พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๐

   วินิจฉัยใน นิปเปสิกตานิเทศนั้นว่า พระภิกษุด่ากลบเอาของด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ ชื่อว่า อักโกสนา

   พระภิกษุกล่าวครอบงำ ชื่อว่า อัมภนา

   พระภิกษุกล่าวยกโทษโดยนัยเป็นอาทิ “อสทฺโธ อปฺปสนฺโน” คฤหบดีนี้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ชื่อว่า ครหนา

   พระภิกษุกล่าวยกยอด้วยวาจาว่า ท่านอย่ากล่าวคำอย่างนี้ ๆ แต่ตระกูลนี้ชื่อว่า อุกเขปนา

   พระภิกษุกล่าวคำยกยอ กระทำให้ะเป็นไปกับวัตถุ กระทำให้เป็นไปกับด้วยเหตุโดยภาคทั้งปวง ชื่อว่า สมุกเขปนา

   นัยหนึ่งพระภิกษุเห็นคฤหบดีไม่ให้แล้ว ก็กล่าวยกยอว่า “อโห ทานปติ” ดังเราสรรเสริญ คฤหบดีนี้เป็นผู้ใหญ่ในทานดังนี้ ชื่อว่า อุกเขปนา

   พระภิกษุเห็นว่าคฤหบดีไม่ให้แล้่ว ก็กล่าวคำยกยอให้ยิ่งขึ้นไปว่า “อโห มหาทานปติ” ดังเราสรรเสริญ ท่านคฤหบดีนี้เป็นมหาทานบดีเป็นใหญ่ในมหาทาน ชื่อว่า สมุกเขปนา

   พระภิกษุกล่าวคำเย้ยยุให้คฤหบดีว่า ชีวิตของท่านนี้หาประโยชน์มิได้ ท่านนี้เป็นคนบริโภคพืชกินบุญหนหลังดังนี้ ชื่อว่าขิปปนา

   พระภิกษุกล่าวคำเย้ยยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า ชนทังหลายกล่าวว่าท่านผู้นี้เป็นทายกเพื่อเหตุดังฤา ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวแต่คำว่า ไม่มีแก่พระภิกษุทั้งหลายสิ้นกาลเป็นนิจดังนี้ ชื่อว่า สังขัปปนา

   อนึ่ง พระภิกษุยังโทษคือมิได้เป็นทายกให้ถึงแก่คฤหบดี ชื่อว่า ปาปนา

   พระภิกษุยังโทษคือมิได้เป็นทายกให้ถึงแก่คฤหบดี โดยภาคทั้งปวงชื่อว่า สัมปาปนา

   พระภิกษุออกจากเรือนนี้ไปสู่เรือนโน้น ออกจากบ้านนี้ไปสู่บ้านโน้นออกจากชนบทนี้ไปสู่ชนบทโน้น เที่ยวกล่าวโทษไปทุกแห่งว่าคฤหบดีนี้ทำบุญให้ทานแก่เรา เพราะเหตุกลัวเราจะติเตียนกลัวว่าเราจะไม่สรรเสริญ ดังนี้ ชื่อว่า อวัณณหาริกา

   อนึ่ง พระภิกษุกล่าวคำไพเราะในที่ต่อหน้า กล่าวโทษในที่ลับหลังชื่อว่า ปรปิฏฐิมังสิกตา

   แท้จริงวาจานั้นเป็นวาจาของบุคคล ไม่อาจจะแลดูในที่เฉพาะหน้าปรากฏดุจดังว่า จะกัดกินซึ่งเนื้อหนังแห่งชนทั้งหลาย อันตั้งอยู่ในที่ลับหลังเพราะเหตุการณ์นั้น องค์พระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสว่า ปรปิฏฐิมังสิกตา

   วาจาทั้งปวงที่กล่าวมา มีครหนาวาจาติเตียนเป็นอาิทิ ย่อมเช็ดเสียซึ่งคุณแห่งบุคคลผู้อื่น เหมือนซีกไม้ไผ่ที่บุคคลเช็ดเสีย ครูดเสียซึ่งน้ำมันอันแปดเปื้อนในสรีระ

