พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๔

   “เสขานํ ปน สีลํ ทิฏริวเส อปรามฎฺตฺตา ปุถุชฺชนานํ วาปน ภาวเสน อปรามฎฺตฺตา สีลํ อปรามฎฺปาริสุทฺธิติ เวทิตพฺพํ กุฏมฺพิปุตฺตติสฺสตฺเถรสฺส สีลํ วิย”
   โส หิ อายสฺมา ตถารูปํ สีลํ นิสฺสาย อรหัตฺเต ปติฏฺา ตุกาโม เวรเก อาห
   “อุ โภ ปาทานิ กินฺทิตฺวา      สญฺญมิสฺสามิ โว อหํ
   อฏิยามิ หรายามิ                สราคํ มรณํ อหนฺติ
   เอวาหํ จินฺตยิตวาน             สมฺมสิตฺวาน โยนิโส
   สมฺปตฺเต อรุณุคฺคมฺหิ           อรหตฺตมฺปิ ปาปุณินฺติ

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในปฐมปัญจะกะแห่งศีลมีประการห้า สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความว่า

   “เสขานํ ปน สีลํ” ดังกล่าวฝักฝ่ายอันอื่น ศีลแห่งพระเสขะอริยบุคคลทั้งหลายนั้น บัณฑิตพึงรู้ว่าชื่อว่า อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เพราะเหตุว่าศีลของพระอริยบุคคลนั้น อำนาจแห่งทิฏฐิไม่ถือเอาได้

   อนึ่งศีลแห่งปุถุชนทั้งหลายที่มีคุณอันบัณฑิตพึงนับ นักปราชญ์พึงรู้ชื่อว่า อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เพราะเหตุว่าศีล ของปุถุชนจำพวกนั้น อันอำนาจแห่งภวตัณหามิได้ถือเอาได้ ดุจดังว่าศีลแห่งพระดิสสเถรเจ้าอันเป็นบุตรแห่งกุฎุมพี

   แท้จริง พระดิสสเถรเจ้าผู้มีอายุนั้น ปรารถนาจะอาศัยอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล อันอำนาจแห่งภวตัณหาไม่ถือเอาแล้วแลจะตั้งอยู่ในพระอรหัตต์ จึงมีวาจาแก่โจรทั้งหลายที่ภรรยาแห่งพี่ชายของพระผู้เป็นเจ้าส่งไป เพื่อจะให้ฆ่าพระผู้เป็นเจ้าว่า “อุโก ปาทานิ ภินฺทิตฺวา” เราจักทำลายเท้าทั้งสองของเราเสียให้เป็นสำคัญแก่ท่านทั้งหลาย แล้วพระผู้เป็นเจ้าจึงคิดว่าเราเกลียดชังเหนื่อยหน่ายความมรณะของเราอันประพฤติเป็นไปกับด้วยราคะ คิดดังนี้แล้วก็พิจารณาพระกรรมฐานด้วยอุบายปัญญา ครั้นเพลาอรุณขึ้นมาแล้วพระผู้เป็ฯเจ้าก็บรรลุถึงพระอรหันต์

   “อญฺญตโรปิ มหาเถโร” ใช่แต่เท่านั้น พระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง มิได้ปรากฏโดยนามและโคตร พระผู้เป็นเจ้าเป็นไข้หนักไม่อาจบริโภคอาหารด้วยมือแห่งตน จนอยู่ในมูตรแลกรีสของตนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความเวทนาเป็นกำลัง

   พระภิกษุรูปหนึ่งได้เห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า “อโห ทุกฺขา ชีวิต สงฺขารา” โอหนอ สังขารอันบัณฑิตกล่าวว่าชีวิตนี้ย่อมจะนำมาซึ่งทุกข์

   พระมหาเถรเจ้าจึงกล่าวกับพระภิกษุหนุ่มนั้นว่า ดูกรอาวุโส เมื่อจะกระทำกาลกิริยาตายลงในกาลบัดนี้ เราก็จะได้สมบัติในสวรรค์ความสงสัยในมรณะนี้ไม่มีแก่เรา

   อนึ่ง เราจะทำลายศีลของเรานี้แล้วแลจะไปได้สมบัตินั้น ก็เหมือนเราละเสียซึ่งอธิศีลสิกขา แล้วได้สภาวะแห่งเราเป็นคฤหัสถ์

   พระผู้เป็นเจ้ากล่าวดังนี้แล้วจึงดำริว่า “สีเลเนว สทฺธึ มริสฺสามิ” เราจะกระทำกาลกิริยาตายกันด้วยศีล ก็นอนอยู่ด้วยประการนั้นพิจารณาซึ่งเวทนา อันบังเกิดขึ้นเพราะเหตุโรคบรรลุถึงพระอรหันต์แล้วก็กล่าวพระอรหันต์แก่พระภิกษุสงฆ์ ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า

