พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๒ หน้า ๑๙

   อิทานิ อาหาเร ปฏิกุลสญฺญานนฺตรํ เอวํ ววตฺถานนฺติ เอวํ นิทฺทิฏสฺส จตุธาตุววตฺถานฺสฺส ภาวนานิทฺเทโส อนุปฺปตฺโต ในลำดับแห่งอาหารปฏิกูลสัญญานี้ บรรลุถึงวนานิเทศแห่งจตุธาตุววัตถานแล้ว พระผู้เป็นพระพุทธโฆษาจารย์จึงสำแดงพระจตุธาตุกรรมฐานแก้บทมาติกา คือ  เอกํ ววตฺถานํ  ที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นสืบไปในบทหน้า ววตฺถานํ  นั้นมีอรรถาธิบายว่า   สภาวรูปลกฺขณวเสน สนฺนิฏานํ อาการที่พระโยคาพจรปัญญาพิพากษาซึ่งสภาวปกติแห่งธาติ ด้วยสามารถกำหนดกฏหมายให้เห็นแจ้งในสภาวะปกติแห่งธาตุนั้น แลได้ชื่อว่าววัตถาน เมื่อกำหนดกฏหมายสิ้นทั้ง ๔ ธาตุนั้นได้ชื่อว่าจตุธาตุววัตถาน พระกรรมฐานอันนี้บางคาบเรียกว่าธาตุกรรมกรรมฐาน ด้วยอรรถว่าพระโยคาพจรผู้จำเริญพระกรรมฐานอันนี้ ย่อมมีมนสิการกำหนดกฏหมาย ในธาตุนั้นเป็นหลักเป็นประธาน อาศัยที่มนสิการในธาตุ จึงได้ชื่อว่าธาตุกรรมฐาน บางคาบพระกรรมฐานอันนี้ ท่านเรียกว่าจตุธาตุววัตถาน ด้วยอรรถว่าพระโยคาพจรเจ้ากำหนดธาตุทั้ง ๔ เป็นหลักประการ ตกว่านามบัญญัติทั้ง ๒ คือธาตุกรรมฐาน แลจตุธาตุกรรมฐานนี้ ถ้าจะว่าโดยอรรถนั้น มีอรรกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้แปลกกันหาบ่มิได้

   ตยิทํ ทฺวิธา อาคตํ   แลอาการที่กำหนดธาตุนั้น พระอาจารย์เจ้าสำแดงไว้เป็น ๒ สถาน  สงฺเขปโต  คือสำแดงโดยนัยสังเขปนั้นเป็นประการ ๑   วิตฺถารโต   คือสำแดงโดยนัยพิศดารประการ ๑   สงฺเขปโต มหาสติปฏฺาเน   พิธีจะกระทำมนสิการในพระธาตุกรรมฐานนี้ สำแดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรโดยนัยสังเขป สำแดงไว้ในมหาหัตถีปโทปมสูตรแลราหุโลวาทสูตร แลธาตุวิภังค์นั้นโดยพิศดาร ข้อซึ่งสำแดงสังเขปตามพระบาลีในมหาสติปัฏฐานนั้นว่า  เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ทกฺโข โคฆาฏโก วา โคฆาฏกนฺเตวาสี วา คาวึ วธิตฺวา จาตุมหาปเถ วิลโส วิภชุชิตฺวา นิสินฺโน อสฺส เอวเมว โข ภิกฺขเว ภิกขุ อิเม กายํ ฯลฯ  อธิบายตามพระบาลี อันสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ตรัสเทศนาในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นว่า  ภิกฺขเว  ดูกรภิกษุสงฆ์ทั้งปวง บุรุษผู้เป็นนายโคฆาตหรือเป็นอันเตวาสิกแห่งนายโคฆาต ฉลาดในการที่จะฆ่าโคขายเลี้ยงชีวิต เมื่อฆ่าลงได้แล้ว ก็เชือดเถือแล่เนื้อโคออกมาเป็นชิ้น ๆ กองไว้เป็นส่วน ๆ นั่งขายเนื้อนั้นอยู่ในประเทศทาง ๔ แพร่ง   คาวึ โปเสนฺตสฺส แรกเริ่มเดิมเมื่อเลี้ยงโคไว้นั้น นายโคฆาตก็สำคัญในใจว่าอาตมานี้เลี้ยงโคไว้

