บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๑๑-๒๐..

๑๑.เรื่องผู้อื่นนำเข้าไปให้
...( ปรูปหารกถา )...

๑๒.เรื่องความไม่รู้
...( อัญญาณกภา )...

๑๓.เรื่องความสงสัย
...( กังขากถา )...

๑๔.เรื่องการบอกของผู้อื่น
...( ปรวิตารณากถา )...

๑๕.เรื่องการเปล่งวาจา
...( วจีเภทกถา )...

๑๖.เรื่องการนำมาซึ่ง
ความไม่รู้ในทุกข์
...( ทุกขาหารกถา )...

๑๗.ความตั้งอยู่แห่งจิต
...( จิตตฐิติกถา )...

๑๘.เรื่องถ่านไปร้อน
...( กุกกุฬกภา )...

๑๙.การตรัสรู้
.(อนุปุพพาภิสมยกถา)

๒๐.เรื่องโวหาร
...( โวหารกถา )...

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๑๑. เรื่องผู้อื่นนำเข้าไปให้
( ปรูปหารกถา )

    ถาม : พระอรหันต์มีการปล่อยน้ำอสุจิหรือ ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นคำตอบของฝ่ายเห็นผิด )

    ถาม : พระอรหันต์มีกามราคะ มีกามฉันทนีวรณ์หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : พระอรหันต์ไม่มีกามราคะ ไม่มีกามฉันทนีวรณ์ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าพระอรหันต์ไม่มีกามราคะ ไม่มีกามฉันทนีวรณ์ ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์มีการ

   ปล่อยน้ำอสุจิ

   ( นิกายปุพพเสลิยะ กับ อปรเสลิยะ มีความเห็นผิดว่า พระอรหันต์มีการปล่อยน้ำอสุจิให้

   เคลื่อน ฝ่ายซักจึงซักถามถึงกามราคะของพระอรหันต์ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดยอมรับว่าไม่มี แต่ได้บ่ายเบี่ยงว่าท่าน

   ไม่ได้ทำเอง แต่เทวดาที่เป็นพวกมารนำเข้าไปให้ทางขุมขน เพื่อจะดูพระอรหันต์สงสัยเล่น ฝ่ายซักจึงซักอีก

   มากหลายเพื่อให้ฝ่ายตอบยอมจำนน เช่น ถามว่า จะมีใครนำโสดาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล และ

   อรหัตตผลเข้าไปให้พระอรหันต์ได้หรือไม่ )

๑๒. เรื่องความไม่รู้
( อัญญาณกถา )

    ถาม : พระอรหันต์มีความไม่รู้ ( อัญญาณ ) ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นคำตอบของฝ่ายเห็นผิด )

    ถาม : พระอรหันต์มีอวิชชาใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : พระอรหันต์ไม่มีอวิชชาใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ไม่มีอวิชชา ท่านไม่ควรกล่าวว่า พระอรหันต์มีอัญญาณ ( ความไม่รู้ )

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดว่า พระอรหันต์มีอัญญาณคือความไม่รู้ เพราะการที่ไม่รู้ชื่อของ

   คนทั้งหลายก็นับเป็นอัญญาณอย่างหนึ่ง ทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่า การไม่รู้จักชื่อของคน จะทำให้ดีขึ้น

   หรือเลวลงอย่างไร เพราะไม่ใช่กิเลส จึงไม่จัดเป็นอัญญาณ หรืออวิชชา. อัญญาณ หรืออวิชชา ตามหลักพระ

   พุทธศาสนาหมายถึงไม่รู้จักทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ถ้าไม่รู้

   ความจริงทั้งสี่ประการนี้ ก็ไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ แต่ นิกายปุพพเสลิยะ ไม่เข้าใจอย่างนั้น

   ฝ่ายซักจึงไล่เลียงดั่งกล่าวแล้ว )

๑๓. เรื่องความสงสัย
( กังขากถา )

๑๔. เรื่องการบอกของผู้อื่น
( ปรวิตารณกถา )

   อีก ๒ เรื่องนี้ ก็มีเค้าความทำนองเดียวกับข้อที่ ๑๒ คือ นิกายปุพพเสลิยะ เข้าใจว่าพระอรหันต์ยังมี

