บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๖๑-๗๐..

๖๑.เรื่องธาตุดินเห็นได้เป็นต้น
( ปฐวีธาตุ สนิทัสส-
นาตยาทิกถา )

๖๒.เรื่องอินทรีย์ คือตาเห็นได้
(จักขุนทริยัง สนิทัสสนันติกถา )

๖๓.เรื่องการกระทำทางกายเห็นได้
( กายกัมมัง สนิทัสสนันติกถา )

๖๔.เรื่องธรรมที่สงเคราะห์
เข้ากันได้
(สังคหิตกถา )

๖๕.เรื่องธรรมที่ประกอบกัน
( สัมปยุตตกถา )

๖๖.เรื่องเจตสิก คือธรรมที่
เป็นไปทางจิต
...(สัจจกถา)...

๖๗.เรื่องทาน
...( ทานกถา )...

๖๘.เรื่องบุญสำเร็จด้วย
การใช้สอย
(ปริโภคมยปุญญกถา )

๖๙.เรื่องสิ่งที่ให้
ไปจากโลกนี้
(อิโต ทินนกถา)

๗๐.เรื่องแผ่นดินเป็น
ผลของกรรม
(ปฐวี กัมมวิปาโกติกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๖๑. เรื่องธาตุดินเห็นได้ เป็นต้น
( ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา )

    ถาม : ธาตุดินเป็นของเห็นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ธาตุดินเป็นรูปที่มาสู่คลองจักษุหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะตามหลักวิชาถือว่า ธาตุดินนั้นเรามองไม่เห็น แต่สิ่งที่เรา

   มองเห็นคือสี ( วัณณะ ) เพราะลักษณะที่แท้ของธาตุดินคือความแข้นแข็ง อีกอย่างหนึ่ง การพูดว่า ธาตุดิน

   เป็นของมองเห็นได้นั้น ถ้าจะนับว่าถูกก็ถูกในสำนวนโลก แต่ในสำนวนธรรมะ สิ่งที่จะเห็นได้มีอย่างเดียวคือ

   รูป และรูปที่เห็นได้ก็คือสี การค้านในที่นี้ ไม่ใช่ค้านในทางโลก แต่เป็นการค้านในสำนวนธรรม )

๖๒. เรื่องอินทรีย์ คือตาเห็นได้
( จุกขุนทริยัง สนิทัสสนันติกถา )

๖๓. เรื่องการกระทำทางกายเห็นได้
( กายกัมมัง สนิทัสสนันติกถา )

   ( ทั้งสองข้อนี้ เป็นความเห็นต่อเนื่องมาจากข้อที่ ๖๑ อรรถกถาจึงมิได้อธิบายอะไรไว้เลย แต่เหตุผล ที่ใช้

   โต้ตอบก็คงแบบเดียวกัน )

๖๔. เรื่องธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้
( สังคหิตกถา )

    ถาม : ธรรมบางอย่างที่สงเคราะห์เข้ากันได้กับธรรมบางอย่างไม่มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ธรรมบางอย่างย่อมนับเนื่องเข้ากับธรรมบางอย่างใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ธรรมบางอย่างที่สงเคราะห์เข้ากันได้กับธรรมบางอย่าง

   ไม่มี

   ( นิกายราชคิริกะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ฝ่ายค้านจึงค้านให้ยอมรับว่า ธรรม

   ที่เข้ากันได้มีอยู่ เช่น อยาตนะคือตา นับเนื่องเข้าในรูปขันธ์ เป็นต้น )

๖๕. เรื่องธรรมที่ประกอบกัน
( สัมปยุตตกถา )

    ถาม : ธรรมบางอย่างที่สัมปยุต กับธรรมบางอย่างไม่

   มี ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ธรรมบางอย่างที่ไปด้วยกัน เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุ

   เดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับธรรมบางอย่างมีอยู่มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ธรรมบางอย่างที่สัมปยุตกับธรรมบางอย่างไม่มี

   ( นิกายราชคิริยะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ ข้อโต้แย้งชัดเจนอยู่แล้ว )

๖๖. เรื่องเจตสิก คือธรรมที่เป็นไปทางจิต
( เจตสิกกถา )

    ถาม : ธรรมที่เป็นเจตสิก ( เป็นไปทางจิต ) ไม่มีใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ธรรมบางอย่างที่ไปด้วยกัน เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี

   ( นิกายราชคิริยะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ และข้อโต้แย้งก็ชัดเจนอยู่แล้ว

   เช่นกัน )

๖๗. เรื่องทาน
( ทานกถา )

    ถาม : เจตสิกธรรม ( ธรรมที่เป็นไปทางจิต ) เป็นทานใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : เจตสิกธรรมอาจที่จะให้แก่คนอื่นได้หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริยะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดว่า เจตสิกธรรม คือ ธรรมที่เป็นไป

   ทางจิตเท่านั้น จัดเป็นทาน แต่ตามหลักวิชา ทานมี ๓ อย่าง คือ ๑. เจตนาบริจาค ๒. เจตนางดเว้นจาก

   ความชั่ว ( อภัยทาน ) และ ๓. วัตถุสำหรับให้ ที่เรียกว่าเทยยธัมมะ หรือไทยธรรม โดยนัยนี้เมื่อวิเคราะห์