  อาฆาฏนํ อาหรนฺตสฺส  กาลเมื่อนำโคไปสู่ที่ฆ่านั้น นายโคฆาตก็สำคัญในใจว่า อาตมานี้นำโคมาสู่ที่ฆ่าถึงกาลเมื่อผูกมัดรัดโคเช้าไว้ในที่ฆ่านั้นก็ดีแล้ว กาลเมื่อฆ่าโคแล้วโคนั้นตายแล้วก็ดี ถ้ายังมิได้เชือดเนื้อ แล่เนื้อโคฆาตนั้นออกเป็นชิ้น ๆ ยังมิได้แยกออก กองไว้เป็นส่วน ๆ ตราบใดนายโคฆาตนั้นก็ยังสำคัญในใจว่าเป็นโคอยู่ตราบนั้น จิตที่สำคัญว่าโคนั้นจะได้ปราศจากสันดานหาบ่มิได้ ต่อเมื่อใดเชือดเถือแล่เนื้อโคนั้นออกเป็นชิ้น ๆ กองไว้เป็นส่วน ๆ นั่งขายเนื้อนั้น อยู่ในประเทศทาง ๔ แพร่งแล้ว กาลใดจิตที่สำคัญว่าโคนั้น ก็อันตรธานปราศจากสันดานในกาลนั้น

   มํสสญฺญา ปวตฺตติ จิตที่สำคัญว่า เนื้อนั้นประพฤติเป็นไปในสันดานแห่งนายโคฆาต ๆ จะได้ สำคัญว่าโคเหมือนอย่างหนหลังนั้น หาบ่มิได้ กาลเมื่อมหาชนทั้งมาแต่ทิศทั้ง ๔ ซื้อเนื้อได้แล้วแลนำไปนั้น นายโคฆาตก็สำคัญในใจว่า   มํสํ วิกีณานิ อาตมานี้ขายเนื้อมหาชนทั้งหลายนี้นำเอาเนื้อไป นายโคฆาตจะได้สำคัญว่าเราขายโคมหาชนชวนกันมานำเอาโคไปหาบ่มิได้ พระโยคาพจรภิกษุนี้ เมื่อยังมีจิตสันดานเป็นพาลปุถุชนอยู่แต่ก่อนนั้น บังเกิดเป็นคฤหัสถ์อยู่ก็ดี เป็นพรรพชิตแล้วก็ดี เมื่อยังมิได้จำเริญพระธาตุกรรมฐาน ยังบ่มิได้พิจารณา พรากธาตุทั้ง ๔ ให้ต่างออกเป็นแผลกตราบใด จิตที่สำคัญสัญญาว่าอาตมาเป็นสัตว์เป็นมนุษย์เป็นบุรุษเป็นบุคคลนั้น ก็ยังประพฤติเป็นไปในสันดาน ยังบ่มิได้อันตรธานจากสันดานตราบนั้นต่อเมื่อใดได้กระทำเพียรจำเริญ พระกรรมฐานพิจารณาพรากธาตุทั้ง ๔ ให้ต่างออกเป็นแผนก ๆ แยกกันออกเป็นกอง ๆ เป็นเหล่า ๆ แล้วกาลใด จิตที่สำคัญสัญญาว่า อาตมาเป็นสัตว์เป็นบุรุษเป็นบุคคลนั้น จึงอันตรธานปราศจากสันดานในกาลนั้น

