บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๔๑-๕๐..

๔๑.เรื่องกำหนดลงมาเกิด
...( นิยาโมกกันติกถา )

๔๒.เรื่อง" ประกอบด้วย
คุณธรรม " อีกข้อหนึ่ง
...(อปราปิสมันนาคตกภา )...

๔๓.เรื่องการละสัญโญชน์
ทั้งหมด
( สัพพสัญโญชนปหานกถา )

๔๔.เรื่องหลุดพ้น
...(วิมุตตกถา )

๔๕.เรื่องพระอสกขะ
คือผู้ไม่ต้องศึกษา
...( อเสกขกถา )...

๔๖.เรื่องวิปริต
...(วิปรีตกถา)...

๔๗.เรื่องทำนองธรรม
...( นิยามกถา )...

๔๘.เรื่องความแตกฉาน
(ปฏิสัมภิทากถา )

๔๙.เรื่องความรู้สมมติ
(สัมมติญาณกถา)

๕๐.เรื่องญาณมีจิต
เป็นอารมณ์
...( จิตตารัมมณกถา )...

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๔๑. เรื่องกำหนดลงมาเกิด
( นิยาโมกกันติกถา )

    ถาม : พระโพธิสัตว์มีกำหนดลงมาเกิดประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาค

   พระนามว่า กัสสปะ ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปะ หรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า พระโพธิสัตว์จะต้องมีกำหนด หรือมีธรรมดาที่จะต้องลงมาเกิด

   ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าบางพระองค์ เช่น พระกัสสปะ เพราะจับความในฆฏิการสูตรผิด

    ฝ่ายซักจึงซักว่า พระโพธิสัตว์มาเป็นสาวก และพระสาวกกลายเป็น

   พระพุทธเจ้าหรือ ? ตามความจริงพระโพธิสัตว์ในระหว่างที่บำเพ็ญบารมี อาจจะเกิดในสมัยของพระพุทธเจ้า

   พระองค์ใดก็ได้ จะออกบวชหรือไม่ก็ได้ ข้อสำคัญ คือไม่ได้ตรัสรู้บรรลุมรรคผลในสมัยที่กำลังบำเพ็ญบารมี

   นั้น ต่อมาในชาติสุดท้ายจึงได้ตรัสรู้ด้วยความสามารถในการค้นคว้าและประพฤติปฏิบัติของพระองค์เอง )

๔๒. เรื่อง " ประกอบด้วยคุณธรรม " อีกข้อหนึ่ง
( อปราปิสมันนาคตกถา )

    ถาม : บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ( ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ) ประกอบด้วยผลทั้งสาม

   ( โสดาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งหัตตผล ประกอบด้วยผัสสะ ๔ เวทนา ๔ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดทำนองเดียวกับข้อที่ ๓๗ ซึ่งกล่าวมาแล้ว เหตุผลในการซักให้จำนน

   ก็อย่างเดียวกัน ต่างแต่ในข้อนั้นกล่าวถึงพระอรหันต์ ในข้อนี้กล่าวถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค )

๔๓. เรื่องการละสัญโญชน์ทั้งหมด
( สัพพสัญโญชนปหานกถา )

    ถาม : การละสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องร้อยรัดหรือผูกมัด ) ทั้งปวง เป็นความเป็นพระอรหันต์หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : สัญโญชน์ทั้งปวง อันอรหัตตมรรคย่อมละใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า คำว่า การละสัญโญชน์ทั้งปวงได้เป็นความเป็นพระอรหัต์ ความ

   จริงพูดอีกอย่างหนึ่งก็ไม่ผิด แต่ที่ถูกคัดค้านก็เพราะในสัญโญชน์ทั้งสิบนั้น โสดาปัตติมรรคละมาแล้ว ๓

   อนาคามิมรรคละมาแล้วอีก ๒ รวมเป็น ๕ อรหัตตมรรคละอีก ๕ จึงไม่ควรกล่าวว่า อรหัตตมรรคและ