   นัยหนึ่ง วาจาชื่อว่า “นิปฺเปติกตา” นี้ ย่อมกระทำซึ่งคุณทั้งหลายแห่งบุคคลอื่น ให้เป็นจุณแล้วแลแสวงหาลาภ มีอุปมาเหมือนบุคคลกำจัดเสียซึ่งคันธชาติแล้ว แลแสวงหาคันธชาติ เหตุใดเหตุดังนั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสว่า นิปเปสิกตา ดังนี้ วินิจฉัยในบทคือ “ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา” นิเทศนั้นว่ากิริยาที่ภิกษุแสวงหา ชื่อว่า “นิชิคึสนตา” พระภิกษุได้ภิกขาในเรือนนี้นำไปให้ในเรือนโน้น เที่ยวแลกเปลี่ยนไปกว่าจะได้วัตถุที่ชอบใจตนในอธิการนี้ พระอาจารย์นำนิทานพระภิกษุซึ่งได้ภิกขาในเรือนเดิมแล้ว แลนำไปให้แก่ทารกทั้งหลายในเรือนนั้น ๆ ครั้นได้ขีรยาคูของชอบใจแล้วก็ไป มาสาธกเข้าในบทคือ “ลาเกน ลาภํ นิชิคึสนตา” นี้

  ในบทคือ “เอวมาทีนญฺจ ปาปธมฺมานํ” นั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้ากล่าวว่า บัณฑิตพึงรู้ว่า กิริยาที่สมณะแลพราหมณ์จะถือเอาซึ่งธรรมอันลามกนั้น สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ในพรหมชาลสูตรโดยนัยเป็นอาทิว่า “โภนฺโต สมณพฺราหมณา” ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย สมณะแลพราหมณ์จำพวกหนึ่งบริโภคโภชนาหารอันบุคคลมีศรัทธาคือเชื่อซึ่งกรรมแลผลแห่งกรรมแล้วแลพึงให้แก่สมณะแลพราหมณะทั้งหลายนั้น เลี้ยงชีวิตเป็นมิจฉาชีพ คือวิชาที่เลี้ยงชีวิตด้วยติรัจฉานวิชชา

   “เสยฺยถีทํ” สมณะแลพราหมณะเลี้ยงชีวิตด้วยติรัจฉานวิชานั้นเป็นอย่างไร

   มีคำวิสัชนาว่า สมณแลพราหมณะเลี้ยงชีวิตด้วยติรัจฉานวิชานั้นคือวิชาที่ว่าชั่วแลดีแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย แลวิชานั้นอันหนึ่งกอบด้วยอันบังเกิดขึ้นแห่งเหตุทั้งหลาย มีอุกกาบาตแลไฟไหม้ในทิศแลแผ่นดินไหว เป็นอาทิ แลวิชาสุบินศาสตร์ทายสุบินแลวิชาทายลักษณะหญิงแลบุรุษ แลวิชาหนูกัดผ้า แลวิชาวิธีบูชาเพลิง แลวิชาวิธีบังหวนควันต่าง ๆ กันดังนี้ มิจฉาชีพนั้นพระภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมให้ประพฤติเป็นไปด้วยสามารถที่ตนล่วงสิกขาบททั้ง ๖ ประการ ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง แลประพฤติเป็นไปด้วยสามารถแห่งธรรมอันลามกทั้งหลาย แลโกหกแลกระทำผิดซึ่งนิิมิต แลกำจัดเสียซึ่งคุณแห่งบุคคลผู้อื่นแล้ว แลแสวงหาลาภด้วยลาภเป็นอาทิ “ตสฺมา สพฺพปฺปการา มิจฺฉาชีวา” เมื่อภิกษุเว้นจากมิจฉาชีวะมีประการดังกล่าวแล้วทั้งปวงนั้น อาชีวิปาริสุทธิศีลของพระภิกษุนั้นก็บริสุทธิ์

   มีบทวิคคหะในอาชีวปาริสุทธิศีลนั้นว่า “เอตํ อาคมฺม ชีวติีติ อาชีโว”

  พระภิกษุทั้งหลายอาศัยซึ่งสภาวะอันใดแล้วแลมีชีวิตอยู่สภาวะนั้น ชื่อว่า อาชีวะ สภาวะนั้นคือดังฤๅ

  สภาวะนั้นคือความเพียรที่จะแสวงหาปัจจัยทั้ง ๔ สภาวะบริสุทธิ์นั้นชื่อว่า “ปาริสุทธิ” บริสุทธิ์แห่งอาชีวะ จึงได้นามชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

