บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่ ๒๑๑-๒๑๙..

๒๑๑.เรื่อง ๓ ประเภท
( ติสโสปิกถา )

๒๑๒.เรื่องอัพยากฤต
( อัพยากตกถา )

๒๑๓.เรื่องความเป็นปัจจัย
เพราะส้องเสพ
( อาเสวนปัจจยตากถา )

๒๑๔.เรื่องชั่วขณะ
( ขณิกกถา )

๒๑๕.เรื่องความประสงค์อันเดียวกัน
( เอกาธิปปายกถา )

๒๑๖.เรื่องเพศของพระอรหันต์
( อรหันตวัณณกถา)

๒๑๗.เรื่องการบันดาลตาม
ความใคร่ของผู้เป็นใหญ่
(อิสสริยกามการิกากถา)

๒๑๘.เรื่องสิ่งที่เป็น
ราคะเทียม เป็นต้น
( ราคปฏิรูปกาทิกถา)

๒๑๙.เรื่องสิ่งที่ไม่สำเร็จรูป
( อปรินิปผันนกถา )


 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๒๑๑. เรื่อง ๓ ประเภท
( ติสโสปิกถา )

    ถาม : สัตว์ผู้นอนในครรภ์, ผู้ที่กำลังฝันตรัสรู้ธรรมได้ ผู้ที่กำลังฝันบรรลุอรหัตตผลได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้นอนหลับ ประมาท หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะตรัสรู้ธรรมได้, บรรลุอรหัตตผลได้ใช่หรือ

   ไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้เห็นว่า บุคคลทั้งสามประเภทนั้น

   ตรัสรู้ไม่ได้ บรรรลุอรหัตตผลไม่ได้ )

๒๑๒. เรื่องอัพยากฤต
( อัพยาหตกถา )

    ถาม : จิตของผู้ฝันเป็นอัพยากฤต ( ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลาง ๆ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลฝันว่า ฆ่าสัตว์ได้หรือไม่ ?

    ตอบ : ได้

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า จิตของผู้ฝันเป็นอัพยากฤต

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักชัดเจนอยู่แล้ว )

๒๑๓. เรื่องความเป็นปัจจัยเพราะส้องเสพ
( อาเสวนปัจจยตากถา )

    ถาม : ไม่มีความเป็นปัจจัยเพราะการส้องเสพใด ๆ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ปาณาติบาต ( การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ) อันบุคคลต้อง

   ส้องเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก กำเนิดดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต เป็นต้น มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่มีความเป็นปัจจัยเพราะการส้องเสพใด ๆ

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ คำซักชัดอยู่แล้ว )

๒๑๔. เรื่องชั่วขณะ
(ขณิกกถา )

    ถาม : ธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตเดียวใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : แผ่นดิน มหาสมุทร ภูเขาสิเนรุ เป็นต้น ตั้งอยู่ในจิตหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ มีความเห็นข้อนี้ เพราะใช้ถ้อยคำคลุมมากไป จึงถูก

   ซักถึงธรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับจิต )

๒๑๕. เรื่องความประสงค์อันเดียวกัน
( เอกาธิปปายกถา )

    ถาม : ควรเสพเมถุนธรรม ( ธรรมของคนคู่ ) ด้วยความประสงค์อันเดียวกันใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ควรเป็นผู้มิใช่สมณะ มิใช่ภิกษุ เป็นต้น ด้วยความประสงค์อันเดียวกันใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ และ เวตุลลกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๒๑๖. เรื่องเพศของพระอรหันต์
( อรหันตวัณณกถา )

    ถาม : อมนุษย์ปลอมเพศเป็นพระอรหันต์ เสพเมถุนธรรมก็มี ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อมนุษย์ปลอมเพศเป็นพระอรหันต์ ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์ เป็นต้น ก็มี ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๒๑๗. เรื่องการบันดาลตามความใคร่ของผู้เป็นใหญ่
( อิสสริยกามการิกากถา )

    ถาม : พระโพธิสัตว์ถึงวินิบาต ( สภาพที่ตกต่ำ ) เพราะเหตุคือการบันดาลตามความใคร่ของผู้เป็น

