ศาลา
หน้าแรก
คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ
การฝึกมโนมยิทธิ๑
การฝึกมโนมยิทธิ๒
การฝึกมโนมยิทธิ๓
การท่องเที่ยวตามภพต่าง ๆ
การฝึกญาณ ๘

การฝึกมโนมยิทธิ

พระอาจินต์ ธมฺมจิตฺโต - ครูฝึก
คุณปรีชา เศวตประสาธน์ - ผู้รับการฝึก

ครู         “อันดับแรกขอให้ทำใจให้สบาย ๆ อย่าเกร็งเกินไป ไม่ต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องภาวนาอีกแล้ว ทำใจให้สบาย ๆ มาก ๆ และขอให้ตัดสินใจให้ดีว่าเราเกิดมาชาตินี้ มีร่างกายอย่างนี้ ขอให้พิจารณาดูซิว่า การเกิดมามีร่างกายอย่างนี้มันมีความสุขหรือมันมีความทุกข์ สุขมากหรือว่าทุกข์มาก ขอให้คิดดูให้ดีสักนิดหนึ่ง เราจะได้รู้ตามความเป็นจริงว่าร่างกายของเรานี้เป็นทุกข์ ร่างกายของบุคคลอื่นก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน และเราไม่ปรารถนาที่จะมีร่างกายนี้อีกต่อไป ตัดสินใจอย่างนี้เพื่อช่วยกำลังใจของเราให้มีความปลอด โปร่ง ให้มีความแจ่มใส
            และขอให้ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลความดีที่ได้เคยทำมาแล้วตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ว่าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณทั้งหมด อันได้แก่บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายและสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความทุกข์ ขอให้ทุก ๆ ท่าน ทุก ๆ พระองค์ จงโมทนาในกุศลเจตนาของขจ้าพเจ้าในวันนี้ด้วย และขอให้ทุก ๆ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าในวันนี้ ให้มีกำลังใจแจ่มใส ขอให้รู้สึกเห็นได้ตามความเป็นจริง
ครู         “เมื่อตั้งใจแผ่เมตตาไปเช่นนี้แล้ว อารมณ์ใจค่อยสบายดีกว่าเมื่อสักครู่นี้ไหม...?”
ศิษย์        “สบายครับ”
ครู         “เมื่อจิตใจสบายดีแล้ว ไม่ห่วงใยสิ่งใดแล้ว ก็ขอให้ตั้งใจนึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกวาระหนึ่ง ขอให้พระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตาปรานีแก่ข้าพระพุทธเจ้า ช่วยโปรดแผ่พระบารมีของพระองค์ ปกคลุมอทิสสมานกายและจิตใจของข้าพระพุทธเจ้า ให้มีอารมณ์ใจแจ่มใสรู้สึกสว่างขึ้นไหมตอนนี้...?”
ศิษย์        “สว่างครับ”
ครู         “โปร่งใจขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “โปร่งครับ”
ครู         “นี่แหละ แสดงถึงว่าด้วยพระบารมีของพระองค์ท่านทรงพระภาคเจ้าเช่นนี้แล้ว ลองใช้ความรู้สึกของใจซิว่า พระองค์นั้นอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลหรืออยู่สูง ขอให้ใช้ความรู้สึกของใจในขณะนี้ ใจบอกว่าอย่างไร...?”
ศิษย์        “อยู่ข้างหน้าครับ”
ครู         “ถูกต้อง ท่านนั่งหรือท่านยืนล่ะ...?”
ศิษย์        “นั่ง”
ครู         “รู้สึกเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธรูป”
ศิษย์        “พระพุทธรูปครับ”
ครู         “ดีมากเลยนะ เมื่อเห็นองค์ท่านเช่นนี้ ขอขอบพระคุณพระองค์ท่านที่ทรงโปรดเมตตานำจิตข้าพระพุทธเจ้าให้มีจิตใจแจ่มใสและขอให้พระองค์ท่าน ได้ทรงโปรดเมตตานำไปที่พระจุฬามณีเจดียสถานเลยนะ”
ครู         “พอจะเห็นไหม พระจุฬามณีเจียสถาน ถ้ารู้สึกว่าเห็นไกลขอให้น้อมใจเข้าไปใกล้ ๆ นะ ขอให้พระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตานำไปให้ถึงด้วยนะใกล้หรือยัง...?”