   “ยมฺปเนตํ ตทนนฺตรํ ปจฺจยสนฺนิสฺสิตสีลํ วุตฺตํ ตตฺถ ปฏิสงฺขาโยนิโสติ อฺปาเยน ปเถน ปฏิสงฺขาย ญตฺวา ปจฺจเวกขิตฺวาติ อตฺโถ เอตฺถ จ สีตสฺส ปฏิฆาฏายาติ อาทินา นเยน วุตฺตํ ปจฺจเวกฺขณเมวโยนิโส ปฏิสงฺขาติ เวทิตพฺพํ ตตฺถ จีวรนฺติ อนฺตรวาสกาทีสุ ยํกิญฺจิ ปฏิเสวตีติปริภุญฺชติ นิวาเสติ วา ปารุปติ วา ยาวเทวาติ ปโยชนาวธิปริจฺเฉทนิยมวจนํ เอตฺตกเมว หิ โยคิโน จีวรปฏิเสวเน ปโยชนํ ยิททํ สีตสฺส ปฏิฆาฏยาติ อาทิ”

  วาระนี้จะได้วิสัชนาในปัจจัยสันนิสสิตศีล สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความว่าปัจจัยสันนิสสิตศีลอันใด อันเรากล่าวแล้วในลำดับแห่งอาชีวปาริสุทธิศีล เราจะวินิจฉัยตัดสินไปในปัจจัยสินนิสสิตศีลนั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าดำเนินวาระพระบาลีดังนี้ แล้วจึงสังวรรณนาในบทคือ “ปฏิสงฺขา โยนิโส” อันเป็นเบื้องต้นแห่งปัจจัยสันนิสสิตศีลนี้ก่อนว่า พระภิกษุรู้ด้วยอุบายปัญญาปัจจเรกขณะวิธีที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสเทศนาไว้ โดยนัยเป็นอาทิ “สีตสฺส ปฏิฆาฏาย” นี้ บัณฑิตพึงรู้ชื่อว่า “โยยิโสปฏิสงฺขา” แปลว่าภิกษุรู้ด้วยอุบายปัญญา เห็นด้วยปัญญาแล้ว แลบริโภคนุ่งห่มจีวรมีผ้าอันตรวาสกเป็นอาทิ

   ในบทคือ “ยาวเทว” นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคกล่าวกำหนดอันประพฤติเป็นไปด้วยสามารถ จะกำหนดแดนประโยชน์แท้จริง “ยํ อิทํ ปโยชนํ” ประโยชน์อันใดที่พระองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้เป็นอาทิว่า พระภิกษุนุ่งห่มจีวรอันจะบำบัดเสียซึ่งเย็นแลร้อน ประโยชน์นั้นก็เป็นประโยชน์ของพระภิกษุ มีประมาณเท่านี้ “น อิโต ภิยฺโย” ประโยชน์อันอื่นจะยิ่งกว่าประโยชน์อันนี้ก็มิได้มี

   ในบทคือ “สีตสฺส” นั้นว่า พระภิกษุบริโภคนุ่งห่มจีวร เพื่อจะบำบัดเสียซึ่งหนาว อันบังเกิดขึ้นด้วยสามารถธาตุภายในกำเริบแลบังเกิดขึ้น ด้วยสามารถแปรปรวนแห่งฤดูอันมีภายนอก ความอาพาธที่ป่วยไข้มิได้บังเกิดขึ้นในสรีระฉันใดก็จะบรรเทาเสียอาพาธป่วยไข้ฉันนั้น

   เมื่ือสรีระของภิกษุนั้น อันอาพาธหากรันทำย่ำยีอยู่แล้วพระภิกษุผู้มีจิตกำเริบ ไม่อาจตั้งสติไว้ซึ่งความเพียรให้ประพฤติเป็นไปด้วยอุบายปัญญาได้ เพราะเหตุการณ์นั้น พระภิกษุจึงบริโภคนุ่งห่มจีวรเพื่อบำบัดเสียซึ่งหนาว องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสอนุญาตไว้ดังนี้

  “เอส นโย สพฺพตฺถ” นัยหนึ่งบัณฑิตพึงรู้ในประโยชน์อันเศษมีจะบำบัดเสียซึ่งร้อนเป็นอาทิ

