บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๙๑-๑๐๐..

๙๑.เรื่องจิตมีอนาคตเป็นอารมณ์
( อนาคตารัมมณกถา )

๙๒.เรื่องจิตมีความตรึกติดตาม
(วิตักกานุปติตกถา)

๙๓.เรื่องการแผ่ออกแห่งความตรึกเป็นเสียง
( วิตักกวิปผารกถา )

๙๔.เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต
(น ยถาจิตตัสส วาจาติกถา )

๙๕.เรื่องการกระทำทางกายไม่เป็นไปตามจิต
(น ยถาจิตตัสส กายกัมมันติกถา )

๙๖.เรื่องอดีต อนาคต ปัจจุบัน
(อดีตานาคตปัจจุปันนกถา)

๙๗.เรื่องความดับ
(นิโรธกถา )

๙๘.เรื่องรูปเป็นมรรค
(รูปัง มัคโคติกถา)

๙๙.เรื่องผู้ประกอบพร้อม
ด้วยวิญญาณ ๕
มีการเจริญมรรค
(ปัญจวิญญาณสมัคคิสส
มัคคภาวนากถา )

๑๐๐.เรื่องวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี
(ปัญจวิญญาณา
กุสลาปิติกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๙๑. เรื่องจิตมีอนาคตเป็นอารมณ์
( อนาคาตารัมมณกถา )

   ข้อนี้ก็เหมือนข้อที่ ๙๐ ต่างแต่ใช้คำว่า อนาคต แทนอดีตเท่านั้น

๙๒. เรื่องจิตมีความตรึกติดตาม
( วิตักกานุปติตกถา )

    ถาม : จิตทุกอย่างถูกความตรึกติดตามใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิจาร, ปีติ, สุข, ทุกข์, โสมนัส, โทมนัส เป็นต้น ถูกความตรึกติดตามด้วยหรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักถึงธรรมประเภทเดียวกับวิตกอื่น ๆ ด้วย )

๙๓. เรื่องการแผ่ออกแห่งความตรึกเป็นเสียง
( วิตักกวิปผารกถา )

    ถาม : การแผ่ออกแห่งความตรึกของผู้ตรึก ผู้ตรองด้วยประการทั้งปวง จัดว่าเป็นเสียงใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : การแผ่ออกแห่งสัมผัสของผู้ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง จัดเป็นเสียง การแผ่ออกแห่งเวทนา,

   สัญญา, เจตนา เป็นต้น ของผู้รู้สึกอารมณ์, ผู้รู้ตัว, ผู้เจตนา เป็นต้น ด้วยประการทั้งปวง จัดเป็นเสียงด้วย

   หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะถือหลักว่า วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง เป็น

   วจีสังขาร คือเครื่องปรุงวาจา ฉะนั้น เสียงจึงเป็นการแผ่ออกมาแห่งความตรึก ฝ่ายค้านจึงหาคำถามต่าง ๆ มา

   ซักค้านมากมายดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๙๔. เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต
( น ยถาจิตตัสส วาจาติกถา )

    ถาม : วาจาไม่เป็นไปตามจิตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วาจาเป็นของผู้ไม่มีผัสสะ, ไม่มีเวทนา, ไม่มีสัญญา, ไม่มีเจตนา, ไม่มีความตรึกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นว่า คนบางคนคิดจะพูดอย่างหนึ่ง แต่พูดไปอย่างอื่น จึงแสดงว่า วาจา

   มิได้เป็นไปตามจิต หรือตามที่คิด ฝ่ายค้านจึงค้านในหลักใหญ่ว่า ถ้าอย่างนั้น วาจาก็เป็นของผู้ที่ไม่รู้สึกตัว

   ใช่หรือไม่ )

๙๕. เรื่องการกระทำทางกายไม่เป็นไปตามจิต
( น ยถาจิตตัสส กายกัมมันติกถา )

   ( ข้อนี้ก็เหมือนข้อ ๙๔ เปลี่ยนเพียงการกระทำทางกาย แทนวาจา )

๙๖. เรื่องอดีต อนาคต ปัจจุบัน
(อดีตานาคตปัจจุปปันนกถา )

    ถาม : บุคคลประกอบด้วยอดีต อนาคตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิดขึ้นมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า บุคคลประกอบด้วยอดีต อนาคต

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นว่า บุคคลผู้ได้สมาบัติ ๗ ย่อมมีสมาบัติ ๘ อันมิได้เป็นไปในขณะเดียว

   กันเช่น เข้าสมาบัติที่ ๒ สมาบัตินั้นย่อมเป็นปัจจุบัน สมาบัติที่ ๓ ย่อมเป็นอดีต และที่เหลือย่อมเป็นอนาคต

   กล่าวตามหลักวิชา อาการเช่นนี้ ควรใช้คำว่า ได้สมาบัติ ๘ ไม่ใช่ ประกอบด้วยสมาบัติ ๘

   จึงเห็นได้ว่าเป็น เรื่องของสำนวนโวหารมากกว่าอย่างอื่น )

๙๗. เรื่องความดับ
(นิโรธกถา )

    ถาม : เมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาความเกิด ยังไม่ดับ ขันธ์ ๕ ที่เป็นกริยาย่อมเกิดขึ้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ขันธ์ ๑๐ ชื่อว่ารวมกัน คือขันธ์ ๑๐ มาพับกันหรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า ในขณะที่ขันธ์ ๕ ที่แสวงหา " อุปบัติ " หรือความเกิด ยังไม่ดับ

   ขันธ์ ๕ ที่เป็นกริยาก็เกิดขึ้น ฝ่ายค้านจึงซักว่า กลายเป็นขันธ์ ๑๐ มาพบกัยใช่หรือไม่ )

๙๘. เรื่องรูปเป็นมรรค
( รูปัง มัคโคติกถา )

    ถาม : รูปของผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค จัดเป็นมรรคใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปมีอารมณ์ มีการคิดคำนึง เป็นต้นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหิสาสกะ, สมิติยะ, และ มหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดว่า สัมมาวาจา เจรจาชอบ,

   สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ, และสัมมาอาชิวะ เลี้ยงชีพชอบ เป็นรูป จึงกล่าวว่า รูปเป็นมรรค ฝ่ายค้านจึง

   ซักค้านดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๙๙. เรื่องผู้ประกอบพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรค
( ปัญจวิญญาณสมัคคิสส มัคคภาวนากถา )

    ถาม : ผู้ประกอบด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิญญาณ ๕ มีวัตถุอันเกิดขึ้นแล้ว มีอารมณ์อันเกิดขึ้นแล้วมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าเป็นเช่นนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรค

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดว่า ผู้ประกอบด้วยวิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น จนถึง

   กายวิญญาณ ชื่อว่ามีการเจริญมรรค ฝ่ายค้านจึงซักค้านดั่งตัวอย่างข้างต้น กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือมรรค

   ประกอบด้วยมโนวิญญาณ ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า เกี่ยวกับวิญญาณ ๕ )

๑๐๐. เรื่องวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี
( ปัญจวิญญาณา กุสลาปีติกถา )

    ถาม : วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้นแล้ว มีอารมณ์เกิดขึ้นแล้วมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ตามหลักวิชาไม่ควรจัดว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะเป็น

   เพียงความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายเท่านั้น )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