ศิษย์        “ใกล้แล้วครับ”
ครู         “ดูซิ ลักษณะของพระจุฬามณีที่เห็นอยู่ข้างหน้านี้เป็นเช่นไร ดูซิตามความรู้สึกของใจบอกว่าอย่างไร...?”
ศิษย์        (อึ้ง)
ครู         “มีอะไรล้อมรอบไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “รู้สึกว่ามีอะไรล้อมรอบ...?”
ศิษย์        “รู้สึกว่าเป็นกำแพงล้อมรอบครับ”
ครู         “ถูกต้อง ยาวไหม...?”
ศิษย์        “ยาวครับ”
ครู         “เห็นซุ้มประตูไหม”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “ดูซิซุ้มประตูที่เห็นน่ะ สวยงามไหม...?”
ศิษย์        “สวยครับ”
ครู         “เป็นแก้วหรือเป็นทองล่ะ...?”
ศิษย์        “เป็นแก้วครับ”
ครู         “เอาละ เข้าไปในซุ้มเลยนะ ขออนุญาตผู้ที่รักษาประตูเข้าไป ขอเข้าไปในเขตภายในพระจุฬามณีเจดียสถาน มีประตูตรงฐานพระจุฬามณีไหม...?”
ศิษย์        “มีครับ”
ครู         “ใหญ่ไหม”
ศิษย์        “ใหญ่ครับ”
ครู         “สูงไหม...?”
ศิษย์        “สูงครับ”
ครู         “เอาละขอเข้าไปเลยนะ อย่าลังเลใจนะ ตัดสินใจว่าลูกขอตั้งใจ ขอเข้าไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในเขตจุฬามณีเจดียสถาน ขอพระองค์ท่านช่วยโปรดสงเคราห์เป็นกำลังใจแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ พระองค์ประทับที่ใดในเขตของพระจุฬามณีแห่งนี้ ขอได้โปรดเมตตา ปรากฏพระรูปพระโฉมของพระองค์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยนะ เห็นหรือยังตอนนี้...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “อยู่สูงไหม...?”
ศิษย์        “สูงครับ”
ครู         “สว่างขึ้นไหมเมื่อเข้ามาภายในพระจุฬามณีแห่งนี้...?”
ศิษย์        “สว่างครับ”
ครู         “สบายใจขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “สบายใจครับ”
ครู         “เห็นตัวเราไหมเมื่ออยู่ข้างบนนี้...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไหม...?”
ศิษย์        “เปลี่ยนครับ”
ครู         “ตัวเล็กหรือตัวใหญ่...?”
ศิษย์        “เล็ก”
ครู         “มีเครื่องทรงบ้างไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
ศิษย์        “เป็นแก้ว”
ครู         “ดีมากนะ เพราะฉะนั้นขอกราบพระพุทธองค์ซึ่งอยู่ในเขตภายในพระจุฬามณีเจดียสถานแห่งนี้ ขอขอบพระคุณและขอแสดงคารวะทุกท่าน มีใครยืนอยู่ใกล้ ๆ เราไหม...?”
ศิษย์        “หลวงพ่อ”
ครู         “ดีมากนะ กราบขอบพระคุณกหลวงพ่อ ที่โปรดเมตตานำลูกขึ้นมาและขอให้หลวงพ่อนำไปกราบทุก ๆ ท่านซึ่งอยู่ในเขตนี้ เห็นเยอะไหม...?”
ศิษย์        “เยอะครับ”
ครู         “ไปกราบท่านทุก ๆ พระองค์นะ เราจะได้มีความเคยชิน เมื่อเราได้ขึ้นมาบนนี้แล้วไปกราบท่าน กราบให้ทั่วเลยนะ ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเราก็สามารถกราบท่านได้ ไม่ต้องเกรงกลัวท่านนะ ท่านมีความใจดี สว่างไหม แต่ละองค์ ๆ น่ะ...?”
ศิษย์        “สว่างครับ”
ครู         “มีผู้หญิงบ้างไหม...?”
ศิษย์        “มีครับ”
ครู         “แต่งตัวกันสวย ๆ ไหม...?”
