บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๖๑-๑๗๐..

๑๖๑.เรื่องรูปเป็นกุศลและอกุศล
(รูปัง กุสลากุสลันติกถา )

๑๖๒.เรื่องรูปเป็นผล
(รูปัง วิปาโกติกถา )

๑๖๓.เรื่องรูปเป็นรูปาวจร
และอรูปาวจร
( รูปัง รูปาวจรารูปา-
วจรันติกถา )

๑๖๔.เรื่องรูปราคะเนื่องด้วยรูปธาตุ
( รูปราโค รูปธาตุปริยา-
ปันโนติกถา )

๑๖๕.เรื่องพระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ
(อัตติ อรหโต ปุญญูปจ-
โยติกถา )

๑๖๖.เรื่องพระอรหันต์ไม่มีการตาย
เมื่อยังไม่ถึงคราว
(นัตถิ อรหโต อกาลมัจจู-
ติกถา )

๑๖๗.เรื่องทุกอย่างมาจากกรรม
( สัพพมิทัง กัมมโตติ-
กถา )

๑๖๘.เรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
( อินทริยพัทธกถา)

๑๖๙.เรื่องเว้นแต่อริยมรรค
(ฐเปตวา อริยมัคคันติ-
กถา )

๑๗๐.เรื่องไม่ควรกล่าวว่า
สงฆ์รับทักษิณา
(น วัตตัพพัง สังโฆ ทักขิ-
ณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๖๑. เรื่องรูปเป็นกุศลและอกุศล
( รูปัง กุสลากุสลันติกถา )

    ถาม : รูปเป็นกุศลและอกุศลได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปมีอารมณ์ มีการคำนึงคิดถึงได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหิสาสกะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดว่า กายวิญญัติ การไหวกาย

    วจีวิญญัติ การไหววาจา ซึ่งเป็นอุปาทายรูปนั้น ก็ได้แก่กายกรรมและวจีกรรม เพราะฉะนั้น จึง

   เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล แต่ตามหลักวิชาต้องถือว่า กุศลอกุศลมีความสำคัญอยู่ที่จิต จึงถูกถามว่า รูปนั้นมี

   อารมณ์และคิดนึกได้หรือไม่ ? )

๑๖๒. เรื่องรูปเป็นผล
( รูปัง วิปาโกติกถา )

   ( ข้อว่า รูปเป็นผล หรือวิบากนี้ เป็นความเห็นของ นิกายอันธกะ และ สมิติยะ ข้อแย้งก็

   อย่างเดียวกับข้อ ๑๑๘ เรื่องเสียงเป็นผล )

๑๖๓. เรื่องรูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
( รูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา )

    ถาม : รูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจว่า รูปชื่อว่าเป็นกามาวจร, รูปาวจร หรืออรูปาวจร

   ก็เพราะทำกรรมอันเป็นกามาวจร, รูปาวจร, หรืออรูปาวจรไว้ จึงถูกซักว่า รูปเป็นการแสวงหาสมาบัติ การ

   แสวงหาการเกิดและเป็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นสัมปยุตตธรรม คือเกิดพร้อม ดับพร้อม และมีอารมณ์

   เป็นอันเดียวกับจิตที่แสวงหาสมาบัติ แสวงหาการเกิดใช่หรือไม่ ? )

๑๖๔. เรื่องรูปราคะเนื่องด้วยรูปธาตุ
( รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติกถา )

    ถาม : ความกำหนัดในรูป ( รูปาราคะ ) เนื่องด้วยธาตุคือรูปใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ข้อซักถามพ้องกับข้อ ๑๖๓ )

๑๖๕. เรื่องพระอรหันต์มีการสังสมบุญ
( อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา )

    ถาม : พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์มีการสั่งสมที่มิใช่บุญ ( คือบาป ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้นึกถึงคำที่ว่า พระอรหันต์ละบุญละบาปได้แล้ว ถ้า

   สั่งสมบุญได้ก็สั่งสมบาปได้ด้วย ข้อควรทราบก็คือ การทำความดีของพระอรหันต์เป็นกิริยาเท่านั้น มิใช่เพื่อ

   เป็นบุญ คือเพื่อล้างหรือชำระความชั่ว )

๑๖๖. เรื่องพระอรหันต์ไม่มีการตายเมื่อยังไม่ถึงคราว
( นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ไม่มีการตายเมื่อยังไม่ถึงคราวใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้นึกถึงเรื่องที่อาจมีผู้ฆ่า

   พระอรหันต์ได้ ในกรณีเช่นนั้น ก็ชื่อว่าตายในเมื่อยังไม่ถึงคราว )

๑๖๗. เรื่องทุกอย่างมาจากกรรม
( สัพพมิทัง กัมมโตติกถา )

    ถาม : ทุกอย่างนี้มาจากกรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : กรรมก็มาจากกรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ และ สมิติยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะตีความในพระพุทธภาษิตบางข้อ

   จึงถูกซักดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๖๘. เรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
( อินทริยพัทธกถา )

    ถาม : สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ความจริงทั้งสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์และไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็เป็น

   ทุกข์ทั้งสิ้น )

๑๖๙. เรื่องเว้นแต่อริยมรรค
( ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา )

    ถาม : สังขารที่เหลือ เว้นแต่อริยมรรค เป็นทุกข์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : แม้เหตุให้เกิดทุกข์ ก็เป็นทุกข์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นว่า อริยมรรคเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงยกเว้นให้ นอกนั้น

   นั้นเห็นว่าเป็นทุกข์หมด ฝ่ายค้านจึงซักค้านถึงข้ออื่น ๆ คือทุกขสมุทัย )

๑๗๐. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์รับทักษิณา
( น วัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา )

    ถาม : ไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์รับทักษิณา ( ของทำบุญ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา เป็นต้น มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่น่าจะกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์รับทักษิณา

   ( นิกายเวตุลลกะ พวกมหาสุญญตาวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจว่ามรรคและผลเป็น

   พระสงฆ์ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