  แต่นี้จะวินิจฉัยตัดสินในประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์คือจะบำบัดเสียซึ่งร้อนเป็นอาทิ มีเนื้อความว่า พระภิกษุที่จะนุ่งห่มจีวรเพื่อจะบำบัดเสียซึ่งร้อนอันบังเกิดแต่กองแห่งอัคคี มีร้อนบังเกิดแต่ไฟไหม้ป่าเป็นประธาน

   อนึ่ง พระภิกษุจะพึงเสพคือนุ่งห่มจีวรนั้น เพื่อจะบำบัดเสียซึ่งแมลงวันเหลือบ แลยุง แลลม แลแดด แลทีฆชาติน้อยแลใหญ่เป็นอันมาก

   ในบทคือ “ฑํสา” นันแปลว่า แมลงเหลือบ บางอาจารย์กล่าวว่า แมลงวันสีขาวนั้นชื่อว่า ฑํสา

  “มกสา” ศัพท์นั้นแปลว่ายุง

  ลมทั้งหลายอันประพฤติเป็นไปกับด้วยธุลี แลลมอันหาธุลีบมิได้เป็นอาทิ ชื่อว่า วาตา

  ร้อนรัศมีวิมานสุริยเทวบุตรนั้นชื่อว่า อาตปะ

  สัตว์ทั้งหลายมีชาติสรีสะอันยาวมีงูเป็นต้น อันสัญจรเลื้อยไปในปฐพี ชื่อว่า สิริสัปปะ

  สัมผัสถูกต้องแห่งสัตว์ทั้งหลาย มีแมลงเหลือบเป็นอาทินั้นมี ๒ ประการคือ ทิฏฐสัมผัสถูกต้องด้วยจักษุเห็นประการหนึ่ง คือผุฏฐสัมผัสถูกต้องด้วยตัวสัตว์ประการหนึ่ง

  "โสปิ จีวรํ ปารุปิตฺวา นิสินฺโน” เมื่อภิกษุนุ่งห่มจีวร คลุมจีวรแล้วแลนั่งอยู่ สัมผัสแห่งแมลงเหลือบเป็นอาทิ ก็มิได้เบียดเบียนพระภิกษุนั้น เพราะเหตุการณ์นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้พระภิกษุนุ่งห่มจีวร เพื่อจะป้องกันเสียซึ่งสัมผัสทั้งหลายในที่เห็นปานดังนั้น

  พระบาลีกล่าวซ้ำว่า “ยาว” ใหม่เล่า เพื่อจะแสดงซึ่งปริจเฉท กำหนดแดนแห่งประโยชน์อันเที่ยง

   แท้จริงกิริยาที่พระภิกษุจะปกปิดไว้ซึ่งที่คับแคบ ควรที่จะพึงละอายนั้น เป็นประโยชน์อันแท้ ประโยชน์อันอื่นนอกจากประโยชน์นี้มีจะบำบัดเสียซึ่งหนาวเป็นอาทินั้น ก็เป็นประโยชน์แต่ละครั้ง

   ในบทคือ “หิริโกปิน” นี้ แปลว่า ที่คับแคบนั้น ๆ “ยสฺมึ ยสฺมึ หิ องฺเค วิวริยมาเน” แท้จริงเมื่อองคาพยพใด ๆ พระภิกษุมิได้เปิดปิดไว้แล้ว ความที่ละอายก็ตั้งอยู่ อวัยวะนั้น ๆ องค์สมเด็จพระศาสดาจึงตรัสเรียกชื่อว่า หิริโกปินะ ยังความละอายให้กำเริบ จึงทรงอนุญาตไว้ให้พระภิกษุบริโภคนุ่งห่มจีวร เพื่อจะปกปิดเสียซึ่งกริยาที่จะยังความละอายให้กำเริบ เพราะเหตุดังนี้จึงตรัสเทศนาว่า “หิริโกปิน ปฏิจฺฉาทนตถํ" ดังนี้ บางบาลีว่า “หิริโกปินํปฏิจฺฉาทนตฺทํ” วิสัชนามาใน ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ ตงฺขณิกปจฺจเวกฺขณ เป็นต้น ก็ยุติแต่เพียงเท่านี้

   ในบทคือ “ตํขณิกปจฺจเวกฺขณ” เป็นคำรบสองนั้น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ให้พระภิกษุ พิจารณาบิณฑบาตด้วยปัญญาและบริโภคซึ่งวัตถุสิ่งของอันใดอันหนึ่ง ที่พระภิกษุจะพึงกลืนกินชื่อว่าบิณฑบาต

