พระวิธูรบัณฑิต ๑

  

เรื่องวิธูรบัณฑิตนี้เป็นเรื่องที่   ๙
ในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ เบื้องต้นได้แสดงผล
ของการเล่นพนัน อันให้ผลไม่ดีแก่พระเจ้าธนญชัยโกรพ
โดยที่แท้แล้วการพนันไม่ให้ผลแก่ใครเลย ล้วนแต่มีข้อเสียหายทั้งนั้น
ในชาดกเรื่องต่าง ๆ ก็แสดงโทษของการพนันไว้มากมายหลายอย่าง
แม้ในมหากาพย์มหาภารตยุทธ อันเป็นประวัติศาสตร์ของทุ่งกุรุเกษตร
ก็ได้แสดงผลของการพนันไว้อย่างหาที่อื่นเทียบไม่ได้ รวมความแล้ว
การพนันไม่ให้ผลดีแก่ใครเลย มีแต่ผลเสียมากกว่า ดังในเรื่องต่อไปนี้

     พระเจ้าธนญชัยโกรพ ได้ครองราชสมบัติอยู่ในอินทปัตถ์นครแคว้นกุรุราฐ วิธูรบัณฑิตเป็นอำมาตย์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมและเป็นผู้สั่งสอนอรรทธรรมด้วย คำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ปากเป็นเอก เลขป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรานั้น” เป็นจะไม่ผิดนัก เพราะวิธูรบัณฑิตผู้นี้มีปากเป็นเอกจริง ๆ ในการสั่งสอนให้คนละชั่ว ประพฤติความดี เวลาที่เขาพูดชาวพระนครจะฟังด้วยความสงบและพอใจ

   ก่อนจะเล่าเรื่องวิธูรต่อไป ขอย้อนไปถึงความเดิมเสียก่อนว่า มีฤาษี   ๔ องค์   เดิมเป็นชาวบ้านธรรมดานี่แหละ แต่เพราะเบื่อบ้านเลยออกบวเป็นฤาษี สำเร็จโลกียฌาน เหาะเหินเดินอากาศได้เสียด้วย ฤาษีทั้ง   ๔   นี่เคยเป็นสหายกันมาตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวช ถึงบวชแล้วก็ยังเป็นสหายกันอยู่ ออกไปบำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ พอใกล้จะถึงหน้าฝน ฤาษีเหล่านั้นก็พากันเข้ามาจำพรรษา คือหลบฝนนั้นแหละในเมือง และก็บังเอิญเหลือเกินในเมืองนั้นมีคนร่ำรวย   ๔ คนเป็นเพื่อนกัน   เห็นฤาษีเหล่านั้นก็เกิดความเลื่อมใส ให้คนนิมนต์ไปพักยังสถานของตนคนละองค์ แล้งบำรุงด้วยข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่มตามสมควร ดาบสทั้ง   ๔ นั้น กลางวันก็ไปพักยังสถานที่ต่าง ๆ ตอนเย็นจึงกลับมารับนิมนต์ไว้

องค์หนึ่งกลางวันไปพักในดาวดึงส์เทวโลก
องค์หนึ่งกลางวันไปพักในเมืองบาดาล
องค์หนึ่งกลางวันในพิภพพญาครุฑ
องค์หนึ่งกลางวันไปพักในราชอุทยานของพระเจ้าธนญชัยโกรพ

    เมื่อกลับมาแล้วก็พรรณาสมบัติของพระอินทร์ พญานาค พญาครุฑ และสมบัติของพระเจ้าธนญชัยโกรพ ให้คนรวยเหล่านั้นฟัง พวกเขาเหล่านั้นฟังแล้วก้เกิดอยากได้ ทำบุญแล้วก็ปรารถนาให้ได้สมบัตินั้น ๆ   ครั้นสิ้นชีพก็ได้ไปบังเกิดในสถานที่เหล่านั้น

คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ในดาวดึงส์
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพญานาคอยู่   ณ  นาคพิภพ
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพญาครุฑอยู่   ณ  วิมานฉิมพลี
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธนญชัยโกรพ มีนามว่าโกรพกุมาร

    เมื่อโกรพกุมาร ได้ครองราชสมบัติก็ปฎิบัติตนอยู่ในโอวาทของวิธูรบัณฑิต แต่ทั้ง ๆ ท้าวเธอทรงศีลและปฎิบัติตามทศพิธราชธรรม ก็ยังปรากกฎว่าพระองค์ชอบเล่นสกามากทีเดียว การทอดสกาของพระเจ้าโกรพ ไม่มีผู้ใดจะชนะได้เลย เพราะนางเทพธิดาตนหนึ่งได้พิทักษ์รักษาท้าวเธอ คอยกลับลูกสกาที่ทอดให้ได้แต้มดี โดยคนอื่นไม่รู้ไม่เห็นเลย

