บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๔


..เล่มที่๓๗ชื่อกถาวัตถุ
๑.มหาวรรค
๒.นิคหะ ๘
๓.นิคหะ ที่ ๘
๔.อนุโลมปัญจกะ

 

หน้าที่ ๑ เล่มที่ ๓๗ชื่อกถาวัตถุ
แผนผังเถรวาท

 

หน้าที่ ๒ ..รายละเอียด
กถาวัตถุ ๒๑๙ ข้อ

..ที่ ๑-๑๐..

..ที่ ๑๑-๒๐..

..ที่ ๒๑-๓๐..

..ที่ ๓๑-๔๐..

..ที่ ๔๑-๕๐..

..ที่ ๕๑-๖๐..

..ที่ ๖๑-๗๐..

..ที่ ๗๑-๘๐..

..ที่ ๘๑-๙๐..

..ที่ ๙๑-๑๐๐..

..ที่ ๑๐๑-๑๑๐..

..ที่ ๑๑๑-๑๒๐..

..ที่ ๑๒๑-๑๓๐..

..ที่ ๑๓๑-๑๔๐..

..ที่ ๑๔๑-๑๕๐..

..ที่ ๑๕๑-๑๖๐..

..ที่ ๑๖๑-๑๗๐..

..ที่ ๑๗๑-๑๘๐..

..ที่ ๑๘๑-๑๙๐..

..ที่ ๑๙๑-๒๐๐..

..ที่ ๒๐๑-๒๑๐..

..ที่ ๒๑๑-๒๑๙..

 

เล่มที่ ๓๗ ชื่อกถาวัตถุ

( เป็นอภิธัมมปิฎก )

     ( พระไตรปิฎกเล่มนี้ อรรถกถาเล่าว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ ๓ มีข้อความอันเป็น คำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ ).

     คำถามคำตอบนั้น มีลักษณะไปในทางไล่เลียงลัทธิต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา และแม้ในพระพุทธ ศาสนาเอง แต่ที่แตกแยกออกไปจากเถรวาท หัวข้อสำคัญที่เป็นหลักในการถามตอบมีอยู่ด้วยกัน ๒๑๙ เรื่อง ในแต่ละเรื่องมีคำ ถามคำตอบมากมาย และอรรถกถาได้อธิบายไว้ด้วยว่า หัวข้อเรื่องไหน เพื่อจะแก้ความถือผิดของลัทธิอะไร เพื่อความเข้าใจใน หัวข้อเรื่องให้เกี่ยวโยงกับลัทธินิกายต่าง ๆ ที่กถาวัตถุคัดค้าน จึงควรทราบประวัติแห่งเถรวาท ( พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ พระเถระผู้ใหญ่ได้รวบรวมทำสังคายนาแต่ครั้งที่ ๑ ) กับนิกายอื่น ๆ ที่แตกแยกออกไปอีก ๑๗ นิกาย รวมเป็น ๑๘ ทั้ง เถรวาท ภายใน ๒๐๐ ปี หลังจากพุทธปรินิพพาน

     ๑. ในร้อยปีแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนามีแบบเดียว คือตามทื่พระเถระมีพระมหา- กัสสป เป็นต้น ได้ประชุมกันทำสังคายนา คือร้อยกรองรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหมวดเป็นหมู่ โดยมีพระอานนท์ซึ่ง เป็นผู้ทรงจำพุทธวจนะอย่างดียิ่งเป็นผู้ทบทวนพระธรรม พระอุบาลีซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระ วินัย เป็นผู้ทบทวนพระวินัย แล้วสวดท่องจำกันสืบต่อมา โดยแบ่งสำนักท่องจำเป็นสำนัก ๆ ไป ช่วยกันท่องจำต่างภาคต่างตอน สั่งสอนศิษย์สืบมา คำว่า เถรวาท ซึ่งแปลว่า วาทะของพระเถระ อันเป็นชื่อของนิกายดั้งเดิม มาปรากฏเรียกขานกันเมื่อมีนิกาย อื่น ๆ แตกแยกออกไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าอย่างไหนเป็นพระพุทธศาสนาแบบไหน

     ๒. เมื่อพ้น ๑๐๐ ปีภายหลังพุทธปรินิพพานมาแล้ว พวกภิกษุวัชชีบุตร ( ลูกหลานชาวแคว้นวัชชี ) ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถือวินัยย่อหย่อนจากที่บัญญัติไว้ รวม ๑๐ ประการ พระเถระที่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงประชุมกันทำ สังคายนาครั้งที่ ๒ ชำระเรื่องที่ถือผิดนี้ ประกาศมิให้ประพฤติต่อไป ภิกษุพวกวัชชีบุตรจึงแยกไปตั้งนิกายใหม่ ชื่อมหาสังฆิกะ แปลว่า " พวกมาก "

     ๓. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากมหาสังฆิกะอีก ๒ คือ ๑. โคกุลิกะ ๒. เอกพโยหาริกะ

     ๔. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากนิกายโคกุลิกะอีก ๒ คือ ๑. ปัณณัตติวาทะ ๒. พหุลิยะ ( หรือ พหุสสุติกะ )

     ๕. ต่อมามีอีกนิกายหนึ่งชื่อเจติยวาทะ แตกแยกออกมาจากนิกายพหุลิยะ ( หรือพหุสสุติกะ ) นั้นภาย ในพุทธศักราช ๒๐๐ ปี นิกายมหาสังฆิกะแยกออกไปเป็น ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง

     ๖. เฉพาะเถรวาทก็มีนิกายแตกแยกออกไป คือในชั้นแรกแยกออกไป ๒ นิกาย คือ ๑. มหิสาสกะ ๒. วัชชีปุตตกะ

     ๗. ต่อมามีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายวัชชีปุตตกะอีก ๔ คือ ๑. ธัมมุตตริยะ ๒. ภัทรยานิกะ ๓. ฉันนาคาริกะ ๔. สมิติยะ

     ๘. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายมหิสาสกะอีก ๒ คือ ๑. สัพพัตถิกวาทะ ๒. ธัมมคุตติกะ

     ๙. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายสัพพัตถิกวาทะ คือนิกายกัสสปิกะ

     ๑๐. ต่อมานิกายกัสสปิกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสังกันติกะ

     ๑๑. ต่อมานิกายสังกันติกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสุตตวาทะ

      เป็นอันว่าเถรวาทมีนิกายย่อยแยกออกไป ๑๑ นิกาย รวม ๑๒ ทั้งเถรวาทเอง มหาสังฆิกะซึ่งแตกไปจากเถรวาทเป็นครั้งแรก มีนิกายย่อยแยกออกไป ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๘ นิกาย คือเถรวาท ฝ่ายหนึ่ง กับนิกายอื่น ๆ อีก ๑๗ นิกาย ซึ่งเรียกว่า อาจริยวาท อีกฝ่าย หนึ่ง

โปรดดูแผนผังดังต่อไปนี้ :-

( แผนผัง )

หมายเหตุ : ( มีข้อพึงสังเกตุว่า นิกายต่าง ๆ รวมทั้งสิบแปดนิกายที่กล่าวมานี้ ตกมาถึงสมัยปัจจุบัน คงมีเหลือแต่

     เพียงนิกายเดียวคือเถรวาท ส่วนนิกายอื่น ๆ เสื่อมไปทั้งหมด แม้นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นนิกายใหญ่

     ก็ไม่มีเหลืออยู่แล้ว แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า นิกายมหาสังฆิกะ ได้แปรรูปเป็นมหายานไปในที่สุด แต่ก็

     ไม่มีชื่อเดิมเหลืออยู่ ).

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