  แท้จริง อาหารทั้งปวงนั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเรียกชื่อว่า บิณฑบาต เพราะเหตุว่าอาหารตกลงแล้วในบาตรด้วยภิกขาจารวัตรของพระภิกษุ

  นัยหนึ่ง ประชุมพร้อมแห่งภิกษาหาร พระภิกษุได้ในเรือนนั้น ๆ ชื่อว่าบิณฑบาต

   ในบทคือ “เนว ทวาย” นั้น อรรถกถาสังวรรณนาว่า พระภิกษุบริโภคอาหารทั้งปวงเพื่อประโยชน์จะคะนองเล่นดุจชนทั้งหลาย มีทารกแห่งมนุษย์อันในบ้านเป็นอาทิก็หามิได้

  มีอรรถรูปว่า “กีฬานิมิตฺตํ” พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาตมีกิจที่จะเล่นเป็นนิมิตก็หามิได้

   ในบทคือ “น มทาย” นั้นว่า พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาตเพื่อมัวเมา เหมือนหนึ่งคนมวยแลคนปล้ำเป็นอาทิก็หามิได้

   มีอรรถว่า พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาต เพราะเหตุมัวเมาอันบังเกิดขึ้นอาศัยแก่กำลัง และเพราะเหตุมัวเมาอันเป็นของแห่งบุรุษก็หามิได้ในบทคือ “น มณฺฑนาย” นั้น พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาต เพื่อประโยชน์จะแต่งตนให้งามดุจดังว่าสาวสนมของบรมกษัตริย์ และนางนครโสเภณีเป็นอาทิก็หามิได้

   มีอรรถรูปว่า พระภิกษ์จะบริโภคบิณฑบาต เพราะเหตุว่าจะยังอวัยวะน้อยใหญ่อันบกพร่องให้เต็มก็หามิได้

   ในบทคือ “น วิภูสนาย” นั้นว่า พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาตเพื่อประดับกาย ดุจคนฟ้อนคนรำเป็นอาทิก็หามิได้

   มีอรรถรูปว่า พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาต เพราะเหตุว่าจะให้ฉวีวรรณะบริสุทธิ์ผ่องใสก็หามิได้

   “เอตถ จะเนว ทวาย” อนึ่งในบทคือ “เนว ทวาย” ที่แปลได้ความว่า พระภิกษุจะบิรโภคบิณฑบาตเพื่อประโยชน์จะคะนองเล่นหามิได้ องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาเพื่อประโยชน์ จะให้พระภิกษุสละเสียซึ่งอุปนิสัยแห่งโมหะมิได้หลงเล่น

   ในบทคือ “น มทาย” นั้นมีอรรถว่า พระภิกษุจะพึงบริโภคบิณฑบาตเพื่อประโยชน์จะมัวเมาก็หามิได้นั้น พระสรรเพชญ์พุทธเจ้าตรัสเทศนาเพื่อจะให้พระภิกษุละเสียซึ่งเหตุมีกำลังแห่งโทษ มิได้ประทุษร้ายด้วยความโกรธ

   ในบทคือ “น มณฺฑนาย น วิภูสนาย” มีอรรถว่า พระภิกษุไม่พึงบริโภคบิณฑบาตเพื่อจะแต่งตนให้งาม และจะยังที่พร่องแห่งสรีระให้เต็มก็หามิได้นั้น องค์สมเด็จพระสัพพัญญูบรมศาสดาตรัสเทศนา เพื่อจะให้พระภิกษุละเสียซึ่งเหตุมีกำลังแห่งราคะ คือจะให้หน่ายจากราคะ

   อีกอย่างหนึ่ง ในบทคือ “เนว ทวาย น มทาย” มีอรรถดังกล่าวแล้ว องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาเพื่อจะห้ามซึ่งสังโยชน์มีกามสังโยชน์เป็นอาทิ มิได้บังเกิดแก่ตนของพระภิกษุ

  ในบทคือ “น มณฑนาย น วิภูสนาย” มีอรรถดังกล่าวแล้ว พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนา เพื่อจะห้ามซึ่งกิริยาที่จะบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์แก่ตน แห่งพระภิกษุและบุคคลผู้อื่น อีกประการหนึ่งบททั้ง ๔ มี “เนว ทวาย” เป็นอาทินี้ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาเพื่อจะให้ละเสีย ซึ่งปฏิบัติด้วยหาอุบายปัญญามิได้ และจะให้ละเสียซึ่งการที่กระทำความเพียรอันติดเนื่องอยู่ในกามสุข