ศิษย์        “สวยครับ”
ครู         “ตอนนี้ขอให้เข้าไปในหมู่ที่ท่านนั่งเยอะเลยนะ ไม่ต้องกลัวท่านนะ เข้าไป จะได้กราบท่านมาก ๆ ท่านนั่งตั้งแถวยาวเพียงใดเราพยายามกราบให้หมดเลยนะ จะได้ทั่วถึงทุก ๆ องค์ องค์ไหนสว่างที่สุดพยายามเข้าไปหาองค์นั้นนะ มีไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “นั่งมองท่านสักครู่หนึ่งนะ เพื่อเป็นกำลังใจของเราให้ผ่องใส องค์นั้นสว่างมากไหม เป็นแก้วหรือยังตอนนี้...?”
ศิษย์        “เป็นแก้ว”
ครู         “ทั้งองค์ไหม”
ศิษย์        “ทั้งองค์”
ครู         “ดูไว้นะ อย่าใช้กำลังใจหนักนะ อย่าเกาะร่างกายปล่อยมันเสีย เราขึ้นมาได้แล้วด้วยกำลังใจของเรา อย่าเกาะร่างกายอีก ห่วงไหมร่างกาย...?”
ศิษย์        “ไม่ห่วง”
ครู         “ดีมาก กำลังใจดีนะ ต่อไปก็จะขอพาไปดูภายในพระจุฬามณีเจดียสถานอีกจุดหนึ่ง ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสเห็นพระเขี้ยวแก้ว และพระเมาฬีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระจุฬามณีเจดียสถานนี้ด้วยนะ ขอให้มีโอกาสได้เห็นตามความเป็นจริงพระพุทธเจ้าข้า”
ครู         “เห็นไหมครับ...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เป็นไง ลักษณะที่เห็นข้างหน้า ดูซิว่ามีสิ่งใดใส่พระเขี้ยวแก้ว”
ศิษย์        “เห็นอยู่ในพาน”
ครู         “พระพุทธองค์ประทับอยู่ตรงนั้นด้วยไหม...?”
ศิษย์        “อยู่ครับ”
ครู         “กราบท่านเลยนะ กราบใกล้ ๆ พาน กราบใกล้ ๆ พระพุทธองค์นะ เห็นท่านชัดขึ้นไหมตอนนี้...?”
ศิษย์        “ชัดครับ”
ครู         “เห็นใบหน้าท่านไหม...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “ดูไว้นะ พระเมาฬีที่อยู่บนพานมีความสวยสว่างเพียงใด เห็นแล้วชื่นใจเพียงใด เรามีโอกาสจะได้เห็นยากนะ ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และด้วยอานุภาพของพระเมาฬี ได้โปรดแผ่พระบารมีครอบคลุมจิตใจและอทิสสมานกายของลูกด้วย เพื่อช่วยให้แจ่มใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะ ลูกไม่ปรารถนาสิ่งใดอีกแล้วนอกจากพระนิพพานเท่านั้น”
ครู         “ต่อไปขอไปพระนิพพานเลยนะ ของอค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โปรดพาไปที่นิพพานตามพระองค์ท่านไปนะ”
ครู         “เห็นวิมานสักหลังไหม”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เข้าไปใกล้ ๆ นะ เข้าไปที่วิมานที่เห็นอยู่ไม่ไกลนัก เข้าไปให้ถึง เข้าไปตรงนั้น ตัดสินใจให้เด็ดขาดนะ ว่าชาตินี้ขอเป็นชาติสุดท้ายสำหรับข้าพระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาในการที่จะมีร่างกายอีกต่อไป ร่างกายอันแสนสกปรก ไม่ต้องการ เข้าไปหาองค์สมเด็จฯ นะ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ เรานี่แล้ว เข้าไปหาท่านนะ น้อมใจเข้าไปทำได้ไหม...?”
ศิษย์        “ได้ครับ”
ครู         “กราบท่านหรือยัง”
ศิษย์        “กราบแล้ว ท่านนั่ง”
ครู         “นั่งแบบไหน...?”
