3. สังฆานุสสติกรรมฐาน

       สังฆานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ให้เป็นการระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ การระลึกถึงพระคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์นี้ ท่านให้คิดถึงความดีของพระสงฆ์ ในส่วนที่เป็นความดีอันเป็นเนื้อแท้้ของพระศาสนา ไม่ใช่คิดถึงความดีอันเป็นส่วนประกอบที่ไม่เข้าถึงพระศาสนา เช่น เห็นว่าท่านมีเครื่องรางของขลังท่านเป็นหมอรดน้ำมนต์ ท่านให้หวยเก่ง ท่านเป็นหมอดูแม่น ท่านทำเสน่ห์เก่ง ท่านมีวิทยาคมต่าง ๆ ความเก่งอย่างนั้นของท่านเป็นความเก่งนอกความหมายในที่นี้ เพราะเป็นความเก่งที่ยังไม่เข้าถึงจุดเก่งทางศาสนา ยังไม่ควรจะเอามาคิดมานึกให้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน ความเก่งในการที่นักกรรมฐานควรเอามาคิดก็คิดคือ

       1. ท่านเก่งในทางปฎิบัติ จนได้บรรลุพระโสดา พระกสิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ อย่างนี้เป็นเนื้อแท้ของความเก่งในเนื้อแท้ของพระสาวกในพระพุทธศาสนา และเป็นความเก่งที่ควรบูชาและระลึกถึงเป็นอารมณ์

       2. ท่านได้บรรลุมรรคผลแล้วท่านมิได้แสวงหาความสุขเพราะผลการบรรลุนั้นเฉพาะตัวท่าน ท่านกลับพลีความสุขที่ท่านควรได้รับนั้น นำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับผลแล้วมาสั่งสอนบรรดาพุทธบริษัท อย่างที่ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนใด ๆ

       การระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ให้ถูกตามแบบก็คือ

  • สุปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติดีแล้ว
  • อุชุปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติตรง
  • ญายปฎิปันโน ท่านปฎิบัติเป็นธรรม
  • สามีจิปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติสมควร

       ทั้งนี้หมายความว่า ท่านปฎิบัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจริง ๆ ไม่แก้ไขดัดแปลงคำสั่งสอนของพีีระพุทธเจ้า ท่านปฎิบัติสมควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง เพราะระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ต้องระลึกตามนัยนี้จึงจะตรงตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า ตามที่ท่านสอนให้เจริญใน พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ก็เพื่อให้คิดตามความดีของท่านที่มีความดีอยู่เสมอ ๆ จนขึ้นใจนั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในผลของความดี และปสาทะ ความเลื่อมใส ปีติเอิบอิ่มใจ ความคิดคำนึงอย่างนี้เป็นปกติตลอดไป ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ปฎิบัติตาม เมื่อใดลงมือปฎิบัติตามแล้ว ผลที่ศรัทธาอยู่แล้ว ย่อมเป็นกำลังใจให้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไม่มีอะไรเป็นเครื่องหนักใจนัก

       4. สีลานุสสติกรรมฐาน

       สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่า ศีล แปลว่าปกติ สิกขาบท ของศีลเป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์และมนุษย์

       ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศ กันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ 5 ข้อ คือ

  1. ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตายก็ตาม
  2. ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวง เอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่เต็มใจอนุญาต
  3. ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามี ภรรยา บุตร หลาน หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย
  4. ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราวตามความเป็นจริง
  5. ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้าๆ บอๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะเหตุใดก็ตาม

       เมื่อความต้องการของชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ตามความต้องการเป็นปกติของชาวโลกไว้ 5 ข้อ ที่เรียกว่าศีล 5 หรือปกติศีล

       ส่วนศีล 8 หรือที่เรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท 8 เหมือนกัน หรือศีล 10 ของสามเณร ศีล 227 ของพระ ศีล 311 ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านท่านนั้น ๆ

       การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนือง ๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีลเพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่สนับสนุนในให้เข้าถึงสมาธิศีลนี้ผู้ใดปฎิบัติไม่ขาดตกบอพร่องแล้วย่อมมีอานิสงค์คือ จะไม่รับความเดือดร้อนเพราะอำนาจอกุศลกรรม จะเป็นที่รักของปวงชน จะทีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศจะเป็นผุ้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึงเรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตใจจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้เมื่อตายแล้วจะใด้เกิดในสวรรค์ ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั้น ในสมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษาศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจาณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจจรณาท่านก็จะได้บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า

ย้อนหน้า 1    ต่อหน้า 5