บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๒๑-๑๓๐..

๑๒๑.เรื่องผู้จะไปเกิดอีก ๒-๓ ครั้ง
กับผู้เกิดอีกเพียงครั้งเดียว
(โกลังโกลเอกพีชีกถา )

๑๒๒.เรื่องการปลงชีวิต
(ชีวิตา โวโรปนกถา )

๑๒๓.เรื่องทุคคติ
( ทุคคติกถา )

๑๒๔.เรื่องบุคคลผู้เกิดในภพที่ ๗
(สัตตมภวิกกถา )

๑๒๕.เรื่องผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์
( กัปปัฏฐกถา )

๑๒๖.เรื่องการได้กุศลจิต
(กุสลจิตตปฏิลาภกถา)

๑๒๗.เรื่องผู้ประกอบด้วยกรรมอัน
ให้ผลไม่มีระหว่างคั่น
( อนันตราปยุตตกถา )

๑๒๘.เรื่องทำนองธรรมของผู้แน่นอน
(นิยตัสส นิยามกถา)

๑๒๙.เรื่องผู้มีนีวรณ์
(นีวุตกถา )

๑๓๐.เรื่องผู้พร้อมหน้ากิเลส
( สัมมุขีภูตกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๒๑. เรื่องผู้จะไปเกิดอีก ๒-๓ ครั้ง กับผู้เกิดอีกเพียงครั้งเดียว
( โกลังโกลเอกพีชีกถา )

    ถาม : ไม่ควรกล่าวว่า บุคคลผู้จะเกิดอีก ๒-๓ ครั้ง กับผู้จะเกิดอีกเพียงครั้งเดียว เป็นผู้เที่ยงแท้

   ด้วยความเป็นผู้เช่นนั้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้นั้นเป็นผู้จะเกิดอีก ๒-๓ ครั้ง กับผู้จะเกิดอีกเพียงครั้งเดียวมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวดั่งข้างต้น

   ( เป็นเรื่องของ นิกายอุตตราปถกะ เช่นเดียวกัน )

๑๒๒. เรื่องการปลงชีวิต
( ชีวิตา โวโรปนกถา )

    ถาม : บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ( ทิฏฐิสัมปันนะโดยตรง หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน )

   พึงปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ทำอนันตริยกรรมได้ใช่หรือไม่ ( คือฆ่ามารดา บิดา เป็นต้น )

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้เกิดความรู้สึกว่า ความเห็นของตนยังบกพร่อง

   อย่างไรบ้าง )

๑๒๓. เรื่องทุคคติ
( ทุคคติกถา )

    ถาม : บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ( พระโสดาบัน ) ละคติที่ชั่วได้แล้วใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ พึงกำหนัดในรูปที่เป็นไปในอบายใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิละคติที่ชั่วได้แล้ว

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ความจริงก็น่าจะไม่เรียกว่าเห็นผิด แต่คำว่า ทุคคติ

   มิใช่หมายเพียงคติที่ชั่วของผู้ตกต่ำลงในทุคคติเท่านั้น แต่หมายคลุมถึงตัณหาซึ่งมีรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ด้วย

   เพราะพระโสดาบันยังละราคะ โทสะ โมหะ ไม่ได้เด็จขาด อาจพอใจในรูปชั้นต่ำได้ )

๑๒๔. เรื่องบุคคลที่เกิดในภพที่ ๗
( สัตตมภวิกกถา )

   ( เรื่องนี้ก็เหมือนข้อที่ ๑๒๓ เป็นแต่กล่าวถึงบุคคลผู้เกิดในภพที่ ๗ แทนผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ข้อโต้แย้งเรื่อง

   ละทุคคติได้ก็อย่างเดียวกัน บุคคลที่เกิดในภพที่ ๗ หมายถึงพระโสดาบันบุคคล ซึ่งจะไม่เกิดอีกเป็นครั้งที่ ๘ )

๑๒๕. เรื่องผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์
( กัปปัฏฐกถา )

    ถาม : " ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ ( เป็นชื่อของผู้ทำชั่วอย่างรุนแรง เช่น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ) " ย่อมตั้ง

   อยู่ตลอดกัปป์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : กัปป์ก็ยังดำรงค์อยู่ พระพุทธเจ้าก็เกิดขึ้นในโลกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ความจริงเป็นเรื่องของโวหาร คือกัปป์จริง ๆ นั้นยาวนานมาก

   กัปป์ในคำว่า ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ นั้น เป็นชื่อของอายุขัย ของผู้ทำชั่วอย่างรุนแรง จะตกนรกตลอดกาลนาน

   แต่ก็นานไม่เต็มกัปป์จริง ๆ เพียงประมาณ ๑ ใน ๘๐ ก็หมดอายุแล้ว เพราะฉะนั้น คำว่า กัปป์ ถ้าใช้กับ

   บุคคลก็หมายความว่า อายุของตน เช่น ๑๐๐ ปี แต่กัปป์ของกาลเวลายาวนานมาก )

๑๒๖. เรื่องการได้กุศลจิต
( กุสลจิตตปฏิลาภกถา )