   ความไม่รู้ ยังมีความสงสัย ยังต้องอาศัยผู้อื่นบอกเล่า จึงมีการซักไซ้ให้เห็นจริงว่า พระอรหันต์ไม่มีอวิชชา,

   ไม่มีความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฯ ล ฯ ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกกล่าวในธรรมที่ท่านรู้แจ้งเห็นจริง

   อรรถกถารวมเป็นเรื่องเดียวกัน

๑๕. เรื่องการเปล่งวาจา
( วจีเภทกถา )

    ถาม : ผู้เข้าฌานที่ ๑ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค มีการเปล่งวาจาใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นคำตอบของผู้มีความเห็นผิด )

    ถาม : ผู้เข้าโลกิยสมาบัติในที่ทั้งปวง, ในกาลทั้งปวง, ทุกประเภท มีการเปล่งวาจาใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ เป็นต้น เข้าใจว่า ท่านผู้เข้าฌานที่ ๑ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค มีการเปล่ง

   วาจาว่า " ทุกข์ " คือเห็นจริงในเรื่องทุกข์ ถึงกับเปล่งวาจาออกมา แต่ตามความเป็นจริง ไม่มีการเปล่งวาจา

   เช่นนั้น )

๑๖. เรื่องการนำมาซึ่งความรู้ในทุกข์
( ทุกขาหารกถา )

    ถาม : การนำมาซึ่งความรู้ในทุกข์ เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรคใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าววาจาว่า " ทุกข์ " ผู้นั้นทุกผู้ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ( ถ้าตอบว่า ใช่ ก็จะซักต่อไปอีกว่า )

    ถาม : บุถุชน ( คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส ) ซึ่งเป็นคนเขลาก็ดี, ผู้ฆ่ามารดาบิดาก็ดี, ผู้ฆ่าพระ

   อรหันต์ก็ดี, มีทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงยังพระโลหิตให้ห้อก็ดี, ผู้ทำสงฆ์ให้แตกกันก็ดี กล่าววาจาว่า " ทุกข์ "

   ดังนี้จะชื่อว่าเจริญมรรคหรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดว่า ผู้เปล่งวาจาว่า " ทุกข์ ทุกข์ " ย่อมนำมาซึ่งความรู้ในทุกข์

   และการนำมาซึ่งความรู้ในทุกข์นั้น เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค จึงมีการซักให้เห็นว่า คนเลว ๆ ที่เปล่ง

   วาจาว่า ทุกข์ ทุกข์ได้ )

๑๗. เรื่องความตั้งอยู่แห่งจิต
( จิตตฐิติกถา )

    ถาม : จิตดวงหนึ่งย่อมตั้งอยู่ตลอดวันใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นการตอบด้วยความเห็นผิด )

    ถาม : ครึ่งวันเป็นขณะเกิด อีกครึ่งวันเป็นขณะดับใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิด เพราะเห็นจิตในสมาบัติ กับภวังคจิต เป็นไปต่อเนื่องกัน จึงเข้าใจว่า

   จิตดวงเดียวกันนั้น ตั้งอยู่ยั่งยืน วันหนึ่ง สองวัน หรือตลอดเดือนปี ตลอดกัปป์ ถึง แปดหมื่นสี่พันกัปป์

   ฝ่ายซักได้ซักให้คำนึงถึงระยะดับระยะเกิด และพระพุทธภาษิตที่ว่า ในคืนหนึ่งวันหนึ่ง จิตเป็นอันมากเกิดขึ้น

   และดับไป )

๑๘. เรื่องถ่านไฟร้อน
( กุกกุฬกถา )

    ถาม : สังขารทั้งปวง ไม่ยกเว้น เป็นเหมือนถ่านไฟร้อนใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นการตอบด้วยความเห็นผิด )

    ถาม : สุขเวทนา, สุขทางกาย, สุขทางจิต, สุขอันเป็นทิพย์, สุขอันเป็นของมนุษย์, ฯ ล ฯ สุขอัน

   ประกอบด้วยอาสวะ, สุขอันไม่ประกอบด้วยอาสวะ ฯ ล ฯ สุขอันเกิดจากความสงบ, สุขอันเกิดจากการตรัสรู้

   มีอยู่มิใช่หรือ ?

