บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๖


เล่มที่ ๓๙ ชื่อยมก
...ภาคที่ ๒ ...


 

หน้าที่ ๑
มีหน้าเดียว

๑.จิตตยมก
ก. อุทเทส
ข. นิทเทส

๒.ธัมมยมก

๑. ปัณณัตติวาร
ก. อุทเทส
ข. นิทเทส

๒. ปวัตติวาร
ก. อุปปาทวาร
ข. นิโรธวาร
ค. อุปปาท

๓. ภาวนาวาร

๓.อินทริยมยมก

๑. ปัณณัตติวาร
ก. อุทเทส
ข. นิทเทส

๒. ปวัตติวาร

๓. ปริญญาวาร

 

เล่มที่ ๓๙ ชื่อยมก ภาคที่ ๒
เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๖ )

    ( ได้กล่าวแล้วว่า ในเล่มที่ ๓๙  นี้ มีหัวข้อแห่งยมกเพียง ๓   คือ     ๑. จิตตยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่คือจิต )     ๒. ธัมมยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม )     ๓. อินทริยยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่คืออินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน )   วิธีอธิบายทั้งสามหัวข้อไม่เหมือนกัน   ดังจะกล่าวต่อไปเมื่อถึงหัวข้อนั้น ๆ ) .

๑. จิตตยมก

ธรรมเป็นคู่คือจิต

   หัวข้อใหญ่ของจิตยมก คือ   อุทเทส หรือบทตั้ง   กับ   นิทเทส หรือบทอธิบาย   แล้วมีหัวข้อย่อยที่บทตั้ง   และคำอธิบายเกี่ยวข้องด้วย ๔ วาระ คือ     ๑. ปุคคลวาร   วาระว่าด้วยบุคคล    ๒. ธัมมวาร   วาระว่าด้วยธรรม    ๓. ปุคคลธัมมวาร   วาระว่าด้วยบุคคลและธรรม    ๔. มิสสกวาร   วาระว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส.

ก. อุทเทสหรือบทตั้ง

    ๑. ปุคคลวาร  วาระว่าด้วยบุคคล   จิตของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ   จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น     อนึ่ง  จิตของบุคคลใดจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น   จิตของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ   ฯ ล ฯ

    ๒. ธัมมวาร วาระว่าด้วยธรรม   จิตย่อมเกิดขึ้นยังไม่ดับ   จิตนั้นจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น     อนึ่ง   จิตใด   จักดับ   จักไม่เกิดขึ้น   จิตนั้นย่อมเกิดขึ้น  ยังไม่ดับ ฯ ล ฯ

    ๓. ปุคคลธัมมวาร วาระว่าด้วยบุคคลและธรรม   จิตใดของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ   จิตนั้นของบุคคลนั้นจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น     อนึ่ง   จิตใดของบุคคลใดจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น   จิตนั้นของบุคคลนั้น   ย่อมเกิด   ยังไม่ดับ .   ฯลฯ

    ๔. มิสสกวาร วาระว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส   จิตอันมีราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ;   จิตปราศจากราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ;   ฯ ล ฯ   จิตนั้น ๆ   ของผู้นั้นจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น     อนึ่ง   จิตนั้น ๆ   ของผู้ใดจักดับ   จักไม่เกิดขึ้น   จิตนั้น ๆ   ของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ  ฯ ล ฯ

ข. นิทเทส  หรือบทอธิบาย

   ๑. บทนำตั้งในปุคคลวารมาตั้งคำถามว่า   เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่   แล้วตอบว่า   ในขณะเกิดขึ้น  แห่งจิตสุดท้าย   จิตของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ ( แต่ )   จักดับ   จักไม่เกิดขึ้น.   ในขณะเกิดขึ้นแห่งจิตของบุคคลนอกนี้   จิตของเขาย่อมเกิดขึ้น   ยังไม่ดับ ( แต่ )   จักดับด้วย   จักเกิดขึ้นด้วย   ฯ ล ฯ

   ๒. บทนำตั้งในธัมมวารมาตั้งเป็นคำถามว่า   เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่   แล้วตอบว่า   ใช่   แต่ในกรณีที่ว่าจิตใดย่อมไม่เกิดขึ้น   ย่อมดับ   จิตนั้นจักไม่ดับ  จักเกิดขึ้น   ดังนี้  ตอบว่า  ไม่ใช่อย่างนั้น   และในกรณีที่ว่าจิตใด   จักไม่ดับ   จักเกิดขึ้น   จิตนั้นย่อมไม่เกิด   ( แต่ ) ย่อมดับ   ดังนี้   ตอบว่า   ไม่มี .

   ๓. นำบทตั้งในปุคคลธัมมวารมาตั้งเป็นคำตอบแล้วตอบเช่นเดียวกับในธัมมวาร.

