บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๗


มากานิเขปวาร
ปัจจยวิภังควาร
อนุโลมติกปัฏฐาน

..กุสลติกะ
หมวด ๓
แห่งกุศล

..เวทนาติกะ
หมวด ๓
แห่งเวทนา

..วิปากติกะ
หมวด ๓ แห่งวิบาก

..อุปาทินนติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่ถูดยึดถือ

..สังกิลิฏฐติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

 

หน้าที่ ๑

มากานิเขปวาร
ปัจจยวิภังควาร

๑.เหตุปัจจัย
๒.อารัมมณปัจจัย
๓.อธิปติปัจจัย
๔.อนันตรปัจจัย
๕.สมนันตรปัจจัย
๖.สหชาตปัจจัย
๗.อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. ปเรชาตปัจจัย
๑๑.ปัจฉาชาตปัจจัย
๑๒. อาเสวนปัจจัย
๑๓. กัมมปัจจัย
๑๔. วิปากปัจจัย
๑๕. อาหารปัจจัย
๑๖. อินทริยปัจจัย
๑๗. ฌาณปัจจัย
๑๘. มัคคปัจจัย
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย
๒๑. อัตถิปัจจัย
๒๒. นัตถิปัจจัย
๒๓. วิตตปัจจัย
๒๔. อวิตตปัจจัย

 

หน้าที่ ๒

อนุโลมติกปัฏฐาน
..กุสลติกะ
หมวด ๓
แห่งกุศล

..เวทนาติกะ
หมวด ๓
แห่งเวทนา

..วิปากติกะ
หมวด ๓ แห่งวิบาก

..อุปาทินนติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่ถูดยึดถือ

..สังกิลิฏฐติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

 

เล่มที่ ๔๐ ชื่อยมก ภาคที่ ๑
เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๗ )
หน้า ๒

อนุโลมติกปัฏฐาน

( ปัจจัยแห่งธรรมะหมวด    ๓ กล่าวไปตามลำดับ

กุสลติกะ   หมวด ๓   แห่งกุศล

๑. ปฏิจจาร   วาระว่าด้วยการอาศัย

    ก.   อุทเทส   บทตั้ง  เพราะอาศัยกุศลธรรม   กุศลธรรมพึงเกิดขึ้น   เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี.   กุศลธรรม   อัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น   เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี   เพราะอาศัยกุศลธรรม   ทั้งกุศลธรรมและอัพยากตธรรมพึงเกิดขึ้น   เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุก็มี   ฯ ล ฯ

    ข. นิทเทส บทอธิบาย  เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑   ที่เป็นกุศล   ขันธ์ ๓   ย่อมเกิดขึ้น ( คือในขันธ์หรือส่วนที่เป็นนาม อันได้แก่   เวทนา ,   สัญญา ,  สังขาร ,   และ  วิญญาณ   ถ้าอาศัยขันธ์ใดขันธ์หนึ่งใน ๔ ขันธ์นี้   อีก ๓  ข้อที่เหลือก็เกิดขึ้น ). เพราะอาศัยขันธ์   ๓ ขันธ์   ๑ ย่อมเกิดขึ้น ( โดยทำนองเดียวกัน   ถ้าอาศัยขันธ์ ๓   ข้อใด ๆ   ก็ตาม   ขันธ์อีกข้อหนึ่งใน ๔   ข้อที่ไม่พ้องกับขันธ์ ๓   ย่อมเกิดขึ้น ).     เพราะอาศัยขันธ์ ๒   ขันธ์ ๒   ย่อมเกิดขึ้น ( อาศัยขันธ์ ๒ ข้อ   ใน ๔ ข้อ   อีก ๒   ข้อที่ไม่พ้องกันย่อมเกิดขึ้น ).

   เพราะอาศัยกุศลธรรม   อัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น  เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น .

   เพราะอาศัยกุศลธรรม ทั้งกุศลธรรมและอัพยากติธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ   คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑   ที่เป็นกุศล   ขันธ์ ๓   และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น.     เพราะอาศัยขันธ์ ๓   คือ   ขันธ์ ๑   และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น .     เพราะอาศัยขันธ์ ๒   ขันธ์ ๒   และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้น.

