บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๕๑-๑๖๐..

๑๕๑.เรื่องสัญญาและเวทนา
เรื่องที่ ๒
(ทุติยสัญญาเวทยิตกถา )

๑๕๒.เรื่องสัญญาและเวทนา
เรื่องที่ ๓
(ตติยสัญญาเวทยิตกถา )

๑๕๓.เรื่องสมาบัติที่ให้
เข้าถึงอสัญญสัตว์
( อสัญญสัตตุปิกากถา )

๑๕๔.เรื่องการสะสมกรรม
( กัมมูปจยกถา )

๑๕๕.เรื่องการข่ม
( นิคคหกถา )

๑๕๖.เรื่องการประคอง
( ปัคคหกถา )

๑๕๗.เรื่องการเพิ่มให้ความสุข
( สุขานุปปทานกถา )

๑๕๘.เรื่องการรอบรวมพิจารณา
( อธิคคัยหมนสิการกถา)

๑๕๙.เรื่องรูปเป็นเหตุ
(รูปัง เหตูติกถา )

๑๖๐.เรื่องรูปมีเหตุ
( รูปัง สเหตุกันติกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๕๑. เรื่องสัญญาและเวทนาเรื่องที่ ๒
( ทุติยสัญญาเวทยิตกถา )

    ถาม : สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สมาบัติเป็นรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ, กามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร ( อย่าง

   ใดอย่างหนึ่ง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ เห็นว่า เมื่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิใช่โลกุตตระ ก็ควรเป็นโลกิยะ จึงถูก

   ซักอีกว่า เป็นขันธ์ ๕ หรือเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร เป็นอันสรูปมติของผู้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุนี้

   ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิใช่ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตตระ )

๑๕๒. เรื่องสัญญาและเวทนาเรื่องที่ ๓
( ตติยสัญญเวทยิตกถา )

    ถาม : ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต อันมีความตายเป็นที่สุด ใช่

   หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ มีความเห็นว่า เมื่อไม่มีข้อกำหนดว่า ผู้นั้นต้องตาย ผู้นี้จึงไม่ตาย เพราะฉะนั้น ผู้

   เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ควรตายได้ เช่น บุคคลธรรมดา แต่ตามหลักวิชา ไม่มีการตายในระหว่างที่เข้า

   สัญญาเวทยิตนิโรธ )

๑๕๓. เรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงอสัญญสัตว์
( อสัญญสัตตุปิกากถา )

    ถาม : การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทำให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นกุศลมูลหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทำให้เข้าถึงอสัญญสัตว์

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นเป็นเหตุถูกค้านในข้อนี้ อรรถกถาอธิบายว่า ภาวนาที่เป็นไปด้วย

   อำนาจแห่งความคลายความกำหนัดในสัญญา จัดเป็น อสัญญสมาบัติ บ้าง นิโรธสมาบัติ

   บ้าง ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ ๆ จึงมี ๒ อย่าง คือเป็น โลกิยะ และ โลกุตตระ ที่เป็น

   โลกิยะเป็นของบุถุชน ทำให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ที่เป็นโลกุตตระเป็นของพระอริยะ ไม่ทำให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ เมื่อ

    นิกายเหตุวาทะ เห็นแง่เดียว จึงถูกซักค้านให้เห็นแง่อื่นอีก. คำอธิบายของอรรถกถาข้อนี้ จึงเป็น

   คำตอบในข้อ ๕๘, ๑๕๐, และ ๑๕๑ ด้วย )

๑๕๔. เรื่องการสะสมกรรม
( กัมมูปจยกถา )

    ถาม : กรรมเป็นอย่างหนึ่ง การสะสมกรรมเป็นอีกอย่างหนึ่งใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผัสสะ, เวทนา เป็นต้น เป็นอย่างหนึ่ง การสะสมผัสสะ, การสะสมเวทนา เป็นต้น เป็นอีก

   อย่างหนึ่งใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจว่า กัมมูปจยะ หรือ

   การสะสมกรรม ไม่สัมปยุตกับจิต )

๑๕๕. เรื่องการข่ม
( นิคคหกถา )

    ถาม : ผู้อื่นย่อมข่มจิตของผู้อื่นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้อื่นย่อมข่มหรือบังคับได้ว่า จิตของผู้อื่นอย่ากำหนัด, อย่าคิดประทุษร้าย, อย่าหลง, อย่าเศร้า

   หมอง ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๕๖. เรื่องการประคอง
( ปัคคหกถา )

   ( ข้อนี้เหมือนข้อ ๑๕๕ ต่างแต่เป็นเรื่องของการประคองจิตแทนข่มจิต ข้อโต้แย้งก็อย่างเดียวกัน )

๑๕๗. เรื่องการเพิ่มให้ความสุข
( สุขานุปปทานกถา )

    ถาม : ผู้อื่นย่อมเพิ่มให้ความสุขแก่ผู้อื่นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้อื่นย่อมเพิ่มให้ทุกข์แก่ผู้อื่นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นผิดว่า ความรู้สึกเป็นสุขนั้น เป็นของที่เพิ่มให้แก่กันได้ จึงถูกย้อนถาม

   ถึงความรู้สึกทุกข์ด้วย )

๑๕๘. เรื่องการรวบรวมพิจารณา
( อธิคคัยหมนสิการกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมรวบรวม พิจารณาได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมรู้จิตนั้น ด้วยจิตนั้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดว่า บุคคลอาจรวบรวมสังขารทั้งหมดมาพิจราณารวมกันได้ จึงถูก

   ซักว่า ใช้จิตขณะนั้น รู้จิตขณะนั้นได้หรือ )

๑๕๙. เรื่องรูปเป็นเหตุ
( รูปัง เหตูติกถา )

    ถาม : รูปเป็นเหตุใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปเป็นเหตุ คือความไม่โลภ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๖๐. เรื่องรูปมีเหตุ
( รูปัง สเหตุกันติกถา )

    ถาม : รูปมีเหตุใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปประกอบด้วยเหตุ คือความไม่โลภ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )


    '๑' . อธิคฺคยฺห อรรถกถาแก้ว่า สงฺคณฺหิตฺวา อนึ่งคำว่า มนสิการ เคยแปลว่า ใส่ใจ หรือทำไว้ในใจ แต่ในที่ นี้ใช้ว่า พิจารณาเพื่อให้ความชัดขึ้น


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