   อนึ่ง พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตินั้นเพื่อจะยังรูปกาย กล่าวคือ มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ให้ประพฤติเป็นไปอย่าให้ขาด

   นัยหนึ่ง พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตนั้น เพื่อตั้งอยู่สิ้นกาลนานตราบเท่ากำหนดอายุขัย มีคำอุปมาว่า

   “ชณฺณฆรสามิโก” บุรุษเจ้าของเรือนที่คร่ำคร่าเก่าลงแล้วก็ย่อมจะอุปถัมภ์บำรุงซ่อมแปลงที่ทรุดทำลาย “ยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใด ก็มีอุปไมยเหมือนพระภิกษุบริโภคบิณฑบาตเพื่อจะยังกาย กล่าวคือมหาภูตรูปทั้ง ๔ ให้ตั้งอยู่สิ้นกาลนานตราบเท่าอายุขัยฉันนั้น

   “อกฺขพฺภญฺชนมิว” อนึ่ง มีคำว่า บุรุษเจ้าของเกวียน เมื่อขับเกวียนไปนั้นย่อมจะเทน้ำมันออกทางเพลา เพื่อประโยชน์จะให้จักรเกวียนนั้นประพฤติเป็นไปโดยสะดวก “ยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใดก็ยังมีอุปไมยเหมือนพระภิกษุบริโภคบิณฑบาต เพื่อจะยังรูปกายให้ตั้งอยู่และจะให้ประพฤติเป็นไปสิ้นกลาลปริจเฉทกำหนดอายุขัยฉันนั้น

   “น ทวมทมณฺฑนวิภูสนตฺถํ” พระภิกษุจะบริโภคบิณฑบาต เพื่อจะคะนองเล่นมัวเมาและจะตกแต่งตนให้งาม และจะยังที่แห่งสระระให้เต็มก็หามิได้

   นัยหนึ่ง บทคือ “ิติ” นั้น เป็นชื่อแห่งชีวิตอินทรีย์เหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนั้นบัณฑิตพึงรู้อรรถรูป เนื้อความในบทคือ “อิมสฺส กายสฺส ิติยา ยาปนาย” นี้ว่า พระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ บริโภคบิณฑบาต เพื่อจะยังชีวิตอินทรีย์แห่งกายของพระภิกษุนี้ให้ประพฤติเป็นไป

   ในบทคือ “วิหึสุปรติยา” นั้นว่า พระภิกษุเสพซึ่งอาหารบิณฑบาต เพื่อจะระงับเสียซึ่งความอยาก ความอยากนั้นชื่อว่า วิหิงสา เพราะเหตุแห่งความอยากนั้นเป็นที่เบียดเบียน และเป็นที่เสียดแทงกายแห่งพระภิกษุ พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตนั้น มีอุปมาดุจยาพอกแผลแห่งบุคคลอันมีบาดแผดแผลในสรีรกาย และจะป้องกันเสียซึ่งร้อนและเย็นเป็นอาทิ ในกาลเมื่อร้อนและเย็นครอบงำเป็นอาทิ กระทำอันตรายกายแห่งพระภิกษุนี้

   ในบทคือ “พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย” นั้น มีอรรถสังวรรณนาว่าพระภิกษุบริโภคอาหารบิณฑบาตนั้น เพื่อจะยังศาสนพรหมจรรย์ คือประพฤติซึ่งธรรมอันประเสริฐตามศาสโนวาท คำสั่งแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาทั้งสิ้น และจะยังมรรคพรหมจรรย์คือประพฤติซึ่งธรรมอันประเสริฐเป็นอุบายที่จะให้ได้ธรรมวิเศษคืออรหัตตมรรคและพระอรหัตตผล และพระนิพพานให้สำเร็จ

