ขณะสงฆ์ตำหนิพระอานนทรเถระ

 

  หลังจากทำการสังคายนาเสร็จแล้ว ที่ประชุมยังได้มีมติตำหนิการกระทำของพระอานนทเถระ ๕ อย่าง ว่าเป็นการกระทำไม่ดีซึ่งใช้คำบาลี “ ทุกฺกฏํ ” ที่แปลกันว่าอาบัติทุกกฏ แต่การกำหนดอาบัติเป็นพุทธอาณา คนอื่นไม่อาจที่จะบัญญัตอาบัติได้ ความหลายของคำ นี้จึงควรเป็นเพียงคำตำหนิว่า ทำไม่ดีเท่านั้น ข้อที่สงฆ์ตำหนิพระอานนทเถระ ๕ ประการนั้นคือ

   ๑ . ไม่กราบทูลถามว่า สิกขาเล็กน้อยที่รับสิ่งนั้นคือสิกขาบทอะไร ? พระเถระแก้ว่า ที่ไม่กราบทูลถามเพราะท่านกำลังเศร้าโศกเนื่อจากพระพุทธเจ้ากำลังจะปรินิพพาน จึงระลึกไม่ได้

   ๒. เวลาพระเถระเย็บผ้าของพระพุทธเจ้า ได้ใช้เท้าหนีบผ้าอีกด้านหนึ่ง อันเป็นการขาดความเคารพต่อพระองค์ ข้อนี้พระเถระแก้ว่าที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะไม่มีใครช่วยจับเวลาเย็บผ้า หาได้ทำด้วยขาดความคารวะไม่

   ๓. พระอานนทเถระปล่อยให้สตรีถวายบังคมพระพุทธสรีระ พวกเธอร้องไห้กันจนน้ำตาถูกพระพุทธสรีระ ข้อนี้พระเถระแก้ว่า ท่านเห็นว่าสตรีไม่ควรอยู่ข้างนอกในเวลากลางคืน จึงได้จัดการให้พวกเธอได้เข้าไปถวายบังคมพระพุทธสรีระก่อน จะได้กลับสู่ที่อยู่ของตนในเวลาที่ยังไม่ค่ำมืด

   ๔. พระอานนทเถระไม่กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงทำนิมินตรโอภาสถึง ๑๖ ครั้ง พระเถระแก้ว่าที่ไม่กราบทูลอาราธนาเพระไม่ทราบ เนื่องจากท่านถูกมาดลใจ

   ๕. พระอานนทเถระขวนขวายให้สตรีเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา พระเถระแก้ว่า ท่านเห็นว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาได้ประคับประคองเลี้ยงดูพระผู้มีพระภาคเจ้ามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

   การกระทำทั้งหมดนี้ท่านไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร แต่เมื่อสงฆ์เห็นว่าเป็นการทำไม่ดี ท่านยินดียอมรับและถ่ายถอนความผิดนั้น การการทำของพระสังคีติกาจารย์ นอกจากเป็นการทำบางอย่างถึงแม้ตนจะทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่เมื่อความรู้สึกส่วนใหญ่ท่านตำหนิ การจะดื้อรั้นถือดีไปเป็นการไร้ประโยชน์ การยอมรับนับถือมติส่วนใหญ่ ในบางกรณี เพื่อยุติปัญหาและสร้างแบบแผนที่ดีงามนั้น เป็นสิ่งที่ควรกระทำในบางกรณี