บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ
...อภิธัมมปิฎก...


 

รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙
..ข้อที่๕๑-๖๐..

๕๑.เรื่องญาณรู้อนาคต
( อนาคตญาณกถา )

๕๒.เรื่องญาณรู้ปัจจุบัน
(ปัจจุปปันนญาณกถา )

๕๓.เรื่องญาณรู้ผล
( ผลญาณกถา )

๕๔.เรื่องทำนองธรรม
...(นิยามกถา )...

๕๕.เรื่องปฏิจจสมุปบาท
( ปฏิจจสมุปปาทกถา )

๕๖.เรื่องความจริง
...(สัจจกถา)...

๕๗.เรื่องอรูป(สิ่งที่ไม่มีรูป)
...( อารุปปกถา )...

๕๘.เรื่องนิโรธสมาบัติ
(นิโรธสมาปัตติกถา )

๕๙.เรื่องอากาศ
(อากาสกถา)

๖๐.เรื่องอากาศเป็น
ของเห็นได้
(อากาโส สนิทัสสโนติกถา )

 

หัวข้อเรื่อง ๒๑๙ เป็นของนิกายไหน

๕๑. เรื่องญาณรู้อนาคต
( อนาคตญาณกถา )

    ถาม : ญาณรู้อนาคตมีอยู่มิใช่หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมรู้อนาคตโดยมูล โดยเหตุ โคยต้นเหตุ โดยกำเนิด โดยต้นกำนิด เป็นต้น ใช่

   หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดในข้อนี้ ปัญหาที่โต้แย้งมีเพียงว่า อนาคตญาณมีอยู่ แต่มิได้มีในทุก

   กรณี ฝ่ายค้านจึงซักค้านต่าง ๆ ดังข้อความข้างต้น รวมทั้งซักว่า บุคคลที่อยู่ในมรรคผลต่ำกว่า ย่อมมีญาณ

   ในมรรคผลที่สูงกว่าด้วยอย่างนั้นหรือ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดจำเป็นต้องปฏิเสธ )

๕๒. เรื่องญาณรู้ปัจจุบัน
( ปัจจุปปันนญาณกถา )

    ถาม : ญาณรู้ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : บุคคลย่อมรู้ญาณนั้น ด้วยญาณนั้นใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า ญาณรู้สิ่งที่เป็นปัจจุบันทุกชนิดมีอยู่ ฝ่ายค้านจึงซักค้านว่า บุคคล

   ย่อมใช้ญาณนั้นรู้ตัวญาณเองด้วยหรือ )

๕๓. เรื่องญาณรู้ผล
( ผลญาณกถา )

    ถาม : พระสาวกมีญาณรู้ผลใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : พระสาวกย่อมบัญญัติความที่บุคคลมีผลเป็นของตน ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า พระสาวกมีญาณรู้ผลเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า จึงถูกฝ่ายค้านซัก

   ว่า รู้อย่างบัญญัติได้ว่า ในผลชั้นเดียวกันนี้ เป็นประเภทนั้นประเภทนี้ เช่น เอกพีชี โกลังโกละ สัตตักขัต-

   ตุปรมะ อย่างนั้นหรือ ซึ่งฝ่ายเห็นผิดจำต้องปฏิเสธ )

๕๔. เรื่องทำนองธรรม
( นิยามกถา )

    ถาม : นิยามะ ( ทำนองธรรม ) เป็นอสังขตะ ( ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ทำนองธรรมนั้นเป็นปรินิพพาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า นิยามะ ( ทำนองธรรมหรือทำนองคลองธรรม ) เป็นอสังขตะ

   ความจริงนิยามะเป็นเพียงอริยมรรค จึงไม่จัดเป็นอสังขตะ )

๕๕. เรื่องปฏิจจสมุปบาท
( ปฏิจจสมุปปาทกถา )

    ถาม : ปฏิจจสมุปบาท ( การเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยเกี่ยวโยงกัน ) เป็นอสังขตะ ( ไม่มีปัจจัย

   แต่ง ) หรือ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : ปฏิจจสมุปบาทเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ และ มหิสาสกะ มีความเห็นผิดข้อนี้ จึงถูกซักให้จำนนด้วยคำถามที่ว่า

