บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๗


มากานิเขปวาร
ปัจจยวิภังควาร
อนุโลมติกปัฏฐาน

..กุสลติกะ
หมวด ๓
แห่งกุศล

..เวทนาติกะ
หมวด ๓
แห่งเวทนา

..วิปากติกะ
หมวด ๓ แห่งวิบาก

..อุปาทินนติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่ถูดยึดถือ

..สังกิลิฏฐติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

 

หน้าที่ ๑

มากานิเขปวาร
ปัจจยวิภังควาร

๑.เหตุปัจจัย
๒.อารัมมณปัจจัย
๓.อธิปติปัจจัย
๔.อนันตรปัจจัย
๕.สมนันตรปัจจัย
๖.สหชาตปัจจัย
๗.อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. ปเรชาตปัจจัย
๑๑.ปัจฉาชาตปัจจัย
๑๒. อาเสวนปัจจัย
๑๓. กัมมปัจจัย
๑๔. วิปากปัจจัย
๑๕. อาหารปัจจัย
๑๖. อินทริยปัจจัย
๑๗. ฌาณปัจจัย
๑๘. มัคคปัจจัย
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย
๒๑. อัตถิปัจจัย
๒๒. นัตถิปัจจัย
๒๓. วิตตปัจจัย
๒๔. อวิตตปัจจัย

 

หน้าที่ ๒

อนุโลมติกปัฏฐาน
..กุสลติกะ
หมวด ๓
แห่งกุศล

..เวทนาติกะ
หมวด ๓
แห่งเวทนา

..วิปากติกะ
หมวด ๓ แห่งวิบาก

..อุปาทินนติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่ถูดยึดถือ

..สังกิลิฏฐติกะ
หมวด ๓
แห่งธรรมที่เศร้าหมอง

 

เล่มที่ ๔๐ ชื่อยมก ภาคที่ ๑
เป็นอภิธัมมปิฎก ( เล่ม ๗ )
หน้า ๑

   คำว่า ปัฏฐาน   เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ ๗   แห่งอภิธัมมปิฎก   โปรดย้อนไปดูคำอธิบายอีกครั้งหนึ่ง  ( ในข้อ ๗   แห่งอภิธัมมปิฎก )

    คัมภีร์ปัฏฐานที่พิมพ์ในฉบับไทยมี ๖   ตั้งแต่เล่มที่   ๔๐   ถึงเล่มที่ ๔๕   คือ   เล่มที่ ๔๐   ว่าด้วยอนุโลมติกปัฏฐาน   ได้แก่ปัจจัยอันเกี่ยวกับธรรม   ๓ อย่าง   คือ   กุศลธรรม ๓ อย่าง ,   เวทนา ๓ อย่าง ,   วิบาก ๓ อย่าง ,   อุปาทินนะ ๓ อย่าง ,   สังกิลิฏฐะ ๓ อย่าง   ( คือพูดถึงปัฏฐานแห่งธรรมใน   คัมภีร์ธัมมสังคณี    ( ดูข้อ(๑) ธรรมที่เป็นกุศล   ถึง  (๕) ธรรมที่เศร้าหมอง )

    เล่มที่ ๔๑   เป็นตอนที่ ๒     วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐาน ต่อมาจากเล่มที่ ๔๐   คืออธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๓   อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่ข้อ ๖  ถึงข้อ ๒๒ .      ( ดูข้อ(๖)  ธรรมที่มีวิตก ถึง  (๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้ )

    เล่มที่ ๔๒   เป็นตอนที่ ๓     วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนต้น อธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒  อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี ตั้งแต่แม่บทที่ ๒  เหตุโคจฉกะ ถึงแม่บทที่ ๑๐  ปรามาสโคสฉกะ.    ( ดูข้อ  ๒. แม่บท   ถึง   ๑๐. แม่บท )

