5. จาคานุสสติกรรมฐาน

       จาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ ท่านแนะให้ระลึกถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัดมัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็นกิเลสตัวสำคัญไปได้ตัวหนึ่ง กิเลสมีรากเหง้าอยู่ คือ

  1. ความโลภ
  2. ความโกรธ
  3. ความหลง

       ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มีอารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้นท่านสอนให้ ๆ ทานด้วยความเคารพในทาน คือให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอาการสุภาพก่อนจะให้ ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้ให้ โดยคิดว่า มหาปุญญลาโก บัดนี้ลาภใหญ่มาถึงแล้ว คิดก็แล้วให้ทานด้วยความเคารพในทาน ผู้รับนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบูณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอใด้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้วเมื่อให้ทานไปแล้วทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ

       การให้ทานนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นของดีนั้น เราเห็นความดีแล้วดังนี้ ในชาติปัจจุบันผลทานนี้ย่อมสุขแก่ผู้รับทาน เพราะผู้รับมีโอกาสเปลื้องทุกช์ของตนได้ด้วยทานที่เราให้ สำหรับเราผู้ให้ก็มีโอกาสได้รับผลในปัจจุบัน คือมีโอกาสทำลายโลภะ ความโลภ ตัวกิเลสที่ถ่วงไม่ให้ถึงนิพพาน บัดนี้เราตัดความโลภคือรากเหง้าแห่งกิเลสตัวที่ 1 ได้แล้ว ความเบาได้เกิดมีแก่เราแล้ว คงเหลือแต่ความโกรธและความหลง ซึ่งเราจะพยายามตัดต่อไป ทานยังให้ผลต่อไป คือผลทานเป็นผลสร้างความสุขสงบ เพราะผู้รับทานย่อมรู้สึกรักและระลึกถึงคุณผู้ให้อยู่เป็นปกติ ผู้รับทานย่อมพยายามโฆษณาความดีของผู้ให้ในที่ทุกสถาน เมื่อผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับแล้ว ความปลอดภัยของผู้ให้ก็ย่อมมีขึ้นจากผู้รับทาน เพราะผู้รับจะคอยป้องกันอันตรายให้ตามสมควร ยิ่งให้มาก คนที่รักก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ผู้ให้ทานย่อมมีอนิสงส์ที่ได้รับในชาติปัจจุบันอีกคือ ย่อมมีโอกาสได้รับโชคลาภที่เป็นของกำนัล เป็นเครื่องบำรุงเสมอ ผูู้ให้ทานเป็นปกติจะไม่ขาดแคลนฝืดเคืองในเรื่องการใช้สอยเมื่อใกล้จะขาดมือ หรือมีความจำเป็นสูง จะมีได้เป็นการชดเชยให้เหมาะพอดีแก่ความจำเป็นเสมอ สำหรับอนาคตท่านว่าผู้ที่บำเพ็ญทานอยู่เสมอๆ นั้น จิตใจจะชุ่มชื่นแจ่มใสเมื่อใกล้จะตาย เมื่อตายแล้วทานจะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ มีทิพย์สมบัติมากมาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ที่บริบูรณ์พูลสุขด้วยสมบัติ การระลึกถึงทาน ก็มุ่งทำลายล้างกิเลสเป็นสำคัญท่านสอนให้คิดถึงทานที่ให้แล้วไว้เสมอ ๆ และทำความปลื้มใจในการให้และคิดไว้อีกเช่นเดียวกันว่า เราพร้อมที่จะให้ทานตามกำลังศรัทธาทุกโอกาสที่มีคนมาขอ เพราะเราต้องการทำลายโลภะให้สิ้นไปเพื่อผลใหญ่ที่พึงได้ คือนิพพานในกาลต่อไป

       ท่านที่ยินดีในทานเป็นปกติอย่างนี้ จิตย่อมบริบูรณ์ด้วยเมตตาและกรุณา อันเป็นพรหมวิหาร ท่านว่าเพราะผลทานและพรหมวิหารร่วมกันมีบริบูรณ์แล้ว จิตก็เข้าสู่อุปจารสมาธิ ต่อนั้นถ้าได้เจริญวิปัสสนาญาณ โดยใช้อุปจารฌานเป็นบาทแล้วจะได้บรรมรรคผลได้อย่างฉับพลัน

