บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่ ๑-๑๐..


๑.เรื่องบุคคล
...( ปุคคลกถา )...

๒.เรื่องความเสื่อม
...( ปริหานิกถา )...

๓.เรื่องพรหมจรรย์
...( พรหมจริยากถา )...

๔.เรื่องบางส่วน
...( โอธิโสกถา )...

๕.เรื่องละกิเลส
...( ชหติกถา )...

๖.เรื่องทุกอย่างมี
...( สัพพมัตถิกถา )...

๗.เรื่องขันธ์ที่เป็นอดีต
...( อดีตขันธาติกถา )...

๘.เรื่องบางอย่างมี
...( เอกัจจมัตถีติกถา )...

๙.เรื่องการตั้งสติ
...( สติปัฏฐานกถา )...

๑๐.เรื่อง "มีอย่างนี้ "
...( เหวัตถิกถา )...

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

   ก่อนที่จะระบุว่า ในหัวข้อเรื่องที่กล่าวไว้รวม ๒๑๙ หัวข้อนั้น ข้อไหนเนื่องมาจากความเห็นผิดของนิกาย ไหน จะรวบรวมกล่าวสรูปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละหัวข้อจบแล้ว ในชั้นนี้จึงเพียง ขอชี้แจงให้ทราบว่า คัมภีร์กถาวัตถุ แต่งขึ้นเพื่อแก้ความเข้าใจผิด หรือความคิดเห็นที่แตกแยกออกไปจากเถรวาท คือพระพุทธศาสนาแบบที่ไทยนับ ถือกันอยู่ในปัจจุบัน อันแสดงว่าผู้เรียบเรียงคือพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จะต้องศึกษาลัทธิอื่นจนเข้าใจอย่างถี่ถ้วนแล้วยืนหลัก ของฝ่ายเถรวาทไว้ โดยชี้แจงโต้แย้งอย่างดีที่สุด.

๑. เรื่องบุคคล
( ปุคคลกถา )

    ถาม : เราย่อมได้ " บุคคล " โดยอรรถอันประจักษ์ ( สัจฉิกัตถะ ) และอรรถอย่างยิ่ง ( ปรมัตถะ ) หรือ ?

    ตอบ : ใช่ ( โปรดทราบว่า เป็นคำตอบของผู้เห็นผิด )

    ถาม : เราย่อมได้อรรถอันประจักษ์ และอรรถอย่างยิ่งจากหลักการที่ว่า " เราย่อมได้บุคคลโดย อรรถอันประจักษ์ และอรรถอย่างยิ่ง " หรือ ?

    ตอบ : อย่าพูดอย่างนั้น

    ถาม : ท่านจงรู้ความผิดเถิด ถ้าเราย่อมได้บุคคลโดยอรรถอันประจักษ์ และอรรถอย่างยิ่ง ก็ควร กล่าวได้ว่า เราย่อมได้อรรถอันประจักษ์ และอรรถอย่างยิ่งจากหลักการนั้นได้ เนื่องจากท่านรับหลักการเฉพาะข้อแรก ปฏิเสธ หลักการข้อหลังคำกล่าวของท่านจึงผิด ถ้าไม่รับหลักการข้อแรกก็ต้องไม่รับหลักการข้อหลังด้วย ถ้ารับหลักการข้อแรกก็ต้อง รับหลักการข้อหลังด้วย เมื่อรับหลักการข้อแรก แต่ไม่รับหลักการข้อหลัง คำกล่าวของท่านจึงผิด

