บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๑๒


เล่มที่ ๔๕ ชื่อปัฏฐาน
....ภาคที่ ๖


 

มีหน้าเดียว


( ชื่อ ปัฏฐาน)
..ภาคที่ ๖..


 

เล่มที่ ๔๕ ชื่อปัฏฐาน ภาคที่ ๖

( เป็นอภิธัมมปิฎก )

      ( ได้กล่าวไว้แล้วในเล่มที่ ๔๐ปัฏฐาน ภาคที่ ๑ เช่นกันว่า ในเล่มที่ ๔๕ นี้ แบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อ คือ

๑. ปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธทั้งฝ่ายที่ถูกอาศัยและฝ่ายที่เกิดขึ้น๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ เกิด ๓. ปัจจนียาอนุโลมปัฏฐาน ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย ดังจะแสดงตัวอย่างให้เห็นดังต่อไปนี้ ).

๑. ปัจจนียปัฏฐาน ( ปฏิเสธทั้งฝ่ายที่ถูกอาศัยทั้งฝ่ายที่เกิดขึ้น )

      เพราะอาศัยธรรมที่ มิใช่กุศล ( น กุสลํ ธมฺมํ ) จึงเกิดธรรมที่ มิใช่กุศล เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ

๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ( ปฏิเสธเฉพาะที่เกิด )

      เพราะอาศัยธรรมที่เป็นกุศล จึงเกิดธรรมที่ มิใช่กุศล ( น กุสโล ธมฺโม ) เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ

      ( พึงสังเกตุว่า คำว่า ธรรมที่มิใช่กุศล มิใช่หมายความว่า ธรรมที่เป็นอกุศล เท่านั้น เพราะธรรมที่มิใช่กุศล อาจหมายถึงธรรมอื่น ๆ อะไรก็ได้ที่มิใช่กุศลก็แล้วกัน เช่น อัพยากตธรรม ขอยกตัวอย่าง ประกอบเช่นมิใช่สีขาว ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า สีดำ เท่านั้น จะเป็น สีแดง, สีเหลือง ก็อยู่ใน ประเภท มิใช่สีขาว ด้วย ).

๓. ปัจจนียาอนุโลมปัฏฐาน ( ปฏิเสธเฉพาะที่ถูกอาศัย )

      เพราะอาศัยธรรม ที่มิใช่กุศล จึงเกิดธรรมที่เป็นกุศล เพราะเหตุเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ

จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๕

จบพระอภิธัมมปิฎก

และ

จบ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน

          

          

          

      ขอผู้มีทุกข์                       จงพ้นทุกข์
      ขอผู้มีภัย                          จงพ้นภัย
      ขอผู้เศร้าโศก                   จงหายเศร้าโศก
      ขอจงมีความสงบสุข          โดยทั่วกันเทอญ.

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