  เมื่อพิจารณาเห็นร่างกายแห่งตนไม่เป็นสัตว์ไม่เป็นบุคคลแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นสำคัญลงเป็นแท้ว่าร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งธาตุทั้ง ๔ มีอุปไมยดังนายโคฆาตอันแล่เนื้อโคออกกองขายในทาง ๔ แพร่ง แลมีจิตสำคัญว่าอาตมาขายเนื้อ ชนทั้งปวงมานำเอาเนื้อไป โดยนัยอุปมาที่สำแดงมาดังนี้ อันนี้สำแดงตามพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร อันพระพุทธองค์ตรัสเทศนาโดยนัยสังเขป แต่นี้จะวิสัชนาตามพิธีที่สำแดงไว้ในมหาหัตถิปโทปมสูตรโดยนัยพิศดาร พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี สำแดงพิธีพระธาตุกรรมฐานในมหาหัตถิปโทปมสูตรโดยนัยพิศดารนั้นว่า   กตมาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวี ธาตุ ฯลฯ อชฺฌตฺติกา ปวีธาตูติ   อธิบายในพระบาลีอันพระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี สำแดงพระธรรมเทศนานั้นว่า ดูกรอาวุโส สิ่งดังฤๅได้ชื่อว่า  อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ ปฐวีธาตุภายในนั้น จะได้แก่สิ่งดังฤๅ สำแดงเป็นปุจฉาฉะนี้แล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็สำแดงวิสัชนาสืบไปว่า ดูกรอาวุโส ธรรมชาติอันใด โลกสมมติว่าบังเกิดในตน นับว่าเข้าในสันดานแห่งตนว่าอาศัยซึ่งตนแล้วแลเป็นไป มีลักษณะกระด้าง มีอาการอันหยาบ โลกทั้งปวงนับถือว่าอาตมา ว่าเป็นของแห่งอาตมา ธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่าปฐวีธาตุภายใน มิใช่อื่นใช่ไกลได้แก่อาการ ๒๐ คือ  เกสา โลมา นขา ทนฺตา  ตราบเท่าถึงกรีสเป็น ๑๙ เอามัตถุคังเพิ่มเข้าถ้วนคำรบ ๒๐ นี่แลได้ชื่อว่าปฐวีธาตุภายใน

  แลอาโปธาตุภายในนั้นจะได้แก่สิ่งดังฤๅ ดูกรอาวุโส ธรรมชาติอันใด โลกสมมติว่าบังเกิดในตน นับว่าเข้าในสันดานแห่งตนว่าอาศัยซึ่งตนแล้วแลเป็นไป มีลักษณะอันเอิบอาบซาบซึม มีอาการอันหลั่งจากกาย โลกทั้งหลายถือว่าอาตมาว่าเป็นของแห่งอาตมาธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่าอาโปธาตุภายใน มิใช่อื่นใช่ไกลได้แก่อาการ ๑๒ คือ  ปิตฺติ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ ฯลฯ ตราบเท่าถึง สิงฺฆา นิกา ลสิกา มุตฺติ นี้แลได้ชื่อว่าอาโปธาตุภายใน แลอัชฌัตติกเตโชธาตุภายในนั้น จะได้แก่สิ่งดังฤๅ วิสัชนาว่า ธรรมชาติอันใด โลกสมมติว่าบังเกิดในตน ว่านับเข้าในสันดานแห่งตน อาศัยซึ่งตนแล้วแลเป็นไปมีลักษณะอันร้อน มีอาการอันให้กระวนกระวายโลกทั้งหลายถือว่าอาตมาว่าเป็นของแห่งอาตมา ธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่าเตโชธาตุภายใน มิใช่อื่นใช่ไกลได้แก่เพลิงธาตุทั้ง ๔ คือ สันตัปปัคคี ขีรณัคคี ปริหทยัคคี ปริณามัคคี สันตัปปัคคี นั้น ได้แก่เพลิงธาตุอันกระทำให้กายอบอุ่น ขีรณัคคีนั้น ได้แก่เพลิงธาตุอันกระทำให้กายเหี่ยวแห้งคร่ำคร่า ให้จักขวาทิอินทรียวิกลวิปริต ให้ทดถอยกำลัง ให้เนื้อแลหนังหดห่อย่อย่นเป็นเกลียว ๆ ปราศจากงาม ปริหทยัคคีนั้น ได้แก่เพลิงธาตุอันกำเริบขึ้นร้อน ๆ จะทนทานบ่มิได้ร้องไห้ร่ำไร   ฑยฺหามิ ฑยฺหามิ  เร่าร้อน ๆ ปรารถนายาชโลมเป็นต้นว่า สัปปิเนยใสอันชำระได้ร้อยครั้ง แลโคสิตจันทร์อันเย็นสนิท ปรารถนาจะให้พัดให้วีด้วยใบตาลเป็นต้น

