พระโสภิตเถระ
เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสนุสติญาณ
    พระโสภิตะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาวัตถี ชื่อบิดามารดาของท่านไม่ปรากฏ เมื่อท่านเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศีลปวิทยา คือ วิชาไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ต่อมาท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระเชตวันมหาวิหาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสกราบทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทแล้วศุกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญสมณธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็สำเร็จพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ ( ผล )

   ๒. ธัมมปฏบัติ ปัญญาอันแตกฉานในธรรม ( เหตุ )

   ๓. นิรุตติปฏสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ ( นิรุตติ คือ ภาษาที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ )

   ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ ( ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ การโต้ตอบ )

    นอกจากนี้ ท่านยังมีปกติสั่งสมวสี ๕ ประการ คือ ความชำนาญแคล่วคล่องในปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติในอดีตได้


วสี ๕ ประการ คือ

   ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการนึก

   ๒. สมาปัชชานวสี ความชำนาญในการเข้า

   ๓. อธิษฐานนวสี ความชำนาญในการหยุด

   ๔. วุฎฐานวสี ความชำนาญในการออก

   ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการพิจารณา

    หลักทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นหลักที่พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌานแล้ว ท่านกระทำให้คล่องแคล่วอยู่เป็นนิตย์

    ส่วนพระโสภิตเถระมีความชำนาญมาก และยิ่งเป็นการระลึกถึงบุพเพวาสานุสสติญาณ ” ด้วยแล้ว ก็มีความชำนาญกระทำได้คล่องแคล่วว่องไวมาก เพราะท่านสามารถระลึกถึงชาติก่อนได้โดยลำดับ จนถึงชาติที่เกิดในอสัญญีพรหม ได้แก่ พรหมพวกหนึ่งซึ่งมีเพียงรูปปรากฏอยู่ แต่ไม่มีสัญญาหรือสิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ หรือไม่มีความรู้สึก ( เรียกว่าพรหมลูกฟัก )

   ครั้นท่านนึกมาถึงชาติที่เกิดในอสัญญีพรหม แลไม่เห็นความเป็นไป แห่งจิตอยู่ตลอดระยะเวลา ๕๐๐ กัป เพียงแต่มาได้เห็นเฉพาะในท้ายที่สุดเท่านั้น ท่านจึงได้นึกว่านี้เป็นอย่างไร

   เมื่อนึกอย่างนี้ก็เข้าใจได้ว่า เป็นอสัญญีภพ คือภพที่ผู้เกิดขึ้นแล้วไม่มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ หรือไม่มีความรู้สึก

   เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ชื่อว่า “ อสัญญี ” เป็นเทพที่มีอายุยืนนาน โสภิตะเป็นผู้จุติมาจากเทพจำพวกนั้น แล้วมาเกิดในชาตินี้ ท่านพระโสภิตจึงระลึกถึงได้เพียงภพเดียวเท่านั้น ”


ได้รับยกย่องในทางระลึกบุเพนิวาสนานุสสติ

    ด้วยความชำนาญแคล่วคล่องดังกล่าวนี้ ครั้งหนึ่งนั่งพิจารณาการระลึกชาติในอดีตของท่านเองได้มากมายหลายแสนชาติแล้วเกิดปีติโสมนัส ขึ้นว่า “ เราเป็นผู้มีสติปัญญาระลึกชาติในอดีตได้ถึง ๕๐๐ กัป อย่างรวดเร็ว เหมือนนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในคืนเดียว ทั้งนี้ ก็เพราะเราเจริญสติปัฎฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีอง์ ๘ นั้นเอง

    ท่านนับเป็นพระขีณาสพผู้ประเสริฐ เลิศด้วยความรู้ความสามารถพระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้มีความสามารถในการระลึกชาติได้เสมอกับพระองค์ และทรงแต่งตั้งท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ระลึกปุพเพนิวาสนุสสติญาณ

    ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระพุทธศาสนาสมควรแก่การเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน..