       6. เทวตานุสสติกรรมฐาน

       เทวตานุสสติ แปลาว่า ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ เช่น ภาณยักษ์ ภาณพระที่กล่าวถึงท้าวมหาราชทั้ง 4 มีท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร (ที่นิยมเรียกว่า ท้าวเวสสุวัณ) ดังนี้ก็ถือว่าเป็นการระลึกถึงเทวดาเช่นกัน

       พระพุทธเจ้ายอมรับนับถือเรื่องเทวดา พระองค์เองทรงปรารภแก่บรรดาพุทธสาวกเรื่องเทวดาเสมอ ขอให้ดูตามพระพุทธประวัติ จะพบว่าพุทธศาสนาไม่เคยห่างเทวดาเลย พระพุทธศาสนายอมรับนับถือว่ามีเทวดามีจริง และยอมรับนับถือความดีของเทวดาด้วย พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสให้พุทธบริษัทที่มีบารมียังอ่อน ให้ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นปกติ เช่นกรรมฐานข้อที่ว่าด้วยเทวตานุสสติ ก็เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าสอนให้คิดถึงความดีของเทวดา

ความดีของเทวดา

       เทวดา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ความประเสริฐของเทวดามีอย่างนี้ ท่านที่จะเป็นเทวดาก็ต้องเกิดเป็นคนก่อน จะเป็นเทวดานั้นต้องเรียนรู้และปฎิบัติอะไรบ้าง หลักสูตรที่ทำคนให้เป็นเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี 2 แบบ คือ

เทวดาประเภทที่ 1

       เทวดาชั้นกามาวจร คือ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี รวม 6 ชั้นด้วยกัน ทั้ง 6 ชั้นนี้ บวกภูมิเทวดาที่เรียกว่าพระภูมิเจ้าที่ และรุกขเทวดา พวกเทวดาที่มีวิมานอยู่ตามสาขาของต้นไม้ ที่เรียกว่านางไม้ เข้ากับเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา 6 ชั้นนี้ ท่านว่าใครจะไปเกิดในที่นั้น ๆ เพื่อเป็นเทวดา ต้องศึกษาและปฎิบัติตามหลักสูตรเสียก่อนคือท่านให้เรียนรู้เพื่อเป็นเทวดา

  1. หิริ ความละอายต่อความชั่วทั้งหมด ไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
  2. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลความชั่วจะลงโทษ ไม่ยอมประพฤติชั่วทั้งกายวาจาใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

       ทั้งนี้ก็หมายความว่า ต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และมีจิตเมตตาปราณีตลอดกาลตลอดสมัย ถึงแม้ยังไม่ฌานสมาบัติก็ไม่เป็นไร เอากันแค่ศีลบริสุทธิ์ มีจิตเมตตาปราณี ใครทำตามนี้ได้ครบถ้วน เกิดเป็นเทวดาปานกลาง ถ้าปฎิบัติได้อย่างเลิศก็เป็นเทวดาชั้นเลิศ ถ้าปฎิบัติได้อย่างกลางก็เป็นเทวดาชั้นกลาง ถ้าปฎิบัติครบแต่หยาบ ก็เป็นเทวดาเล็ก ๆ เช่นภูมิเทวดา หรือรุกขเทวดา

เทวดาประเภทที่ 2

       พรหม ท่านจัดพรหมรวมทั้งหมด 20 ชั้นด้วยกัน ท่านแยกประเภทไว้ดังนี้

       รูปพรหมมี 16 ชั้น

       รูปพรหมคือพรหมที่มีรูปนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น 16 ชั้น แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่ได้ฌานโลกีย์ มี 11 ชั้น กับพรหมที่เป็นพระอนาคามี และได้ฌาน 4 ด้วย 5 ชั้น รวมพรหมที่มีรูป 16 ชั้น

       อรูปพรหม 4 ชั้น

       พรหมที่ไม่มีรูปนี้ เป็นโลกีย์พรหม มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ชั้น รวมพรหมทั้งหมด 20 ชั้นพอดี

