บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๓๑-๑๔๐..

๑๓๑.เรื่องผู้เข้าฌานย่อมพอใจ
(สมาปันโน อัสสาเทติกถา )

๑๓๒.เรื่องความกำหนัดในสิ่งที่
ไม่น่าพอใจ
(อสาตราคกถา )

๑๓๓.เรื่องความทะยานอยากใน
ธรรมเป็นอัพยากฤต
( ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา )

๑๓๔.เรื่องธัมมตัณหามิใช่
เหตุให้เกิดทุกข์
(ธัมมตัณหา น
ทุกขสมุทโยติกถา )

๑๓๕.เรื่องความต่อเนื่องแห่ง
กุศลและอกุศล
( กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา )

๑๓๖.เรื่องความเกิดขึ้นแห่ง
อายตนะ ๖

๑๓๗.เรื่องปัจจัยที่ไม่มีระหว่างคั่น
( อนันตรปัจจยกถา )

๑๓๘.เรื่องรูปของพระอริยะ
(อริยรูปกถา)

๑๓๙.เรื่องอนุสัยเป็นอย่างอื่น
(อัญโญ อนุสโยติกถา )

๑๔๐.เรื่องกิเลสเครื่องรึงรัด
ไม่ประกอบกับจิต
( ปริยุฏฐานัง- -
จิตตวิปปยุตตันติกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๓๑. เรื่องผู้เข้าฌานย่อมพอใจ
( สมาปันโน อัสสาเทติกถา )

    ถาม : ผู้เข้าฌานย่อมพอใจ มีความใคร่ในฌาน มีฌานเป็นอารมณ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักตามตัวอย่างข้างต้น )

๑๓๒. เรื่องความกำหนัดในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
( อสาตราคกถา )

    ถาม : ความกำหนัดในสิ่งที่ไม่น่าพอใจมีอยู่ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สัตว์ทั้งหลายที่ยินดีทุกข์ ปรารถนาทุกข์ กระหยิ่มยินดีแสวงหาทุกข์ ดำรงค์อยู่เพื่อบรรลุ

   ความทุกข์มีหรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ ตีความหมายแห่งพระพุทธภาษิตบางข้อผิด จึงเข้าใจว่า มีความกำหนัดในสิ่งที่

   ไม่น่าพอใจของผู้กำหนัดนั้นเอง )

๑๓๓. เรื่องความทะยานอยากในธรรมเป็นอัพยากฤต
( ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา )

    ถาม : ความทะยานอยากในธรรมเป็นอัพยากฤต คือไม่ดีไม่ชั่วใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความทะยานอยากในธรรมเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก หรือฝ่ายกริยา หรือว่าเป็นรูป เป็น

   นิพพานหรือเป็นอายตนะคือตา เป็นต้น จนถึงอายตนะคือโผฏฐัพพะ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักถึงสภาพของอัพยากฤต ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ความ

   ทะยานอยากในธรรมไม่อยู่ในสภาพของอัพยากฤตเลย )

๑๓๔. เรื่องธัมมตัณหามิใช่เหตุให้เกิดทุกข์
( ธัมมตัณหา น ทุกขสมุทโยติกถา )

    ถาม : ความทะยานอยากในธรรมมิใช่เหตุให้ทุกข์เกิดใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความทะยานอยากในรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ มิใช่เหตุให้ทุกข์เกิด?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   (คำว่า ธรรมะ ใน ธัมมตัณหา หมายถึงอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันมาเป็นหมวดเดียวกับรูป,

   เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ถือว่าธัมมตัณหามิใช่เหตุให้เกิดทุกข์ ก็จะต้องกล่าวว่า ความทะยานอยากในรูป

   เสียง เป็นต้น มิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ด้วย นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๓๕. เรื่องความต่อเนื่องแห่งกุศลและอกุศล
( กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา )

    ถาม : อกุศลย่อมต่อเนื่องกับกุศลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความคิดเพื่อให้อกุศลเกิดขึ้น ย่อมเป็นความคิดเพื่อให้กุศลเกิดขึ้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดว่า กุศล กับ อกุศล เกิดต่อเนื่องกัน จึงถูกซัก

   ดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๓๖. เรื่องความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ ๖

    ถาม : อายตนะ ๖ ( ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ) ย่อมตั้งอยู่ในครรภ์มารดา ไม่ก่อนไม่หลัง (พร้อม

   กับปฏิสนธิจิต ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สัตว์มีอวัยวะพร้อม ไม่มีอินทรีย์บกพร่อง ก้าวลงสู่ครรภ์มารดาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ อรรถกถาอธิบายว่า ในขณะเกิด

   มีอายตนะคือใจ กับกายเท่านั้น อีก ๔ อย่าง เกิดต่อเมื่อล่วง ๗ ราตรีแล้ว )

๑๓๗. เรื่องปัจจัยที่ไม่มีระหว่างคั่น
( อนันตรปัจจยกถา )

    ถาม : โสตวิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู ) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับติดต่อกันแห่งจักขุวิญญาณ

   ( ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ) มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความคิดเพื่อให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น ย่อมเป็นอันเดียวกับโสตวิญญาณมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๓๘. เรื่องรูปของพระอริยะ
( อริยรูปกถา )

    ถาม : รูปของพระอริยะอาศัยมหาภูตรูป ( ธาตุทั้งสี่ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปของพระอริยะเป็นกุศลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มหาภูตรูป ( ธาตุทั้งสี่ ) เป็นกุศลหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะมีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้เข้าใจว่า ถ้ารูปของพระอริยะเป็นกุศล มหาภูตรูป

   ก็เป็นกุศลด้วย ความจริงเป็นกลาง ๆ )

๑๓๙. เรื่องอนุสัยเป็นอย่างอื่น
( อัญโญ อนุสโยติกถา )

    ถาม : อนุสัย ( กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน ) คือกามราคะเป็นอย่างหนึ่ง กิเลสเครื่องรึงรัด คือกาม

   ราคะเป็นอีกอย่างหนึ่ง (กิเลสอย่างละเอียด กับอย่างกลาง แม้ประเภทเดียวกัน ก็เป็นคนละอย่าง)ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : กามราคะเป็นอย่างหนึ่ง กิเลสเครื่องรึงรัดคือกามราคะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ( กิเลสอย่างหยาบ

   กับกิเลสอย่างกลาง แม้ประเภทเดียวกัน ก็เป็นคนละอย่าง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักชัดเจนอยู่แล้ว )

๑๔๐. เรื่องกิเลสเครื่องรึงรัดไม่ประกอบกับจิต
( ปริยุฏฐานัง จิตตวิปปยุตตันติกถา )

    ถาม : กิเลสเครื่องรึงรัด ( ปริยุฏฐานะ ) ไม่ประกอบกับจิตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : กิเลสนั้นเป็นรูป, เป็นนิพพาน, เป็นอายตนะคือตา จนถึงอายตนะคือโผฏฐัพพะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