    (หมายเหตุ:  ทั้งบทตั้งและบทอธิบายได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง . ในอุทเทสหรือบทตั้งนั้น ถอดไว้อย่างข้างบนนี้ก็ได้ อย่างเป็นคำถามก็ได้   เช่น   ถามว่า  เพราะอาศัย ....ก็มี   ใช่หรือไม่ ?   ครั้นถึงนิทเทสหรือบทอธิบาน ก็เท่ากับเป็นคำตอบไปในตัว แต่จะสังเกตุว่า ได้มีการไม่ตอบอยู่ข้อหนึ่ง   คือข้อที่ว่า   อาศัยกุศลธรรม   เกิดอกุศลธณรมก็มีนั้น   คืออย่างไร ? เมื่อไม่มีคำตอบ   จึงทำให้บางท่านสันนิษฐานว่า   สภาพเช่นนั้นไม่มี.    แต่ก็น่าจะไม่มี   โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย   คงอยู่ในฐานะเป็นปัจจัยอย่างอื่น เช่น   อุปนิสสยปัจจัย  เพราะในอุปนิสสยปัจจัยนั้น   มีคำอธิบายไว้บางตอนว่า   “ กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ   บางชนิด   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ”   ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า   อาศัยความดี เช่น   ทาน ,   ศีล ,   สุตะ,   ปัญญา   แล้วเกิด   มานะ  ความถือตัว และ ทิฏฐิ   ความเห็นผิด หรือเกิด   ราคะ ,   โทสะ,   โมหะ   เป็นต้นได้.     บางตอนมีคำอธิบายอุปนิสสยปัจจัยไว้ว่า   “ อกุศลธรรมก่อน ๆ   เป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ บางชนิด   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ”   ซึ่งอรรถกถายกตัวอย่างว่า อาศัย   ราคะ  ก็มีการ   ให้ทาน   รักษาศีล   รักษาอุโบสถ   ทำฌาน   ทำวิปัสสนา   ทำมรรค   ทำอภิญญา ทำสมาบัติ   ให้เกิดขึ้น.     ตกลงว่า   ราคะ   โทสะ   โมหะ   มานะ   ทิฏฐิ   และ   ปัตถนา   ( ความปรารถนา ) เป็นปัจจัย   โดยฐานะอุปนิสสยปัจจัยแห่งศรัทธา   ศีล   สุตะ   จาคะ   ปัญญาก็มี   หรือบางคนฆ่าสัตว์แล้วพยายามให้ทานแก้ตัวก็มี .     แต่คำอธิบายและตัวอย่างดังกล่าวมานี้ พบเฉพาะในอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น ).

๒. สหชาตวาร   วาระว่าด้วยธรรมที่เกิดร่วมกัน

   เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมที่เกิดร่วมกันย่อมเกิดขึ้น   เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ.   ( คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑   เกิดขึ้น ๓   เป็นต้น   เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).

๓. ปัจจยวาร  วาระว่าด้วยปัจจัย คือเครื่องสนับสนุน

   เพราะกุศลธรรมเป็นปัจจัย กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น   เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ.   คำอธิบายเรื่องอาศัยขันธ์ ๑   เกิดขันธ์ ๓   เป็นต้น  เหมือนปฏิจจวารข้างต้น ).

   

๔. นิสสยวาร  วาระว่าด้วยธรรมเป็นที่อาศัย

   เพราะอาศัยกุศลธรรม กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ .   ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น).

๕. สังสัฏฐวาร วาระว่าด้วยธรรมที่ระคนกัน

   เพราะอาศัยกุศลธรรม   กุศลธรรมที่ระคนกันย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).

๖. สัมปยุตตวาร  วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน

   เพราะอาศัยกุศลธรรม   กุศลธรรมที่ประกอบกัน   ( เกิดพร้อมกัน   ดับพร้อมกัน   มีอารมณ์และวัตถุอันเดียวกัน )   ย่อมเกิดขึ้น เพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ .   ( คำอธิบายเหมือนข้างต้น ).

๗. ปัญหาวาร  วาระว่าด้วยคำถาม

   หัวข้อวาระนี้น่าจะใช้คำว่า  วาระว่าด้วยการตอบปัญหา   กล่าวคือไม่มีคำถามปรากฏ มีแต่คำตอบอรรถกถาอธิบาย   คำตอบบ่งถึงคำถามอยู่แล้ว ).

    กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งกุศลธรรม   โดยฐานะเหตุปัจจัย   คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ คือเหตุที่เป็นกุศล ,   เป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่ประกอบกัน   ( สัมปยุตตขันธ์   ขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน  ดับพร้อมกัน )  โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย .

   กุศลธรรมเป็นปัจจัยแห่งอัพยากตธรรม   โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย   คือเหตุที่เป็นกุศล คือเหตุที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน   โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย.

   กุศลธรรมเป็นปัจจัยที้งของกุศลธรรมและอัพยากตธรรม   โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย คือเหตุที่เป็นกุศล   เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์   และแห่งรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานในฐานะเป็นเหตุปัจจัย   ฯ ล ฯ

เวทนาติกะ   หมวด ๓   แห่งเวทนา

๑. ปฏิจจาร  วาระว่าด้วยการอาศัย

   อาศัยธรรมที่สัมปยุตตด้วยสุขเวทนา   เกิดธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา   เพราะเหตุปัจจัย   คือเพราะเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ.     อาศัยขันธ์ ๑   ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา   เกิดขันธ์ ๒ ,   อาศัยขันธ์ ๒ ,   เกิดขันธ์ ๑ ,   ในขณะแห่งปฏิสนธิอาศัยขันธ์ ๑   ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา   เกิดขันธ์ ๒ ,   อาศัยขันธ์ ๒   เกิดขันธ์ ๑ .