    เล่มที่ ๔๓   เป็นตอนที่ ๔     วาระว่าด้วยอนุโมติกปัฏฐานตอนปลาย    อธิบายถึงปัจจัยแห่งหัวข้อธรรม ๒   อย่างในคัมภีร์ธัมมสังคณี  ตั้งแต่แม่บทที่ ๑๑  มหันตรทุกะ  ถึงแม่บทที่ ๑๔  ปิฏฐิทุกะ    ( ดูข้อ  ๑๑. แม่บท   ถึง   ๑๔. แม่บท )

    เล่มที่ ๔๔   เป็นตอนที่ ๕     วาระว่าด้วยธรรมหมวด ๒   หมวด ๓   ผสมกัน ,   ธรรมหมวด ๓   หมวด ๒   ผสมกัน ,   ธรรมหมวด ๓   หมวด ๓   ผสมกัน , ธรรมหมวด ๒   หมวด ๒   ผสมกัน    แต่ก็คงใช้ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นบทตั้งเช่นเดิม.

    เล่มที่ ๔๕   เป็นตอนที่ ๖     วาระว่าด้วยหัวข้อสำคัญ   ๓ ประการ คือ     ๑.ปัจจนียปัฏฐาน   ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัยโดยปฏิเสธข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี คือนำข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งแล้วปฏิเสธว่า อาศัยธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ   ธรรมที่มิใช่ข้อนั้น ๆ   ก็เกิดขึ้น     ๒. อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน   ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี แต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นธรรมมิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น อาศัยธรรมเกิดธรรมที่มิใช่กุศล     ๓. ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน   ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัย โดยอาศัยธรรมที่มิใช่ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี   แต่เกิดธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณี เช่น   อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล เกิดอกุศลธรรม ,   อาศัยธรรมอันมิใช่กุศล   เกิดอัพยากตธรรม.   ข้อสังเกตง่าย ๆ คือ   ปัจจนียปัฏฐาน   ปฏิเสธทั้งสองฝ่ายที่ถูกอาศัย   ทั้งฝ่ายที่เกิดขึ้น ,   อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน   ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เกิด ,   ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน   ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย.

   เมื่อพิจารณาดูโดยสังเขปเช่นนี้แล้ว   ก็พอเข้าใจได้ว่า   คัมภีร์ปัฏฐานแสดงถึงปัจจัย ๒๔   ชนิด   ตามเนื้อหาว่าเป็นปัจจัยในลักษณะไหน ครั้นแล้วจึงนำข้อธรรมหมวด ๓   หมวด ๒   ในคัมภีร์ธัมมสังคณีมาเป็นบทตั้ง เอาปัจจัย ๒๔  มากล่าวถึงว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายแง่หลายมุม ถ้าจะเทียบด้วยการทอผ้า ข้อธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีเท่ากับเป็นเส้นด้ายยืน   ส่วนปัจจัย ๒๔   เหมือนด้ายในกระสวย ที่พุ่งไปมาระหว่างด้ายยืน ให้สำเร็จเป็นลวดลายต่าง ๆ ).

บัดนี้จะเริ่มต้นด้วยข้อธรรมในเล่ม ๔๐ ต่อไป

มากานิเขปวาร

( วาระแห่งการตั้งแม่บท )

