พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๖

   “เอวํ อคฺคิขนฺโธปมาย อตฺถีปฏิพทฺธปญฺจกามคุณปริโภคปฺ ปจฺจยํ ทุกขํ ทสฺเสตฺวา เอเตเนว อุปาเยน ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว กตมํ นุโข วรํ ยํ พลวา ปุริโส ทฬฺหาย วาลรชฺชุยา อุโภ ชงฺฆา เวเตฺวา “ํเสยฺย สา ฉวี ฉินฺเทยฺย ฉวึ เฉตฺวา จมฺมํ ฉินฺเทยฺย จมมํ เฉตฺวา มํสํ ฉินฺเทยฺย มํสํ เฉตฺวา นหารุํ ํ ฉินฺเทยฺย นหารุ ํ เฉตฺวา อฏึ ฉินฺเทยฺย อฏึ เฉตฺวา อฏิมิญฺชํ อาหจจ ติฏเยฺย ยํ วา ขตฺติยมหาสาลานํ วา พราหมณมหาสาลานํ วา คหปติ มหาสาลานํ วา อภิวาทตํ สาทิเยยฺยาติ ฯลฯ”

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในศีลนิเทศ อันมีในคัมภีร์พระวิสุทธมรรคปกรณ์ สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความว่า “ภควา” องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาแสดงซึ่งทุกข์ มีบริโภคซึ่งกามคุณทั้ง ๕ อันเนื่องในหญิงเป็นเหตุปัจจัย ด้วยอัคคิขันธรูปมาเทียบด้วยกองเพลิงดังนี้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาต่อไปว่า “ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจะสำคัญคำที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษที่มีกำลังพึงผูกพันซึ่งแข้งทั้งสองของบุคคลด้วยเชือกอันบุคคลฟันด้วยขนทรายอันมั่นมิได้ขาด แล้วพึงสีไปด้วยสามารถที่จะให้เชือกนั้นตัดเข้าไปในภายใน “สา ฉวึ ฉินฺเทยฺย” เชือกนั้นก็พึงตัดเอาผิวหนังแห่งท่านทั้งปวง เมื่อเชือกนั้นตัดเอาผิวหนังแล้ว ก็จะพึงตัดเอาซึ่งหนัง เมื่อตัดเอาหนังแล้ว ก็จะต้องพึงตัดเอาซึ่งเนื้อ เมื่อตัดเอาซึ่งเนื้อแล้ว ก็จะพึงตัดเอาซึ่งเอ็น เมื่อตัดเอาซึ่งเอ็นแล้ว ก็จะพึงตัดเอาซึ่งอัฏฐิ เมื่อตัดเอาอัฐิแล้ว ก็จะพึงตัดเอาซึ่งเยื่อกระดูกแห่งบุคคลผู้นั้น ให้บุคคลผู้นั้นได้ความทุกขเวทนา

   อนึ่งดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีศีลธรรมอันลามก ฯลฯ มีหยากเยื่อคือโทษอันบังเกิดแล้ว จะพึงยินดีซึ่งกิริยาที่ไหว้นบเคารพรักใคร่แห่งขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล และคฤหบดีมหาศาลทั้งหลายด้วยเวทนาอันใด ดังเราจะขอถาม ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนาแห่งบุคคลทั้งสองจำพวกนี้ ใครจะประเสริฐกว่ากัน

   นัยหนึ่ง “ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย “ตํ กึ มณฺญถ” ท่านทั้งปวงจะสำคัญคำที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษมีกำลังพึ่งประหารในท่ามกลางอกด้วยหอกอันแหลมคม อันโซมแล้วด้วยน้ำมัน ด้วยเวทนาอันใด

   อนึ่ง พระภิกษุศีลมีสภาวะลามก ฯลฯ มิได้เป็นสมณะปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิภาณตนว่าประพฤติพรหมจรรย์ ฯลฯ พึงยินดีซึ่งอัญชลีกรรมยกขึ้นซึ่งกระพุ่มหัตถ์นมัสการ ของขัตติยมหาศาลแลพรหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาลด้วยเวทนาอันใด ดังเราจะขอถาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งสองประการนี้ข้างไหนจะประเสริฐกว่ากัน

   นัยหนึ่ง “ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย “ตํ กึ มญฺญถ” ท่านทั้งหลายจะสำคัญที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษอันมีกำลังจะพึงนาบซึ่งกายด้วยพืดเหล็กอันไฟไหม้แล้ว อันลุกรุ่งเรือง มีประชุมเปลวอันบังเกิดแล้ว

