บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๘๑-๑๙๐..

๑๘๑.เรื่องการก้าวข้ามฌาน
( ฌานสังกันติกถา )

๑๘๒.เรื่องช่องว่างของฌาน
( ฌานันตริกากถา )

๑๘๓.เรื่องผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียง
( สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา )

๑๘๔.เรื่องเห็นรูปด้วยตา
( จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา )

๑๘๕.เรื่องการละกิเลส
(กิเลสชหนกถา )

๑๘๖.เรื่องความสูญ
(สุญญตากถา)

๑๗๗.เรื่องผลแห่งความเป็นสมณะ
( สามัญญผลกถา )

๑๘๘.เรื่องการบรรลุ
( ปัตติกถา)

๑๘๙.เรื่องความจริง
( ตถตา )

๑๙๐.เรื่องกุศล
( กุสลกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๘๑. เรื่องการก้าวข้ามฌาน
( ฌานสังกันติกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมก้าวข้ามจากฌานไปสู่ฌานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ก้าวข้ามจากฌานที่ ๑ ไปสู่ฌานที่ ๓ อย่างนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหิสาสกะ และ อันธกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๘๒. เรื่องช่องว่างของฌาน
( ฌานังตริกากถา )

    ถาม : ช่องว่างของฌานมีอยู่ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ช่องว่างของผัสสะ จนถึงช่องว่างของปัญญาก็มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายสมิติยะ และ อันธกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๘๓. เรื่องผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียง
( สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา )

    ถาม : ผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียงใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้เข้าฌานย่อมเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๘๔. เรื่องเห็นรูปด้วยตา
( จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมเห็นรูปด้วยตาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมเห็นรูปด้วยรูป ( คือตาก็เป็นรูปอย่างหนึ่ง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะเข้าใจในถ้อยคำผิด ความจริงคำว่า เห็นรูปด้วยตานั้น

   หมายถึงเห็นด้วยจักขุวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา )

๑๘๕. เรื่องการละกิเลส
( กิเลสชหนกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมดับสิ่งที่ดับแล้ว ปราศจากสิ่งที่หมดไปแล้ว ทำให้สิ่งที่สิ้นไปแล้ว สิ้นไปอย่างนั้น

   หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน เห็นว่ากิเลสมีทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน บุคคลย่อมละกิเลสทั้งสาม

   ประเภทนั้น ความจริงไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะเมื่ออริยมรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นไปแล้ว กิเลส

   ที่ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น จึงชื่อว่าละกิเลสได้ )

๑๘๖. เรื่องความสูญ
( สุญญตากถา )

    ถาม : ความสูญ เนื่องด้วยสังขารและขันธ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สิ่งที่ไม่มีนิมิต ก็เนื่องด้วยสังขารและขันธ์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ความจริงความสูญมี ๒ อย่าง คือที่เป็นลักษณะซึ่งไม่ใช่ตนแห่ง

   ขันธ์ และที่เป็นนิพพาน เมื่อเห็นแง่เดียว จึงถูกซักให้รู้ถึงข้ออื่น ๆ ด้วย )

๑๘๗. เรื่องผลแห่งความเป็นสมณะ
( สามัญญผลกถา )

    ถาม : ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นอสังขตะ ( ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นนิพพานหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๘๘. เรื่องการบรรลุ
( ปัตติกถา )

๑๘๙. เรื่องความจริง
( คถตา )

   ( ทั้งสองข้อนี้ก็เหมือนข้อ ๑๘๗ คือ นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นว่า ข้อ ๑๘๗-๑๘๘ และ

    นิกายอันธกะ บางส่วน มีความเห็นว่า ข้อ ๑๘๙ เป็นอสังขตะ จึงถูกซักให้เข้าใจว่า เมื่อมิใช่

   นิพพานจึงมิใช่อสังขตะ )

๑๙๐. เรื่องกุศล
( กุสลกถา )

    ถาม : นิพพานธาตุเป็นกุศลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : นิพานธาตุมีอารมณ์ มีการนึกคิดได้เช่นนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