    เหตุปัจจัย ๑. ( ปัจจัย   หรือเครื่องสนับสนุน   ที่เป็นเหตุ )
    ๒. อารัมมณปัจจัย  ( ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ )
    ๓. อธิปติปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นใหญ่)
    ๔. อนันตรปัจจัย  ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง )
    ๕. สมนันตรปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของกระชั้นชิด )
    ๖. สหชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดพร้อมกัน)
    ๗. อัญญมัญญปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของอิงอาศัยกันและกัน )
    ๘. นิสสยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นที่อาศัยโดยตรง )
    ๑๐. ปุเรชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดก่อน )
    ๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของเกิดทีหลัง )
    ๑๒. อาเสวาปัจจัย ( ปัจจัยโดยการส้องเสพ )
    ๑๓. กัมมปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นกรรม คือการกระทำ )
    ๑๔. วิปากปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลของกรรม)
    ๑๕. อาหารปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นผลอาหาร )
    ๑๖. อินทริยปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นอินทรีย์ )
    ๑๗. ฌานปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นฌาน   คือสมาธิแน่วแน่ )
    ๑๘. มัคคปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นมรรค   คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกิเลสและดับทุกข์ )
    ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของประกอบกัน   คือเกิดพร้อมกัน   ดับพร้อมกัน )
    ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ประกอบกัน)
    ๒๑. อัตถิ ( ปัจจัยที่เป็นของมีอยู่)
    ๒๒. นัตตถิปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่มี )
    ๒๓. วิตตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไปปราศ   คือพ้นไป   หมดไป )
    ๒๔. อวิคตปัจจัย ( ปัจจัยที่เป็นของไม่ปราศ   คือไม่พ้นไป   ไม่หมดไป)

ปัจจยวิภังควาร

วาระว่าด้วยการแจก   คือการอธิบายปัจัยทีละข้อ

    ๑.เหตุปัจจัย  คือเหตุที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับเหตุ  และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน   โดยฐานะ เ ป็นฐานะเป็นเหตุปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ   ( เหตุเทียบด้วยรากไม้ต้นไม้จะมีผลเจริญงอกงามก็เพราะได้อาศัยรากดูดน้ำและโอชะอื่น ๆ   มาหล่อเลี้ยง ).

    ๒.อารัมมณปัจจัย อายตนะหรืออารมณ์ คือ   รูป ,   เสียง ,   กลิ่น ,   รส ,   โผฏฐัพพะ   ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) ,   ธัมมะ   ( สิ่งที่รู้ด้วยใจ )   เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุ   คือความรู้แจ้งอารมณ์ทาง   ตา   หู   เป็นต้น   และแห่งธรรมที่ประกอบกับวิญญาณธาตุนั้น ๆ  โดยฐานะเป็นอารัมณปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอารมณ์   ( อารมณ์คือสิ่งที่จิตเจตสิกยึดถือเหมือนยึดเกาะท่อนไม้ ).

    ๓.อธิปติปัจจัย  ธรรมที่เป็นใหญ่ คือ   ฉันทะ   ( ความพอใจ )   วิริยะ  ( ความเพียร )   จิตตะ   ( ความเอาใจฝักใฝ่ )   วิมังสา   ( ความพิจารณาสอบสวน ) เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับฉันทะ เป็นต้นแต่ละข้อ   และแห่งรูปที่มีธรรมที่ประกอบกับฉันทะ   เป็นต้น   เป็นสมุฏฐาน   โดยฐานะเป็นอธิปติปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นใหญ่. อนันตรปัจจัย

    ๔. อนันตรปัจจัย  จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น. โดยนัยนี้   โสตวิญญาณธาตุ   จนถึง   มโนวิญญาณธาตุ   และธรรมที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุ เป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ และแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั้น.     ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นปัจจัย คือเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น .     ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพาหฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.     ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.     ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.     ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.     ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.     ธรรมที่เป็นอัพยากฤตก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอนันตรปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น.

    ๕. สมนันตรปัจจัย  มีอธิบายอย่างเดียวกับข้อ ๔ คืออนันตรปัจจัย ต่างแต่สิ่งที่เป็นปัจจัยในข้อนี้เป็นปัจจัย โดยฐานะเป็นสมนันตรปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนอย่างกระชั้นชิด.     ( มติของอาจารย์ในชั้นหลังมีอยู่ต่าง ๆ กัน บางท่านว่า   อนันตรปัจจัย   ( ปัจจัยโดยความเป็นของไม่มีอะไรคั้นในระหว่าง ) กับ   สมนันตรปัจจัย   ( ปัจจัยโดยความเป็ของกระชั้นชิด ) ต่างมีพยัญชนะ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน . บางอาจารย์กล่าวว่าต่างกัน คือ   อนันตรปัจจัย   เป็นของไม่มีอรรถะ คือเนื้อความอย่างอื่นคั่น .     ส่วน   สมนันตรปัจจัย   เป็นของไม่กาละคั่น - ดู   อภิธัมมัตถภาวินี   หน้า ๒๔๑ ).

