บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑.เวชรัญชกัณฑ์

๒.ปฐมปาราชิกกัณฑ์

๓.ทุติยปาราชิกกัณฑ์

๔.ตติยปาราชิกกัณฑ์

๕.จตุตถปาราชิกกัณฑ์

๖.เตรสกัณฑ์
...๑.ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
...๒.ห้ามจับต้องกายหญิง
...๓.ห้ามพูดเกี้ยวหญิง
...๔.ห้ามพูดล่อหญิง..
...๕.ห้ามชักสื่อ
...๖.ห้ามสร้างกุฏิด้วยการขอ
...๗.ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดย..
...๘.ห้ามโจทอาบัติปราชิก..
...๙.ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติ
..๑๐.ห้ามทำสงฆ์ให้แตกกัน
..๑๑.ห้ามเป็นพรรคพวกของ..
..๑๒.ห้ามประทุษร้ายสกุล..

คฤหัสถ์ ๗ อนิยตกัณฑ์
...๑.นั่งในที่ลับตากับหญิง..
...๒.นั่งในที่ลับหูกับหญิง..

 

อนิยตกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่ว่า จะควรปรับในข้อไหน)

สิกขาบทที่ ๑
(วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเข้าไปนั่งในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลนั้น เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา ผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถุน) ก็ตาม , อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะถูกต้องกายหญิง หรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตารับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๓ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).

สิกขาบทที่ ๒
(วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง)

              เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน. พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพรภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงนั้น (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายีก็ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คืออาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับหูรับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๒ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).

              (หมายเหตุ : เรื่องของอนิยต หรือสิกขาบทอันไม่กำหนดแน่ว่าจะปรับอาบัติอย่างไร ใน ๒-๓ อย่าง ทั้งสองสิกขาบทนี้ หนักไปในทางแนะวิธีตัดสินอาบัติ แต่ก็บ่งอยู่ว่า ห้ามภิกษุนั่งในที่ลับตาก็ตาม ลับหู (แม้ไม่ลับตา) ก็ตาม กับหญิงสองต่อสอง เว้นแต่ในที่ลับตาจะมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย, แต่ในที่ลับหูหญิงหรือชายผู้รู้เดียงสานั่งเป็นเพื่อนอยู่ด้วย ก็พ้นจากความเป็นที่ลับหูไป).


๑. ที่เป็นอริยบุคคล เช่น นางวิสาขา แต่โดยใจความ หมายถึงผู้ที่พบเห็น เป็นผู้มีวาจาควรเชื่อได้เป็นหลักฐาน

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