พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๒
   คัมภีร์พระวิสุทธิมรรคนี้ พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าผู้รจนาตกแต่งพระคัมภีร์ ได้นำพระคาถาพระพุทธฎีกาซึ่งมีคำว่า

  “สีเล ปติฏาย นโร สปญฺโญ จิตตํ ปญฺญญฺเจ ภาวยํ อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏนฺติ” ดังนี้

  อันพระธรรมสังคาหกาจารย์ ผู้เป็นพระอรหันต์ผู้วิเศษทั้งหลายผู้รวบรวมร้อยกรองพระไตรปิฎก ตั้งแต่กระทำสังคายนามาในปฐมสังคีติกาล ได้ยกขึ้นตั้งไว้ในชฏาสูตรที่ ๓ ตติยวรรค ซึ่งเป็นวรรคคำรบ ๓ หมวดเทวดาสังยัตต์ ในคัมภีร์สังยุตตนิกายสคาถวรรคฝ่ายพระสุตตันตปิฎกมาตั้งลงเป็นหลักสูตร ในเบื้องต้นคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคขั้นต้นนี้แล้ว สังวรรณนาอรรถกถาพระวิสุทธิมรรคตามนัยแห่งคาถาพระพุทธฎีกานี้โดยพิสดาร

   แต่พระผู้เป็นเจ้าไม่ได้ประพันธ์ปณามคาถา นมัสการพระรัตนตรัยขึ้นใหม่ไว้ในต้นคัมภีร์เหมือนอย่างคัมภีร์อื่น ๆ พระผู้เป็นเจ้านำบาลีปณามเิดิมว่า “นโม ตสฺส ฯลฯ” ดังนี้มาตั้งไว้ในพระคัมภีร์บาลีปณามเดิมนี้ สำหรับนมัสการพระรัตนตรัย ใช้เริ่มต้นในสถานต่าง ๆ ซึ่งเป็นธรรมเนียมสืบมาในพระพุทธศาสนาแต่สมัยพุทธกาลช้านาน

  ข้อนี้ นักปราชญ์ในภายหลังอนุมานเห็นว่าพระพุทธโฆษาจารย์เจ้าไม่นิพนธ์ปณามคาถาขึ้นใหม่ไว้ในต้นคัมภีร์นี้ เพราะพระผู้เป็นเจ้าเป็นอติธัมมครุ ผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค หวังในคาถาพระพุทธฎีกา ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาว่าด้วยศีลสมาธิปัญญา เป็นอรรถสารบริบูรณ์ในพระคาถาบทเดียวเท่านี้ เชิดชูปรากฏอยู่ในเบื้องต้นพระคัมภีร์ไม่ให้มีสำนวนคาถาของตนอยู่เบื้องต้นปกคลุมสำนวนคาถาพระพุทธฎีกาไปดังนั้น

  และพระผู้เป็นเจ้าเห็นสมควรยิ่งนัก ที่จะแสดงคำนมัสการพระรัตนตรัยด้วยพระบาลีปณามเดิมว่า “นโม ตสฺส” เป็นต้น ไว้ในเบื้องต้นคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคนี้

  แต่นอกนั้น พระผู้เป็นเจ้าได้นิพนธ์คาถาแก้ไขข้อธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถกถา ตามนัยแห่งพระพุทธฎีกา ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคทั้งสองบั้นนี้มีอเนกประการ

  และในคัมภีร์อื่น ๆ นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้นิพนธ์ปณามคาถาไว้ต้นคัมภีร์ก็มีเป็นอเนกวิธาน มีคัมภีร์พระปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ฝ่ายพระวินัยปิฎก และคัมภีร์พระธรรมปทัฏฐกถา ในขุททกนิกาย ฝ่ายพระสุตตันตปิฎกเป็นต้น

  เพราะฉะนั้น ฉบับบาลีคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคซึ่งสืบ ๆ กันมาในประเทศสยามจึงมีแต่บาลีปณามเดิมว่า “นโม ฯลฯ” อยู่เบื้องต้นพระคัมภีร์โดยมาก ไม่พบฉบับที่มีปณามคาถาในที่แห่งหนึ่งแห่งใดเลยบัณฑิตควรพิจารณาในเหตุนี้

  ในบาลีปณามเดิมว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส” นั้น ประกอบบทแปลตามโบราณจารย์ว่า “โย ภควา” สมเด็จพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด “อุปฺปนฺโน โลเก” บังเกิดขึ้นแล้วในโลก “นโม” ข้าพระองค์ขอนอบน้อมถวายนมัสการ “อตฺถุ” ขอจงมี “ตสฺส ภควโต” แต่องค์พระผู้ทรงพระภาคพระองค์นั้นผู้บริบูรณ์ ด้วยพระบารมีธรรม และทรงจำแนกแล้ว คือพระสัทธรรมให้แก่เวไนยสัตว์ “อรหโต” พระองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส สมควรจะรับซึ่งเครื่้องสักการบูชาพิเศษของเทพามนุษย์ทั้งปวง “สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส” ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยอาการอันชอบ มิได้วิปริต เนื้อความดังนี้

  อนึ่ง คัมภีร์พระวิสุทธิมรรคบางฉบับ บูรพาจารย์เติมบาลีสังเขปปณามว่า “นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส” ซึ่งแปลว่า “นโม อตฺถุ” ขอความนอบน้อมนมัสการ ของพระองค์จงมี “รตนติตยสฺส” แก่ประชุมสามแห่งพระรัตนะ ดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com