาติได้ ๙๐ กัป ท่านเกิดเป็นเทวดาหรือเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี ได้เป็นผู้ก่อสร้างบุญรุ่งเรืองนัก ด้วยกรรมอันเหลือจากนั้น ในภพสุดท้ายนี้ ท่านได้เกิดเป็นบุตรคนเดียวของอัครเศรษฐีใน จำปานครดังที่ได้กล่าวมาแล้ว...