บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๓๑-๔๐..

๓๑.เรื่องความสำรวม
...( สังวรกถา )...

๓๒.เรื่องไม่มีสัญญา
คือความจำได้หมายรู้
...(อสัญญกภา )...

๓๓.เรื่องเนวสัญญา
นาสัญญายตนะ ( เนวสัญญานาสัญญายนกถา )

๓๔.เรื่องพระอรหันต์พึงเป็น
คฤหัสถ์ได้
...(คิหิสส อรหาติกถา )

๓๕.เรื่องความเกิด
...( อุปปัตติกถา )...

๓๖.เรื่องไม่มีอาสวะ
...(อนาสวกถา)...

๓๗.เรื่องพระอรหันต์
ประกอบด้วยอะไรบ้าง
...( สมันนาคตกถา )...

๓๘.เรื่องพระอรหันต์
ประกอบด้วยอุเบกขา (อุเปกขาสมันนาคตกถา )

๓๙.เรื่องเป็นพระพุทธเจ้า
เพราะโพธิ
(โพธิยา พุทโธติกถา)

๔๐.เรื่องลักษณะ
...( ลักขณกถา )...

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๓๑. เรื่องความสำรวม
( สังวรกถา )

    ถาม : ความสำรวมมีในเทพทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความไม่สำรวมมีในเทพทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( อรรถกถาไม่ได้บอกว่าเป็นของนิกายใด แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า สืบเนื่องมาจากข้อที่ ๒๘ ซึ่งเป็นมติของ

    นิกายอันธกะ และ นิกายสมิติยะ ความเห็นผิดนั้นเกิดขึ้น เพราะเห็นว่าเทพชั้นดาวดึงส์

   ขึ้นไปย่อมไม่ก่อเวร ( ไม่ละเมิดศีล ๕ ) เพราฉะนั้น จึงชื่อว่ามีความสำรวม ตามความจริงปัญหาเรื่องการ

   ละเมิดศีล ๕ ไม่มี จึงไม่ควรกล่าวว่ามีหรือไม่มีความสำรวม เพราะเทพเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ละเมิดศีล ๕ โดย

   ปกติธรรมดาอยู่แล้ว )

๓๒. เรื่องไม่มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้
( อสัญญกถา )

    ถาม : สัญญามีอยู่ในพวกอสัญญสัตว์ (สัตว์พวกไม่มีสัญญา หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อสัญญีสัตว์)

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่ ( พึงทราบว่าเป็นการเห็นผิดแท้ )

    ถาม : สัตว์เหล่านั้นมีภพของผู้มีสัญญา ( สัญญภพ ) เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นว่า เพราะมีพระพุทธภาษิตว่า " วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย "

   และเพราะมีพระพุทธภาษิตว่า " ชื่อว่าปฏิสนธิ ( การกำเนิด ) เว้นจากวิญญาณย่อมมีไม่ได้ ก็แลเทพเหล่านั้น

   ย่อมเคลื่อนจากกายนั้น เพราะสัญญาเกิดขึ้น " ฉะนั้น อสัญญีสัตว์จึงมีสัญญาทั้งในขณะจุติและปฏิสนธิ ฝ่าย

   ซักจึงซักค้านว่า ถ้าอย่างนั้น อสัญญีสัตว์ ก็เป็นอสัญญีสัตว์เฉพาะตอนตั้งอยู่ แต่ตอนเคลื่อนตอนเกิดเป็น

   มีสัญญภพ ; มีขันธ์ ๑ เฉพาะตอนตั้งอยู่ แต่ตอนเคลื่อนตอนเกิด มีขันธ์ ๖ อย่างนั้นหรือ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดจำ ต้องปฏิเสธ )

๓๓. เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะ
( เนวสัญญานาสัญญายตนกถา )

    ถาม : ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ( อายตนะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ) ไม่ควรกล่าว

   ว่ามีสัญญา ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เทพพวกเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอสัญญภพ (ภพของผู้ไม่มีสัญญา) เป็นต้น เช่นนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า คำว่า อายตนะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ทำให้ไม่ควร

   กล่าวว่ามีสัญญาในภพนั้น ฝ่ายค้านจึงซักว่า ถ้าอย่างนั้น ก็มีอสัญญภพ คือมีความเป็นอยู่แบบอสัญญีสัตว์

   ใช่ไหม ซึ่งฝ่ายเห็นผิดจำต้องปฏิเสธ )

๓๔. เรื่องพระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ได้
( คิหิสส อรหาติกถา )

    ถาม : พระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ยังมีเครื่องร้อยรัดของคฤหัสถ์หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( ความจริงเรื่องนี้เป็นเพียงโวหาร คือ นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นว่า มีคฤหัสถ์หลายคนที่เป็น

   พระอรหันต์ เช่น ยศกุลบุตร, สันตติมหาอำมาตย์ จึงกล่าวอย่างนั้น แต่ฝ่ายค้านซักว่า ถ้าอย่างนั้น

   พระอรหันต์ก็มีกิเลสของคฤหัสถ์ใช่หรือไม่ ตามข้อเท็จจริง มีคฤหัสถ์หลายคนได้บรรลุอรหัตตผล แต่เมื่อ

   บรรลุเป็นพระอรหันต์ ความเป็นอยู่ทุกอย่างก็ต่างไปจากคฤหัสถ์ คือ ไม่ครองเรือน ไม่เสพกาม ไม่ดำรงชีวิต