   สัญโญชน์หมดทุกข้อ เพราะความจริงข้อต้น ๆ มรรคอื่นละมาเสร็จแล้ว เรื่องนี้ดูเป็นปัญหาทางสำนวนโวหาร

   มากกว่า )

๔๔. เรื่องหลุดพ้น
( วิมุตตกถา )

    ถาม : วิมุตติญาณเป็นตัวหลุดพ้นหรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : วิมุตติญาณทุกอย่างเป็นตัวหลุดพ้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( คำว่า วิมุตติญาณ หมายความถึงญาณ ๔ ประการ คือ วิปัสสนาญาณ, มัคคญาณ, ผลญาณ, และ ปัจจเวก-

   ขณญาณ เพราะเป็นตทังควิมุติ, สมุจเฉทวิมุติ, และปฏิปัสสัทธิวิมุติโดยลำดับ ส่วนปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า

   วิมุตติญาณด้วย เพราะรู้จักวิมุติ กล่าวตามหลักวิชา ผลญาณเหล่านั้น ควรกล่าวได้ว่าเป็นตัวหลุดพ้นโดยตรง

   แต่เมื่อกล่าวคลุม ๆว่า วิมุตติญาณเป็นตัวหลุดพ้น จึงทำให้เกิดการซักไซ้ไล่เลียงขึ้น นิกายอันธกะ

   เป็นเจ้าของความคิดนี้ )

๔๕. เรื่องพระอเสกขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษา
( อเสกขกถา )

    ถาม : พระเสกขะ ( ผู้ยังศึกษา ) มีอเสกขญาณ ( ญาณที่เป็นของพระอเสกขะ ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระเสกขะย่อมรู้เห็นธรรมที่เป็นของพระอเสกขะ, เข้าถึงอยู่, ถูกต้องด้วยนามกายอยู่

   ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดว่า พระเสขะ คือพระอริยบุคคลที่ต่ำกว่าพระอรหันต์บางท่าน

   เช่น พระอานนท์ย่อมรู้ถึงพระอเสขะ คือพระอรหันต์ จึงชื่อว่ามีอเสขญาณ ฝ่ายค้านจึงต้องซักให้ยอมจำนน

   คำว่า เสขะ, เสกขะ, และอเสขะ, อเสกขะ ใช้ได้ทั้งสองแบบ มีความหมายอย่างเดียวกัน )

๔๖. เรื่องวิปริต
( วิปรีตกถา )

    ถาม : ท่านผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ( กสินกำหนดหัวข้อเพ่งที่ดิน ) ชื่อว่ามีญาณในสิ่งที่

   ผิด ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มีความเห็นผิดในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง, ในทุกข์ ว่าเป็นสุข, ในสิ่งมิใช่ตน ว่าตน, ในสิ่งที่ไม่

   งาม ว่างามเช่นนั้นหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ ความเห็นผิดว่า ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสินเป็นอารมณ์ ชื่อว่ามีความรู้ผิด เพราะเท่ากับ

   หลงยึดถือดิน แต่ตามความจริงเป็นการกำหนด สิ่งที่เป็นสมมติบัญญัติเพื่อให้ใจสงบเท่านั้น มิได้ติดหรือเห็น

   ว่า ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เป็นสิ่งที่งาม ฝ่ายค้านจึงซักค้านดังกล่าวข้างต้น )

๔๗. เรื่องทำนองธรรม
( นิยามกถา )

    ถาม : บุคคลผู้เป็นอนิยต ( คือยังเป็นบุถุชน ยังไม่แน่นอน ) มีญาณเพื่อไปสู่ทำนองธรรม ( มีญาณ

   เพื่อบรรลุมรรค ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลผู้เป็นนิยต ( พระอริยบุคคล ) มีญาณเพื่อไปสู่สิ่งที่มิใช่ทำนองธรรมใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นผิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้ว่า " บุคคลที่จักก้าวลงสู่ทำนองธรรม