    ( ข้อนี้อรรถกถามิได้อธิบายไว้ ผู้เขียนขออธิบายตามความเห็นส่วนตัว คือในเรื่องนี้ เมื่อกันเวทนาออกมา ในฐานะที่ถูกสัมปยุต จึงเหลือขันธ์  อยู่เพียง ๓ คือ   สัญญา ,  สังขาร ,   และ   วิญญาณ.     คำว่าอาศัยขันธ์ ๑   ที่สัมปยุตด้วยเวทนา   เช่น   อาศัยวิญญาณขันธ์ เกิดขันธ์ ๒ คือเกิดสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์.     คำว่า   อาศัยขันธ์ ๒   เกิดขึ้น ๑   เช่น  อาศัยสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์   เกิดวิญญาณขันธ์ ).

๒. สัมปยุตตวาร  วาระว่าด้วยธรรมที่ประกอบกัน

   ความจริงแบ่งวาระได้เช่นเดียวกับ   กุสสติกะ   คือ   ๗ วาระ  แต่ลีลาในการอธิบายคล้าย ๆ กัน ท่านจึงรวบรัดด้วยเครื่องหมายเปยยาล   หรือ   ฯ เป ฯ   อันเท่ากับ   ฯลฯ   แล้วกล่าวถึงสัมปยุตตวารอย่างย่อ ๆ ).

   อาศัยธรรมที่สัมปยุต     ( เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน )   ด้วยสุขเวทนา   เกิดสัมปยุตตธรรม   คือสัมปยุตด้วยสุขเวทนา   เพราะเหตุปัจจัย   คือเพราะอาศัยขันธ์ ๑   ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา   เกิดขันธ์ ๒   ที่สัมปยุต ,   อาศัยขันธ์ ๒   เกิดขันธ์ ๑   ที่สัมปยุต.

๓. ปัญหาวาร  วาระว่าด้วยคำถาม

   ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ   คือเหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย.     ในขณะแห่งปฏิสนธิ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเสทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตขันธ์โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัย ฯล ฯ

วิปากติกะ   หมวด ๓   แห่งวิบาก

๑. ปฏิจจวาร   วาระว่าด้วยการอาศัย

   อาศัยธรรมที่เป็นวิบาก   ธรรมที่เป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น   เพราะอาศัยเหตุปัจจัย   คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ   ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑   ขันธ์ ๓   ทำนองเดียวกับ   กุสสติกะ  ).

   วาระอื่น ๆ   เช่น   สหชาตวาร ,   ปัจจยวาร ,   นิสสยวาร   เป็นต้น   ก็แบบเดียวกับ   กุสสติกะ   ที่กล่าวมาแล้ว ).

อุปาทินนติกะ   หมวด ๓   แห่งธรรมที่ถูกยึดถือ

๑. ปฏิจจวาร   วาระว่าด้วยการอาศัย

   อาศัยธรรมที่ถูกยึดถือ   และเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ   เกิดธรรมที่ถูกยึดถือ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ   เพราะเหตุปัจจัย   คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ .     ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑  ขันธ์ ๓   ทำนองเดียวกับ   กุสสติกะ  )

   วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว).

สังกิลิฏฐติกะ   หมวด ๓   แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

๑. ปฏิจจวาร   วาระว่าด้วยการอาศัย

   อาศัยธรรมที่เศร้าหมอง   และเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง   เกิดธรรมที่เศร้าหมอง   และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง   เพราะเหตุปัจจัย   คือเพราะเครื่องสนับสนุนเป็นเหตุ   ( ต่อจากนั้นพูดถึงเรื่องขันธ์ ๑   ขันธ์ ๓   ทำนองเดียวกับ   กุสสติกะ  ).

   วาระอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว ).

จบพระไตรปิฏก   เล่มที่ ๔๐

'๑' . คำว่า   หมวด ๓   หมายถึงธรรมะ ๒๒ หมวด   หมวดละ ๓  รวม ๖๖ โปรดดูที่พระอภิธรรม   เล่ม ๑   หน้า ๑ ตั้งแต่ ๑. แม่บท  (๑) ธรรมที่เป็นกุศลถึงข้อ  ๒๒. ธรรมที่เห็นได้และถูกต้อง และต่อไปนี้จะกล่าวเฉพาะหมด ๓ แรก   ที่เรียกว่า   กุสสติกะ  ก่อน

'๒' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓   ลำดับที่ ๒  โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๒ เช่นเดียวกัน

'๓' . รูปขันธ์ไม่เกี่ยว   เพราะมิใช่นาม

'๔' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓  ลำดับที่ ๓   โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๓ เช่นเดียวกัน

'๕' . หมายถึงธรรมะหมวด ๓   ลำดับที่ ๔   โปรดดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๔ เช่นเดียวกัน

'๖' . ดูที่พระอภิธรรมเล่ม ๑ ลำดับที่ ๕ เช่นเดียวกัน

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