พระพรหมนารท ๑

 

พระพรหมนารท
เรื่องพระพรหมมนารท หรือตามชาวบ้านเรียกกันว่า
พรหมนารท จัดเป็นชาติที่ ๘    ในจำนวนสิบชาติ และในชาตินี้
ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ คือความถูกต้อง

   เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ ท้าวเธอมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้ท้าวเธอจะมีสนมกำนันจำนวนเป็นร้อยเป้นพัน พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ 3 คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ

   เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ ในในปีหนึ่ง อันเป็นฤดูกาลที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ พระจันทร์เต็มดวงลอยในท้องฟ้าน้ำเปี่ยมตลิ่งใสซึ่งลงไป พันธุ์ผักน้ำ สายบัวก็ชูช่อดอกดอกสะพรั่งไปทั้งสองฟากน้ำ แลดูเป็นเครื่องเจริญตายามเมื่อแลดูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร

   ส่วนพระเจ้าอังคติราช พระองค์เสด็จประพาสในพระนครแล้วกลางคืนก็เสด็จออก อำมาตย์ ตรัสถามว่า

   "วันนี้เป็นวันดี เราควรจะทำอย่างไรดี ?” อลาตะอำมาตย์จึงทูลว่า

   “หม่อมฉันเห็นว่าในฤดูกาลอันเป็นที่น่ารื่นรมย์นี้ควรจะได้จัดทัพออกเที่ยวตระเวนตีบ้านเล็กเมืองน้อยไว้ในพระราชอำนาจ” ทรงหันไปยิ้ม พร้อมตรัสว่า

   “ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่นึกอยากจะทำ แล้วต่อไปใครเห็นควรจะทำอย่างไรดี” สุนาอำมาตย์จึงกลาบทูลว่า

   “ท่านอลาตาเป็นฝ่ายทหารเลือดนักรบ ก็คิดแต่จะรบเพราะกีฬาอะไรจะสนุกเท่ากีฬารบไม่มี นี่เป็นความคิดของผู้เป็นนักรบ แต่กระหม่อมฉันเห็นว่าเป็นเรื่องเดือดร้อนทั้งฝ่ายเราผู้ยกไป และฝ่ายเขาซึ่งต้องรับทัพของเรา พระหม่อมฉันเห็นว่าถ้าพระองค์จะตกแต่งมัชบานในราชอุทยาน จัดงานราตตรีสโมสรสันนิบาต มีมโหรีขับกล่อม มีสนมกำนันฟ้อนรำขับร้องเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล และปลุกปลอบพระทัยของพระองค์ ซึ่งต้องวุ่นกับราชกิจมาตลอดวัน ก็เห็นจะดีพระเจ้าค่ะ”

   “ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่ชอบใจเรา ใครจะว่ายังไงอีกล่ะ?” วิชัยอำมาตย์เห็นว่าพระทัยของพระเจ้าอังคติราชไม่มีการทะเยอทะยาน ความโลภก็ไม่มี และมิใคร่ในกามคุณ ควรเราจะชักชวนในทางสงบจึงจะดี จึงกราบทูลว่า
   "ขอเดชะ กระหม่อมฉันเห็นว่าในราตรีกาลอันแสนจะเบิกบานนี้ หากเสด็จไปสู่สำนักของปราชญ์สนทนาปราศรัยสดับธรรมก็จะดีพระเจ้าค่ะ” พระเจ้าอังคติราชพอพระทัยทันที

   “เออดี ท่านวิชัย แต่เราจะไปสำนักใครดีล่ะถึงจะดี”

   “ขอเดชะ กระหม่อมฉันรู้จักท่านคุณาชีวก ผู้ไม่มีกิเลสและไม่อยากได้ใคร่ดีอะไรทั้งนั้น แม้เสื้อผ้าก็ไม่ต้องการ หากสนทนาอาจจะได้อะไรดี ๆ พระเจ้าค่ะ”


 
   พระเจ้าอังคติราชจึงสั่งให้จัดพลเสด็จไปยังสำนักของชีวกซึ่งเป็นชีเปลือย เมื่อถึงเข้าไปถวายนมัสการถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้ว พอมีโอกาสก็ตรัสขึ้นว่า “พระมหากษัตริย์ ควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรในประชาชนพลเมือง เสนา ข้าราชบริพาน พระชนกชนนี อัครมเหสีและโอรสธิดา ยามตายไปแล้วจึงไปสู่สุคติ และคนที่ตายไปตกนรกเพราะทำอะไร” คุณษชีวกไม่รู้ว่าจะทูลตอบอย่างไรดี แต่ก็ทูลลัทธิตนขึ้นว่า