   ท่านพระโสภิตเถระ ได้เล่าอัตชีวประวัติไว้ทั้งในส่วนที่เป็นอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ซึ่งปรากฏข้อความในพระบาลีคัมภีร์ขุททกนิกาย อปทานว่า

   ท่านผู้ชนะมาร ผู้ประเสริฐในโลก ผู้องอาจในนรชาติทรงพระนามว่า “ พระปทุมุตรพุทธเจ้า” ย่อมแสดงหนทางอันให้ถึงซึ่งอมตธรรม คือธรรมอันไม่ตายแก่ประชุมชนเป็นจำนวนมาก ” ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าแล้ว จึงได้ประคองอัญชลีขึ้นกล่าวสรรเสริฐพระปทุมุตตรพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า

   “ มหาสมุทรปรากฏว่ากว้างใหญ่กว่าแม่น้ำทั้งหลาย ภูเขาสิเนรุราชปรากฏว่าสูงใหญ่กว่าภูเขาทั้งหลาย ฉันใด บุคคลเหล่าใด พระพฤติตามอำนาจของจิต บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวแห่งญาณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น ”

   พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา เวลาทรงแสดงพระธรรมีกถาจบลงแล้ว ได้ตรัสขึ้นในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ว่า

   “ ผู้ใดสรรเสริญญาณของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระโลกนายก ผู้นั้นจักไม่ไปสู่ทุคติตลอดหนึ่งแสนกัป ผู้นั้นจักได้เผากิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป จะมีใจมีอารมณ์อันเดียว จะมีใจตั่งมั่นเป็นอันดี จะได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จะเป็นผู้มีชื่อว่า “ โสภิตะ ”

   ตกมาถึงพุทธกาลของพระสุเมธพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมแสวงหาประโยชน์อย่างสูงอยู่ทางทิศทักษิณในป่าหิมพานต์ ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในความมีลาภและความไม่มีลาภ ได้เลี้ยงชีวิตด้วยลูกไม้หัวมันอยู่ในอาศรม

   พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระนามว่า “ สุเมธ ” เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเวลานั้นถึงกาลล่วงไปได้สิบแปดปีแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ปัดกวาดอาศรม แล้วถือเอาเครื่องบริขารออกมาจากป่า การเดินทางได้แวะพักแห่งละหนึ่งคืน และเดินทางต่อมาจนกระทั้งถึงเมืองภัทวดี ในเวลานั้น พระสุเมธพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมเทศนาอยู่

   เมื่อจบการทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว บุคคลทั้งหลายต่างพากันกราบถวายบังคมลากลับไป ข้าพเจ้าได้ห่มผ้าลดไหล่ลงข้างหนึ่ง กระทำการกราบถวายบังคมพระยยุคคลบาทของพระองค์ แล้วกราบทูลสรรเสริญว่า

   “ พระองค์ทรงเป็นพระศาสดาของชาวโลก เป็นธงชัยของชาวโลก เป็นเจดีย์ ( ที่เคารพนับถือของชาวโลก) เป็นที่พึ่งของชาวโลก เป็นประทีปของชาวโลก เป็นผู้สูงสุดแห่งเพทยดาและมนุษย์ เป็นผู้นำเทพยดาและมนุษย์ให้ข้ามพ้นโลกได้ ไม่มีใครในโลกนี้จะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ ไม่มีใครในโลกกะความรู้ของพระองค์ได้ว่ามีเท่าไหร่ เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร ซึ่งไม่มีใครอาจกะประมาณได้ฉะนั้น ไม่มีใครอาจชั่งความรู้ของพระองค์ได้ ไม่มีใครอาจวัดความรู้ของพระองค์ได้ เหมือนกับไม่อาจวัดอากาศได้ฉะนั้น ” ครั้นกราบทูลสรรเสริญแล้ว ก็นิ่งอยู่

   พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบรมครูของชาวโลก จึงตรัสขึ้นว่า

   “ ดาบสผู้กล่าวสรรเสริญความรู้ของตถาคต จักมีความสุขอยู่ในเทวโลกตลอดเจ็ดเจ็ดกัป จะได้เป็นพระอินทร์อยู่พันชาติ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่หลายร้อยชาติ เป็นพระราชาเฉพาะประเทศนั้น ๆ นับชาติไม่ได้ ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาใด ๆ จะมีปัญญารอบรู้เร็วไวเสมอ ในสามหมื่นกัปข้าหน้า จะมีพระสัมสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระโคดมเสด็จอุบัติขึ้นในพระราชวงศ์ของพระเจ้าโอกการาช ดาบสนี้จะได้บรรพชา และสำเร็จเป็นพระอรหันต์แต่ในเวลาอายุเพียงเจ็ดขวบเท่านั้น ”

   พระโสภิตเถระยังได้เล่าต่อไปอีกว่า บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เผากิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป ได้สำเร็จวิชชา ๓ ประการแล้ว ได้กระทำตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