   ๔. บทอธิบายในมิสสกวาร   มิได้ตั้งเป็นคำถามตอบ   แต่กล่าวว่า   เมื่ออธิบายถึงจิตของบุคคลใดโดยภาวะของตน   เมื่ออธิบายถึงจิตใดและจิตของบุคคลใด   โดยอรรถอันเดียวกัน   ( กล่าวย้อนไปถึงวารทั้งสามข้างต้น )   บุคคลใดมีจิตประกอบด้วยราคะ   ฯ ล ฯ   มีธรรมอันไม่มีข้าศึก   ธรรมที่เป็นคู่   ( ยมก ) ๓ ประการ   คือ   มูลยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล )   จิตตตยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่คือจิต )   ธัมมยมก   ( ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม )   ย่อมเป็นไป   จนถึงธรรมที่มีข้าศึกและไม่มีข้าศึก   ( คือเมื่อกล่าวถึงจิตของบุคคลมีราคะ   จนถึงไม่มีข้าศึก   ย่อมเข้าในลักษณะยมก ๓   ประการ )

๒. ธัมมยมก

ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม
๑. ปัณณัตติวาร   วาระว่าด้วยบัญญัติ

ก. อุทเทสหรือบทตั้ง

   กุศล   เป็นกุศลธรรม   กุศลธรรม   เป็นกุศล. อกุศล   เป็นอกุศลธรรม   เป็นอกุศล.     อัพบากฤต   เป็นอัพยากตธรรม   อัพยากตธรรม   เป็นอัพยากฤต   ฯ ล ฯ

ข. นิทเทส   หรือบทอธิบาย

   กุศล   เป็นกุศลธรรมใช่หรือไม่ ?   ใช่ .     กุศลธรรม   เป็นกุศลใช่หรือไม่ ?   ใช่.     อกุศล   เป็นอกุศลธรรมใช่หรือไม่ ?   ใช่ .     อกุศลธรรม เป็นอกุศลใช่หรือไม่   ใช่ .     อัพยากฤต   เป็นอัพยากตธรรมใช่หรือไม่ ?   ใช่.     อัพยากตธรรม   เป็นอัพยากฤติใช่หรือไม่ ?   ใช่   ฯ ล ฯ

๒. ปวัตติวาร   วาระว่าด้วยความเป็นไป

ก. อุปปาทวาร   วาระว่าด้วยความเกิดขึ้น

   กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่.     อนึ่ง   อกุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่.

   กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ในขณะเกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในอรูป   ( ซึ่งมีขันธ์ ๔ )   กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น อัพยากตธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น.   ในขณะเกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมย่อมเกิดแก่ผู้นั้น.     อนึ่ง   อัพยกตธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใดกุศลธรรมย่อมเกิดแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งจิตที่ไม่ประกอบด้วยกุศลอันเป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวงผู้กำลังเกิด   อัพยากตธรรมย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น   กุศลธรรมย่อมไม่เกิด   แต่ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕  ทั้งอัพยากตธรรมและกุศลธรรมย่อเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น.

   กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ในขณะเกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในอรูป   ( ซึ่งมีขันธ์ ๔ )   อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น   อัพยากตธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น.   ในขณะเกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น .     อนึ่ง   อัพยากตธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ในขณะเกิดขึ้นแห่งจิตที่ไม่ประกอบด้วยอกุศล   อันเป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวงผู้กำลังเกิด   อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น   อกุศลธรรมย่อมไม่เกิดขึ้น .   แต่ในขณะที่เกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งอัพยากตธรรมทั้งอกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น   ฯ ล ฯ

ข. นิโรธวาร   วาระว่าด้วยความดับ

   กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ใด อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่ .     อนึ่ง   อกุศลธรรมของผู้ใดดับ   กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่.

   กุศลธรรมของผู้ใดดับ   อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในอรูป   กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับ   อัพยากตธรรมย่อมไม่ดับ.   ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งกุศลธรรมทั้งอัพยากตธรรมย่อมดับ.     อนึ่ง  อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ   กุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ในขณะดับแห่งจิตอันไม่ประกอบด้วยกุศลที่เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง   ผู้กำลังเคลื่อน ( จุติ )   อัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ   กุศลธรรมย่อมไม่ดับ .   แต่ในขณะดับแห่งกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งอัพยากตธรรมทั้งกุศลธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ.

   กุศลธรรมของผู้ใดดับ อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในอรูป   อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับ   อัพยากตธรรมย่อมไม่ดับ   ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งอกุศลธรรมทั้งอัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับ .     อนึ่ง   อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ   อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ในขณะดับแห่งจิตอันไม่ประกอบด้วยอกุศลที่เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง   ผู้กำลังเคลื่อน ( จุติ )   อัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้นย่อมดับ   อกุศลธรรมย่อมไม่ดับ   แต่ในขณะดับแห่งอกุศลทั้งหลายในขันธ์ ๕   ทั้งอัพยากตธรรมทั้งอกุศลธรรมของสัตว์นั้นย่อมดับ   ฯ ล ฯ

ค. อุปปาทนิโรธวาร   วาระว่าด้วยความเกิดขึ้นและความดับ

   กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อกุศลธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่ .     อนึ่ง   อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ   กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่ .

   กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?  ไม่ใช่ .     อนึ่ง  อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ   กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?  ไม่ใช่ .

   กุศลธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อัพยากตธรรมของผู้นั้นย่อมดับใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่ .     อนึ่ง อัพยากตธรรมของผู้ใดดับ   อกุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ? ไม่ใช่ .

