บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๑๐-๑๒๐..

๑๑๑.เรื่องการเปล่งวาจาว่า นี้ทุกข์
( อิทัง ทุกขันติกถา )

๑๑๒.เรื่องกำลังฤทธิ์
(อิทธิพลกถา )

๑๑๓.เรื่องสมาธิ
( สมาธิกถา )

๑๑๔.เรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม
(ธัมมัฏฐิตตากถา )

๑๑๕.เรื่องความเป็นของไม่เที่ยง
(อนิจจตากถา )

๑๑๖.เรื่องความสำรวมเป็นการกระทำ
(สังวโร กัมมันติกถา)

๑๑๗.เรื่องการกระทำ
(กัมมกถา )

๑๑๘.เรื่องเสียงเป็นผล
(สัทโท วิปาโกติกถา)

๑๑๙.เรื่องอายตนะ ๖
(สฬายตนกถา )

๑๒๐.เรื่องบุคคลผู้เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
(สัตตักขัตตุปรมกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๑๑. เรื่องการเปล่งวาจาว่า นี้ทุกข์
( อิทัง ทุกขันติกถา )

    ถาม : เมื่อบุคคลกล่าวว่า นี้คือทุกข์ ดังนี้ ญาณ ( ความรู้ ) ว่า นี้คือทุกข์ ย่อมเป็นไปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เมื่อบุคคลกล่าวว่า นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด, นี้คือความดับทุกข์, นี้คือหนทาง ( มรรค ) ดังนี้

   ญาณ ( ความรู้ว่า ) นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด, นี้คือความดับทุกข์, นี้คือหนทาง ( มรรค ) ย่อมเป็นไปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกาอันธกะ มีความเห็นผิดว่า เฉพาะข้อที่กล่าววาจาว่า นี้คือทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดญาณความรู้จัก

   ตัวทุกข์ จึงถูกซักถึงข้ออื่น ๆ ด้วย ซึ่งก็ตอบปฏิเสธ )

๑๑๒. เรื่องกำลังฤทธิ์
( อิทธิพลกถา )

    ถาม : บุคคลผู้ประกอบด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปป์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อายุนั้น คตินั้น การได้อัตตภาพนั้น แต่ละอย่างเป็นของสำเร็จด้วยฤทธิ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ ตีความหมายของเรื่องอิทธิบาทภาวนา (การเจริญคุณธรรมที่ให้บรรลุความสำเร็จ )

   ผิดว่า กำลังฤทธิ์ทำให้บุคคลมีอายุยืน จึงถูกซักว่า อายุนั้นสำเร็จด้วยฤทธิ์หรือ ? )

๑๑๓. เรื่องสมาธิ
( สมาธิกถา )

    ถาม : ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความสืบต่อแห่งจิตอันเป็นอดีต เป็นสมาธิใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายสัพพัตถิกวาทะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักค้านหลายข้อ รวม

   ทั้งข้อที่ว่า ถ้าเป็นความสืบต่อแห่งจิตอันเป็นอกุศลเล่า จะเป็นสมาธิด้วยหรือเปล่า )

๑๑๔. เรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม
( ธัมมัฏฐิตตากถา )

    ถาม : ธัมมัฏฐิตตา ( ความตั้งอยู่แห่งธรรม ) เป็นของสำเร็จรูปแล้วใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความตั้งอยู่ ( อย่างอื่น ) ก็เป็นของสำเร็จรูปแล้ว เพราะธัมมัฏฐิตตานั้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๑๕. เรื่องความเป็นของไม่เที่ยง
( อนิจจตากถา )

    ถาม : อนิจจตา ( ความเป็นของไม่เที่ยง ) เป็นของสำเร็จรูปแล้วใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความเป็นของไม่เที่ยง ( อย่าอื่น ) ก็สำเร็จรูปแล้ว เพราะความไม่เที่ยงนั้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดต่อเนื่องมาจากข้อ ๑๑๔ )

๑๑๖. เรื่องความสำรวมเป็นการกระทำ
( สังวโร กัมมันติกถา )

    ถาม : ความสำรวมเป็นการกระทำใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความสำรวมเป็นการกระทำทางตาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักชัดเจนอยู่แล้ว )

๑๑๗. เรื่องการกระทำ
( กัมมกถา )

    ถาม : กรรมทุกอย่าง ต้องมีผลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เจตนาทุกอย่าง ต้องมีผลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( กรรมตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา หมายถึงเจตนา เมื่อ นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดว่า กรรม

   ทุกอย่าง ต้องมีผล จึงเท่ากับเห็นว่า เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก คือที่ไม่ดีไม่ชั่ว ก็ต้องมีผลด้วย )

๑๑๘. เรื่องเสียงเป็นผล
( สัทโท วิปาโกติกถา )

    ถาม : เสียงเป็นผล ( วิบาก ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เสียงเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา, ทุกขเวทนา, หรืออทุกขมสุขเวทนา ; สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

   เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้รู้จักคำว่า วิบาก ชัดเจนขึ้น )

๑๑๙. เรื่องอายตนะ ๖
( สฬายตนกถา )

    ถาม : อายตนะ ๖ มีอายตนะคือตา เป็นต้น เป็นผล ( วิบาก ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อายตนะ ๖ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นี้เป็นความเห็นผิดสืบเนื่องมาจากข้อ ๑๑๘ คำซักเป็นไปในทำนองเดียวกัน )

๑๒๐. เรื่องบุคคลผู้เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
( สัตตักขัตตุปรมกถา )

    ถาม : บุคคล ( พระโสดาบัน ) ผู้เกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงแท้ เพราะความเป็นผู้

   มีการเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่งใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้นั้นฆ่ามารดา, ฆ่าบิดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตคิด

   ประทุษร้าย, ทำสงฆ์ให้แตกกันใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( คำว่า เที่ยงแท้ มี ๒ นัย คือเที่ยงแท้ในทางที่ถูก กับเที่ยงแท้ในทางที่ผิด นิกายอุตตราปถกะ

   มีความเห็นเพียงแง่เดียวว่า เที่ยงแท้ เพราะจะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ซึ่งกินความหมายคลุมไปไม่ถึงผู้เที่ยง

   แท้ในทางที่ผิด จึงมีการซักให้นึกถึงแง่ที่ผิดด้วย )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