   ที่ถูกต้อง จึงเป็นผู้ควรตรัสรู้ธรรมนั้นได้ " คือถือเอาประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้ว่า คนคนนี้จะบรรลุธรรม

   ที่ถูกต้องได้ คือบรรลุมรรค จึงชื่อว่าบุถุชนก็มีญาณที่จะบรรลุมรรค แต่ตามความจริงในขณะที่เป็นบุถุชนยัง

   ไม่มีญาณเช่นนั้น เวลาซักค้านจึงค้านในทางตรงกันข้ามว่า พระอริยบุคคลมีญาณย้อนกลับไปเป็นบุถุชนได้

   ทำนองเดียวกับที่บุถุชนมีญาณตรงกันข้ามกับสภาพของตนได้เช่นนั้นหรือ ? )

๔๘. เรื่องความแตกฉาน
( ปฏิสัมภิทากถา )

    ถาม : ญาณทุกอย่างเป็นปฏิสัมภิทาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ความรู้สมมติ ( รู้สิ่งที่คนนัดหมายเรียกร้องกัน เช่น รู้จักชื่อ ) เป็นปฏิสัมภิทาใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า ญาณทุกชนิดเป็นปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) เป็นโลกุตตระทั้ง

   สิ้น ฝ่ายซักจึงนำเอาความรู้สมมติ ( สมมติญาณ ) มาถามว่า เป็นโลกุตตระด้วยหรือ ? )

๔๙. เรื่องความรู้สมมติ
( สัมมติญาณกถา )

    ถาม : ไม่ควรกล่าวว่า สมมติญาณ ( ความรู้สมมติ ) มีสัจจะเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่นเป็น

   อารมณ์เลย ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ผู้ที่เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ย่อมมีญาณ และปฐวีกสิณ ย่อมจัดเข้าในสมมติสัจจะ

   ( ความจริงโดยสมมติ ) มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : หากเป็นเช่นนั้น ท่านก็ควรกล่าวว่า สมมติญาณมีสัจจะเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น

   เป็นอารมณ์เลย

   ( นิกายอันธกะ ไม่รู้จักแยกสัจจะว่า ความจริงมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. จริงตามที่นัดหมายรู้กัน

   เรียกสมมติสัจจะ ๒. จริงอย่างเนื้อหาแท้ ๆ เรียกปรมัตถสัจจะ เมื่อไม่รู้จักแยกความจริงอย่างนี้จึงกล่าวว่าไม่

   ควรกล่าวว่า ญาณที่รู้สมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ ความจริงกล่าวได้ เพราะสัจจะที่เป็น

   อารมณ์ของสมมติญาณ เป็นสมมติสัจจะ ฝ่ายค้านจึงต้อนให้เห็นจริงในข้อนี้ )

๕๐. เรื่องญาณมีจิตเป็นอารมณ์
( จิตตารัมมณกถา )

    ถาม : ญาณที่รู้จิตใจของผู้อื่น ( เจโตปริยญาณ ) มีจิตเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์

   เลย ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : มีบุคคลบางคนที่รู้ว่า จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ เป็นต้นหรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ควรกล่าวว่า ญาณที่รู้จิตใจของผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มี

   อย่างอื่นเป็นอารมณ์เลย

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นไม่รอบคอบในข้อนี้ จึงถูกซักให้เห็นว่า ญาณชนิดนี้มิใช่รู้แต่จิตอย่างเดียว

   แต่รู้ถึงราคะ โทสะ โมหะ ที่ประกอบด้วยจิตด้วย )


    '๑' . ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ ) ๓๑. ฆฏิการสูตร..สูตรว่าด้วยช่างหม้อชื่อฆฏิการะ

    '๒' . อรรถกถาใช้คำว่า วิมุตติกถา


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