   ใหญ่ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระโพธิสัตว์ย่อมตกนรกต่าง ๆ เพราะเหตุคือการบันดาลตามความใคร่ของผู้เป็นใหญ่ ใช่

   หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

๒๑๘. เรื่องสิ่งที่เป็นราคะเทียม เป็นต้น
( ราคปฏิรูปกาทิกถา )

    ถาม : สิ่งที่มิใช่ ราคะ แต่เป็น ราคะ เทียมหรือปลอม ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มีสิ่งที่มิใช่ ผัสสะ เวทนา เป็นต้น แต่เป็น ผัสสะ เทียม เวทนา

   เทียมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นว่า เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นต้น ไม่ใช่ราคะ แต่เป็นราคะเทียม

   จึงถูกซักถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย )

๒๑๙. เรื่องสิ่งที่ไม่สำเร็จรูป
( อปรินิปผันนกถา )

    ถาม : รูปเป็น อปรินิปผันนะ ( สิ่งที่ไม่สำเร็จรูป ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : รูปมิใช่ของไม่เที่ยง, มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง, มิใช่สิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เป็นต้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะบางส่วน และ เหตุวาทะ มีความเห็นผิดข้อนี้ )

   ( หมายเหตุ : คำถามคำตอบที่นำมาแสดงไว้ทั้ง ๒๑๙ ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างย่อ ๆ ของคำถามคำ

        ตอบมากหลาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นำมาแสดงเพียง ๑ ใน ๑๐๐ แม้เช่นนั้นก็ยังนับว่า

        พิศดาร นอกจากนั้นบางข้อพอเห็นเค้าอยู่บ้าง จึงมิได้อธิบายความประกอบ เรื่องนี้มี

        ประโยชน์อยู่บ้างที่ได้พิจารณาข้อคิดเห็น ของนิกายต่าง ๆ ซึ่งมีความเห็นผิดไปจากมติ

        ของเถรวาท และนิกายเหล่านั้นในปัจจุบันก็ไม่มีเหลืออยู่แล้ว จะนับว่าเหลืออยู่โดยอ้อม

        ก็คือมหายาน ซึ่งจะถือว่ามีต้นกำเนิดไปจาก นิกายมหาสังฆิยะ ก็ได้ ความเห็น

        ผิดทั้ง ๒๑๙ ข้อนั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องของการขัดแย้งกันทางสำนวนโวหาร บางครั้ง

        ก็ทางหลักอภิธรรม บางครั้งก็ทางหลักพระสูตร บางเรื่องก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเกินไป จน

        ไม่น่าจะมีปัญหา อนึ่งในข้อที่ ๑๗๐-๑๗๔ ในเล่มนี้คำว่านิกาเวตุลลกะ มหาสุญญ-

        ตาวาทะ นั้น ในอรรถกถาฉบับไทยเป็น เวตุลลกะ มหาปุญญวาทะ ซึ่ง

        ทำให้น่าฉงนว่า นิกายที่มีความเห็นดั่งกล่าวนั้น ควรจะเรียก มหาปุญญวาทะ

        ได้อย่างไร แต่เมื่อสอบดูต้นฉบับต่างประเทศแล้วเห็นว่า คำว่า มหาสุญญตาวาทะ

        ถูกต้องกว่า จึงใช้ตามที่เห็นว่าถูกต้อง ต่อไปนี้จะแสดงว่านิกายไหน มีความเห็น

        ผิดในข้อไหน เป็นการสรูปอีกครั้งหนึ่ง

        ๑. มหาสังฆิกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๙๘ ถึง ๑๐๙, ๑๑๒, ๑๑๖ ถึง ๑๑๙, ๑๓๕, ๑๔๔ ถึง ๑๔๗, ๑๔๙, ๑๕๕, ๑๕๖, ๑๘๔, ๒๐๑, ๒๐๔.

        ๒. วัชชีปุตตกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑, ๒.

        ๓. มหิสาสกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๒๑, ๕๕, ๕๙, ๘๒, ๙๘, ๑๖๑, ๑๘๑, ๑๙๒, ๑๙๗.