    ( หมายเหตุ : หัวข้อเรื่องบุคคลนี้ ยังแจกเป็นคำถามคำตอบยอกย้อนต่าง ๆ อีกนับจำนวนร้อย แต่ ที่ตั้งไว้ข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่เป็นหลัก เรียกว่า " อนุโลมปัญจกะ " คือคำถามคำตอบตามลำดับรวม ๕ ข้อ คำถามคำ ตอบนี้ใช้สำหรับไล่เลียงเอากับพวกที่ยึดถือในเรื่อง " บุคคล " ได้แก่ นิกายวัชชีปุตตกะ, นิกายสมิติยะ และเดียรถีย์อื่น ๆ นอกศาสนา หลักการสำคัญมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสอน ๒ อย่าง คือสอนตามสมติ คือตามที่โลกนัดหมายกันเรียก ร้อง กับสอนตามปรมัตถ์ คือสอนตามความจริงอย่างยิ่ง เพื่อให้เห็นแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลายว่า มีจริงแค่ไหน ขอยกตัวอย่างใน เรื่องบุคคล ถ้ากล่าวตามความจริงโดยสมติก็มีอยู่ เวลาสอนเพื่อให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจ ก็ต้องใช้สำนวนสมมติในทางโลก เรียก ว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แต่เมื่อสอนให้รู้ซึ้งถึงสภาพความจริง เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือในเรื่องสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ก็สอนความจริงโดยปรมัตถ์ คือสอนให้เห็นว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเพียงสิ่งสมมติตามโวหารโลก ประกอบขึ้นจากส่วนย่อย ต่าง ๆ ไม่ควรยึดถือเป็นจริงเป็นจัง การสอนความจริงโดยสมมติและโดยปรมัตถ์ไม่ขัดกัน เหมือนหนึ่งการชี้ให้ดูภาพถ่ายว่าผู้นั้น ผู้นี้เป็นความจริงขั้นสมมติ และการชี้ให้รู้ความจริงอีกขั้นหนึ่งว่า เป็นเพียงกระดาษ และ กระดาษก็เป็นส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ

   แต่มีเจ้าลัทธิบางพวกตามที่กล่าวไว้ ถือว่าบุคคลมีอยู่จริง โดยความจริงขั้นปรมัตถ์ ซึ่งผิดไปจากหลักทาง พระพุทธศาสนา จึงต้องย้อนถามว่า ถ้าอย่างนั้นความจริงขั้นปรมัตถ์ ก็อาจหาได้จาก " บุคคล " ใช่หรือไม่ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดต้อง ยอมรับว่าไม่ใช่ )

๒. เรื่องความเสื่อม
( ปริหานิกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ย่อมเสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( โปรดทราบว่าเป็นคำตอบของผู้เห็นผิด )

    ถาม : พระอรหันต์ย่อมเสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ในที่ทั้งปวงใช่ไหม ?

    ตอบ : อย่าพูดอย่างนั้น

   ( ต่อจากนั้นได้มีคำถามคำตอบปลีกย่อยจากหลักใหญ่นี้นับจำนวนร้อย และในที่สุดเป็นการอ้างหลักถามให้

   จำนนต่อหลักการที่ว่า พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ ความเห็นผิดข้อนี้เป็นของ

   นิกายสมิติยะ, วัชชีปุตตกะ สัพพัตถิกวาทะ และมหาสังฆิกะบางพวก )

๓. เรื่องพรหมจรรย์
( พรหมจริยกถา )

    ถาม : การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเทพทั้งหลายไม่มีใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( โปรดทราบว่า คำว่า พรหมจรรย์ มีอยู่ ๒ อย่าง คืออย่างหนึ่ง ได้แก่การปฏิบัติตาม

   มรรคาหรือข้อปฏิบัติที่เรียกว่ามัคคภาวนา อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่การบวช การบวชของเทพไม่มี แต่การเจริญ

   มรรคมีอยู่ การตอบว่า ใช่ จึงนับว่าผิดครึ่งถูกครึ่ง )

   ( ต่อจากนั้นเป็นการถามให้จำนนต่อหลักการที่ว่า เทพที่ประพฤติในทางดีงามมีอยู่ อันชื่อได้ว่าบำเพ็ญ

   มัคคภาวนา จึงไม่ควรปฏิเสธว่า ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในรูปของมัคคภาวนาในหมู่เทพ

   ความเห็นผิดนี้เป็นของนิกายสมิติยะ )

๔. เรื่องบางส่วน
( โอธิโสกถา )

    ถาม : พระอริยบุคคลย่อมละกิเลสได้บางส่วนใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( ผู้ตอบหมายความว่า กิเลสแต่ละชนิดที่ละได้ ไม่ใช่ละได้ทั้งหมด หากละได้เพียง

   บางส่วน เหลืออยู่บางส่วน )

   ( ต่อจากนั้นเป็นการถามให้จำนนต่อหลักการที่ว่า ถ้าละอันไหนได้ก็ละได้เด็จขาดในเรื่องนั้น โดยยกพระ

   พุทธภาษิตมาอ้าง ให้ผู้ตอบยอมจำนนว่า พระอริยสาวกที่เห็นธรรมย่อมละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ

   สีลัพพตปรามาส ได้ ไม่ใช่ละสักกายทิฏฐิได้เพียงนิดหน่อย

   และวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสอีกอย่างละนิดหน่อย มติที่เห็นผิดเรื่องละได้เพียงบางส่วนนี้เป็นของนิกาย