   แท้จริง พระภิกษุอาศัยซึ่งกำลังกายอันบังเกิดมี เพราะเหตุบริโภคซึ่งอาหารบิณฑบาต จึงสามารถอาจปฏิบัติเพื่อจะรื้อออกซึ่งตนจากภพกันดารข้ามสังสารสาครได้ เื่มื่อลำดับความเพียรประกอบเนือง ๆ ซึ่งสิกขาบท ๓ มีอธิสีลสิกขาเป็นประธาน จึงบริโภคอาหารบิณฑบาตที่อุปมาดุจดังว่าสามีและภรรยาทั้งสอง ปรารถนาจะรื้อตนให้พ้นจากหนทางกันดารต้องบริโภคเนื้อบุตรที่ตายลงเป็นอาหาร ไม่ฉะนั้นอุปาดุจดังว่าบุรุษปรารถนาจะข้ามแม่น้ำต้องแสวงหาซึ่งพ่วงและแพ ไม่ฉันนั้นมีอุปมาดุจดังพวกพาณิชคิดค้าขายข้ามสมุทรก็ต้องแสวงหาสำเภา พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตนั้นพึงมนสิการกำหนดว่า อาตมาจะบำบัดเสียซึ่งเวทนาอันมีในก่อน และจะยังเวทนาอันใหม่มิให้บังเกิดขึ้นได้

   มีอรรถสังวรรณนาในบทคือ “อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหํขามิ” นี้ว่า พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตด้วยวิตกว่า “อิมินา ปิณฺฑปาตปฏิเสวเนน” อาตมาจะบำบัดเสียซึ่งเวทนา คือความอยากมีในก่อนด้วยกิริยาที่จะเสพอาหารบิณฑบาตนี้

   ในบทคือ “น วญฺจ เวทนํ น อุปปาเทสฺสามิ” นั้น มีเนื้อความว่า พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตด้วยมนสิการกระแสจิต อาตมาจะยังเวทนาอันใหม่มีบริโภคพ้นประมาณ เป็นเหตุปัจจัยให้ได้พ้นเวทนาเหมือนอาหารหัตถกพราหมณ์ และอลังสาฏกพราหมณ์ และตัดถวัฏฏกพราหมณ์ และกากมากพราหมณ์ และภูตตวัมิกพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่ให้บังเกิดมี จะบริโภคบิณฑบาตนั้น เหมือนหนึ่งคนไข้บริโภคบำบัดไข้

   มีเนื้อความในอปรนัยว่า พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตด้วยดำริจิตคิดว่า เวทนาใดในกาลบัดนี้ ที่องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเรียกชื่อว่าปุราณเวทา เพราะเหตุว่าเวทนานั้นอาศัยบริโภคโภชนะพ้นประมาณอันมิได้เป็นที่สบาย บังเกิดขึ้นด้วยสามารถปัจจัย คือกรรมในกาลก่อน เมื่ออาตมาบริโภคบิณฑบาตควรแก่ประมาณอันเป็นที่สบาย ยังเหตุยังปัจจัยแห่งปุรเวทนานั้น ให้พินาศฉิบหายเสียแล้ว ก็จะบำบัดเสียได้ซึ่งปุรานเวทนา

   อนึ่ง เวทนาใดที่อาตมากระทำมาแล้วในกาลอันเป็นปัจจุบันนั้น เวทนานั้นชื่อว่า นวเวทนา แปลว่าเวทนาใหม่ เพราะเหตุเวทนานั้นจะบังเกิดในอนาคตกาล เหตุอาศัยกรรมปัจจัย คือมิได้พิจารณาแล้ว และบริโภคปัจจัย ไม่ให้บังเกิดขึ้นได้ ด้วยสามารถที่เราพิจารณาแล้ว และบริโภคซึ่งปัจจัย ก็จักยังเวทนาอันใหม่นั้นไม่ให้บังเกิดขึ้น

   อรรถในบททั้ง ๒ มี “อิติ ปุราณํ” เป็นอาทิ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยดังแสดงมาแล้วนี้

   “ยุตฺตปริโภคสงฺคโห” บัณฑิตพึงรู้ว่ากิริยาที่จะถือเอาโดยสังเขป ซึ่งบิรโภคบิณฑบาติปัจจัยอันควร และจะสละเสียซึ่งอัตตกิลมถานโยค ประกอบเนือง ๆ ให้ลำบากตน และมิได้เสียซึ่งสุขในกายอันบังเกิดเป็นปัจจัยแก่ฌาน องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงแสดงไว้ด้วยพระบาลีมีประมาณเท่านี้