   อนึ่ง พระภิกษุไม่มีศีล มีสภาวะลามก ฯลฯ ตนมิได้เป็นสมณะปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ตนไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิญาณตนว่าประพฤติพรหมจรรย์ พึงบริโภคนุ่งห่มจีวร อันขัตติยมหาศาลแลพรหมณมหาศาล มลคฤหบดีมหาศาลทั้งหลาย เชื่อซึ่งกรรมแลผลแล้ว แลให้ด้วยเวทนาอันใด เวทนาทั้งสองประการนี้ข้างไหนจะประเสริฐกว่ากัน

   นัยหนึ่ง “ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญคำที่เราตถาคตจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษผู้นั้นมีกำลังมีกำลังเปิดออกซึ่งปากแห่งบุคคลด้วยขอเหล็ก อันไฟไหม้แล้วร้อนจำเดิมแต่ต้น รุ่งเรืองโดยภาคทั้งปวงมีประชุมเปลวอันบังเกิดขึ้นในปากแห่งบุคคลผู้นั้น ก้อนเหล็กแดงนั้น ก็จะพึงเผาเอาฝีปาก และเผาเอาซึ่งลิ้น เผาซึ่งคอ เผาเอาซึ่งท้อง เผาเอาซึ้งไส้ใหญ่แลไส้น้อยแล้วก็พึงไหลออกไป โดยเบื้องต่ำด้วยเวทนาอันใด

   อนึ่ง พระภิกษุไม่มีศีลพึงบริโภคซึ่งบิณฑบาต อันขัตติยมหาศาลแลพราหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาลทั้งหลาย เชื่อซึ่งกรรมแลผลแล้ว แลพึงให้ด้วยเวทนาอันใด เวทนาทั้งสองนี้ ข้างไหนจะประเสริฐกว่ากัน ฯลฯ

   นัยหนึ่ง “ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจะสำคัญคำที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษมีกำลังจะจับเอาศีรษะแห่งบุคคลแล้วก็จับเอาบ่า กดศีรษะให้ลงนอนทับแลนั่งทับเตียงอันแล้วด้วยเหล็กตั่งอันแล้วด้วยเหล็กอันร้อน อันไฟไหม้จำเดิมแต่ต้นรุ่งเรืองโดยรอบคอบมีประชุมเปลวอันบังเกิดแล้วพร้อมด้วยเวทนาอันใด

   อนึ่ง พระภิกษุไม่มีศีล มีธรรมอันลามก พึงบริโภคซึ่งเตียงและตั่งอันขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล และคฤหบดีมหาศาลพึงให้ด้วยศรัทธาด้วยเวทนาอันใด ดังเราจะขอถาม เวทนาทั้งสองนี้ใครจะประเสริฐกว่ากัน ฯลฯ

   นัยหนึ่ง “ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจะสำคัญคำที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้นเป็นดังฤๅ

   “ยํ พลวา ปุริโส” บุรุษผู้มีกำลังจะกระทำบุคคลอันหาศีลมิได้ให้มีเท้าในเบื้องบนให้มีศีรษะในเบื้องต่ำ พึงซัดไปในโลหกุมภีอันร้อนอันไฟลไหมจำเดิมแต่ต้น แลรุ่งเรืองโดยรอบคอบ มีประชุมเปลวเพลิงอันลุกลามพร้อม “โส ตตฺถ เผณุเทหกํ” บุคคลที่ทุศีลนั้นก็ไหม้อยู่ในโลหกุมภี มีฟองอันตั้งขึ้นสิ้นวาระเป็นอันมาก ในกาลบางทีก็ไปในเบื้องบนในกาลบางทีก็ไปในเบื้องต่ำ บางทีก็ไปโดยขวางด้วยเวทนาอันใด

   อนึ่ง พระภิกษุที่ไม่มีศีลอยู่ในวิหาร อันขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาลทั้งหลาย เชื่อซึ่งกรรมแลผลแล้ว แลพึงให้ด้วยเวทนาอันใด เวทนาทั้งสองนี้ ใครจะประเสริฐกว่ากัน

   พระภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธบรรหาร แล้วจึงกราบทูลว่าเวทนาที่พระภิกษุทุศีล ยินดีในอภิวาทนกรรมไหว้ด้วยเอื้อเฟื้อแล้ว แลยินดีในอภิวาทอัญชลีกรรมเป็นอาทิ แห่งขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาลนั้นประเสริฐ

