บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่ ๒๐๑-๒๑๐..

๒๐๑.เรื่องกิเลสที่ผูกมัด
( สัญโญชนกถา )

๒๐๒.เรื่องฤทธิ์
( อิทธิกถา )

๒๐๓.เรื่องพระพุทธเจ้า
( พุทธกถา )

๒๐๔.เรื่องทิศทั้งปวง
( สัพพทิสากถา )

๒๐๕.เรื่องธรรม
(ธัมมกถา )

๒๐๖.เรื่องกรรม
( กัมมกถา)

๒๐๗.เรื่องปรินิพพาน

๒๐๘.เรื่องกุศลจิต
( กุสลจิตตกถา)

๒๐๙.เรื่องอาเนญชะ
( อาเนญชกถา )

๒๑๐.เรื่องการตรัสรู้ธรรม
(ธัมมาภิสมยกถา)

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๒๐๑. เรื่องกิเลสที่ผูกมัด
( สัญโญชนกถา )

    ถาม : มีการบรรลุอรหัตตผลโดยไม่ต้องละสัญโญชน์ ( กิเลสที่ผูกมัด ) บางอย่างใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มีการบรรลุอรหัตตผลโดยไม่ต้องละสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, ราคะ, โทสะ,

   โมหะ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายมหาสังฆิยะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักค้าน )

๒๐๒. เรื่องฤทธิ์
( อิทธิกถา )

    ถาม : พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีฤทธิ์ที่เป็นไปตามประสงค์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีฤทธิ์ที่เป็นไปตามประสงค์ เช่น ให้ต้นไม้มีใบ, มีดอก, มีผลอยู่

   เสมอ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ตามหลักถือว่า ฤทธิ์จะสำเร็จในกรณีที่ไม่ฝืนธรรมดาเกินไป เช่น

   ไม่ให้แก่ ไม่ให้ตายไม่ได้ แต่ให้ตายช้าออกไปพอจะทำได้ )

๒๐๓. เรื่องพระพุทธเจ้า
( พุทธกถา )

    ถาม : พระพุทธเจ้ามีเลวมีดีกันกว่ากันในระหว่างพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ดีเลวกว่ากันโดยสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) เป็นต้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักถึงคุณธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งฝ่ายเห็นผิดปฏิเสธว่า

   ไม่มีดีเลวกว่ากันโดยคุณธรรม อันที่จริงความต่างกันแห่งอายุ แห่งสรีระ เป็นต้น มีอยู่ แต่ความดีเลวกว่ากัน

   ในทางธรรมไม่มีเลย )

๒๐๔. เรื่องทิศทั้งปวง
(สัพพทิสากถา )

    ถาม : พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ทุกทิศใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในทิศตะวันออกใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายสังฆิกะ มีความเห็นว่า มีพระพุทธเจ้าในโลกธาตุต่าง ๆ ทุกทิศ ฝ่ายค้านจึงซักตามทิศและซัก

   ถึงพระนาม รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในทิศนั้น ๆ )

๒๐๕. เรื่องธรรม
( ธัมมกถา )

    ถาม : ธรรมทั้งปวงเป็นของเที่ยงแท้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เที่ยงแท้ในทางที่ผิดหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ อุตตราแถกะบางส่วน เห็นว่า รูปธรรมก็เที่ยงแท้โดยความเป็นรูปธรรม

   ฝ่ายค้าน จึงซักค้านทั้งเที่ยงแท้ในทางที่ผิดและที่ถูก ว่าเป็นในทางไหนกันแน่ )

๒๐๖. เรื่องกรรม
( กัมมกถา )

    ถาม : กรรมทั้งปวงเป็นของเที่ยงแท้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เที่ยงแท้ในทางที่ผิดหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( เรื่องนี้ต่อเนื่องมาจากข้อ ๒๐๕ ข้อซักก็อย่างเดียวกัน )

๒๐๗. เรื่องปรินิพพาน

    ถาม : มีปรินิพพานโดยไม่ต้องละกิเลสเครื่องผูกมัดบางอย่างใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ไม่ต้องละสักกายทิฏฐิ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เค้าเรื่องพ้องกับข้อ ๒๐๑ )

๒๐๘. เรื่องกุศลจิต
( กุสลจิตตกถา )

    ถาม : พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศล ย่อมปรินิพพานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร ( เจตนาที่เป็นบุญ ) ปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร ( เจตนา

   ในอรูปฌาน ) ทำกรรมอันเป็นไปเพื่อคติ เพื่อมี เพื่อเป็นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ข้อนี้เป็นปัญหาเรื่องหลักวิชา นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดในเรื่องนี้ จึงถูกซักให้เข้าใจหลักวิชา )

๒๐๙. เรื่องอาเนญชะ
( อาเนญชกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ตั้งอยู่ในอาเนญชะ ( จิตอันประกอบด้วยอรูปฌาน ) ย่อมปรินิพพานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ตั้งอยู่ในปกติจิต ปรินิพพานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในอาเนญชะ ปรินิพพาน

   ( นิกายอุตตราปถกะบางพวก มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๒๑๐. เรื่องการตรัสรู้ธรรม
( ธัมมาภิสมยกถา )

    ถาม : สัตว์ผู้นอนในครรภ์ มีการตรัสรู้ธรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สัตว์นอนในครรภ์ มีการแสดงธรรม, ฟังธรรม, สนทนาธรรม เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นว่า ผู้ที่เป็นพระโสดาบันในอดีตภพ พอเกิดใหม่ก็ได้ตรัสรู้

   ธรรมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ฝ่ายค้านจึงซักค้านให้รู้ว่าเห็นผิด )

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