   “ผุฏสฺสิ เม อญฺญตเรน พยาธินา โรเคน พาฬฺหํ ทุกขิตฺตสฺส รุปฺปโต ปริสุสฺสติ” เป็นอาทิดังนี้

   อรรถาธิบายในบาทพระคาถาว่า “อิติ เกฬวรํ” กเฬวระร่างกายแห่งเรานี้ พยาธิอันใดอันหนึ่งถูกต้องแล้ว ก็กระทำสรีระให้ถึงซึ่งวิกาลด้วยโรคอันยิ่ง ได้รับความเดือดร้อนเสวยทุกขเวทนาเหี่ยวแห้งไปโดยเร็วโดยพลัน มีอุปไมยดุจดังว่าดอกไม้มีดอกซีกเป็นอาทิอันบุคลวางไว้ในที่มีแสงแห่งพระอาทิตย์อันร้อน “ยตฺถปฺปมตฺตา อธิมุจฺจิตาปชา” สัตว์ทั้งหลายมีจิตประมาทปราศจากสติ มากไปด้วยความกำหนัดในกายอันเปื่อยเน่าอันใด ยิ่งศีลเป็นอาทิ อันเป็นหนทางที่จะยังตนให้ไปบังเกิดในสวรรค์ให้วิบัติฉิบหาย

   ดังเราติเตียน กายเราเปื่อยเน่านี้ มิได้เป็นที่ยังจิตให้เจริญเป็นที่พึงเกลียด คนพาลสรรเสริญว่าเป็นที่ชอบใจเป็นที่รัก อนึ่งกายนี้ไม่สะอาดคนพาลกว่าว่าสะอาด กายนี้เต็มไปด้วยอสุจิต่าง ๆ คนพาลไม่คิดเห็นว่าจะนำมาซึ่งทุกข์ ย่อมสรรเสริญว่าดีว่างามตามวิสัยโลกอันนี้ กายอันเน่านี้มีกลิ่นอันชั่ว เป็นอสุจิประกอบด้วยพยาธิกรรมกระทำให้ได้ความคับแค้น

   “อรหนฺตาทีนํ สีลํ” อันนี้ศีลแห่งพระอรหันต์อริยบุคคลทั้งหลาย มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอรหันต์เป็นประธาน บัณฑิตพึงรู้ ชื่อว่าปฏิปัสสิทธิปาริสุทธิศีล เพราะเหตุบริสุทธิ์ด้วยกิริยาที่ระงับกระวนกระวายมีราคะเป็นอาทิ

   ศีลมี ๕ ประการ มีปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นต้น ดังพระราชทานวิสัชนามานี้

   แต่นี้จะวินิจฉัยในศีลมี ๕ ประการเป็นคำรบ ๒ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยแห่งคำอันเราจะกล่าวดังนี้

   “ปาณาติปาตาทีนํ อตฺโถ” อรรถแห่งศีล ๕ ประการมีปาณาติบาตเป็นต้น นักปราชญ์พึงรู้ด้วยประเภทแห่งเจตนาเหตุสละเป็นอาทิสมด้วยพระบาลี ที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ศีลมี ๕ ประการ

   คือกิริยาที่จะเสียสละซึ่งปาณาติบาต ก็ชื่อว่าศีลประการ ๑

   คือเจตนาเป็นที่จะเว้นจากปาณาติบาต ก็ชื่อว่าศีลประการ ๑

   คือเจตนาอันเป็นข้าศึกแก่ปาณาติบาต ก็ชื่อศีลประการ ๑

   คือสังวรปิดไว้ซึ่งช่องอันเป็นที่เข้าไปแห่งปาณาติบาต ก็ชื่อว่าศีลประการ ๑

   คือกริยาที่ไม่กระทำให้ล่วง คือไปยังสัตว์อันมีปาณะให้ตกพลันก็ชื่อว่า ศีลประการ ๑

   ศีลนั้นอันประพฤติเป็นไปในปาณาติบาต มี ๕ ประการด้วยกันดังนี้

   ในอทินนาทาน และกาเสุมิจฉาจาร แลมุสาวาท แลเปสุญวาท แลผรุสวาท แลสัมผัปปลาปวาท และอภิชฌา แลพยาบาท แลมิจฉาทิฏฐิ กรรมบถ ๙ ประการนี้ ก็จัดเป็นศีลสิ่งละห้า ๆ คือปหานศีลแลเวรมณีศีลแลเจตนาศีล แลสังวโรศีล แลอวิติกกโมศีลเหมือนหนึ่งปฐมกรรมบถคือ ปาณาติบาตนั้น

