บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๐๑-๑๑๐..

๑๐๑.เรื่องวิญญาณ ๕
คิดคำนึงได้
( ปัญจวิญญาณา
สาโภคาติกถา )

๑๐๒.เรื่องบุคคลประกอบด้วย
ศีล ๒ อย่าง
(ทวีหิ สีเลหิ
สมันนาคโตติกถา )

๑๐๓.เรื่องศีลไม่เป็นเจตสิก
( สีลัง อเจตสิกัยติกถา )

๑๐๔.เรื่องศีลไม่เป็นไปตามจิต
(สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา )

๑๐๕.เรื่องศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ
(สมาทานเหตุกกถา )

๑๐๖.เรื่องวิญญัติเป็นศีล
(วิญญัตติ สีลันติกถา)

๑๐๗.เรื่องอวิญญัติเป็นทุศีล
(อวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา )

๑๐๘.เรื่องแม้ธรรม ๓ อย่าง
ก็เป็นอนุสัย
(ติสโสปิ อนุสยกถา)

๑๐๙.เรื่องญาณความรู้
(ญาณกถา )

๑๑๐.เรื่องญาณเป็นจิตตวิปปยุต
(ญาณัง จิตตวิปปยุตตันติกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๐๑. เรื่องวิญญาณ ๕ คิดคำนึงได้
( ปัญจวิญาณา สาโภคาติกถา )

    ถาม : วิญญาณ ๕ มีการคิดคำนึงได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิญญาณ ๕ มีวัตถุอันเกิดขึ้นแล้ว มีอารมณ์อันเกิดขึ้นแล้วมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีการคิดคำนึงได้

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะจับประเด็นผิดในพระพุทธสุภาษิตที่ว่า " เห็นรูปด้วย

   ตาแล้วถือเอาโดยนิมิต- -ไม่ถือเอาโดยนิมิต " เหตุผลที่นำมาซักคงเป็นเช่นเดียวกับข้อก่อน ๆ )

๑๐๒. เรื่องบุคคลประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง
( ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา )

    ถาม : ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค ชื่อว่าประกอบด้วยศีล ๒ อย่างใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค ชื่อว่าประกอบด้วยผัสสะ ๒ อย่าง สัญญา ๒ อย่าง เป็นต้น จน

   ถึงปัญญา ๒ อย่างใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค ชื่อว่าประกอบด้วยโลกิยศีลซึ่งมี

   อยู่เดิม กับโลกุตตรศีลในขณะแห่งมรรค จึงถูกซักดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๐๓. เรื่องศีลไม่เป็นเจตสิก
( สีลัง อเจตสิกันติกถา )

    ถาม : ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ศีลเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นอายตนะคือตา เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ เห็นว่า ศีลมีการสมาทาน คือการรับศีลเป็นเหตุ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเป็น

   เจตสิก หรือธรรมที่เป็นไปทางจิต ซึ่งได้ถูกซักให้บอกมาว่า ถ้าศีลมิใช่เจตสิกแล้ว เป็นรูป เป็นนิพพาน หรือ

   อายตนะต่าง ๆ หรือเปล่า )

๑๐๔. เรื่องศีลไม่เป็นไปตามจิต
( สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา )

    ถาม : ศีลไม่เป็นไปตามจิตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ศีลเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นอายตนะคือตา เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เหตุผลนี้ซักอย่างเดียวกับข้อ ๑๐๓ )

๑๐๕. เรื่องศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ
( สมาทานเหตุกกถา )

    ถาม : ศีลที่มีการสมาทาน ( การรับศีล ) เป็นเหตุ ย่อมเจริญใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต จนถึงปัญญาที่มีการสมาทานเป็นเหตุ ย่อมเจริญ

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นว่า ศีลไม่เกี่ยวกับจิตใจ เกี่ยวเพียงกิริยาที่สมาทานก็เจริญได้ จึงถูก

   ซักถึงเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจ )

๑๐๖. เรื่องวิญญัติเป็นศีล
( วิญญัตติ สีลันติกถา )