   ในกัปที่ห้าหมื่น ซึ่งเป็นกาลที่ล่วงมาแล้วนั้นข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า โสภิตะ นี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ อยู่ ๗ ชาติ มาถึงชาตินี้ข้าพเจ้าได้สำเร็จปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ประการแล้ว

   พระโสภิตเถระได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงไว้ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ นั้น คือ

   ๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือการแตกฉานในผล ได้แก่ความเข้าใจ อธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร

   ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา คือการแตกฉานในเหตุ ได้แก่ความเข้าใจ สาวหาเหตุหนหลัง

   ๓. นิรุตติปฏสัมภิทา คือการแตกฉานในการโต้ตอบ ได้แก่มีไหวพริบโต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที

   ผู้ทรงไว้ซึ่งวิโมกข์ ๘ คือความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยมรรค ๔ และผล ๔ หรือได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาร ๔


มรรค แปลว่าทาง มี ๔ ประการ ได้แก่

   ๑ . โสดาปัตติมรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลเป็นพระโสดาบัน

   ๒. สทาคามิมรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป็นพระสกทาคามี

   ๓. อนาคามีมรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี

   ๔. อรหัตมรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์


ผล หมายถึงสิ่งที่เกิดจากเหตุ หรือประโยชน์ที่ได้มี ๔ ประการได้แก่

   ๑. โสดาปัตติผล คือผลแห่งการเข้าถึงกระแสธรรม หรือกระแสพระนิพพาน

   ๒. สกทาคามีผล คือผลของผู้จะมาเกิดอีกครั้งเดียว

   ๓. อนาคามีผล คือผลของท่านผู้ไม่มาเกิดอีก

   ๔. อรหัตผลได้แก่ ผล คือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์


รูปฌาน คือฌานมีรูปธรรม เป็นอารมณ์ ๔ อย่าง ได้แก่

   ๑. ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ หรือฌานเบื้องต้น มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจาร ปีติ สุข เอตกัคคตา

   ๒. ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอตกัคคตา

   ๓. ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอตกัคคตา

   ๔. จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา


อรูปฌาน คือ ฌานมีรูปธรรมเป็นอามรมณ์ มี ๔ อย่าง ได้แก่

   ๑. อากาสานัญจายนฌาน คือกำหนดอาการ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์

   ๒. วิญญานัฐจายตนฌาน คือกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์

   ๓. อากิญจัญญายตนญาน คือการกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์

   ๔. เนวกิญญานาสัญญายตนฌาน คือกำหนดถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ และเข้าถึง “ สัญญาเวทยิตนิโรธ ” คือการดับสัญญา ( การจำได้หมายรู้ และเวทนา ( ความรู้สุกอารมณ์ )


ผู้ทรงไว้ซึ่ง แบบฉฬภิญโญ “ อภิญญา ” คือความรู้ยิ่ง ๖ ประการ

   ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เช่นคนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคน หลายคนเนรมิตให้เป็นคนเดียว หายตัวได้ เป็นต้น

   ๒. ทิพพโสต หูทิพย์ คือมีญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามความปรารถนา

   ๓. เจโตปริยญาณ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้

   ๔. บุเพพนิวาสานุสติญาณ ระลึกในชาติหนหลังได้

   ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่าง ๆ กันเพราะอำนาจของกรรม

   ๖. อาสวักขยาญาณ รู้จักกระทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป


ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบเตวิโช “ วิชชา ๓ ” ความรู้แจ้ง มี ๓ คือ

    ๑ . ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้

    ๒ . จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย

    ๓ . อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น

   ผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์สุขที่สูงที่สุด ที่พระโสภิตเถระได้รับทั้งหมดนี้เนื่องมาจากบุญบารมีทั้งหลาย โดยท่านได้กระทำไว้ด้วยการกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น จึงบันดาลให้ท่านได้ประสบมนุษยสมบัติสวรรคสมบัติ และพระนิพพานสมบัติ

   ฉะนั้น จึงควรที่เราจะต้องรีบเร่งกระทำความดีต่าง ๆ ไว้ไม่ต้องมัวรอให้บุคคลอื่นเขามากระทำให้ การมัวรีรอหวังพื่งคนอื่น ก็เหมือนการรอคอยกลืนคำข้าวที่ผู้อื่นเขาป้อนให้ด้วยมิได้ตั้งใจ หรือป้อนให้อย่างเสียไม่ได้ เมื่อเราไม่ลงมือเปิบเอง.......