   ในบทคือ “ยาตรา จ เม ภวิสฺสติ” นั้นว่า พระภิกษุบริโภคบิณฑบาต ด้วยปริวิตกว่า กิริยาที่จะยังอัตตภาพนี้อันประพฤติเนื่องด้วยปัจจัยให้ประพฤติเป็นไปสิ้นกาลช้านาน เพราะเหตุหาิมิได้แห่งอันตราย คือโรคที่ตัดซึ่งชีวิตอินทรีย์ และจะหักเสียซึ่งอิริยาบถ ๔ จัดมิได้มีแก่อาตมาก็เพราะบริโภคซึ่งบิณฑบาตอันควรแก่ประมาณ

   พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตนั้น มีอุปมาดุจดังว่าบุคคลมีโรคอยู่สิ้นกาลเป็นนิจ ต้องบริโภคยา มียานั้นเป็นปัจจัยได้บำบัดโรค

   ในบทคือ “อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร” นั้นว่า พระภิกษุบริโภคบิณฑบาตด้วยปริวิตกว่า สภาวะจะหาโทษมิได้ จักได้มีแก่อาตมา เพราะเหตุเว้นจากกิริยาที่แสวงหาจตุปัจจัยด้วยมิจฉาชีพ อันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสติเตียน และเว้นจากกิริยาที่จะรับ ไม่รู้ประมาณแห่งไทยธรรมของทายกและประมาณตน และเว้นจากบริโภคซึ่งปัจจัยอันมิควร

  อนึ่ง กิริยาที่จะอยู่สบาย จักมีแก่อาตมา ก็เพราะเหตุบริโภคพอประมาณ

   นัยหนึ่ง โทษทั้งหลายมี มิได้ยินดีในเสนาสนะอันสงัด และมิได้ยินดีในกุศลธรรมอันเที่ยง และนอนหลับซบเซาง่วงงุนและคร้านกาย อันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน จึงบังเกิดมีแก่อาตมา ก็เพราะเหตุบริโภคบิณฑบาตพ้นประมาณอันมิได้เป็นที่สบาย สภาวะที่จะหาโทษมิได้มีก็จักมีแก่อาตมา ก็เ้พราะเหตุปราศจากโทษที่กล่าวแล้วนั้น

   อนึ่ง กิริยาที่จะอยู่สบายก็จะบังเกิดมีแก่อาตมา ก็เพราะเหตุกำลังกายบังเกิดแก่อาตมา เหตุบริโภคโภชนะควรแก่ประมาณอันเป็นที่สบาย

   นัยหนึ่ง เมื่ออาตมาบริโภคบิณฑบาตควรแก่ประโยชน์ ยังอุทรประเทศให้พร่องอยู่ สภาวะที่หาโทษมิได้ก็บังเกิดมีแก่อาตมา เพราะเหตุละเสียซึ่งสุขที่เราจะพึงได้ด้วยกิริยาอันนอน และสุขที่เรานอนกลับข้างทั้ง ๒ และสุึขอันบังเกิดขึ้นด้วยอันประพฤติซึ่งถิ่นมิทธะ คือง่วงเหงาหาวนอน

  อนึ่ง เมื่อเราบริโภคหย่อนประมาณอาหารลงมา ๔ - ๕ คำ อาการอยู่สบายก็จักบังเกิดมีแก่เรา เพราะเหตุปฏิบัติสมควรแก่อิริยาบถทั้ง ๔

  “วุตฺตมฺปิ เจตํ” สมด้วยพระบาลีที่องค์พระผู้่ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ว่า “จตฺตาโร ปญฺจ อาโรเป อภุตวา อุทกํ ปิเว” พระภิกษุบริโภคอาหารบิณฑบาต ยังอีก ๔ – ๕ คำจะพอประโยชน์ ก็อย่าพึงบริโภค พึงดื่มกินอุทกัง เมื่อพระภิกษุมีจิตอันประพฤติเป็นไปในพระกัมมัฏฐานปฏิบัติดังนี้แล้ว ก็ควรที่จะอยู่เป็นผาสุกได้ “ปโยชนปริคฺคโห” กิริยาที่จะกำหนดซึ่งประโยชน์ และปฏิบัติเป็นมัชฌิมปฏิบัติทั้ง ๒ ประการ บัณฑิตพึงรู้ว่า องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคทรงแสดงแล้วด้วยบททั้ง ๓ มี “ยาตรา จเม ภวิสสฺสติ” เป็นอาิทิ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com