    ๖. สหชาตปัจจัย  ธรรม ๔  อย่างที่ไม่มีรูป   ( คือรูป   เวทนา , สังขาร ,  และ  วิญญาณ  ) เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน . มหาภูตรูป ๔ (  ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ ,   ลม  ) เป็นปัจจัยของกันและกัน  โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน .     ในขณะที่ก้าวลง   ( สู่ครรภ์มารดา คือขณะปฏิสนธิ )   นามและรูปเป็นปัจจัยของกันแลกัน   โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.     ธรรมที่เป็น   จิต   และ  เจสิก   เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน   โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.    มหาภูตรูป   ( รูปใหญ่คือ  ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ ,   ลม )   เป็นปัจจัยแห่ง   อุปาทารูป   ( รูปอาศัย คือรูปที่ปรากฏเพราะอาศัยมหาภูตรูป   เช่น   ความเป็นหญิง   ความเป็นชาย )   โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.     ธรรมที่มีรูปเป็นปัจจัยของธรรมที่ไม่มีรูปในกาลบางครั้ง   โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย   คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.    แต่ในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย   มิใช่โดยฐานะเป็นสหชาตปัจจัย คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดพร้อมกัน.

    ๗. อัญญมัญญปัจจัย  ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่   เวทนา ,  สัญญา ,  สังขาร  ,   และ  วิญญาณ  ) เป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน .   มหาภูตรูป ๔   ( ดิน ,  น้ำ ,   ไฟ ,  ลม )   เป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน ในขณะก้าวลง   ( ขณะปฏิสนธิ )   นามและรูปเป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอัญญมัญญปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน .

    ๘. นิสสยปัจจัย   ขันธ์ ๔  ที่ไม่มีรูป   ( ได้แก่   เวทนา ,  สัญญา ,   สังขาร ,  และ  วิญญาณ  ) เป็นปัจจัยของกันและกัน  โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนเป็นที่อาศัย . มหาภูตรูป ๔   ( ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ ,  ลม )   เป็นปัจจัยของกันและกัน   โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย.    ในขณะที่ก้าวลง   ( ขณะปฏิสนธิ )   นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกัน   โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย .     ธรรมคือจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยของรูปที่มีจิตเป็น   สมุฏฐาน  โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย   คือเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย อายตนะ คือ   ตา ,   หู ,  ลิ้น ,  กาย   เป็นปัจจัยแห่ง   ธาตุ   คือ ความรู้แจ้ง ( วิญญาณธาตุ )  ทางตา ,   หู ,   ลิ้น ,   กาย   และธรรมที่ประกอบวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ.   มโนธาตุ   ( ธาตุคือใจ )   มโนสิญญาณธาตุ   ( ธาตุคือความรู้แจ้งทางใจ )   อาศัยรูปใดเป็นไป   รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ   และมโนวิญญาณธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น   โดยฐานะเป็นนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัย.

    ๙. อุปนิสสยปัจจัย   ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยโดยสืบต่อกันมา.     ต่อจากนี้มีข้อความคล้ายกับข้อ ๔   ต่างแต่เป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย .     แม้บุคคลก็เป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา .     แม้เสนาสนะก็เป็นปัจจัย   โดยฐานะเป็นอุปนิสสยปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา .     คำว่า   นิสสยปัจจัย   กับ   อุปนิสสยปัจจัย   มีคำใกล้กัน   นิสสย   แปลว่า เป็นที่อาศัย   อุปนิสสยะ   แปลว่า ใกล้จะเป็นที่อาศัย  แต่แปลหักตามเนื้อหาว่า   เป็นที่อาศัยสืบต่อกันมา  คืออาศัยพอเป็นเค้า   เป็นเชื้อ   มีความหนักแน่นน้อยกว่า   นิสสยะ  ).