ศิษย์        “ห้อยพระบาท”
ครู         “ถูกต้อง ดีมากนะ เข้าไปแล้วสว่างดีไหม เข้าไปให้ถึงตั้งใจเข้าไปอีกหน่อย อย่าห่วงร่างกายนะ ถ้าความรู้สึกยังห่วงลมหายใจอยู่จงปล่อยมันเสีย มันหนัก เราเอาใจไป เห็นตัวเราเองชัดขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “มีเครื่องทรงไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “ดูซิ มีชฎาใส่ไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “นั่นแหละตัวเราจริง ๆ นะ ตัวนั้นเขาเรียกอทิสสมานกาย ขอให้ยอมรับความเป็นจริง ว่ากายนั้นเป็นกายจริง ๆ ของเรา ไม่ใช่กายเนื้อ เมื่อกายเนื้อตายไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ ให้ทรงสภาพเป็นร่างกายอีกต่อไป แต่กายนี้แหละ คือกายจริง ๆ ของเรา ยังทรงอยู่ไม่สูญหายไปไหน กายเราเป็นแก้วอย่างนี้ ตัดความห่วงใยในร่างกายเสียให้หมดนะ ติดสินใจให้แน่นอนว่า เราขอปรารถนาพระนิพพาน ขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอได้โปรดเมตตาแผ่พระบารมี ครอบคลุมจิตใจและอทิสสมานกายของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อความผ่องใสด้วยนะ ลูกตั้งใจแน่นอนขอมาพระนิพพานในชาตินี้”
ครู         “ต่อไปขออราธนาบารมีของพระองค์ท่าน ขอได้โปรดนำไปที่วิมานของข้าพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานแห่งนี้ ขึ้นไปให้ถึงวิมานของเรานะ”
ครู         “ขึ้นไหวไหม...?”
ศิษย์        “ไหวครับ”
ครู         “สว่างขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “สว่างครับ”
ครู         “เป็นไง วิมานหลังใหญ่ไหม กว้างขวางไหม...?”
ศิษย์        “ใหญ่ครับ สูงครับ”
ครู         “เข้าไปข้างในเลยนะ เข้าไปในวิมานของเราพยายามเข้าไปให้ได้ เมื่อเข้าไปในวิมาน ก็หาที่นั่งของเราเองซึ่งอยู่ในเขตวิมานของเรา ตั้งใจแน่นอนว่าเราขอตัดสินใจมานิพพาน ไม่ขอห่วงใยร่างกายอีก ร่างกายเป็นทุกข์ข้าพเจ้าไม่ขอห่วงใย ร่างกายที่มีภาระอันหนัก ข้าพเจ้าไม่ขอห่วงใย ตายเป็นตาย ตายเมื่อใดขอมาพระนิพพาน กราบองค์สมเด็จท่านอีกครั้งหนึ่งซึ่งท่านอยู่ใกล้ ๆ เราแล้วขณะนี้”
ครู         “เห็นท่านชัดขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “ชัดครับ”
ครู         “สว่างไหมครับ รัศมีกายของพระองค์ท่าน...?”
ศิษย์        “สว่าง”
ครู         “และขออารธนาบารมีท่านอีกครั้งหนึ่งนะ ขอฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่านได้แผ่ปกคลุมอทิสสมานกายของข้าพระพุทธเจ้า ให้มีความแจ่มใสยิ่งขึ้น ดูใหม่ซิ ตอนน้ร่างกายเราผ่องใสขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “ผ่องใสครับ”
ครู         “ดีนะ แสดงว่เรารักพระนิพพานจริง ๆ มีความไม่อาลัยในชีวิตจริง ๆ เรามีความสุขฉันใดขอตั้งใจแ่ผ่เมตตาให้บุคคคลอื่นบ้าง ขอให้ทุก ๆ ท่านที่มีความทุกข์ขอจงมีความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้า ตลอดจนผู้มีพระคุณก็ขอตั้งใจอุทิศให้ทั้งหมด จะเป็นบิดา มารดา เทวดาและพรหมทั้งหมด ก็ขอตั้งใจให้เช่นเดียวกัน และขอตั้งใจมาพระนิพพานเช่นเดียวกับทุกท่านมาถึงพระนิพพานแล้ว”
ครู         “เป็นไง เห็นตัวเองชัดขึ้นไหม..?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เห็นสว่างขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “สว่างครับ”
ครู         “ดูให้ทั่วสรรพางค์นะ นั่งให้สบายนะ บนที่นั่งของเรา จะดูด้านไหนก็ได้ นั่งไปก็ดูไปรอบ ๆ วิมานของเรา มีความสวยงามประการใด ทั่วบริเวณทั้งภายนอกและภายใน มีเสา เห็นเสาไหม...?”