   แลปริณามัคคีนั้นได้แก่เพลิงธาตุอันเผาอาหารให้ย่อยออกเป็นอันดี ข้าวน้ำโภชนาหาร ขนมของกิน น้ำอัมพบาน น้ำผึ้งน้ำตาล น้ำอ้อยเหลวน้ำอ้อนข้น แต่บรรดา

   ที่บุคคลเราท่านทั้งปวงส้องเสพบริโภคสิ้นทั้งนั้น จะสุกเป็นอันดีจะย่อยยับเป็นอันดีนั้น อาศัยแต่เพลิงธาตุอันชื่อว่าปริณามัคคี เพลิงธาตุทั้ง ๔ นี้ แลได้ชื่อว่าอัชฌัตติกเตโชธาตุ แลอัชฌัตติกวาโยธาตุนั้น ได่แก่ธรรมชาติในโลกสมมติว่าบังเกิดในตน ว่านับเข้าอยู่ในสันดานแห่งตน ว่าอาศัยซึ่งตนแล้วแลเป็นไป มีลักษณะอันค้ำชูอวัยวะน้อยใหญ่ มีอาการอันพัดขึ้น ๆ ลง ซ่านไปในอังคาพยพทั่วสกลกายแห่งสรรพสัตว์ ๆ ถือเอาอาตมาว่าเป็นของอาตมา มิใช่อื่นใช่ไกลได้แก่ว่าโยธาตุ ๖ จำพวก คือ อุทธังคมาวาต ๑ อโธคมาวาต ๑ กุจฉิสยาวาต ๑ โกฏฐาสยาวาต ๑ อังคมังคานุสารีวาต ๑ อัสสาสะปัสสาสะวาต ๑ อุทธังคมาวาตนั้น ได้แก่วาโยธาตุอันพัดขึ้นกระทำให้เป็นโทษเป็นต้นว่าให้วิงวอน ให้รากให้เรอมีประการต่าง ๆ แลอโธคมาวาตนั้น ได้แก่วาโยธาตุอันพัดให้สำเร็จกิจเป็นต้นว่าถ่ายอุจจาระแลปัสสาวะ แลกุจฉิสยวาตนั้น ได้แก่วาโยธาตุอันพัดอยู่นอกไส้ โกฏฐสยาวาตนั้น ได้แก่วาโยธาตุอันพัดอยู่ภายในแห่งไส้ใหญ่ แลอังคมังคานุสารีวาตนั้น ได้แก่วาโยธาตุอันพัดซ่านไปตามระเบียบแห่งแถวเส้น พัดซ่านไปในอังคาพยพใหญ่น้อยทั่วสกลสรรพางค์ให้สำเร็จกิจเป็นต้นว่าคู้กายเหยีบดกายลุกนั่งยืนเที่ยว โดยควรแก่อัชฌาสัย

