นางสุปปิยา
เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปฏฐากภิกษุไข้
   นางสุปปิยา เกิดในตระกูลหนึ่ง ในกรุงพาราณสี เมื่อเจริญวัยแล้วได้สามีผู้มีฐานะใกล้เคียงกัน นางเป็นผู้มีอุปนิสัยศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่

   ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เดส็จจาริกไปยังกรุงพาราณสี นางได้ทราบข่าวการเสด็จมาถึงเข้าเฝ้าพร้อมกับพุทธบริษัทอื่น ๆ ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้บรรลุโสปัตติผล

  วันหนึ่ง ได้ไปฟังธรรมที่วัด และที่ก่อนกลับบ้านได้เดินเยี่ยมเยือนพระภิกษุภายในวัดนั้น พบพระอาพาธรูปหนึ่ง ได้ถามอาการของท่านแล้วจึงถามต่อไปว่า...
  “ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดบ้าง ?”
  “อุวาสิกา อาตมาต้องการฉันอาหารที่มีรสเนื้อจ๊ะ”
  “เอาเถอะ พระคุณเจ้า ดิฉันจะจัดมาถวายตามที่พระคุณเจ้าต้องการ”


เฉือนเนื้อตัวเองถวายพระ

  วันรุ่งขึ้น นางได้ใช้ไห้คนไปซื้อเนื้อ อันเขาขายอยู่ในในตลาดนั้น ปรากฎว่าวันนั้นทั่วทั้งตลาดไม่มีเนื้อเหลืออยู่เลย นางทาสีจึงกลับมามาเปล่า สุปิยอุบาสิกาจึงคิดว่า พระภิกษุที่อาพาธนั้น มิได้ฉันแกงเนื้อแล้วอาจจะอาพาธหนัก หรืออาจจะถึงตายได้เป็นมั่นคง และได้ตัวเราได้รับปากไว้แล้ว จึงได้ตัดสินใจเอามีดเชือดเนื้อที่ขาของตน แล้วส่งให้ทาสีว่า

   “เจ้าจงต้มแกงเนื้อนี้แล้ว จงนำไปถวายแก่พระภิกษุไข้ชื่อนั้น ๆ ถ้าผู้ใดถามว่าฉันไปไหนจงบอกว่าฉันเป็นไข้อยู่”

   สิปิยอุบาสิกาสั่งดังนั้นแล้ว จึงเอาผ้าห่มพันขาเข้าไว้ แล้วเข้าห้องขึ้นนอนอยู่บนเตียงนั้น ลำดับนั้น สิปิยอุบาสกไปยังเรือนสุปิยอุบาสิกาแล้วถามว่า
   “นางสุปิยาไปไหน?”
   ทาสีจึงบอกว่า “นางนอนอยู่ในห้อง”
   สุปิยอุบาสกจึงเข้าไปถาม เมื่อได้ทราบความดังนั้นแล้ว จึงสรรเสริญว่า

   “อัศจรรย์จริง ๆ แล้วหนอ...สุปียานี้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจริง ๆ แม้กระทั้งเนื้อหนังในกายตัวยังบริจากได้ จะว่าไปใยถึงสิ่งของภายนอกกายเหล่านั้นเล่า ซึ่งว่าจะมิได้ให้นั้นจะมิได้มีเลย” แล้วจึงไปอาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง เพื่อจะให้เป็นบุญปีติปราโมทย์ในวันรุ่งเช้า ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเรือนนั้นแล้ว จึงตรัสถามสุปิยอุบาสกว่า

   “สุปิยอุบาสิกาไปไหนจึงไม่เห็น?”

   สุปิยอุบาสกจึงกราบทูลว่า “นางป่วยไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า”

  จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า “ท่านจงช่วยพยุงมาที่นี่เถิด”

   อุบาสกรับพระพุทธฎีกาแล้ว จึงไปพยุงนางออกมาสู่สำนักพระพุทธเจ้า แต่พอนางสุปิยอุบาสิกาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นแผลอันใหญ่นั้นก็งอกเนื้อหนังเป็นปกติขึ้นดังเก่า คนทั้งสองจึงถวายภัตตาหารอันประณิตแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประธาน ดังนี้

   (ผลบุญที่บุคคลเหล่านี้กระทำแล้ว ด้วยการบูชายิ่งกว่าชีวิตของตน ได้ให้ผลทันทีในปัจจุบันนี้ เรื่องเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ในสมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ )


ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์

   พระบรมศาสดาครั้นเสร็จภัตกิจแล้วเสด็จกลับพระวิหารรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงตำหนิภิกษุรูปนั้นเป็นอย่างมากแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

   ต่อมา พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาอุบาสิกาทั้งหลายในตำเเหน่งต่าง ๆ ได้ทรงปรารภอุปนิสัยศรัทธาของนางสุปิปิยาแล้ว ได้ทรงสถาปนานางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายอุปัฏฐากภิกษุไข้..


เนื้อที่ภิกษุฉันไม่ได้ ๑๐ อย่าง

                       ๑ .   เนื้อมนุษย์
                       ๒ .  เนื้อช้าง
                       ๓ . เนื้อม้า
                       ๔ .  เนื้อสุนัข
                       ๕ . เนื้องู
                       ๖ . เนื้อราชสีห์
                       ๗ . เนื้อหมี
                       ๘ . เนื้อเสือโคร่ง
                       ๙ . เนื้อเสือดาว
                       ๑๐ . เนื้อเสือเหลือง


สัตว์ที่ภิกษุไม่ควรฉัน ๔ ประเภท

                       ๑ .  สัตว์ที่เห็นเขาฆ่า
                       ๒ .  สัตว์ที่ได้ยินเขาฆ่า
                       ๓ .   สัตว์ที่เขาจงใจฆ่าให้ฉัน
                       ๔ .  สัตว์ที่เลี้ยงไว้เอง

ย้อนกลับ             ปิดหน้านี้         ถัดไป