ศิษย์        “เห็น”
ครู         “เป็นไงสูงไหม...?”
ศิษย์        “สูง”
ครู         “มีลวดลายไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “เห็นเพดานไหม มีเครื่องประดับบนเพดานไหม..?”
ศิษย์        “เห็น”
ครู         “เห็นแท่นที่ประทับขององค์สมเด็จไหม...?”
ศิษย์        “เห็น”
ครู         “เป็นไงสวยดีไหม...?”
ศิษย์        “สวย”
ครู         “เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
ศิษย์        “เป็นแก้ว”
ครู         “เอาละ ดูไว้นะ ดูให้ทั่ว ๆ เลยนะ ดูตัวเราบ้าง ดูตัวองค์สมเด็จบ้าง จิตใจก็ตั้งใจแน่นอน ว่าพระนิพพานมีความสุขอย่างนี้เราไม่ขอไปที่ไหนอีกแล้ว นอกจากพระนิพพานเท่านั้น ไม่ปรารถนาความเป็นเทวดา ไม่ปรารถนาแห่งการเป็นพรหมอีกต่อไป มนุษย์เราก็ไม่ต้องการอีกแล้ว มีพระนิพพานเท่านั้น พยายามตัดสินใจอีกนิดหนึ่ง พิจารณาดูใหดี ตัดความห่วงใยในร่างกายเสียให้ดี ร่างกายนั้นเป็นเพียงธาตุ ๔ เท่านั้น เกาะกุมคุมรูปเป็นร่างกายอยู่ ไม่ช้าไม่นานร่างกายจะต้องตาย เมื่อตายแล้วก็เน่าเปื่อยไปผุพังไป สลายตัวไป ในทีุ่สุด ไม่ยืนยงคงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ให้เป็นรูปร่างที่เราเคยเห็นอีก ไม่มีสิ่งใดเหลือเลย แม้แต่นิดเดียวนะ สลายไปกับกองไฟทั้งหมดทั้งสิ้น
            ความจริงเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้นตัดสินใจให้ดีว่าเราปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพานนะ เข้าไปกราบขอพรองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจของข้าพระพุทธเจ้ามีความรักมีความยึดมั่นในพระรัตนตรัย ถ้าปรารถนาพระนิพพานก็ขอให้จงได้สมปรารถนา”
ครู         “เห็นพระองค์ท่านไหม”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “ท่านแย้มพระโอษฐ์สักนิดไหม...?”
ศิษย์        “แย้มครับ”
ครู         “ดีมาก อยู่ใกล้ ๆ ท่านมีความสุขดีไหม...?”
ศิษย์        “ดีครับ”
ครู         “ดูเครื่องทรงของพระองค์ให้ถ้วนถี่ และชื่นชมพระบารมีของพระองค์ให้ทั่วถึง ท่านนั่งห้อยพระบาทสองข้างหรือข้างเดียว...?”
ศิษย์        “ข้างเดียว”
ครู         “ดีมาก ถูกต้องแล้วนะ ข้างขวาหรือข้างซ้าย...?”
ศิษย์        “ห้อยข้างขวา”
ครู         “ดูซินิพพานกว้างขวางไหม...?”
ศิษย์        “กว้างขวาง”
ครู         “วิมานของเราใหญ่ไหม...?”
ศิษย์        “ใหญ่ครับ”
ครู         “นี่แหละวิมานของเรา ซึ่งเราเห็นแล้วจะได้มีความภูมิใจ ต่อไปนี้จะพาไปยังวิมานขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง ขอพระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตาปรานีนำไปด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ครู         “เห็นหรือยัง...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เห็นพระองค์ท่านนั่งสูงกว่าเดิมหรือต่ำกว่าเดิม...?”
ศิษย์        “สูงครับ”
ครู         “องค์เล็กหรือองค์ใหญ่...?”