   องค์สมเด็จพระผู้ทรงมีพระภาค ก็ตรัสพระสัทธรรมเทศนา โทษแห่งพระภิกษุทุศีล ผู้ยินดีในอภิวาทนกรรมเป็นอาทิ แห่งขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาล แล้วแลไปบังเกิดในจตุราบายเบื้องหน้าแต่จุติจิต โดยวิสัชนาแล้วในหนหลัง

   “อิติ ภควา ทุกฺขํ ทสเสติ” องค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาพทรงแสดงทุกข์ มีกิริยาที่พระภิกษุทุศีลยินดีในอภิวาทนกรรม แลอัญชลีกรรมแลรับซึ่งจีวรแลรับซึ่งบิณฑบาต แลบริโภคซึ่งเตียงแลตั่ง แลวิหารเป็นเหตุเป็นปัจจัยด้วยวาลรัชชุปมา เปรียบด้วยเชือกอันบุคคล ฟั่นด้วยขนทราย แลหอกอันคม แลแผ่นเหล็ก แลก้อนเหล็ก แลเตียงเหล็ก แลตั่งเหล็ก แลโลหกุมภี เหตุใดเหตุดังนั้น เมื่องอค์สมเด็จพระบรมศาสดาผู้ที่เคารพของสัตว์โลก ติเตียนซึ่งพระภิกษุมีศีลอันวิบัติ จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า “ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย “อวิชฺชหโต กามสุขํ” เมื่อภิกษุมิได้สละเสียซึ่งกามสุข มีผลอันเป็นที่เดือดร้อนจะให้ถึงซึ่งทุกข์อันยิ่งกว่าทุกข์ที่จะสวมกอดเคล้าคลึงกองอัคคี ตนก็จะเป็นภิกษุมีศีลอันทำลายไม่เป็นสมณะ ความสุขจะมีแก่ภิกษุนั้นแต่ที่ดังฤๅ

   นัยหนึ่ง “อภิวาทนสาทิเยน” พระภิกษุมีศีลอันวิบัติ มีความยินดีในอภิวาทนกรรม ไหว้ด้วยเอื้อเฟื้อแห่งบุคคลทั้งหลายอันเป็นมหาศาล มีขัตติยมหาศาลเป็นประธาน เป็นส่วนที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ อันยิ่งกว่าทุกข์ที่บุคคลจะเชือดจะติดผิวหนังและมังสะ กระทั่งถึงเยื่อกระดูก ด้วยเชือกอันฟั่นด้วยขนทราย ความสุขดังฤๅจะมีแก่พระภิกษุนั้น

   อนึ่ง พระภิกษุไม่มีศีลยินดีในอัญชลีกรรม ประนมนิ้วน้อมนมัสการ การแห่งขัตติยมหาศาล แลพราหมณมหาศาล แลคฤหบดีมหาศาลอันมีศรัทธาเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งทุกข์ อันยิ่งกว่าทุกข์ที่บุคคลจะประหารด้วยหอกความสุขจะมีแก่พระภิกษุนั้นแต่ที่ดังฤๅ

   อนึ่งพระภิกษุมีศีลอันวิบัติรูปใด จะพึงเสวยซึ่งสัมผัสนุ่งห่มผ้าแผ่นเหล็ก อันรุ่งเรืองอยู่ในนรกสิ้นกาลช้านาน พระภิกษุนั้นจะมีประโยชน์ดังฤๅ ด้วยความสุขคือจะนุ่งห่มจีวร อันมหาศาลบุคคลทั้งหลายถวายด้วยศรัทธา

   อนึ่งพระภิกษุอันมีศีลวิบัติรูปใด จะพึงกลืนกินซึ่งก้อนเหล็กอันร้อนอันไฟไหม้ลุกรุ่งเรือง มีเปลวประชุมบังเกิดแล้วในนรกสิ้นกาลช้านาน เพราะเหตุบริโภคซึ่งบิณฑบาต อันขัตติยมหาศาล และพราหมณมหาศาล และคฤหบดีมหาศาล เชื่อซึ่งกรรมแลผลแล้วแลให้บิณฑบาตินั้นมีรสอร่อยเป็นที่ปรารถนา ก็มีอุปมาเหมือนยาพิษอันกินตาย จะเป็นประโยชน์ดังฤๅแก่พระภิกษุอันหาศีลมิได้นั้น

   อนึ่งเตียงแลตั่งทั้งหลาย อันแล้วด้วยเหล็กอันรุ่งเรืองเป็นที่นำมาซึ่งทุกข์ จะเบียดเบียนพระภิกษุรูปใดอันหาศีลมิได้ อันบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านนาน พระภิกษุหาศีลมิได้นั้น จะบริโภคซึ่งเตียงแลตั่ง อันตนสมมติสำคัญว่าเป็นสุข คือจะนำมาซึ่งอุบายทุกข์เพื่อประโยชน์ดังฤๅ