   อัสสาสะปัสสาสะวาตนั้น ได้แก่ลมหายใจเข้าออก สิริดิน ๒๐ น้ำ ๑๒ เพลิง ๔ ลม ๖ เข้าด้วยกัน จึงเป็นอาการในกาย ๔๒ โดยนัยพิสดารสำแดงมานี้ตามนัย อันพระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดีสำแดง พระธรรมเทศนาในหัตถิปโทปมสูตร  เอวํ ราหุโลวาเท ธาตุวิภงฺเคสุ   แลพิธีที่สำแดงพระธาตุกรรมฐานโดยนัยพิศดารมีในราหุโลวาทสูตร แลธาตุวิภังค์นั้น ก็เหมือนกันกับนัยที่สำแดงแล้วในมหาหัตถิปโทปมสูตร จะได้แปลกได้เปลี่ยนกันก็หาบ่มิได้  ติกฺขปญฺญสฺส ภิกฺขุโน  พระภิกษุผู้จำเริญพระธาตุกรรมฐานนี้ ถ้ามีปัญญาแหลมปัญญากล้าแล้ว จะพิจารณาโดยพิสดาร ว่าเกศานี้เป็นปฐวีธาตุประการ ๑ โลมาก็เป็นปฐวีธาตุประการ ๑ นขาก็เป็นปฐวีประการ ๑ จะพิจารณาโดยนัยพิสดารเป็นอาทิดังปรากฏเห็นเป็นเนิ่นช้าเพราะเหตุว่าปัญญานั้นกล้า ปัญญาเฉียบแหลมอยู่แล้ว เหตุดังนั้นพระภิกษุที่ปัญญากล้านั้นสมควรจะพิจารณาแต่โดยสังเขปว่า

   ยํ ถทฺธลกฺขณํ ธรรมชาติอันใดมีลักษณะกระด้าง ธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่าปฐวีธาตุ ยํ อาพนฺธนลกฺขณํ  ธรรมชาติอันใดมีลักษณะอันเอิบอาบซาบซึมมีอาการอันไหลหลั่ง ธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่า อาโปธาตุ  ยํ ปริปาจนลกฺขณํ ธรรมชาติอันใดกระทำให้ยับให้ย่อย ธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่า เตโชธาตุ ยํ วิตฺถมฺภลกฺขณํ  ธรรมชาติอันใดมีลักษณะอันค้ำชูอังคาพยพให้เสำเร็จดิจ ลุกนั่งยืนเที่ยวธรรมชาติอันนั้นแลได้ชื่อว่าวาโยธาตุ  เอวํ มนสิกโรโต  พระภิกษุผู้มีปัญญาแหลมปัญญากล้านั้น เมื่อกระทำมนสิการแต่โดยนัยสังเขปนี้ ก็ยิ่งอาจจะยังพระธาตุกรรมฐานให้ปรากฏแจ้งในสันดานได้  นาติติกฺขปญฺญาสุ  แลพระภิกษุที่มีปัญญามิสู้กล้าหาญนั้น เมื่อกระทำมนสิการโดยนัยสังเขปดังนี้ พระกรรมฐานยังบ่มิได้ปรากฏแจ้งยังมืดมนอนธการอยู่ก็พึงกระทำมนสิการพระธาตุกรรมฐาน โดยนัยพิศดาร เหมือนนัยที่สำแดงมาแล้วในเบื้องต้น พระกรรมฐานจึงปรากฏเป็นอันดีเปรียบภิกษุ ๒ รูปสังวัธยายบาลี ไปยาลย่อเข้าเป็นอันมาก องค์หนึ่งปัญญากล้า องค์หนึ่งปัญญามิสู้กล้า องค์ที่มีปัญญากล้านั้นสังวัธยายไปครั้ง ๑ บ้าง ๒ ครั้งบ้าง ภายหลังก็รวบรัดย่อเข้าด้วยอุบาย ไปยาลย่อเข้า ที่เหมือน ๆ กันในท่ามกลางนั้นไปยาลย่อเข้าเสีย สังวัธยายแต่ที่สุดข้างโน้นข้างนี้ สังวัธยายแต่ที่แปลก ๆ กัน อาการที่สังวัธยายนั้นจบเร็ว บาลีนั้นก็ชำนาญตลอดทั้งเบื้องต้นแลเบื้องปลาย เพราะเหตุที่มีปัญญากล้า