   ปฏิจจสมุปบาทเป็นนิพพานหรือ จึงเป็นอสังขตะ )

๕๖. เรื่องความจริง
( สัจจกถา )

    ถาม : อริยสัจจ์ ๔ เป็นอสังขตะ ( ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ) ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อริยสัจจ์ ๔ เป็นเครื่องต้านทาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะ, เป็นปรินิพพาน ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดว่า อริยสัจจ์ ๔ เป็นอสังขตะ จึงถูกซักว่า อริยสัจจ์ ๔ เป็น

   นิพพานหรือ )

๕๗. เรื่องอรูป ( สิ่งที่ไม่มีรูป )
( อารุปปกถา )

    ถาม : อากาสานัญจายตนะ ( อายตนะที่มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ) เป็นอสังขตะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อากาสานัญจายตนะเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายปุพพเสลิยะ มีความเห็นผิดต่อไปว่า อรูปทั้งสี่มีอากาสานัญจายตนะ เป็นต้น เป็นอสังขตะ

   เพราะบางแห่งมีคำว่า อเนญชา คือไม่หวั่นไหว ฝ่ายซักจึงซักค้านให้ยอมจำนนว่า อากาสานัญจายตะเป็นต้น

   มิใช่นิพพาน )

๕๘. เรื่องนิโรธสมาบัติ
( นิโรธสามปัตติกถา )

    ถาม : นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติชั้นสูงสุดที่ดับสัญญาและเวทนาก็จริง แต่ก็ไม่ควรกล่าวว่าเป็นสังขตะ หรือสังขตะ

   ทั้งสองอย่าง เพราะไม่มีลักษณะของสังขตะหรืออสังขตะ นี้เป็นคำอธิบายตามอรรถกถา แต่ นิกาย

   อันธกะ และ อุตตราปถกะ มีความเห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ ฝ่ายค้านจึงซักว่า เป็น

   นิพพานหรือ ? ในที่นี้ดูเหมือนทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายเห็นผิดต่างก็เห็นร่วมกันว่า นิโรธสมาบัติมิใช่นิพพาน แต่ผู้

   จัดทำหนังสือนี้เห็นว่า เป็นปัญหาที่น่าพิจารณา เพราะมีพระบาลีระบุไว้ชัดเจนว่า การที่ภิกษุเข้าสัญญาเวทยิต-

   นิโรธ เป็นนิพพาน โดยนิปปริยาย คือโดยตรง ขอให้โปรดดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ ) ๕. พระอานนท์แสดงธรรมแก่พระอุทายี

๕๙. เรื่องอากาศ
( อากาสกถา )

    ถาม : อากาศเป็นอสังขตะใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อากาศเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ เป็นอมตะหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอุตตราปถกะ และ นิกายมหิสาสกะ มีความเห็นผิดดั่งกล่าว จึงถูกซักให้ยอมรับว่า

   อากาศมิใช่นิพพาน )

๖๐. เรื่องอากาศเป็นของเห็นได้
( อากาโส สนิทัสสโนติกถา )

    ถาม : อากาศเป็นของเห็นได้ใช่หรือไม่ ?

    ตอบ : ใช่

    ถาม : อากาศเป็นรูปที่มาสู่คลองแห่งจักษุหรือ ?

    ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

   ( นิกายอันธกะ มีความเห็นผิดว่า อชฎากาศเป็นของเห็นได้ โดยยกตัวอย่างว่า เวลาอยู่ในห้องมืดมอง

   ออกมาทางช่องดาลประตู จะแลเห็นอากาศ ฝ่ายค้านจึงซักให้ยอมจำนนว่า อากาศไม่ใช่รูป ถ้าพูดแบบวิทยา-

   ศาสตร์ ก็อาจกล่าวได้ว่า ที่อ้างว่าเห็นอากาศนั้น ที่จริงเห็นแสงหรือคลื่นแสงที่สะท้อนมาจากฝุ่นละอองใน

   อากาศต่างหาก ถ้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีฝุ่นละอองเลย เช่น ในอวกาศชั้นสูง จะมองเห็นมืดไปหมด )


    '๑' . ตั้งชื่อพ้องกับข้อ ๔๗


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