   สมิติยะ)

๕. เรื่องละกิเลส
( ชหติกถา )

    ถาม : บุถุชนย่อมละกามราคะ( ความกำหนัดในกาม ) และพยาบาท ( ความปองร้าย ) ได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( เป็นการตอบด้วยความเห็นผิด เพราะบุถุชนที่ได้ฌาน แม้จะไม่มีกามราคะและพยาบาท

   แต่ก็อาจกลับมีได้อีกเมื่อเสื่อมจากฌาน )

   ( ต่อจากนั้นได้มีการถามตอบอีกมากมาย โดยยกพระพุทธภาษิตมาตั้ง ให้ฝ่ายตอบซึ่งสมมติว่าเป็นผู้เห็นผิด

   ต้องยอมจำนนต่อเหตุผลว่า บุถุชนและกามราคะและพยาบาทไม่ได้ )

๖. เรื่องทุกอย่างมี
( สัพพมัตถิกถา )

    ถาม : ทุกอย่างมีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นคำตอบของฝ่ายเห็นผิด )

    ถาม : ทุกอย่างมีในที่ทั้งปวงใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ทุกอย่างมีในกาลทั้งปวงใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ทุกอย่างมีโดยประการทั้งปวงใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ทุกอย่างมีในสิ่งทั้งปวงใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : ความเห็นที่ว่า ความเห็นสิ่งทั้งปวงมี เป็นความเห็นผิดดังนี้ จัดว่าเป็นความเห็นชอบ ก็มี

   ใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : อดีตมีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อดีต ดับแล้ว พ้นไปแล้ว แปรไปแล้ว มิได้ตั้งอยู่แล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า อดีตมีอยู่

    ( หมายเหตุ : ความเห็นผิดว่า ทุกสิ่งมีอยู่นี้เป็นของ ; นิกายสัพพัตถิกวาทะ โดยตรงในที่

   นี้ได้แสดงให้เห็นการถามต้อน เพื่อให้จนแก่เหตุผลเพียงเล็กน้อย แต่ก็ชัดเจนพอจะแสดงว่า ได้มีการใช้เหตุ

   ผลหักล้างกันอย่างไรบ้าง การโต้ตอบยังมีอีกมากนักนับด้วยจำนวนร้อย ๆ ได้แสดงไว้ในที่นี้เพียงสังเขป )

๗. เรื่องขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น
( อดีตขันธาติกถา )

    ถาม : ขันธ์ทั้งหลายเป็นอดีตได้ไหม ?

    ตอบ : ได้

    ถาม : อายตนะ, ธาตุ เป็นอดีตได้ไหม ?

    ตอบ : ได้

    ถาม : อดีตมีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ต่อจากนั้นเป็นการถามตอบต่อไปอีกมากมายจนกว่าจะจบภายในหัวข้อนี้ มีข้อที่พึงสังเกตุเป็นพิเศษ

   ก็คือที่แล้ว ๆ มา ฝ่ายเห็นถูกเป็นฝ่ายตั้งคำถามรุกฝ่ายเห็นผิด แต่คราวนี้เมื่อถึงข้อที่ ๗ อันมีประเด็นตอเนื่อง

   มาจากข้อที่ ๖ ฝ่ายเห็นผิดกลับเป็นฝ่ายถามรุกฝ่ายเห็นถูก คือฝ่ายเห็นถูกถือว่า ขันธ์ อายตะ ธาตุ เป็นได้ทั้ง

   อดีต อนาคต ปัจจุบัน แต่จะใช้คำว่า " อตฺถิ " ที่แปลว่า " มีอยู่ " ได้ เฉพาะปัจจุบันเท่านั้น ข้อนี้

   เป็นความจริงเพราะที่เป็นอดีตก็ " มีแล้ว " หรือที่เป็นอนาคตก็ " จักมี " แต่ฝ่ายเห็นผิดซึ่งเป็นผู้ซักพยายาม

   ต้อนให้อดีตกับอนาคต " มีอยู่ " ให้ได้ ด้วยอ้างพระพุทธพจน์ต่าง ๆ แต่พระพุทธพจน์นั้น ๆ ที่นำมาอ้าง ก็

   เพียงแสดงว่า ขันธ์ เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเท่านั้น มิได้มีตอนไหนที่แสดงว่า ขันธ์เป็นอดีต อนาคต

   " มีอยู่ " เลย )

๘. เรื่องบางอย่างมี
( เอกัจจมัตถีติกถา )