    ตอบ : มีอยู่

    ถาม : ถ้าสุขเช่นนั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า สังขารทั้งปวง ไม่ยกเว้น เป็นเหมือนถ่านไฟร้อน

   ( นิกายโคกุสิกะ เป็นเจ้าของความเห็นผิดข้อนี้ มีผู้สันนิษฐานว่า ชื่อของนิกายนี้มาจากคำว่า

   กุกกุฬะ คือถือว่าสังขารมีลักษณะเหมือนถ่านไฟร้อน ฝ่ายค้านจึงซักให้ยอมรับว่า ความสุขต่าง ๆ

   ชนิด ยังมีอยู่ เหตุไฉน จึงกล่าวยืนยันแต่แง่เดียวโดยไม่มีข้อยกเว้น )

๑๙. เรื่องการตรัสรู้โดยลำดับ
( อนุปุพพาภิสมยกถา )

    ถาม : การตรัสรู้โดยลำดับ ( ตรัสรู้ไปทีละเล็กทีละน้อย ) มีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมเจริญโสดาปัตติมรรคทีละเล็กทีละน้อยใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถาม : บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลทีละเล็กทีละน้อยใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( มีการถามตอบไล่เลียงไปจนถึงมรรคผลชั้นสูง ความเห็นผิดข้อนี้ เป็นของ นิกายอันธกะ, สัพพัตถิก-

   วาทะ, สมิติยะ, ภัทรยานิกะ เพราะเข้าใจผิดในพระพุทธภาษิตที่ว่า " ผู้มีปัญญาพึงชำระมลทิลของตน

   ไปทีละน้อย ทีละขณะโดยลำดับ เหมือนช่างทองชำระมลทิลของเงินฉะนั้น " โดยเข้าใจว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

   ให้เแจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นพระอริยสัจจ์ข้อที่ ๑ ก็ละกิเลสได้บางส่วน เมื่อเห็นข้อที่ ๒ จนถึงข้อที่ ๔ ก็

   ละได้อีกบางส่วน เมื่อบรรลุมรรคผลครบ ๔ ชั้น จึงละกิเลสได้ ๑๖ ส่วน ( คือใช้หลักอริยสัจจ์ ๔ เป็นตัว

   คูณมรรคผล ๔ ชั้น ) ซึ่งขัดกับพระพุทธภาษิตที่ว่า เมื่อตรัสรู้ อริยสัจจ์นั้น มิใช่เห็นทีละข้อ แต่เห็นพร้อมกันหมดทุกข้อ และพระพุทธภาษิตที่ว่า ในสมัยใดอริยสาวกเกิดดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ในสมัยนั้นอริยสาวกนั้นย่อมละได้ซึ่งสัญโญชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส อันแสดงว่าละได้พร้อมกัน หมดทั้งสามอย่าง )

๒๐. เรื่องโวหาร
( โวหารกถา )

    ถาม : โวหาร ( คือถ้อยคำที่กล่าวเรียกขานสิ่งต่าง ๆ ) ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ

   ( คือพ้นจากโลก ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นการตอบด้วยความเห็นผิด )

    ถาม : โวหารนั้น ย่อมกระทบในหูที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบในหูที่เป็นโลกิยะ ; บุคคลย่อมรู้

   โวหารนั้นด้วย วิญญาณอันเป็นโลกุตตระ มิใช่ด้วยวิญญาณอันเป็นโลกิยะ ; สาวกเท่านั้นย่อมรู้ บุถุชนไม่รู้

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ความเห็นผิดเรื่องที่ว่า โวหารของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระนี้ เป็นของ นิกายอันธกะ ฝ่ายซักจึง

   ต้องซักต้อนให้จำนนว่า ถ้าโวหารหรือถ้อยคำเป็นโลกุตตระแล้ว มิต้องใช้หูโลกุตตระฟังจึงรู้เรื่องหรือ นอก

   จากนั้น วิญญาณคือความรู้แจ้งอารมณ์ทางหูมิต้องเป็นโลกุตตระด้วยหรือ ? เมื่อฝ่ายเห็นผิดตอบปฏิเสธจึง

   สำทับว่า เพราะเหตุนี้ จึงไม่ควรกล่าวว่า โวหารของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ )


    '๑' . ดูคำอธิบายในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๑ ) สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    '๒' . ดูคำอธิบายศัพท์ในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๒ หน้า ๔ ) ในข้อ ๒ สัญโญชน์ ๓


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