    ถาม : " ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ " ไม่พึงได้กุศลจิตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : " ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ " พึงให้ทานได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า " ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ " ไม่พึงได้กุศลจิต

   (ตามหลักพระพุทธศาสนา ผู้เช่นนั้นยังอาจจะมีกุศลจิตชั้นต่ำที่เรียกว่า กามาวจร แต่ไม่ได้กุศลจิต

   ชั้นสูงที่เป็น โลกุตตระ เมื่อ นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นคลุมไปหมด จึงมีการซักใน

   ข้อนี้ )

๑๒๗. เรื่องผู้ประกอบด้วยกรรมอันให้ผลไม่มีระหว่างคั่น
( อนันตราปยุตตกถา )

    ถาม : บุคคลผู้ประกอบด้วยกรรมอันให้ผลไม่มีระหว่างคั่น ( ผู้ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดา,

   บิดา เป็นต้น ) พึงก้าวลงสู่ทำนองที่ถูกต้อง ( บรรลุธรรมะได้ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้นั้นพึงก้าวลงสู่ทำนองธรรมทั้งสองอย่าง คือทั้งที่ถูกต้องทั้งที่ผิดใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   (อรรถกถาอธิบายเป็นพิเศษสำหรับข้อนี้ว่า กล่าวตามสกสมัย คือคติแห่งพระพุทธศาสนา บุคคลถูกบังคับให้

   ประกอบอนันตริยกรรม โดยเจาะจงทำไปโดยมีเจตนาสมบูรณ์ จึงเป็นผู้ไม่ควรบรรลุธรรมที่ถูกต้องได้ แต่

    นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดว่า เจตนาจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ไม่ควรบรรลุธรรมที่ถูกต้อง

   ทั้งสิ้น อรรถกถาให้ข้อสังเกตุว่า เฉพาะข้อนี้ผิดกว่าที่เคยถามตอบมาแล้ว คือในที่นี้ฝ่ายถามเป็นฝ่ายเห็นผิด

   ฝ่ายตอบเป็นฝ่ายเห็นถูก )

๑๒๘. เรื่องทำนองธรรมของผู้แน่นอน
( นิยตัสส นิยามกถา )

    ถาม : บุคคลผู้แน่นอน ( ผู้ทำอนันตริยกรรม ชื่อว่าเป็นผู้แน่นอนฝ่ายชั่ว บุคคลผู้บรรลุอริยมรรค

   ชื่อว่า เป็นผู้แน่นอนฝ่ายดี ) ย่อมก้าวลงสู่ทำนองธรรม ( บรรลุธรรมะได้ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( ฝ่ายตอบเข้าใจเพียงแง่เดียวว่า ฝ่ายดีบรรลุธรรมได้ มิได้เฉลียวใจว่า คำว่า ผู้แน่นอน

   กินความถึงฝ่ายชั่วด้วย จึงตอบอย่างนั้น )

    ถาม : ผู้แน่นอนในทางที่ผิด ย่อมก้าวลงสู่ทำนองธรรมที่ถูก ; ผู้แน่นอนในทางที่ถูก ย่อมก้าวลงสู่

   ทำนองธรรมในทางที่ผิดใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ มีความเห็นผิดในถ้อยคำว่า คำว่า นิยโต ผู้แน่

   นอนหมายเฉพาะในทางดี จึงถูกซักให้เข้าใจว่า หมายถึงในทางชั่วด้วย ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวคลุม ๆ ว่า ผู้

   แน่นอนบรรลุทำนองธรรมได้ )

๑๒๙. เรื่องผู้มีนิวณ์
( นีวุตกถา )

    ถาม : ผู้ถูกนีวรณ์ห่อหุ้ม ย่อมละนีวรณ์ได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้กำหนัดย่อมละความกำหนัดได้ ผู้คิดประทุษร้ายย่อมละโทสะได้ ผู้หลงย่อมละโมหะได้ ผู้

   เศร้าหมอง ย่อมละกิเลสได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะมีเหตุผลว่า ถ้าผู้ละกิเลสได้ หมายถึงผู้บริสุทธิ์แล้ว

   ก็ไม่จำเป็นต้องละกิเลส เพราะบริสุทธิ์อยู่แล้ว แต่ตามข้อเท็จจริง ผู้บริสุทธิ์ที่จะละนีวรณ์คือกิเลสชั้นกลาง

   นั้นหมายความว่า บริสุทธิ์ด้วยอำนาจฌาน อันอาจกลับมีกิเลสได้อีก ไม่ใช่บริสุทธิ์ชนิดไม่กลับกำเริบอีก )

๑๓๐. เรื่องผู้พร้อมหน้ากิเลส
( สัมมุขีภูตกถา )

    ถาม : ผู้พร้อมหน้า ( ผู้มีกิเลส ) ย่อมละกิเลสที่ผูกมัดได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้กำหนัดย่อมละความกำหนัดได้ ฯ ล ฯ มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ข้อนี้ก็เหมือนกับข้อว่าด้วยนีวรณ์ข้างต้น เป็นแต่เปลี่ยนสำนวนว่า ผู้พร้อมหน้ากิเลส คือมีกิเลสอยู่บริบูรณ์ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