    ถาม : อดีตมีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : บางอย่างมี บางอย่างไม่มี

    ถาม : หมายความว่า บางอย่างดับ บางอย่างไม่ดับ, บางอย่างพ้นไป บางอย่างไม่พ้นไป, บางอย่าง

   แปรไป บางอย่างไม่แปรไป, บางอย่างมิได้ตั้งอยู่ บางอย่างตั้งอยู่, บางอย่างตั้งอยู่ไม่ได้ บางอย่างตั้งอยู่ได้

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นอกจากนั้นยังมีคำถามคำตอบอีกมากหลาย แต่คราวนี้กลับรูปเก่า คือฝ่ายถามเป็นฝ่ายเห็นถูก ฝ่ายตอบเป็น

   ฝ่ายเห็นผิด ฝ่ายถามเป็นฝ่ายรุกให้ฝ่ายตอบจน ในข้อที่ถือผิดว่า อดีตบางอย่างมี บางอย่างไม่มี ซึ่งเป็นมติของ

    นิกายกัสสปิกะ คำถามคำตอบได้กล่าวถึงเรื่องอนาคตกับปัจจุบันด้วย )

๙. เรื่องการตั้งสติ
( สติปัฏฐานกถา )

    ถาม : ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นคำตอบของฝ่ายเห็นผิด )

    ถาม : หมายความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ, เป็นอินทรีย์คือสติ, เป็นกำลังคือสติ, เป็นความระลึก

   ชอบ, เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ, เป็นเอกายนมรรค ( ทางเป็นที่ไปอันเอก ), เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป

   แห่งกิเลส, เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้, เป็นธรรมให้ถึงความไม่สั่งสมกิเลส, เป็นธรรมไม่มีอาสวะ, ไม่เป็นที่

   ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ จนถึงอุปสมานุสสติใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ฝ่ายถามเป็นฝ่ายไล่เลียงเอาแก่ฝ่ายตอบซึ่งเป็นพวกเห็นผิด จับประเด็นผิดในธรรมบางข้อ เลยเข้าใจผิดว่า

   ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน ความเห็นผิดนี้เป็นของ นิกายอันธกะ ซึ่งภายหลังแตกออกเป็น ๔ นิกาย

   คือ ปุพพเสลิยะ, อปรเสลิยะ, ราชคิริยะ, สิทธัตถิภะ, คำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานนั้น ว่าโดยเหตุ

   ผลทั่วไปก็ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะคำว่า ธรรมทั้งปวง ย่อมหมายทั้งกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

   แต่สติปัฏฐานเป็กุศลธรรม จึงไม่ควรกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน )

๑๐. เรื่อง " มีอย่างนี้ " เป็นต้น
( เหวัตถิกถา )

    ถาม : อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : มีอย่างนี้ ไม่มีอย่างนี้

    ถาม : อันนั้นแหละมี อันนั้นแหละไม่มีใช่ไหม ? ( ทั้งสิ่งที่มีและไม่มี เป็นอันเดียวกันใช่หรือไม่ )

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    นิกายอันธกะเป็นฝ่ายมีความเห็นผิดข้อนี้ คือเห็นว่าธรรมทั้งปวงชื่อว่ามีอยู่ โดยฐานะเป็นรูป เป็นต้น;

   ชื่อว่าไม่มี คือเมื่อกล่าวถึงอดีต ก็ไม่มีอนาคตและปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงปัจจุบันและอนาคต ก็ไม่มีอดีต ฝ่าย

   ถามเป็นฝ่ายซักให้จำนนต่อเหตุผล โดยซักตล่อมว่า ทั้งมีและไม่มี เป็นสิ่งเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกันหรือ

   เมื่อฝ่ายตอบ ( คือฝ่ายเห็นผิด ) ปฏิเสธว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น จึงสับทับต่อไปว่า ถ้ามีและไม่มี มิได้หมาย

   ความอย่างเดียวกัน ท่านก็ไม่ควรจะแสดงทิฏฐิอย่างนี้ )


    '๑' . ดูคำอธิบายในเชิงอรรถหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ สีลัพพตปรามาส

    '๒' . อรรถกถาเรียกว่า ปชหติกถา

    '๓' . อรรถกถาเรียกชื่อว่า อดีตขันธาติอาทิกถา

    '๔' . ความจริงถามทีละข้อ แต่ในที่นี้เพื่อให้ได้ความ จึงรวมทั้งอดีต, อนาคต, และปัจจุบันมาไว้ในคำถาม เดียวกัน


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