พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
      พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา ( พุทธมารดา) พระประยูรญาติถวายพระนามว่า “ โคตมี ”
เป็นทั้งพระน้านางและมารดาเลี้ยง

  พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเสีของพระเจ้าสุทโธนะศากยราช แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายาราชเทวี พอประสูติพระราชโอรสคือเจ้าชายสิทธิธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบการเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉา ( พระน้านาง ) ซึ่งต่อมมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “ นันทกุมาร ” และพระธิดานามว่า “ รูปนันทา ”

   ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัพดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดงธรรมกถาโปรดพระเจ้าโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาและพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผลและในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลงพระพุทธบิดาทรงบรรลุเป็นบุคคลชั้นพระอนาคามี


ขอบวชแต่ผิดหวัง

   ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรสนันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนันทกุมารไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหูลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์

   ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อมีการถวายพระเพริงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิฏครธาราม กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สัตรีบวชในพระพุทธศาสนา พระนางกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์

   พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแกาพระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน


พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช

   ขณะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้มีพระทัยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมาปลงพระเกษาแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์ ( นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว ) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอ้อนวอนขออุปสมบท ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ยังไม่ทรงอนุญาต จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่หน้าซุ้มประตู ขณะนั้นพระอานนท์ผ่านมาพบจึงสอบถามความโดยตลอดแล้ว พระเถระรู้สึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า

   “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่พระเจ้าข้า ? ”

   “ ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ ”

   “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้าข้า ”

   “ ดูก่อนอานนท์ ถ้าปชาบดีโคตมีรับประพฤติครุธรรม ๘ ประการได้ตถาคตก็อนุญาตให้อุปสมบทได้ ”

   ลำดับนั้น พระเถระได้ศึกษาครุธรรม ๘ ประการ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ คือ

   ๑ ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไหว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดี๋ยว

   ๒ ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในโอวาสที่มีพระภิกษุ

   ๓ ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

   ๔ ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ( ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)

   ๕ ภิกษุณี ถ้อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรมต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย

   ๖ ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมามารักษาสิกขาบท ๖   ประการ คือ ๑  เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒   เว้นจากการลักขโมย ๓   เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔  เว้นจากการพูดเท็จ ๕   เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา ๖ เว้นจาการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖   ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร้องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร้องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่

   ๗ ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกาถาคือด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

   ๘ ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาสภิกษุมิได้

   พระเถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมทั้งศากยขัตติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด

   เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นภิกษุณีแล้วเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกำลังความสามารถ

   ลำดับต่อมมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีในตำแหน่งเอตทัคคะหลายตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจราณาเห็นว่า พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นผู้มันวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสมการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรงสถาปนาพระนางในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน........


คลิกหน้า ๒ ตอนกราบทูลลาปรินิพพาน

หน้า 2        ปิดหน้านี้          ถัดไป