บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๔๑-๑๕๐..

๑๔๑.เรื่องสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน
(ปริยาปันนกถา )

๑๔๒.เรื่องอัพยากฤต
(อัพยากตกถา )

๑๔๓.เรื่องโลกุตตระ
( อปริยาปันนกถา )

๑๔๔.เรื่องความเป็นปัจจัย
(ปัจจยตากถา )

๑๔๕.เรื่องปัจจัยของกันและกัน
( อัญญมัญญปัจจยกถา )

๑๔๖.เรื่องกาลยืดยาว
( อัทธากถา )

๑๔๗.เรื่องขณะ,ประเดี๋ยว,ครู่
( ขณลยมุหุตตกถา )

๑๔๘.เรื่องกิเลสที่ดองสันดาน
(อาสวกถา)

๑๔๙.เรื่องความแก่และความตาย
(ชรามรณกถา )

๑๕๐.เรื่องสัญญาและเวทนา
( สัญญาเวทยิตกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๔๑. เรื่องสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน
( ปริยาปันนกถา )

    ถาม : ความกำหนัดในรูป ( รูปราคะ ) ย่อมแฝงตัวตามธาตุคือรูป ( รูปธาตุ ) จึงจัดว่าเกี่ยวเนื่องด้วย

   ธาตุคือรูปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

   ( นิกายอันธกะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ความจริงความกำหนัดในรูป ย่อมแฝง

   ตัวตามทั้งรูปธาตุและอรูปธาตุ )

๑๔๒. เรื่องอัพยากฤต
( อัพยากตกถา )

    ถาม : ความเห็น ( ทิฏฐิคตะ ) เป็นอัพยากฤต ( กลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความเห็นเป็นรูป, เป็นนิพพาน เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๔๓. เรื่องโลกุตตระ
( อปริยาปันนกถา )

    ถาม : ความเห็นเป็นโลกุตตระใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความเห็นเป็นมรรค หรือผล หรือนิพพาน ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( คำว่า อปริยาปันนะ หมายถึงโลกุตตระ นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๔๔. เรื่องความเป็นปัจจัย
( ปัจจยตากถา )

    ถาม : ความเป็นปัจจัยเป็นของกำหนดไว้ ( ตายตัว ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : การพิจารณา ( วีมังสา ) เป็นเหตุด้วย เป็นใหญ่ ( อธิบดี ) ด้วย มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัจจัยโดยเป็นเหตุปัจจัย ย่อมเป็นปัจจัยโดยความ

   เป็นอธิปติปัจจัยด้วย

   ( นิกายมหาสังฆิกะ เห็นผิดว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่เป็นปัจจัยข้ออื่น จึงถูก

   ซักให้เห็นว่า ในขณะเดียวกันเป็นได้ ๒ ข้อก็มี )

๑๔๕. เรื่องปัจจัยของกันและกัน
( อัญญมัญญปัจจยกถา )

    ถาม : สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่ควรกล่าวว่า อวิชชามีสังขารเป็นปัจจัยใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขารมิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยด้วย อวิชชาก็

   มีสังขารเป็นปัจจัยด้วย

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงซักให้ยอมรับเรื่องความเป็นปัจจัยของกันและกันระหว่าง

   อวิชชากับสังขาร )

๑๔๖. เรื่องกาลยืดยาว
( อัทธากถา )

    ถาม : กาลยืดยาวเป็นของสำเร็จรูปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : กาลยืดยาวเป็นรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ข้อนี้อรรถกถาไม่ได้บอกว่าเป็นของนิกายไหน แต่ก็สันนิษฐานได้ว่า สืบมาจากข้อ ๑๔๕. ตามหลักวิชา

   สิ่งที่นับว่าสำเร็จรูปก็เฉพาะขันธ์ ๕ กาลยืดยาวเป็นแต่สักว่าบัญญัติว่า กาล จึงไม่จัดเข้าในคำว่าสำเร็จรูป

   หรือ ปรินิปผันนะ )

๑๔๗. เรื่องขณะ, ประเดี๋ยว, ครู่
( ขณลยมุหุตตกถา )

   ( ข้อนี้เหมือนข้อ ๑๔๖ คือถือผิดว่า ขณะ เป็นต้น สำเร็จรูป จึงถูกถามว่า เป็นขันธ์ ๕ หรือ )

๑๔๘. เรื่องกิเลสที่ดองสันดาน
( อาสวกถา )

   ( นิกายเหตุวาทะ เห็นว่า อาสวะ ๔ คือ กาม, ภพ, ทิฏฐิ, อวิชชา มิใช่อาสวะ จึงถูกซักว่าเป็น

   มรรค, ผล, นิพพาน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ )

๑๔๙. เรื่องความแก่และความตาย
( ชรามรณกถา )

    ถาม : ความแก่ความตายของธรรมะที่เป็นโลกุตตระ จัดว่าเป็นโลกุตตระใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความแก่ความตายเป็นมรรค, ผล, นิพพาน เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักชัดเจนอยู่แล้ว )

๑๕๐. เรื่องสัญญาและเวทนา
( สัญญาเวทยิตกถา )

    ถาม : สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ( สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา ) เป็นโลกุตตระใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สมาบัติเป็นมรรค, ผล, นิพพาน เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักค้านเอาหลักโลกุตตรธรรมมาซัก แต่เนื่องจากมีหลักฐาน

   บางแห่งกล่าวว่า สมาบัตินี้เป็นนิพพาน จึงน่าสังเกตในการตีความธรรมะข้อนี้อยู่เหมือนกัน ได้เคยบันทึกไว้

   ในข้อที่ ๕๘ เรื่องนิโรธสมาบัติครั้งหนึ่งแล้ว )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