   “ชลิเตสุ นิวสิตพฺพ” อนึ่งพระภิกษุรูปใดหาศีลมิได้จะพึงอยู่ในท่ามกลางหม้อเหล็กอันรุ่งเรือง ความยินดีในอาสนะที่นั่งแลที่นอนในวิหารอันมหาศาลบุคคลจะพึุงให้ด้วยศรัทธา จะพึงมีแก่พระภิกษุนั้นเพื่อประโยชน์ดังฤๅ

   อันนี้องค์สมเด็จพระศาสดา ทรงติเตียนพระภิกษุมีศีลอันวิบัตินั้นว่า เป็นพระภิกษุมีมรรยาทอันตนพึงระลึกด้วยรังเกียจ เพราะเหตุว่า กายกรรมเป็นอาทิไม่บริสุทธิ์ ดุจหยากเยื่ออันบุคคลจะพึงทิ้งเสียชุ่มไปด้วยราคาทิกิเลส มีสภาวะลามกเปื่อยเน่าอยู่ภายในชีวิตแห่งภิกษุมีศีลอันวิบัติปราศจากปัญญา ตนมิได้เป็นสมณะทรงไว้ซึ่งเพศแห่งชนอันเป็นสมณะ กำจัดเสียซึ่งตนด้วยความฉิบหายแห่งศีล ชื่อว่าขุดเสียซึ่งตน ก่นเสียซึ่งตนเพราะเหตุขุดเสียซึ่งมูล คือกุศล “สีลวนฺโต สนฺโต” พระภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ ที่มีศีลทรงศีลอันบริสุทธิ์ระงับราคาทิกิเลสแล้ว ก็ย่อมจะเว้นเสียสละซึ่งภิกษุทุศีล ดุจดังว่าภิกษุทั้งหลายมีความปรารถนาจะประดับกาย ย่อมเว้นเสียซึ่งคูถแลซากศีพ “กึ ชีวิตํ ตสฺส” ชีวิตแห่งภิกษุมีศีลอันวิบัตินั้นจะเป็นประโยชน์ดังฤๅ

   “สพฺพภเยหิ อมุตฺโต” พระภิกษุทุศีลนั้นมิได้พ้นจากภัยทั้งปวง มีภัยคือตนก็จะพึงติเตียนตนเป็นอาทิ พ้นจากสุขคือกรรมพิเศษมีพระโสดามรรคเป็นประธาน มีทวารคือช่องมรรคาที่จะครรไปไปสู่สวรรค์อันทุศีลธรรมปิดเสียแล้ว มีแต่จะบ่ายหน้าขึ้นสู่มรรคที่จะไปสู่อบาย

   “กรุณาย วตฺถุภูโต” เป็นบุคคลควรจะกรุณาแห่งชนทั้งหลายอันประกอบด้วยกรุณา บุคคลดังฤๅจะเสมอด้วยภิกษุที่หาศีลมิได้ไม่มีแล้ว

   นักปราชญ์ผู้เจริญด้วยญาณคติพึงรู้ว่า องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสพระสัทธรรมเทศนา แสดงโทษแห่งภิกษุมีศีลอันวิบัติด้วยประำการเป็นอันมาก โดยนัยเป็นอาทิที่แสดงมาแล้วนี้

   อนึ่ง บัณฑิตพึงรู้ว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงอานิสงส์ศีลของพระภิกษุที่ทรงศีล โดยคำอันวิปริตจากคำอันกล่าวแล้ว

   อนึ่งพระพุทธโฆษาจารย์เจ้าผู้เป็นพุทธกตัญญู รู้พระบรมพุทธาธิบายนิพนธ์พระคาถามไว้ว่า “ตสฺส ปาสาทิกํ โหต ปตฺตจีวระารณํ” เป็นอาทิ อรรถาธิบายในบาทพระคาถานั้นว่า ศีลแห่งพระภิกษุรุปใดปราศจากมลทิน อาการที่จะทรงไว้ซึ่งบาตรแลจีวรขจองพระภิกษุ่นั้นก็เป็นที่จะนำมาซึ่งความเลื่อมใส

   อนึ่ง ศีลแห่งพระภิกษุรูปใดบริสุทธิ์ไม่มีมลทิน บรรพชาของพระภิกษุนั้น ก็เป็นบรรพชาอันประกอบด้วยผล