   แบบชาวโลก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระอรหันต์เป็นคฤหัสถ์ )

๓๕. เรื่องความเกิด
( อุปปัตติกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ได้ (พึงทราบว่าเห็นผิดแท้ )

    ถาม : บุคคลย่อมเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการเกิดได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดว่า พระบาลีว่า " ย่อมเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น "

   จึงหมายความว่า บุคคลที่เกิดในชั้นสุทธาวาส ย่อมเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิด ซึ่งตามความจริงมิใช่

   เช่นนั้น หากหมายความว่า ต้องเกิดเสียก่อน แล้วจึงจะเป็นพระอรหันต์ในภายหลัง )

๓๖. เรื่องไม่มีอาสวะ
( อนาสวกถา )

    ถาม : ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ธรรมทั้งปวงเป็นมรรคผลหรือนิพพาน เป็นต้น ใช่ไหม ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ ความเห็นว่า ผิด ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ย่อมไม่มีอาสวะทั้งสิ้น คำว่า

   ธรรมทั้งปวง ทำให้เกิดความหมายยุ่งยาก เพราะถ้าพระอรหันต์มีจีวร จีวรก็เป็นของไม่มีอาสวะ เมื่อให้จีวร

   นั้นไป จะว่าจีวรนั้นไม่มีอาสวะหรือ ? ความจริงจึงไม่ควรกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่มีอาสวะ

   เพราะจะมีความหมายคลุมไปถึงร่างกาย เครื่องใช้ )

๓๗. เรื่องพระอรหันต์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
( สมันนาคตกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๔, เวทนา ๔, สัญญา ๔, เจตนา ๔, จิต ๔, ศรัทธา ๔

   จนถึงปัญญา ๔ อย่างนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ คล้ายกับที่คนปัจจุบันพูดว่า

   ผู้สำเร็จมัธยม ๘ เป็นผู้ประกอบด้วยมัธยม ๑, ๒, ๓ ถึง ๘ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องกล่าวอย่างนั้น เวลาแสดง

   ความรู้ ก็แสดงแต่ชั้นสูงสุด เพราะในชั้นต่ำกว่านั้นตนผ่านพ้นมาแล้ว ถ้าจะนำมากล่าวด้วยก็จะเหมือนพูด

   เล่น เช่น ถามว่า มีความสำเร็จชั้นไหน ? ก็จะต้องตอบว่า สำเร็จชั้นประถม ๑, ๒, ๓, ๔ มัธยม ๑, ๒, ๓,

   ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ ซึ่งไม่จำเป็น )

๓๘. เรื่องพระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา
( อุเปกขาสมันนาคตกถา )

    ถาม : พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความวางเฉย ) ๖ อย่างใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๖ เวทนา ๖ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องโวหารเช่นเดียวกัน พระอรหันต์เป็นผู้มีความวางเฉยในทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น

   กาย ใจ ได้ แต่จะใช้ความวางเฉยนั้นทางไหน ก็ทำทีละทาง ไม่ใช่ทำพร้อมกันทั้งหกทาง ในขณะเดียวกัน )

๓๙. เรื่องเป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ
( โพธิยา พุทโธติกถา )

    ถาม : บุคคลย่อมเป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ ( ความตรัสรู้ หรือคุณเครื่องให้ตรัสรู้ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เมื่อโพธิดับแล้ว ก็ไม่เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   (เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของโวหารเช่นกัน คือ นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นอย่างนั้น คำว่า โพธิหมาย

   ถึงมัคคญาณ ๔ และสัพพัญญุตญาณ การกล่าวอย่างนั้นก็เป็นการถูกต้องในสำนวนธรรมดา แต่ถ้าวิเคราะห์

   อย่างลึกซึ้ง ก็ไม่ควรกล่าว เพราะโพธิเป็นได้ทั้งอดีต, อนาคต, และปัจจุบัน ในขณะที่โพธิเป็นอดีต ความ

   เป็นพระพุทธเจ้าจะมิพลอยหมดไปด้วยหรือ ถ้าตั้งเงื่อนไขให้ขึ้นอยู่แก่โพธิเท่านั้น )

๔๐. เรื่องลักษณะ
( ลักขณากถา )

    ถาม : ผู้ประกอบด้วยลักษณะ เป็นพระโพธิสัตว์ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะบางส่วน ก็เป็นพระโพธิสัตว์บางส่วนหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นอย่างนี้ แต่ก็มีปัญหาว่า พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ประกอบด้วยลักษณะ

   เหมือนกัน พระเจ้าจักรพรรดิ์มิเป็นพระโพธิสัตว์ไปด้วยหรือ ? การกล่าวอย่างนี้จึงชื่อว่าผิดหลักตรรกศาสตร์

   เช่น กล่าวว่า คนพูดภาษาไทยเป็นคนไทย คนชาติอื่นพูดภาษาไทยมิเป็นคนไทยไปด้วยหรือ ? )


    '๑' . คำนี้อ่านว่า อุปะปัตติ แปลตามศัพท์ว่า การเข้าถึง คือเกิด เป็นคำใกล้กับคำว่า อฺปตฺติ ซึ่งแปลว่า เกิดขึ้น จึงหมายเหตุไว้เป็นที่สังเกต


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