   “มหาบพิตร สุจริต ทุจริต จะได้มีผลอะไรก็หามิได้ บุญก็ไม่มี บาปก็ไม่มี มหาบพิตรให้ทาน มหาบพิตรก็เสียของไปเปล่าโดยไม่ได้อะไรตอบแทนเลย รักษาศีลเล่ามหาบพิครได้อะไร หิวข้าวแสบท้องเปล่าประโยชน์   สวรรค์นรกมีที่ไหนกันบิดามาดาไม่มี   เพราะธรรมชาติ   ๗   อย่างมาประชุมกันเท่านั้น ธรรมชาติ   ๗ อย่างคือ   ดิน   น้ำ   ลม    ไฟ   สุข   ทุกข์   ชีวิต   การจะได้ดีได้ชั่วก็ได้ดีได้ชั่วเอง ไม่มีใครบันดาลให้   เมื่อทั้ง ๗ แยกกัน สุขทุกข์ก็ลอยไปในอากาศ ไม่มีใครทำลายชีวิตนั้นได้ สรุปความว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น ล้วนแต่เป็นธาตุประชุมรวมตัวกันและแยกสลายออกจากกันเท่านั้น อีกประการหนึ่ง คนที่จะต้องวนเวียนอยู่นั้นก็เพียง ๘๔ กัลป์เท่านั้น”

    ขณะนั้นเอง อลาตะเสนาบดีผู้ระลึกชาติได้ก็กล่าวรับสมอ้างคุณาชีวกว่า จริงอย่างท่านอาจารย์ว่า "ข้าพเจ้าเองเมื่อชาติก่อนเป็นคนฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าฆ่าโคเสียไม่รู้ว่ากี่ร้อยกี่พันตัวตายจากชาตินั้นมาเกิดในตระกูลเสนาบดี ได้เสวยสุขจนกระทั่งบัดนี้ ถ้านรกมีจริงข้าพเจ้าคงไปเกิดไปเกิดในนรกแล้ว ไม่ได้มาเกิดเป็นเสนาบดีดังนี้ ผลบาปต้องไม่มีแน่ ๆ ข้าพเจ้าจึงเกิดมาดังนี้”

   ความจริงนั้น อลาตะเสนาบดีเกิดในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้บูชาพระเจดีย์ด้วยพวงอังกาบพวงหนึ่ง ตายจากชาตินั้นแล้วได้ท่องเที่ยวไป ๆ มา จนเกิดเป็นปิงคละ และด้วยอานิสงส์ได้บูชาพระเจดีย์ จึงได้ไปเกิดเป็นเสนาบดี แต่เพราะแกระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว จึงเห็นว่าคนฆ่าสัตว์มากมายแต่กลับได้เสวยความสุข จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าแกทำปาบแต่กลับได้ดี อันผิดวิสัยความจริงว่า

  

อันปวงกรรมทำไว้ในปางหลัง    เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล

  หว่านพืชดีมีผลแก่ตนเอง    หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่ค่นแค้น

  อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว    ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกหมื่นแสน

  หว่านพืชชั่วผลดีมีมาแทน    ถึงแม้นแมนแม่นไม่เปลี่ยนได้เลย

   หากจะพูดอย่างง่าย ๆ ก็ว่า ทำกรรมอย่างไรก็ให้ผลอย่างนั้น ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว เทวดาก็เปลี่ยนจากชั่วให้เป็นดีก็ไม่ได้

   เวลานั้น มีบุรุษยากจนคนหนึ่งชื่อ วิชกะ นั่งฟังอยู่ด้วยเขารับได้ฟังคำของอลาตะเสนาบดีแล้วอดใจอยู่ไม่ได้ ถึงกับน้ำตาไหลออกมานองหน้า พระเจ้าอังคติราชเห็นเข้าก็ให้ประหลาดพระทัยจึงตรัสถามว่า

   “เจ้าวิชกะ เจ้าร้องไห้ทำไม ?”

   “ขอเดชะ เพราะข้าพระพุทธเจ้าระลึกชาติได้ว่าเมื่อชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐี มีจิตใจบุญ จำแนกแจกทานทานแก่สมณชีพราหมณ์และยาจกวณิพกตลอดมา แต่เมื่อตายแล้วแทนที่จะไปสวรรค์ กลับต้องมาเกิดในตระกูลจัณฑาลอันได้รับรับความลำบากยากเข็ญอยู่ในบัดนี้ เพราะฉะนั้นที่ท่านอลาตะกล่าวว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผลเป็นความจริงแน่นนอน ถ้ามิฉะนั้นแล้วกระหม่อมฉันจะตกระกำลำบากไม่ได้”

   แต่ความจริงแล้วเรื่องมันเป็นอย่างนี้ คือชาติที่เขาระลึกได้นั้น เขาเกิดเป็นคนเลี้ยงโค และได้ติดตามโคไปบังเอิญพบพระหลงทางองค์หนึ่ง ท่านก็เข้ามาถามหนทาง เพราะเขากำลังขุ่นใจเรื่องตามโค จึงเลยไม่ตอบท่าน ท่านเข้าใจว่าเขาไม่ได้ยินเลยถามอีก เขาก็ตวาดไปว่า

   “พระขี้ข้าอะไรเซ้าซี้น่ารำคาญ”

  เพราะกรรมนี้เองจึงทำให้เขาเกิดในตระกูลจัณฑาล แต่เพราะเขาระลึกชาติไปไม่ถึงจึงเห็นเพียงชาติที่เข้าเป็นเศรษฐีเท่านั้น พระเจ้าอังคติราชได้ทรงฟังถ้อยคำของวิชกะ ก็เห็นไป