    เมื่อถึงวันอุโบสถ ท้าวเธอก็สละราชสมบัติออกไปรักษาอุโบสถอยู่ในพระราชอุทยาน ถึงพระอินทร์ พญานาค และพญาครุฑ ก็มารักษาพระอุโบสถอยู่ด้วยกัน แต่ยังมิได้พบกัน เพราะต่างคนต่างก็นั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง ตอนเย็นออกจากที่นั่งเจริญสมาบัติจึงได้พบกัน พอพบกันด้วยวาสนาคบค้าชอบพอกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงเป็นเหตุให้ชอบพอกัน ต่างก็สนทนาปราศรัยกันจึงมีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างท้าวเธอทั้ง   ๔ ว่า   เราต่างคนก็ต่างละเคหะสถานออกมาถืออุโบสถอย่างนี้ ศีลของใครจะประเสริฐกว่ากัน พระพญาวรุณนาคราชกล่าวขึ้นก่อนว่า
   “ของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าของใคร”
   “เพราะอะไร”
   “ข้าพเจ้าอดทน โทโส  ได้ เพราะธรรมดานาคย่อมเป็นศัตรูทำลายล้างผลาญ เพราะฉะนั้นเมื่อข้าพเจ้าเป็นแทนที่จะโทโสข้าพเจ้ากลับข่ม ความโกรธ  เสียได้ จึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้านั้นแหละประเสริฐกว่าท่านทั้งสาม” พญาครุฑจึงว่า
   “ศีลของข้าพเจ้าสิจึงจะประเสริฐกว่าบองท่านทั้งหลาย”
   “เพราะอะไรล่ะ ?”
   “เพราะข้าพเจ้าอดกลั้น ความอยาก  ไว้ได้ ตามธรรมดาแล้วนาคเป็นอาหารอันโอชาของข้าพเจ้า ถ้าพบทีไรหมายความว่านาคต้องจะต้องไปอยู่ในท้องข้าพเจ้า แต่เพราะข้าพเจ้ารักษาศีลจึงเป็นเหตุให้อดกลั้นต่อความอดอยาก ไม่ละเมิดองค์ศีล นี่แหละจึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้าดีกว่าศีลของท่านทั้งหลาย” สมเด็จท้าวอมรินทร์ก็ตรัสขึ้นมาบ้างว่า
   “ข้าพเจ้าว่าศีลของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าท่านทั้งหลาย”
   “เพราะอะไร ?”
   “เพราะข้าพเจ้าสละทรัพย์สมบัติทิพย์ อันประกอบด้วย  กามคุณ อันได้แก่ความสนุกสนานเพลิดเพลินเสียได้ ลงมารักษาอุโบสถ จึงเห็นได้ว่าศีลของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าคนอื่น” พระเจ้าโกรพก็ตรัสบ้าง
   “แต่ข้าพเจ้าว่าศีลของข้าพเจ้าประเสริฐกว่าของพวกท่าน”
   “เพราะอะไร”
   “ก็เพราะข้าพเจ้าได้ตรองเห็นโทษของ  กามคุณ จึงได้สละออกมารักษาอุโบสถศีล ฉะนั้นข้าพเจ้ามารักษารักษาอุโบสถด้วยการพิจารณาเห็นคุณและโทษแล้ว จึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้าดีกว่าของคนอื่น”

   ต่างคนก็ต่างสรรเสริญศีลของกันและกัน แต่ก็ยังไม่ยอมให้ใคร ดีกว่า

   ขณะนั้นนั้นเอง ท้าวเธออมรินทราธิราชจึงตรัสถามพระเจ้าโกรพขึ้นว่า
   “พระราชสมภารในแว่นแคว้นนี้ไปมีผู้เป็นนักปราชญ์บ้างหรือ”
   “มีสิท่าน”
   “ใครล่ะ?”
   “วิธูรบัณฑิตของข้าพเจ้าเอง”
   “ถ้าอย่างนั้น พวกเราไปบ้านเจ้าวิธูรให้เขาตัดสินดีกว่า”

    เมื่อเห็นพร้อมกันอย่างนั้น พระเจ้าโกรพก็พาพระอินทร์ พญานาค พญาครุฑ ไปยังสำนักเจ้าวิธูร เชื้อเชิญให้เจ้าวิธูรตัดสินโดยตบแต่งที่นั่งให้ดีแล้วเชิญวิธูรขึ้นนั่ง พลางพระโกรพก็ตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดต่างรักษาอุโบสถ แต่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าศีลของใครดีกว่ากันแน่ วิธูรบัณฑิตก็ให้คนทั้ง   ๔ เล่าให้ฟัง   เมื่อได้สดับฟังแล้วก็เห็นว่าคุณธรรมทั้ง   ๔ นั้นเสมอกัน   มิได้มีใครสูงต่ำกว่ากัน จึงตรัสว่า
   “ขอเดขะ ศีลของพระองค์ทั้ง   ๔ เสมอกัน   มิได้สูงกว่ากัน”

หน้า 1   หน้า 2   หน้า 3   หน้า 4