บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๗๑-๑๘๐..

๑๗๑.เรื่องไม่ควรกล่าวว่า
สงฆ์ทำทักษิณาให้บริสุทธิ์
(น วัตตัพพัง สังโฆ
ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา )

๑๗๒.เรื่องไม่ควรกล่าวว่า
สงฆ์ฉัน ( อาหาร )
(น วัตตัพพัง สังโฆ ภุญชตีติกถา )

๑๗๓.เรื่องไม่ควรกล่าวว่า
ทานที่ถวายแด่สงฆ์มีผลมาก
( น วัตตัพพัง สังฆัสส
ทินนัง มหัปผลันติกถา )

๑๗๔.เรื่องไม่ควรกล่าวว่า
ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
( น วัตตัพพัง พุทธัสส
ทินนัง มหัปผลันติกถา )

๑๗๕.เรื่องความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา
(ทักขิณาวิสุทธิกถา )

๑๗๖.เรื่องมนุษยโลก
(มนุสสโลกกถา)

๑๗๗.เรื่องพระธรรมเทศนา
( ธัมมเทสนากถา )

๑๗๘.เรื่องกรุณา
( กรุณากถา)

๑๗๙.เรื่องของหอม
(คันธชาติกถา )

๑๘๐.เรื่องมรรคอันเดียว
( เอกมัคคกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๗๑. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์ทำทักษิณาให้บริสุทธิ์
( น วัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา )

๑๗๒. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า สงฆ์ฉัน ( อาหาร )
( น วัตตัพพัง สังโฆ ภุญชตีติกถา )

๑๗๓. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่สงฆ์มีผลมาก
( น วัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา )

   ( รวม ๔ ข้อนี้ เป็นหัวข้อที่ทำให้มีความเห็นผิดแบบเดียวกับข้อ ๑๗๐ จึงรวมไว้แต่หัวข้อ ไม่ต้องอธิบาย )

๑๗๔. เรื่องไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
( น วัตตัพพัง พุทธัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา )

   ( นิกายเวตุลลกะ พวกมหาสุญญตาวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเห็นว่าพระผู้มีพระภาคไม่ฉัน

   สิ่งใด ๆ คือมีความเห็นว่า พระสงฆ์ที่แท้จริงก็คือมรรคผล พระพุทธเจ้าที่แท้จริงก็คือปัญญาที่ตรัสรู้ เป็นการ

   เห็นแบบปรมัตถ์แล้วเอามาค้านสมมติบัญญัติ )

๑๗๕. เรื่องความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา
( ทักขิณาวิสุทธิกถา )

    ถาม : ทานย่อมบริสุทธิ์ทางฝ่ายผู้ให้เท่านั้น มิใช่ฝ่ายผู้รับใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้รับบางคนที่เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ( ของทำบุญ ) มี

   อยู่มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ทานย่อมบริสุทธิ์ทางฝ่ายผู้ให้เท่านั้น มิใช่ฝ่ายผู้รับ

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๗๖. เรื่องมนุษยโลก
( มนุสสโลกกถา )

    ถาม : ไม่ควรกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ในมนุษยโลกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เจดีย์, อาราม, วิหาร, คาม, นิคม, นคร, แว่นแคว้น, ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคยอยู่มาแล้วมีอยู่

   มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่น่าจะกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ใน

   มนุษยโลก

   ( นิกายเวตุลลกะ มีความเห็นผิดว่า รูปกายของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในโลกนี้เป็นเพียงรูปนิรมิต ไม่

   ใช่พระองค์จริง พระองค์จริงประทับอยู่ในดุสิตภพ จึงถูกซักดั่งตัวอย่างข้างต้น )

๑๗๗. เรื่องพระธรรมเทศนา
( ธัมมเทสนากถา )

    ถาม : ไม่ควรกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ใครเล่าแสดงธรรม ?

    ตอบ : รูปที่นิรมิตขึ้นแสดงธรรม

    ถาม : พระชินศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ถูกนิรมิตขึ้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเวตุลลกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ พึงสังเกตว่า นิกายนี้ มีความเห็นในรูปปรมัตถ์เสมอ )

๑๗๘. เรื่องกรุณา
( กรุณากถา )

    ถาม : พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีพระกรุณาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีพระเมตตาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจว่า กรุณามีลักษณะใกล้เคียงกับ ราคะ

   ความกำหนัดยินดี ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด )

๑๗๙. เรื่องของหอม
( คันธชาติกถา )

    ถาม : อุจจาระ ปัสสาวะของพระพุทธเจ้า ย่อมเหนือคันธชาติอื่น ๆ อย่างยิ่งใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระผู้มีพระภาคเสวยของหอมหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นว่า อุจาร ปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคหอม

   ยิ่งกว่าของหอมอื่น ๆ ความจริงเป็นอย่างปกติของมนุษย์ธรรมดา )

๑๘๐. เรื่องมรรคอันเดียว
( เอกมัคคกถา )

    ถาม : พระอริยบุคคลย่อมทำให้แจ้งผลทั้งสี่ด้วยมรรคอันเดียวใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผัสสะ ๔ จนถึงปัญญา ๔ ย่อมรวมกันใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