ศิษย์        “องค์ใหญ่”
ครู         “สว่างไสวขึ้นไหม...?”
ศิษย์        “สว่าง”
ครู         “ดูซิฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่าน ที่เปล่งออกมาล้อม ณ บัดนี้ เพราะว่าเป็นโอกาสที่เห็นยากทีเดียวนะ ฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่านซึ่งเปล่งเป็นประกายใสสว่างขณะนี้ ดูให้ชื่นใจนะตรงไหนมีดวงกลม ๆ มีบ้างไหม...?”
ศิษย์        “มีที่เศียรครับ”
ครู         “ดูให้ชื่นใจ ดูไปก็ตั้งใจอธิษฐานไว้เลยนะว่าพระนิพพาน ข้าพระพุทธเจ้ามีความปรารถนาแน่นอน ตอนนี้ก็ไม่ขอห่วงใยอะไรอีกแล้ว ร่างกายเราก็ไม่ขอห่วงใยใคร ๆ ก็ไม่ขอห่วงใย จิตใจสบายดีไหม...?”
ศิษย์        “สบายดีครับ”
ครู         “โปร่งดีนะ พระนิพพานมีความโปร่งอย่างนี้นะ ต่อไปจะพาไปที่วิมานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระพุทธกัสสป ขอกราบลาท่านนะ กราบขอบพระคุณท่านที่โปรดเมตตานำมาภายในเขตวิมานของพระองค์ท่าน ขอพรองค์ท่านได้โปรดนำไปยังวิมานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระพุทธกัสสปด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ครู         “ไปไหวไหม...?”
ศิษย์        “ไหวครับ”
ครู         “วิมานพระองค์ท่่านใหญ่ไหม...?”
ศิษย์        “ใหญ่ครับ”
ครู         “ใหญ่นะ เข้าไปกราบท่านนะ ขออราธนาบารมีท่าน ขอได้ช่วยโปรดเมตตาปรากฏพระรูปพระโฉมของพระองค์ท่ีานให้ผ่องใสชัดเจนด้วยนะ เห็นท่านหรือยัง...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “เป็นไง สวยไหม...?”
ศิษย์        “สวยครับ”
ครู         “เก่งมาก กราบพระคุณท่านนะ ขอชมพระบารมีท่านสักครู่หนึ่งให้อิ่มใจ สบายใจ ที่ได้มีโอกาสมากราบพระพุทธองค์ท่าน สว่างไหม รอบ ๆ พระองค์ท่าน”
ศิษย์        “สว่างไสวมาก”
ครู         “เข้าไปนั่งตรงข้างหนึ่งข้างใดซิครับ เข้าไปได้ ไม่ต้องกลัวนะ ไปอยู่ข้างหลังท่านก็ได้ มีใครแวดล้อมพระองค์ท่านไหม...?”
ศิษย์        “มี”
ครู         “กราบท่านทุกองค์นะ ท่านมีความสุขแล้ว เราถือโอกาสนี้ไปกราบท่านทุก ๆ พระองค์นะ”
ครู         “เป็นไงเห็นใครบ้างไหม...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “ไปกราบท่านอีกนะ ไม่ต้องกลัวท่านนะ เข้าไปหาท่าน เป็นไงสบายใจขึ้นอีกไหม...?”
ศิษย์        “สบายใจครับ”
ครู         “ก็เป็นที่มั่นใจแล้วนะว่า เราสามารถมาพระนิพพานได้ เราจึงสบายใจเช่นนี้ มั่นใจไหม...?”
ศิษย์        “มั่นใจครับ”
ครู         “เอาละตอนนี้ก็อยู่ใกล้ ๆ พระพุทธองค์อย่างนี้นะ อยู่ใกล้ ๆ ท่าน และทุก ๆ พระองค์ที่แวดล้อมพระองค์ท่านอยู่นะ เห็นตัวเราชัดขึ้นหรือยัง...?”
ศิษย์        “ชัดครับ”
ครู         “เห็นด้านหลังของตัวเราไหม...?”
ศิษย์        “เห็นครับ”
ครู         “มีเครื่องทรงสวยงามใช่ไหม...?”
ศิษย์        “ครับ”
ครู         “เอาละอยู่กับพระองค์ท่านก่อนนะ”

(จบคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ)