บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๘๑-๙๐..

๘๑.เรื่องรูปในอรูป
( อรูเป รูปกถา )

๘๒.เรื่องรูปเป็นการกระทำ
(รูปัง กัมมันติกถา)

๘๓.เรื่องชีวิตินทรีย์
( ชีวิตินทริยกถา )

๘๔.เรื่องกรรมเป็นเหตุ
(กัมมเหตุกถา )

๘๕.เรื่องอานิสงส์

๘๖.เรื่องสัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์
(อมตารัมมณกถา)

๘๗.เรื่องรูปมีอารมณ์
(รูปัง สารัมมณันติกถา )

๘๘.เรื่องอนุสัยไม่มีอารมณ์
(อานุสยา อนารัมมณาติกถา)

๘๙.เรื่องญาณไม่มีอารมณ์
(ญาณัง อนารัมมณันติกถา )

๙๐.เรื่องจิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์
(อตีตารัมมณกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๘๑. เรื่องรูปในอรูป
( อรูเป รูปกถา )

    ถาม : ในอรูปมีรูปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ในอรูปมีรูปภพ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ในอรูปมีรูปภพ เป็นต้น มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ในอรูปมีรูป

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักค้านดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๘๒. เรื่องรูปเป็นการกระทำ
( รูปัง กัมมันติกถา )

    ถาม : การกระทำทางกายที่เกิดขึ้นจากกุศลจิต จัดเป็นรูปอันเป็นกุศลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : การกระทำทางกายนั้น มีอารมณ์ มีการระลึก มีการคำนึง เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : การงานนั้น ไม่มีอารมณ์ ไม่มีการระลึก ไม่มีการคำนึง มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าเป็นเช่นนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า การกระทำทางกายที่เกิดขึ้นจากกุศลจิต จัดเป็นรูปอัน

   เป็นกุศล

   ( นิกายมหิสาสกะและ สมิติยะ มีความเห็นว่า รูป กล่าวคือการไหวทางกายและวาจา (กาย

   วิญญัติและวจีวิญญัติ ) ชื่อว่ากายกรรมและวจีกรรม ; กายกรรมและวจีกรรมนั้น ที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน ย่อม

   เป็นกุศล ที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน ย่อมเป็นอกุศล ฝ่ายค้านจึงซักว่า มีอารมณ์หรือไม่ เมื่อไม่มีอารมณ์ ก็ไม่ควร

   กล่าวอย่างนั้น )

๘๓. เรื่องชีวิตินทรีย์
( ชีวิตินทริยกถา )

    ถาม : ชีวิตินทรีย์คือรูป ไม่มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อายุ ความตั้งอยู่ ความเป็นไป เป็นต้น ของธรรมที่มีรูป ไม่มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : อายุ เป็นต้น ของธรรมที่มีรูปมีอยู่ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ชีวิตินทรีย์คือรูปไม่มี

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจว่า ชื่อว่าชีวิตินทรีย์เป็น

   ของไม่ประกอบกับจิต เป็นธรรมไม่มีรูป เพราะฉะนั้น ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปจึงไม่มี ฝ่ายค้านจึงค้านถึงอายุ

   ความเป็นไป เครื่องสืบต่อ เป็นต้น )

๘๔. เรื่องกรรมเป็นเหตุ
( กัมมเหตุกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ย่อมเสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์เพราะกรรมเป็นเหตุใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระโสดาบันก็เสื่อมจากโสดาปัตติผลเพราะกรรมเป็นเหตุใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักถึงผลอื่น ๆ ซึ่งต่ำกว่าลงมา

   แต่ก็ตอบปฏิเสธ )

๘๕. เรื่องอานิสงส์

    ถาม : ผู้เห็นอานิสงส์ ( คือเห็นพระนิพพานโดยความเป็นอานิสงส์ ) ย่อมละสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่อง

   ผูกมัด ) ได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้พิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ละสัญโญชน์ได้มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ( เท่านั้น ) ละสัญโญชน์ได้

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นเพียงแง่เดียวในเรื่องละสัญโญชน์. ตามหลักวิชา ผู้ละสัญโญชน์ได้ มี ๒

   ประเภท คือ ๑. เห็นสังขาร คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งโดยความเป็นโทษ ๒. เห็นพระนิพพานโดยความเป็น

   อานิสงส์ เมื่อเห็นเพียงแง่ใดแง่หนึ่งว่าเป็นหลักการสำคัญในเรื่องนี้ จึงถูกซักค้านให้เห็นความสำคัญของหลัก

   การอีกอันหนึ่งที่ยังขาดอยู่ด้วย )

๘๖. เรื่องสัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์
(อมตารัมมณกถา )

    ถาม : สัญโญชน์คือกิเลสเครื่องผูกมัด มีอมตะคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อมตะเป็นที่ตั้งแห่งเครื่องผูกมัด ฯ ล ฯ เป็นเครื่องเศร้าหมองหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ถ้าอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งเครื่องผูกมัด ฯ ล ฯ ไม่เป็นเครื่องเศร้าหมอง ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า

   สัญโญชน์ มีอมตะเป็นอารมณ์

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเห็นว่า ราคะ โทสะ โมหะ อาจเกิดขึ้นได้เพราะปรารภ

   พระนิพพาน จึงถูกซักว่า พระนิพพานเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสหรือ ? ตามข้อเท็จจริงพระนิพพานตามความนึกคิด

   มิใช่ข้อที่จะพึงอ้างเอาว่าเป็นอารมณ์ของกิเลสได้ )

๘๗. เรื่องรูปมีอารมณ์
(รูปัง สารัมมณันติกถา )

    ถาม : รูปมีอารมณ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปมีการคำนึง เป็นต้น ได้หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักว่า รูปคิดนึกได้หรือ จึงกล่าวว่า รูปมีอารมณ์ )

๘๘. เรื่องอนุสัยไม่มีอารมณ์
( อนุสยา อนารัมมณาติกถา )

    ถาม : อนุสัย ( กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือกิเลสที่แฝงตัว ) ไม่มีอารมณ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อนุสัยเป็นรูป, เป็นนิพพาน, เป็นอายตนะคือตา จนถึงเป็นอายตนะคือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วย

   กายหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นผิดว่า กิเลสประเภทแฝงตัว เป็นจิตตวิปปยุต

   คือไม่ประกอบกับจิต เป็นอเหตุกะ และเป็นอัพยากฤต ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่มีอารมณ์ ในการซักให้รู้สึกเห็นผิด

   ได้มีการซักให้เห็นว่า อนุสัยเนื่องด้วยสังขาร คือความคิดหรือเจตนา

   เหตุไฉนจึงจะว่าไม่มีอารมณ์ ในเมื่อเป็นกิเลสประเภทกามราคะ ฝ่ายเห็นผิดยอมรับว่า มีอารมณ์ )

๘๙. เรื่องญาณไม่มีอารมณ์
( ญาณัง อนารัมมณันติกถา )

    ถาม : ญาณ ( ความรู้ ) ไม่มีอารมณ์ใช่หรือไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นอายตนะคือตา เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า ญาณคือความรู้ไม่มีอารมณ์ จึงถูกซักตามหลักวิชาที่จัดประเภท

   ธรรมะไม่มีอารมณ์ว่า ญาณเป็นรูป, เป็นนิพพาน เป็นต้นหรือ )

๙๐. เรื่องจิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์
( อดีตารัมมณกถา )

    ถาม : จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ ชื่อว่าไม่มีอารมณ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อดีตก็เป็นอารมณ์มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอดีตเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ ชื่อว่าไม่มีอารมณ์

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักค้านให้จำนน )


    '๑' . คำว่า สังขาร หมายถึงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งทุกชนิด คือโดยทั่วไป สัตว์ บุคคล ต้นไม้ ภูเขา จัดเป็น สังขารทั้งสิ้น แต่ในที่นี้ สังขารในขันธ์ ๕ หมายเพียงเจตนาต่าง ๆ ที่เป็นบุญ บาป เป็นต้น


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