บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๙๑-๒๐๐..

๑๙๑.เรื่องข้อกำหนดเด็ดขาด
( อัจจันตนิยามกถา )

๑๙๒.ธรรมะที่เป็นใหญ่
( อินทริยกถา )

๑๙๓.เรื่องไม่จงใจ
( อสัญจิจจกถา )

๑๙๔.เรื่องญาณ
( ญาณกถา )

๑๙๕.เรื่องนายนิรยบาล
(นิรยปาลกถา )

๑๙๖.เรื่องสัตว์ดิรัจฉาน
(ติรัจฉานกถา)

๑๙๗.เรื่องมรรค
( มัคคกถา )

๑๙๘.เรื่องญาณ
( ญาณกถา)

๑๙๙.เรื่องคำสอน
( สาสนกถา )

๒๐๐.เรื่องผู้ไม่สงัด
(อวิวิตตกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๙๑. เรื่องข้อกำหนดเด็ดขาด
( อัจจันตนิยามกถา )

    ถาม : บุถุชนมีข้อกำหนดเด็ดขาดใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา เป็นต้น ก็ชื่อว่ามีข้อกำหนดเด็ดขาดใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ โดยเข้าใจว่า บุคคลที่เป็นบุถุชนบางคน อาจได้

   บรรลุมรรคผลอย่างแน่นอน โดยมิได้เฉลี่ยว่า คำว่า ข้อกำหนดเด็ดขาด หมายถึงทางที่ชั่วด้วย )

๑๙๒. เรื่องธรรมะที่เป็นใหญ่
( อินทริยกถา )

    ถาม : ไม่มีธรรมะที่เป็นใหญ่ คือความเชื่อ ( สัทธินทรีย์ ) ที่เป็นโลกิยะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ไม่มีความเชื่อที่เป็นโลกิยะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ และ มหิสาสกะ เห็นผิดว่า ความเชื่อที่เป็นโลกิยะเป็นความเชื่อธรรมดา

   ไม่เป็นสัทธินทรีย์ แต่ความจริงเป็นสัทธินทรีย์ด้วย ในฐานะที่เป็นใหญ่ แม้ความเพียร, สติ, สมาธิ และ

   ปัญญา ก็เป็นเช่นเดียวกัน )

๑๙๓. เรื่องไม่จงใจ
( อสัญจิจจกถา )

    ถาม : บุคคลไม่จงใจ ทำมารดาของตนให้สิ้นชีวิต ชื่อว่าทำอนันตริยกรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ก็ชื่อว่าทำปาณาติบาตใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ความจริงถ้าไม่จงใจหรือไม่มีเจตนา เช่น ทำของตกถูกถึงแก่ความตายก็ไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่

    นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดว่า เป็นอนันตริยกรรม จึงถูกซักถึงการฆ่าสัตว์โดยไม่

   เจตนา )

๑๙๔. เรื่องญาณ
( ญาณกถา )

    ถาม : บุถุชนไม่มีญาณ ( ความรู้ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุถุชนไม่มีปัญญา ไม่มีการพิจารณาหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายเหตุวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้เห็นว่า บุถุชนก็มีญาณ )

๑๙๕. เรื่องนายนิรยบาล
( นิรยปาลกถา )

    ถาม : ไม่มีนายนิรยบาล ( ผู้ปกครองนรก ) ในนรกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ไม่มีการลงโทษในนรกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นว่า ไม่มีนายนิรยบาลในนรก ฝ่ายค้านจึงซักค้านในทางให้เห็นว่า มี )

๑๙๖. เรื่องสัตว์ดิรัจฉาน
( ติรัจฉานกถา )

    ถาม : มีสัตว์ดิรัจฉานในหมู่เทพใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มีเทพในหมู่สัตว์ดิรัจฉานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นว่า มีสัตว์ในหมู่เทพ เช่น ช้างเอราวัณ ฝ่ายค้านเห็นว่า มิใช่ช้างจริง แต่

   เป็นเทพจำแลง จึงซักค้าน )

๑๙๗. เรื่องมรรค
( มัคคกถา )

    ถาม : มรรคมีองค์ ๕ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระผู้มีพระภาคตรัสถึงมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า มรรคมีองค์ ๕

   ( นิกายมหิสาสกะ มีความเห็นผิดว่า โดยตรงมรรคมีเพียงองค์ ๕ ส่วนอีก ๓ คือ สัมมาวาจา,

   สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ ไม่ประกอบกับจิต จึงไม่ต้องนับเป็นองค์ก็ได้ ฝ่ายค้านจึงซักค้านถึงหลักฐาน

   ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ )

๑๙๘. เรื่องญาณ
( ญาณกถา )

    ถาม : ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ ( ญาณมีอาการ ๑๒ ตามนัยแห่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ) เป็นโลกุตตระ

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๑๙๙. เรื่องคำสอน
( สาสนกถา )

    ถาม : คำสอนเป็นของทำขึ้นใหม่ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สติปัฏฐานเป็นของทำขึ้นใหม่ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน เห็นว่า เมื่อทำสังคายนา ๓ คราว ก็เป็นการแต่งคำสอนขึ้นใหม่ จึงถูก

   ซักให้ตอบว่า เป็นการแต่งหลักธรรม เช่น สติปัฏฐานขึ้นใหม่ด้วยหรือ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดปฏิเสธ )

๒๐๐. เรื่องผู้ไม่สงัด
( อวิวิตตกถา )

    ถาม : บุถุชนไม่สงัดจากธรรมที่มีธาตุ ๓ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุถุชนไม่สงัดจากผัสสะ, เวทนา, สัญญา เป็นต้น อันมีธาตุ ๓ หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ แต่ตามหลักจะชื่อว่าไม่สงัดจากธรรมใด ก็เฉพาะธรรมนั้น

   เป็นปัจจุบันเท่านั้น ฝ่ายเห็นผิดเห็นคลุมไปหมด จึงถูกซักถึงข้ออื่น ๆ ด้วย )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