        ๔. โคกุลิกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๘.

        ๕. สัพพัตถิกวาทะ มีความเห็นผิดในข้อ ๒, ๖, ๗, ๑๙, ๑๑๓.

        ๖. สมิติยะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑ ถึง ๕, ๑๙, ๒๖, ๒๘, ๒๙, ๖๘, ๗๕, ๘๐, ๘๒ ถึง ๘๔, ๙๘, ๑๐๖, ๑๔๑, ๑๕๔, ๑๖๑, ๑๖๗, ๑๘๒.

        ๗. ภัทรยานิกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๙.

        ๘. กัสสปิกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๘.

        ๙. เหตุวาทะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๔๘, ๑๕๐, ๑๕๑, ๑๕๓, ๑๕๗, ๑๖๘, ๑๖๙, ๑๙๒, ๑๙๔, ๒๑๙.

        ๑๐. อุตตราปถกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๓๔ ถึง ๔๐, ๔๕, ๔๗, ๕๘, ๕๙, ๗๔, ๘๗, ๘๘, ๙๐ ถึง ๙๒, ๑๑๓, ๑๒๐, ๑๒๑, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๖, ๑๒๗, ๑๒๙, ๑๓๐, ๑๓๒, ๑๓๗, ๑๓๘, ๑๔๒, ๑๕๙, ๑๖๐, ๑๗๕, ๑๗๘ ถึง ๑๘๐, ๑๘๕, ๑๙๑, ๑๙๓, ๑๙๙, ๒๐๐, ๒๐๕, ๒๐๖, ๒๐๙ ถึง ๒๑๓, ๒๑๖, ๒๑๙.

        ๑๑. อันธกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๙, ๑๐, ๑๗, ๑๙ ถึง ๓๓, ๔๑ ถึง ๔๔, ๔๖, ๔๘ ถึง ๕๔, ๕๘, ๖๓, ๗๐ ถึง ๗๔, ๗๘ ถึง ๘๑, ๘๕, ๘๘, ๘๙, ๙๖, ๙๗, ๑๑๑, ๑๑๔, ๑๑๕, ๑๓๑, ๑๓๙ ถึง ๑๔๒, ๑๕๔, ๑๖๓ ถึง ๑๖๕, ๑๗๙, ๑๘๑, ๑๘๒, ๑๘๖, ๑๙๐, ๑๙๕, ๑๙๖, ๒๐๒, ๒๐๓, ๒๐๕, ถึง ๒๐๘, ๒๑๕, ๒๑๗, ๒๑๘.

        ๑๒. ปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๑ ถึง ๑๖, ๕๕ ถึง ๕๗, ๗๕ ถึง ๗๗, ๘๓, ๘๔, ๘๖, ๙๓ ถึง ๙๕, ๑๑๐, ๑๒๒, ๑๒๘, ๑๓๓, ๑๓๔, ๑๓๖, ๑๔๓, ๑๔๔, ๑๕๘, ๑๘๓, ๑๘๗, ๑๘๘, ๑๙๘, ๒๑๔.

        ๑๓. อปรเสลิยะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๑, ๑๒๘, ๑๓๖, ๑๙๘, ๒๑๔.

        ๑๔. ราชคิริกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๖๔ ถึง ๖๙, ๑๒๕, ๑๕๒, ๑๖๖, ๑๖๗.

        ๑๕. สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๖๔ ถึง ๖๙, ๑๖๖.

        ๑๖. เวตุลลกะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๗๖, ๑๗๗.

        ๑๗. เวตุลลกะ มหาสุญญตาวาทะ มีความเห็นผิดในข้อ ๑๗๐ ถึง ๑๗๔).

จบเล่มที่ ๓๗ กถาวัตถุ


    '๑' . การนับข้อของหนังสือ Guide Through The Abhighamma-Pitaka ไม่ตรงกับหนังสือนี้ สงสัยว่าจะนับ ตามอรรถกถาซึ่งขาดหายไปบางข้อ หนังสือนี้นับตามอภิธัมมปิฎก ครบทุกข้อ


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