   ฝ่ายภิกษุองค์ที่มีปัญญามิสู้กล้านั้น สังวัธยายเรียงบทออกไปทุกบท ๆ บ่มิได้ย่อเข้า ด้วยอุบายไปยาล สังวัธยายนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เข้าใจว่าสังวัธยายโดยไปยาล สังวัธยายโดยย่อนั้นไม่พอปาก ว่าแต่ครั้ง ๑-๒ ครั้งนั้นไม่ชำนาญปาก เอามั่นเอาคงบ่มิได้ อันไม่ไปยาลเสียแล้วสังวัธยายซ้ำแล้วซ้ำเล่าเอามากเข้าว่านั้นแลบาลีชำนิชำนาญมั่นคงดีตกว่าอาการที่สังวัธยายนั้นจบเข้า จะได้เหมือนพระภิกษุที่มีปัญญากล้านั้นหาบ่มิได้ ภิกษุที่มีปัญญากล้านั้น เห็นว่าสังวัธยายซ้ำแล้วซ้ำเล่า การที่จะไปยาลเสียก็ไม่ไปยาล อย่างนี้นี่เมื่อไรจะจบ อาการที่พระภิกษุทั้ง ๒ รูปสังวัธยายบาลี มีอารมณ์มิได้ต้องกัน เพราะเหตุที่ข้างหนึ่งปัญญากล้า ข้างหนึ่งปัญญามิสู้กล้า ยถา อันนี้แลมีอุปมาฉันใด พระภิกษุผู้จำเริญพระธาตุกรรมฐานนี้ ที่มีปัญญากล้าก็ควรจะกระทำมนสิการโดยพีธีสังเขปที่มีปัญญามิสู้กล้า ก็ควรกระทำมนสิการโดยพิศดารมีอุปไมยดังพระภิกษุ ๒ รูปสังวัธยายบาลี ข้าง ๑ พอใจย่อ ข้าง ๑ พอใจพิศดาร เพราะเหตุที่มีปัญญากล้าแลมิสู้กล้าโดยนัยที่สำแดงมานี้ เหตุดังนั้นพระภิกษุผู้มีปัญญากล้า จำเริญพระธาตุกรรมฐานนั้น เมื่อเข้าไปในที่สงัดอยู่แต่ผู้เดียวแล้ว ก็พึงพิจจารณารูปกายแห่งตนโดยนัยสังเขปว่า สภาวะหยาบสภาวะกระด้างมีในกายนี้เป็นปฐวีธาตุ สภาวะเอิบอาบซาบซึมหลั่งไหล มีในกายนี้เป็นอาโปธาตุ สภาวะร้อนวะกระทำให้แก่ให้ย่อมมีในกายนี้เป็นเตโชธาตุ สภาวะค้ำชูอังคาพยพในกายนี้เป็นวาโยธาตุพิจรณาดังนี้แล้ว พึงกระทำมนสิการกำหนดกฏหมายให้เห็นว่า รูปกายแห่งตนนี้เป็นกองแห่งธาตุบ่มิได้เป็นชีวิต เมื่อกระทำกองเพียรสอดส่องส่องปัญญา พิจารณาประเภทแห่งธาตุด้วยประการฉะนี้ อุปจารสมาธิก็จะบังเกิดจะได้สำเร็จอุปจารสมาธิได้รวดเร็วบ่มิได้เนิ่นช้า จะได้สำเร็จแต่เพียงอุปจารสมาธิบ่มิอาจที่จะล่วงตลอดขึ้นไปถึงอัปปนาสมาธินั้นได้ เพราะเหตุพระธาตุกรรมฐานมีอารมณ์เป็นสภาวธรรม อธิบายว่าอารมณ์นั้นไปลงไปหาที่ยั่งที่หยุดบ่มิได้ เปรียบเหมือนแลลงไปในเหวอันลึกบ่มิได้เห็นพื้น เมื่อหยั่งอารมณ์ไปไม่มีที่ยั่งหยุดดังนี้ จิตนั้นหาที่ตั้งบ่มิได้ พระอัปปนาสมาธิจึงไม่บังเกิดในสันดานจึงได้สำเร็จอยู่แต่เพียงอุปจารสมาธิ