    ๑๐. ปเรชาตปัจจัย  อานตนะคือ   ตา ,   หู ,  ลิ้น ,   กาย   เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุทางตา ,   หู ,   ลิ้น ,   กาย   ตามประภทของตน   และแห่งธรรมที่ประกอบด้วยวิญญาณธาตุนั้น ๆ   โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน .   อายตนะคือ   รูป ,   เสียง ,   กลิ่น ,   รส ,   โผฏฐัพพะ   เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุนั้น   โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน.   อายตนะคือ   รูป ,  เสียง ,  กลิ่น ,   รส ,   โผฏฐัพพะ   เป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุ   และธรรมะที่ประกอบด้วยมโนธาตุ   โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัยคือเครื่องสนับสนุนเกิดก่อน.     มโนธรรมและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป   รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนธาตุและแห่งธรรมที่ประกอบด้วยมโนธาตุ   โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน.     รูปนั้นเป็นปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุในกาลบางครั้ง   โดยฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อนในกาลบางครั้งก็เป็นปัจจัย   โดยมิใช่ฐานะเป็นปุเรชาตปัจจัย   คือมิใช่เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดก่อน.

    ๑๑.ปัจฉาชาตปัจจัย ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งกายนี้ซึ่งเกิดก่อน โดยฐานะเป็นปัจฉาชาตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดภายหลัง.

    ๑๒. อาเสวนปัจจัย ธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ   ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ.     ธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ   ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการส้องเสพ .     ธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาก่อน ๆ   ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาหลัง ๆ   โดยฐานะเป็นอาเสวนปัจจัย เป็นเครืองสนับสนุนโดยการส้องเสพ.     ( ธรรมประเภทเดียวกันเมื่อส้องเสพหรือประพฤติบ่อย ๆ   ก็เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมประเภทเดียวกันนั้นต่อไปอีก ).

    ๑๓. กัมมปัจจัย  กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลย่อมเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เป็นวิบาก และแห่ง   กฏัตตารูป   ( รูปที่เกิดเพราะทำกรรมไว้ เรียกว่า   กัมมชรูป   ก็ได้ ) โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบด้วยเจตนา และแห่งรูปที่มีธรรมอันประกอบด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมคือการกระทำ.

    ๑๔. วิปากปัจจัย  ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูปซึ่งเป็นผลของกรรมย่อมเป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นวิปากปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นผลของกรรม.

    ๑๕. อาหารปัจจัย อาหารเป็นคำ ๆ ( อาหารที่กลืนกิน ) เป็นปัจจัยของกายนี้ โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร อาหารที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกัน ( สัมปยุตตธรรม ) .  และแห่งรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอาหารปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอาหาร.

    ๑๖. อินทริยปัจจัย อินทรีย์คือ   ตา ,   หู ,  ลิ้น ,   กาย   เป็นปัจจัยแห่ง   วิญญาณธาตุ   ทางตา ,   หู ,   จมูก ,   ลิ้น ,   กาย   และธรรมที่สัมปยุตด้วยวิญญาณธาตุชนิดนั้น ๆ โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์ ( คือธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ).     อินทรีย์คือรูปชีวิต เป็นปัจจัยแห่ง กฏัตตารูป รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ) โดยฐานะเป็นอินทรีย์ปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทรีย์.     อินทรีย์ที่ไม่มีรูป เป็นปัจจัยแห่งสัมปยุตตธรรม และรูปที่มีสัมปยุตตธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นอินทริยปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอินทีรย์.