    แล้ว ทาน จึงได้แก่เจตนาบริจาก และเจตนางดเว้นความชั่ว ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมอย่างหนึ่ง ได้แก่วัตถุ

   สำหรับให้ ซึ่งเป็นวัตถุไม่เกี่ยวกับจิตอีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีความเห็นว่าเจตสิกธรรมเท่านั้นเป็นทาน จึงถูกเพียง

   ครึ่งเดียว เวลาซักค้านจึงเอาวัตถุมาค้านว่า เจตสิกธรรมใช้สำหรับให้แก่คนอื่นได้อย่างวัตถุหรือไม่ )

๖๘. เรื่องบุญสำเร็จด้วยการใช้สอย
( ปริโภคมยปุญญกถา )

    ถาม : บุญที่สำเร็จด้วยการใช้สอย ย่อมเจริญใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต เป็นต้น ที่สำเร็จด้วยการใช้สอย ย่อมเจริญใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ, สิทธัตถิกะ, สมิติยะ จับประเด็นผิดจากข้อความในพระสูตรบางแห่ง มีใจความ

   ว่า ภิกษุ ( ที่ประพฤติดีงาม ) ใช้สอยจีวรของผู้ใด บุญย่อมเจริญแก่ผู้นั้นทั้งกลางวันกลางคืน ในกาลทุกเมื่อ

   แล้วลงความเห็นว่า บุญเกิดจากการใช้สอย แต่ตามความจริงบุญย่อมเจริญเนื่องมาจากเหตุอื่นก็มี เช่น เจตนา

   ดีของผู้ทำบุญ ในการซักค้านจึงซักหลายอย่าง รวมทั้งตอนท้ายได้ซักว่า ถ้าผู้รับรับแล้วมิได้ใช้สอยก็มี มีใคร

   ชิงไป หรือวัตถุนั้นพินาศไปด้วยน้ำ ด้วยไฟก็ดี จะชื่อว่าได้บุญ หรือบุญยังเจริญหรือไม่ ถ้าตอบว่าได้บุญ ก็

   ไม่ควรกล่าวว่า บุญเกิดจากการใช้สอยของผู้รับเท่านั้น )

๖๙. เรื่องสิ่งที่ให้ไปจากโลกนี้
( อิโต ทินนกถา )

    ถาม : ผู้ล่วงลับไปแล้ว ย่อมยังชีวิตด้วยสิ่งที่ให้ไปจากโลกนี้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ล่วงลับไปแล้ว ใช้สอยบริโภคเครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค, ของเคี้ยว,

   ของบริโภค, น้ำดื่มที่ให้ไปจากโลกนี้หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายราชคิริกะ และ สิทธัตถิกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ เพราะจับความในพระสูตรบาง

   แห่งผิด ฝ่ายค้านจึงซักค้านหลายอย่าง เช่น ซักว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วก็ใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ให้หรืออุทิศไปให้จากโลก

   นี้จริง ๆ หรือความสุข ความทุกข์ คนอื่นทำให้กันได้หรือ คนอื่นทำ แต่อีกคนหนึ่งได้เสวยหรือ ซึ่งผู้เห็นผิด

   จำต้องปฏิเสธทั้งนี้พราะตามหลักวิชา แม้จะมีผู้อุทิศอะไรไปให้ ผู้ล่วงลับไปจะต้องอนุโมทนาก่อน การอนุโม-

   ทนาหรือพลอยยินดีนั้น ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คือทำให้ใจสูง ยินดีในคุณความดีที่ผู้อื่นทำแล้ว ผลจึง

   ปรากฏ คือเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้รับต้องการ ไม่ใช่วัตถุดั้งเดิมไปถึงผู้รับ )

๗๐. เรื่องแผ่นดินเป็นผลของกรรม
( ปฐวี กัมมวิปาโกติกถา )

    ถาม : แผ่นดินเป็นผลแห่งกรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : แผ่นดินเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกเป็นสุข, เป็นทุกข์, ไม่ทุกข์ไม่สุข ; ประกอบด้วยความรู้สึก

   เป็นสุข, เป็นทุกข์, ไม่ทุกข์ไม่สุข ; ประกอบด้วยผัสสะ ; ประกอบด้วยเวทนา ; ประกอบด้วยสัญญา ; ประ

   กอบด้วยเจตนา ; ประกอบด้วยจิต ; มีอารมณ์ เป็นต้น ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า แผ่นดินเป็นผลของกรรม คือเห็นว่า มีกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็น

   ใหญ่ในแผ่นดิน ฝ่ายค้านจึงซักว่า แผ่นดินเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เป็นต้น และซักต้อนในเรื่องพระเจ้า

   จักรพรรดิ์เป็นใหญ่ในแผ่นดิน สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยแผ่นดินจะมิชื่อว่าบริโภคผลแห่งกรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ์

   หรือ )


    '๑' . คำอธิบายนี้ อรรถกถามิได้กล่าวไว้ ผู้เขียนอธิบายเอง

    '๒' . คำว่า สัมปยุต ที่แปลว่า ประกอบกัน นั้น หมายความว่า เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