   นัยหนึ่งสำแดงไว้เป็นอปรนัยว่า พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี มีความปรารถนาจะสำแดงให้เห็นแจ้งว่า ธาตุทั้ง ๔ ประการนี้ใช่สัตว์จึงสำแดงธรรมเทศนาจำแนกออกซึ่งโกฏฐาส ๔ ประการว่า  อฏิญฺจ ปฏิจฺจ นหารุญฺจปฏิจฺจ สมญฺจ ปฏิจฺจ อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ  อธิบายว่าธรรมชาติอันใดได้นามบัญญัติชื่อว่ารูปนั้นอาศัยแก่โกฏฐาสทั้ง ๔ ประชุมกันคืออาศัยอัฐิประการ ๑ อาศัยแก่เส้นประการ ๑ อาศัยเนื้อประการ ๑ อาศัยหนึ่งประการ ๑ โกฏฐาสทั้ง ๔ มีอากาศแวดล้อมซ้ายขวาหน้าหลังแล้วกาลใดก็ได้ชื่อว่าเรียก ๆ ว่ารูปกาลนั้น โกฏฐาสทั้ง ๔ ซึ่งประชุมกันได้นามบัญญัติชื่อว่ารูปนั้น ถ้าพระโยคาพจรกุลบุตรมีปัญญากล้าพิจารณาเอาแต่สังเขปเท่านี้ ก็อาจจะได้สำเร็จอุปจารสมาธิมิได้เนิ่นช้า แลอาการที่จำเริญพระธาตุกรรมฐานนี้ กำหนดไว้เป็น ๔ ประการคือ สสัมภารสังเขป พิจารณาธาตุทั้ง ๔ โดยย่อเป็นต้น ปฐวีธาตุมีอาการกระด้างนั้นประการ ๑ สสัมภารวิภัตติ พิจารณาธาตุทั้ง ๓ โดยประเภทแผนกมีเกสาโลมาเป็นอาทินั้นประการ ๑ สัลลักขณสังเขปพิจาณาลักษณะแห่งธาตุโดยย่อนั้นประการ ๑ สัลลักขณวิภัตติพิจารณาลักษณะแห่งธาตุโดยแผนกนั้นประการ ๑ เป็น ๔ ประการดังนี้

   อาการที่พิจารณาโดยสสัมภารสังเขป สัลลักขณะสังเขปนั้น สมควรแก่พระโยคาพจรที่มีปัญญากล้า อาการที่พิจารณาโดยสสัมภารวิภัตติ สัลลักขณวิภัตตินั้น สมควรแก่พระโยคาพจร ที่มีปัญญามิสู้กล้า ๆ นั้นพึงเรียนซึ่งอุคคหโกศล ๗ ประการมนสิการ ๑๐ ประการ โดยนัยที่สำแดงแล้วในกายคตาสติพึงพิจารณาโดยนัยพิสดารว่า  อิเม เกสา นาม  กว่าพิจารณาเหมือนพรรณนาในพระกายคตาสติ คือพิจารณาอาการ ๓๒ นั้นโดยปฏิกูลโดยวิภาคเป็นอาทิ พระธาตุกรรมฐานนี้สำเร็จด้วยพิจารณาอาการในกายเหมือนกันกับพระกายคตาสติแปลกกันแต่ที่กำหนดจิต ในกายคตาสตินั้นกำหนดจิตว่าอาการในกายสิ้นทั้งปวงนี้มีสภาวะปฏิกูลพึงเกลียดพึงชัง   อิธ ธาตุวเสน  ในพระธาตุกรรมฐานนี้กำหนดจิตว่า อาการในกายสิ้นทั้งปวงนี้มีสภาวะเป็นปฐวีธาตุ เป็นอาโปธาตุ เป็นเตโชธาตุ วาโยธาตุ ตกว่าต่างกันด้วยกำหนดจิตฉะเมื่อพระโยคาพจรกำหนดจิต พิจารณาโดยนิยมดังพรรณนามานี้ อันว่าธาตุทั้งหลายก็จะปลายปรากฏ เมื่อธาตุทั้งหลายปรากฏแล้วพิจารณาไปเนือง ๆ ก็จะสำเร็จแก่อุปจารสมาจิตดุจกล่าวแล้วในหนหลัง