หลักสูตรที่จะไปเป็นพรหม

       การที่จะเกิดเป็นพรหม จะต้องตรวจสอบเอง ว่าสามารถไปเกิดในชั้นหลักสูตรต่ำไปหาพรหมก่อน

หลักสูตรอบายภูม

       อบายภูมิ หมายถึงดินแดน นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน ใครจบหลักสูตรนี้ จะได้ไปเกิดในที่ 4 สถานนี้ หลักสูตรนี้มีดังนี้ คือ ไม่รักษาศีล ไม่ให้ทาน ไม่เคารพคนควรเคารพ เท่านี้ไปเกิิดในอบายภูมิได้สบาย

หลักสูตรเกิดเป็นมนุษย์

       หลักสูตรมนุษย์นี้ ท่านเรียกมนุษย์ธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ มี 5 อย่าง คือ

  1. ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ให้วำบากด้วยเจตนา
  2. ไม่ถือเอาของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ ด้วยเจตนาขโมย
  3. ไม่ละเมิดสิทธิมนกามารมณ์ที่เจ้าของไม่อนุญาต คือไม่ละเมิดภรรยา สามี ลูก หลาน และคนในปกครอง ที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต
  4. ไม่พูดบด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ไม่พูดเพ้อเจ้อโดยไร้สาระ
  5. ไม่ดืมสุราและเมลัย ที่ทำให้จิตใจให้มึนเมาไร้สติสัมปชัญญะ ตามหลักสูตรนี้ ถ้าใครสอบได้ คือปฎิบัติได้ครบถ้วน ท่านว่าตายแล้วเกิดเป็นมนุษย์ได้

หลักสูตรรูปพรหม

  1. ได้ฌานที่ 1 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 1. 2. 3.
  2. ได้ฌานที่ 2 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 4. 5. 6.
  3. ได้ฌานที่ 3 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 7. 8. 9.
  4. ได้ฌานที่ 4 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 10. 11.

       ทั้งหมดนี้เป็นพรหมชั้นโลกีย์

หลักสูตรรูปพรหมอนาคามี พรหมอีก 5 ชั้น คือชั้นที่ 12. 13. 14. 15. 16. รวม 5 ชั้นนี้ ต้องได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคนมีได้ฌาน 4 มาก่อน

สำหรับอรูปพรหม 4 ชั้น

       ท่านทั้ง 4 ชั้นนี้ ท่านต้องเจริญฌานในกสิณแล้วเจริญอรูปฌาน 4 ได้อีกจึงจะมาเกิดเป็นอรูปพรหมได้ แต่ท่านก็ได้เพียงฌานโลกีย์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า

       หลักสูตรเทวดาและพรหมมีอย่างนี้ ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงความดี คือคุณธรรมที่เทวดาและพรหมปฎิบัติมาแล้ว จนเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมได้ ก็ชื่อว่าท่านได้รับผลความดีที่ท่านปฎิบัติมาแล้ว ถ้าปฎิบัติอย่างท่าน เราก็อาจจะมีผลความสุขเช่นท่านเพราะเทวดาขนาดเลวนั้น ดีกว่ามนุษย์ชั้นดีอย่างเปรียบกันไม่ได้เลยเพราะเทวดามีกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ ไปไหนก็เหาะไปได้ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเหมือนเรา ฉะนั้นความดีของเทวดานี้ ถึงจะยังไม่ถึงความดีในนิพพานแต่ก็เป็นสะพานสำหรับปฎิบัติเพื่อผลในนิพพานได้เป็นอย่างดี เราเป็นพุทธสาวกเมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่ามีเราก็ควรเชื่อไว้ก่อน แล้วสร้างสมาธิทำทิพย์จักษุญาณให้เกิด ตรวจสอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าที่ท่านสอนว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์ มีจริงนั้น ท่านบูชาเทวดาท่านอาจดีตามเทวดา

       เทวดานุสสตินี้ ถ้าฝึกจนเกิดอุปปจารฌานแล้วท่านเจริญวิปัสสนาญาณต่อ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลได้ไม่ยาก เพราะเป็นภูมิธรรมที่ละเอียด และมีแนวโน้มเข้าไปใกล้พระนิพพานมาก

ย้อนหน้า 1    ต่อหน้า 6