    ถาม : วิญัติ ( การทำให้ผู้อื่นรู้ความหมายด้วยกายหรือวาจา ) จัดเป็นศีลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิญญัติเป็นเจตนา เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ และ สมิติยะ เห็นผิดว่า กิริยาที่ไหวกาย ไหววาจา ทำให้ผู้อื่นรู้ความ

   ประสงค์ ที่เรียกว่าวิญญัติ จัดเป็นศีล ข้อสำคัญที่จะทำให้ตีความผิด คือเข้าใจว่า กายวิญญัติเป็นกายกรรม คือ

   การกระทำทางกาย, วจีวิญญัติเป็นวจีกรรม คือการกระทำทางวาจา, เมื่อผสมกับความคิดที่ว่า ศีล คือการไม่

   ทำชั่วทางกาย วาจา จึงเข้าใจว่า วิญญัติคือศีล แต่ตามหลักวิชา วิญญัติเป็นรูปอาศัย คืออุปาทายรูป จะเป็น

   ศีลไม่ได้ เพราะศีลเป็นเรื่องของเจตนาอันเป็นไปทางจิต ฝ่ายค้านจึงซักดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๐๗. เรื่องอวิญญัติเป็นทุศีล
(อวิญญัตติ ทุสสยันติกถา )

    ถาม : อวิญญัติ ( การไม่ทำให้ผู้อื่นรู้ความหมายด้วยกายหรือวาจา ) จัดเป็นการทุศีลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อวิญญัติเป็นการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ขนานกับข้อ ๑๐๖ คือเมื่อถือว่า วิญญัติเป็นศีล อวิญญัติซึ่ง

   ตรงกันข้าม ก็ควรจะเป็นทุศีล )

๑๐๘. เรื่องแม้ธรรม ๓ อย่างก็เป็นอนุสัย
( ติสโสปิ อนุสยกถา )

    ถาม : อนุสัยเป็นอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ) เป็นอเหตุกะ ( ไม่มีเหตุ ) เป็นจิตตวิปปยุต

   ( ไม่เกิด ดับพร้อม ไม่เกี่ยวข้องกับจิต ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อนุสัยเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก, เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา, เป็นรูป, เป็นนิพพาน จนถึงเป็น

   อายตนะคือโผฏฐัพพะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ความจริงคำถามนั้นแยกถามทีละข้อ แต่ในที่นี้ได้นำมารวมไว้เป็นคำถามเดียว เพราะข้อซักในประเด็นทั้ง

   สามเป็นอย่างเดียวกัน นิกายมหาสังฆิกะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๐๙. เรื่องญาณความรู้
( ญาณกถา )

    ถาม : เมื่ออัญญาณ ( ความไม่รู้ ) หมดไป จิตที่เป็นญาณวิปปยุต ( ปราศจากญาณ ) กำลังเป็นๆไป

   อยู่ ไม่ควรกล่าวว่า บุคคลมีญาณใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เมื่อราคะหมดไป ก็ไม่ควรกล่าวว่า บุคคลปราศจากราคะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะตีความคำว่า จิตที่เป็นญาณวิปปยุตผิดไป คือใน

   ขณะเช่นนั้น จิตที่เป็นญาณวิปปยุต ในฐานะเป็นจักขุวิญญาณ เป็นต้น หาได้หมายความว่าถูกความโง่

   ครอบงำไม่ )

๑๑๐. เรื่องญาณเป็นจิตตวิปปยุต
( ญาณัง จิตตวิปปยุตตันติกถา )

    ถาม : ญาณ ( ความรู้ ) ไม่ประกอบกับจิต ( ไม่เกิดดับพร้อมกับจิต ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : จิตเป็นรูป, เป็นนิพพาน, เป็นอายตนะคือตา จนเป็นอายตนะคือโผฏฐัพพะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกาปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักว่า ถ้าญาณเป็นจิตตวิปปยุต ญาณก็คงเป็นอย่างใด

   อย่างหนึ่ง คือเป็นรูปหรือนิพพาน เป็นต้น ใช่หรือไม่ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