   อปิจ อนึ่งโสด พระโยคาพจรกุลบุตรผู้จำเริญจตุธาตุววัตถานภาวนานั้นพึงกระทำมนสิการในธาตุทั้ง ๔ ด้วยมนสิการอาการ ๑๓ ประการ วจตฺถโต  คือให้กระทำมนสิการโดยวิคคหะประการ ๑   กลาปโต ให้กระทำมนสิการโดยกลาปประการ ๑ จุณณโต  ให้กระทำมนสิการโดยกิริยาที่กระทำให้เป็นจุณณประการ ๑ ลกฺขณาทิโต  ให้กระทำมนสิการโดยลักษณะแลผลนั้นประการ ๑ สมุฏานโต  ให้กระทำมนสิการโดยสมุฏฐานประการ ๑   นานตฺเตกตฺตโต  ให้กระทำมนสิการโดยต่างกันแลเหมือนกันเป็นอันเดียวนั้นประการ ๑  วินิพพฺโภคา วินิพฺโภคโต   ให้กระทำมนสิการโดยกิริยาที่พรากจากกัน แลบ่มิได้พรากจากกันประการ ๑ สภาควิสภาคโต  ให้กระทำมนสิการที่เป็นสภาคแลวิสภาคประการ ๑ อชฺฌตฺติกพาหิรวิเสสโต ให้กระทำมนสิการโดยอัชฌัตติกวิเศษแลพาหิรวิเศษประการ ๑  สงฺตหโต ให้กระทำมนสิการโดยกิริยาประมวลเข้าประการ ๑   ปจฺจยโต ให้กระทำมนสิการโดยปัจจัยประการ ๑   อสมนฺนาหารโต ให้กระทำมนสิการโดยอสมันนาหารประการ ๑  ปจฺจยวิภาคโต  ให้กระทำมนสิการโดยปัจจัยวิสภาคประการ ๑ สิริเป็นมนสิการอาการ ๑๓ ประการด้วยกัน

   มนสิการอาการเป็นปฐมที่ว่า ให้กระทำมนสิการโดยวิคคหะนั้นเป็นประการใด อธิบายว่า ปฐวีธาตุนั้นมีนัยวิคคหะว่า ปฐวี ปตฺถตตฺตา ปฐวี  แปลว่าธรรมชาติอันใด ได้นามบัญญัติชื่อว่าปฐวีธาตุนั้น ด้วยอรรถว่าแข็งกระด้าง พึงรู้ให้ทั่วไปในสรรพธาตุทั้งปวงเถิด สุดแท้แต่ว่าธาตุอันใดกระด้าง มีประมาณพอหยิบขึ้นได้ด้วยมือ ธาตุสิ่งนั้นได้ชื่อว่า ปฐวีธาตุ แลเอาโปธาตุนั้นมีอรรถวิคคหะว่า อปฺโปติ อาปิยติ อปฺปายาตีติ วา อาโป   แปลว่า ธรรมชาติอันใดซึมซาบอาบเอิบไปในปฐวีธาตุเป็นอาทิ ธาตุสิ่งนั้นแลได้ชื่อว่ อาโปธาตุ แลเตโชธาตุนั้น มีอรรถวิคคหะว่า เตชยตีติ เตโช แปลว่าธาตุอันใดกระทำให้อบอุ่นเป็นไอเป็นควันบำรุงรักษาปฐวีธาตุเป็นอาทิ มิให้เปื่อยให้เน่าเผาอาหารให้ย่อย ธาตุอันนั้นได้ชื่อว่า เตโชธาตุ แลวาโยธาตุนั้น มีอรรถวิคคหะว่า วายตีติ วาโยแปลว่า ธาตุอันใดกระทำให้ไหวให้ยกมือยกเท้าให้สำเร็จอิริยาบถนั่งนอนยืนเที่ยว ธาตุอันนั้นแลได้ชื่อว่าวาโยธาตุ วิคคหะดังนี้ เรียกว่าวิเศษวิคคหะ อธิบายว่า สำแดงอรรถแห่งธาตุทั้ง ๔ นั้นให้แปลกกัน ๆ

ต่อ  


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::       :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com