๓. ภาวนาวาร   วาระว่าด้วยการทำให้เกิด

   ผู้ใดทำกุศลธรรมทำให้เกิดขึ้น   ผู้นั้นย่อมละอกุศลธรรมได้ใช่หรือไม่ ?   ใช่ .     อนึ่ง   ผู้ใดละอกุศลธรรมได้   ผู้นั้นย่อมทำกุศลธรรมให้เกิดใช่หรือไม่ ?   ใช่ .     ผู้ใดไม่ทำกุศลธรรมให้เกิด   ผู้นั้นย่อมละอกุศลธรรมไม่ได้ใช่หรือไม่ ?   ใช่ .     อนึ่ง  ผู้ใดละอกุศลธรรมไม่ได้ ผู้นั้นย่อมทำกุศลธรรมให้เกิดไม่ได้ใช่หรือไม่ ?   ใช่   ฯ ล ฯ

๓. อินทริยยมก

( ธรรมที่เป็นคู่คืออินทรีย์ ได้แก่ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน )

๑. ปัณณัตติวาร   วาระว่าด้วยบัญญัติ

   อินทรีย์มี ๒๒   มีอินทรีย์คือตา   เป็นต้น   มีอินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมเป็นที่สุด   ( ดูรายละเอียดที่พระอภิธรรมเล่ม ๒ ) ในหัวข้อ ๕. อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์

ก. อุทเทส   หรือบทตั้ง

    ตา เป็นอินทรีย์คือตา อินทรีย์คือตา เป็นตา ;   หู   เป็นอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือหู เป็นหู ;   จมูก   เป็นอิทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือจมูก เป็นจมูก ฯ ล ฯ.

ข. นิทเทส   หรือบทอธิบาย

    ตา เป็นอินทรีย์คือตาใช่หรือไม่ ?   ตา   คือตาทิพย์   ตาปัญญา   มิใช่อินทรีย์คือตา   ส่วนอินทรีย์คือตา   เป็นตาด้วย   เป็นอินทรีย์คือตาด้วย .   อินทรีย์คือตา   เป็นตาใช่หรือไม่ ?   ใช่ .   หู   เป็นอินทรีย์คือหูใช่หรือไม่ ?   หูที่เป็นหูทิพย์   ที่เป็น   ตัณหาโสตะ   ( กระแสคือตัณหา )   ไม่ใช่อินทรีย์คือหู ส่วนอินทรีย์คือหู   เป็นหูด้วยเป็นอินทรีย์คือหูด้วย .   อินทรีย์คือหู   เป็นหูใช่หรือไม่ ?   ใช่   จมูก   เป็นอินทรีย์คือจมูกใช่หรือไม่ ?   ใช่ .   อินทรีย์คือจมูก   เป็นจมูกใช่หรือไม่ ?   ใช่   ฯ ล ฯ

๒. ปวัตติวาร   วาระว่าด้วยความเป็นไป

   อินทรีย์คือ   ตา   เกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อินทรีย์คือ   หู   ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?  ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีตา แต่ไม่มีหู   อินทรีย์คือตาย่อมเกิดขึ้น   แต่อินทรีย์คือหูย่อมไม่เกิดขึ้น.   ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งตาทั้งหูทั้งอินทรีย์คือตาอิทรีย์คือหูย่อมเกิดขึ้น .     อนึ่ง   อินทรีย์   หู   เกิดขึ้นแก่ผู้ใด   อินทรีย์คือ   ตา   ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่หรือไม่ ?   ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งหู   แต่ไม่มีตา   อินทรีย์คือหูย่อมเกิดขึ้น   แต่อินทรีย์คือตาย่อมไม่เกิดขึ้น.   ผู้กำลังเกิดเป็นสัตว์ที่มีทั้งหูทั้งตา  ทั้งอินทรีย์คือหูทั้งอินทรีย์คือตาย่อมเกิดขึ้น   ฯ ล ฯ

๓. ปริญญาวาร วาระว่าด้วยการกำหนดรู้

   ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ   ตา ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ   หู   ใช่หรือไม่ ?   ใช่     อนึ่ง   ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ   หู   ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ   ตา   ใช่หรือไม่   ? ใช่ .

   ผู้ใดกำหนดรู้อินทรีย์คือ   ตา   ผู้นั้นย่อมละได้ซึ่งอินทรีย์คือ   โทมนัส   ( ความเสียใจ )   ใช่หรือไม่ ?   ไม่ใช่ .     อนึ่ง   ผู้ใดละได้ซึ่งอินทรีย์คือ   โทมนัส   ผู้นั้นย่อมกำหนดรู้อินทรีย์คือ   ตา   ใช่หรือไม่ ?  ไม่ใช่   ฯ ล ฯ

จบพระไตรปิฎก   เล่มที่ ๓๙

'๑' . พึงสังเกตว่า   คำว่า   บุคคล   กับคำว่า  ธรรม   ในวาระทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร

'๒' . ตรงนี้เป็นการเล่นคำ   เพราะโสตะ   แปลว่า   หู   ก็ได้   แปลว่า  กระแส   ก็ได้

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