   อนึ่งภัยที่จะเบียดเบียนตนเป็นต้นนั้น ก็มิหยั่งลงสู่หฤทัยแห่งพระภิกษุมีศีลอันบริสุทืธิ์ ดุจดังดวงพระอาทิตย์ไม่ยังอันธการให้หยั่งลงได้ในโลกธาตุ

   พระภิกษุมีศีลอันบริสุทธิ์อยู่แล้ว ก็จะงามในศาสนาพรหมจรรย์ ดุจดังว่าปริมณฑลจันทรทิพยวิมาน อันไพโรจน์รุ่งเรืองอยู่ในคัดนาลัยประเทศอากาศ

   ใช่แต่เท่านั้น “กายคนฺโธปิ ปาโมชฺชํ” กลิ่นกายแห่งพระภิกษุอันมีศีลอันบริสุทธิ์ ก็ฟุ้งไปในที่ทวนลมแลที่ตามลม ยังปราโมทย์คือตรุณปีติให้บังเกิดแก่เทวดามนุษย์ทั้งหลาย “สีลคนฺเธ กถาวกา” จะป่วยกล่าวไปไยถึงกลิ่นศีล เมื่อพระภิกษุทรงศีลบริสุทธิ์แล้ว กลิ่นศีลของพระภิกษุนั้น ก็จคงจะครอบงำเสียซึ่งกล่ินแห่งคันธชาติทั้งปวง มีกลิ่ินจันทน์แลกลิ่นกฤษณาเป็นอาทิ ฟุ้งไปในทิศานุทิศมิได้ขัดข้องหาสิ่งจะเคียงคู่มิได้

   “อปฺปกาปิ กตา การา” ถึงว่าไทยธรรมนั้นจะน้อย ทายกมีศรัทธากระทำสักการะบูชาแก่พระภิกษุอันทรงศีลก็มีผลมาก เพราะเหตุการณ์นั้น พระภิกษุที่มีศีล ชื่อว่าเป็นภาชนะรับรองเครื่องสักการบูชา “สีลวนฺตํ น พาเธนฺติ” อนึ่งอาสวะทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นอาทิ อันยุติในทิฏฐธรรมคืออัตตภาพชาตินี้ ก็มิได้เบียดเบียนพระภิกษุผู้มีศีล พระภิกษุผู้ทรงศีลนั้น ย่อมจะขุดเสียซึ่งรากเง่าแห่งทุกข์ทั้งหลายในปรโลก สมบัติอันใดมีในมนุษย์โลกแลเทวโลกเมื่อพระภิกษุผู้มีศีลปรารถนาแล้ว จะได้สมบัตินั้นด้วยยากหามิได้

   อนึ่ง จิตของพระภิกษุที่มีศีลนั้นย่อมจะน้อมไปสู่นิพพานสมบัติ อันเป็นที่ระงับดับราคาทิกิเลสโดยแท้

   แท้จริงศีลคุณนี้เป็นมูลแห่งสมบัติทั้งปวง “อเนกาการโวการํ” บัณฑิตพึงแสดงซึ่งอานิสงส์ศีล อันเจือด้วยอาการเป็นอันมากดังนี้

  เมื่อบัณฑิตชาติแสดงซึ่งอานิสงส์ศีล ด้วยประการดังนี้แล้วก็มีจิตสะดุ้งจากศีลวิบัติ น้อมไปสู่ศีลสมบัติ คือจะยังตนให้ถึงพร้อมด้วยศีล เหตุใดเหตุดังนั้น นักปราชญ์ผู้ดำเนินด้วยญาณคติเห็นโทษแห่งวิบัติจากศีล และเห็นอานิสงส์ที่บริบูรณ์ด้วยศีล ดังเรากล่าวแล้วนี้ ก็พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา

   ข้าพระองค์มีนามชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ แสดงซึ่งศีลอันมีในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค อันองค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาคตรัสเทศนาด้วยศีลสมาธิปัญญาเป็นประธาน ในพระคาถาที่มีคำกล่าวว่า “สีเลปติฏฺาย นโร สปญโญ” เป็นอาทิ โดยลำดับพระบาลีมีประมาณเท่านี้

   “อิติ สาธุชนปามุชฺชตฺถาย” ปฐมปริจเฉทชื่อว่าศีลนิเทศ ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค อันข้าพระองค์แต่งไว้เพื่อประโยชน์จะยังสาธุชนให้ปราโมทย์ โดยสังเขปกล่าวไว้แต่เพียงนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com