    ๑๗. ฌาณปัจจัย  องค์แห่งฌานย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุต ( ประกอบ ) ด้วยฌาน และรูปที่มีธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นฌานปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นฌาน.

    ๑๘. มัคคปัจจัย  องค์แห่งมรรคย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรค และแห่งรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยมรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นมัคคปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นมรรค.

    ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๔ ที่ไม่มีรูป ( ได้แก่   เวทนา , สัญญา , สังขาร,   และ  วิญญาณ )   เป็นปัจจัยของกันและกัน โดยฐานะเป็นสัมปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นของประกอบกัน ( คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ).

    ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่เป็นรูปย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูป. ธรรมที่ไม่มีรูปย่อมย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่มีรูป โดยฐานะเป็นวิปปยุตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่ประกอบกัน ( ไม่เกิดพร้อมกันไม่ดับพร้อมกัน ).

    ๒๑. อัตถิปัจจัย  ขันธ์ ๔   ที่ไม่มีรูป   เป็นปัจจัยของกันและกัน.   มหาภูตรูป ๔   ( ดิน ,   น้ำ ,   ไฟ ,   ลม )   เป็นปัจจัยของกันและกัน ,   ธรรมที่เป็น   จิต  และ   เจตสิก   เป็นปัจจัยแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ,   อายตนะคือตา ,   หู ,   จมูก ,   ลิ้น ,   กาย เป็นปัจจัยแห่ง   จักขุวิญญาณธาตุ   เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย   จักขุวิญญาณธาตุ   เป็นต้นนั้น ๆ ,   อายตนะคือรูป ,   เสียง ,   กลิ่น ,   รส ,   โผฏฐัพพะ  เป็นปัจจัยแห่ง   จักขุวิญญาณธาตุ   เป็นต้น และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย   จักขุวิญญาณธาตุ   นั้น ๆ, โดยความเป็นอัตถิปัจจัยคือความเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่.   มโนธาตุ ,   และ   มโนวิญญาณธาตุ   อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นย่อมเป็นปัจจัยแห่ง   มโนธาตุ   แห่ง   มโนวิญญาณธาตุ   และแห่งธรรมที่สัมปยุตด้วย   มโนธาตุ ,   และ   มโนวิญญาณธาตุ  นั้น โดยฐานะเป็น   อัตถิปัจจัย  คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่มีอยู่.

    ๒๒. นัตถิปัจจัย  ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปในขณะกระชั้นชิด ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น   นัตถิปัจจัย   คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มี

    ๒๓. วิตตปัจจัย  ธรรมที่เป็น   จิต   และ   เจตสิก   ที่ไปปราศ   คือพ้นไป หมดไปในขณะกระชั้นชิด   ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยฐานะเป็น วิตตปัจจัย คือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นไปปราศ คือพ้นไป หมดไป

    ๒๔. อวิตตปัจจัย   มีคำอธิบายเหมือน อัตตถิปัจจัย.

    (หมายเหตุ:  ปัจจัยข้อที่ ๒ – ๓- ๔- ๕ มีข้อความตอนท้ายพ้องกันมิได้กล่าวไว้ ขอถือโอกาสนำมากล่าวรวมไว้ ในหมายเหตุนี้ คือกล่าวถึงธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น เพราะปรารภธรรมใด ๆ   หรือเกี่ยวเนื่องกับธรรมใด ๆ ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ   ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมนั้น ๆ  โดยฐานะเป็นอารัมมณปัจจัยบ้าง ,   อธิปติปัจจัยบ้าง ,   อนันตรปัจจัยบ้าง ,   สมนะนตรปัจจัยบ้าง ).


'๑' . สัมปยุจจธรรม   คือธรรมที่เกิดพร้อมกัน   ดับพร้อมกัน   มีอารมณ์   และมีวัตถุอันเดียวกัน

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