   การที่จะสละเสียแลเว้นเสีย แลเจตนาคือกิริยาที่จะคิดและสังวรปิดไว้ซึ่งช่อง แลมิได้กระทำให้ล่วงซึ่งความปรารถนาในกามด้วยเนกขัมมะ คือ ไม่โลภ ซึ่งพยาบาทด้วยไ่ม่มีพยาบาท ซึ่งถีนมิทธะคือง่วงเหงาหาวนอนด้วยอาโลกสัญญา คือยังสว่างอันปรากฏด้วยมนสิการกระทำให้แจ้งให้บังเกิดมี ซึ่งอุทธัจจะฟุ้งซ่านด้วยสมาธิซึ่งวิกิจฉาสงสัยวินิจฉัยโดยแท้ซึ่งธรรม มีกรรมอันเป็นกุศลเป็นต้น ซึ่งอวิชชาด้วยปัญญา ซึ่งไม่ยินดีด้วยปราโมทย์

   แลการที่จะละเสียและเว้นเสียแลปิดไว้ซึ่งช่อง แลมิได้กระทำให้ล่วงนิวรณธรรมทั้งหลายด้วยปฐมฌาน ซึ่งวิตกแลวิจารทั้งหลายด้วยทุติยฌานซึ่งปิติด้วยตติยฌาน ซึ่งสุขแลทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ซึ่งรูปสัญญาคือสำคัญว่ารูป แลปฏิฆสัญญาสำคัญว่าครืดครือ แลนานัตตสัญญาสำคัญว่าต่าง ๆ ด้วยอากาสานัญจยตนสมาบัติ ซึ่งอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติก็จัดเป็นศีลสิ่งละห้า ๆ ดุจเดียวกัน

   อนึ่ง การที่จะละเสียและเว้นเสีย และเจตนา แลสังขารและไม่กระทำให้ล่วงซึ่งนิจจสัญญา คือสำคัญว่าเที่ยงด้วยอนิจจานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ว่าไม่เที่ยง ซึ่งสุขสัญญาคือสำคัญว่าเป็นสุขด้วยทุกขานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ว่านำมาซึ่งทุกข์ ซึ่งอัตตสัญญาสำคัญว่าตนด้วยอนัตตาทุปัสสนา เห็นเนื่อง ๆ ว่าไม่ใช่ตน ซึ่งความยินดีคือตัณหาอันเป็นไปกับด้วยปีติ ด้วยนิพพิทานุปัสสนาเห็นเนือง ๆ ด้วยอาการอันเหนื่อยหน่ายในสังขารธรรมทั้งหลาย ซึ่งราคะด้วยวิราคานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ด้วยอาการอันไปปราศจากความยินดี ซึ่งสมุทัยคือตัณหานิโรธานุปัสสนาคือเห็นเนือง ๆ ซึ่งนิโรธคือความดับแห่งตัณหา ซึ่งจะสละเสียได้ด้วยมุญจิตุกามยตานุปัสสนาคือเห็นเนือง ๆ ซึ่งภาวะปรารถนาเพื่อจะสละเสีย ซึ่งถือเอาด้วยสามารถว่าเที่ยงเป็นอาทิ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ซึ่งสละตอบ คือสละคืนซึ่งฆนสัญญาสำคัญว่าเป็นแท่งด้วยขยานุปัสสนาคือเห็นเนือง ๆ ว่าสิ้นไป ซึ่งอายุหนะคือตกแต่งไว้ด้วยวยานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ว่าประลัยไป ซึ่งธุวสัญญาสำคัญว่าเที่ยงด้วยปริณามานุปัสสนา คือเห็นเนือง ๆ ว่ามิได้ตั้งมั่นแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย ซึ่งราคาทินิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา เห็นเนือง ๆ ว่าใช่นิมิตซึ่งปณิธิมีราคาปณิธิเป็นต้นด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา เห็นเนือง ๆ ว่าไม่ทรงอยู่ ซึ่งอภินิเวส ความถือมั่นด้วยสุญญตานุปัสสนา เห็นเนือง ๆ ว่าสูญว่าเปล่าซึ่งวิปลาสคืออันถือเอาว่ามีสารในธรรมทั้งหลาย อันหาแก่นสารมิได้ ด้วยอันเห็นซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันเที่ยง คือพิจารณาเห็นธรรมอันยุตติในภูมิ ๓ คือกามาวจรภูมิ แลรูปาวจรภูมิ แลอรูปาวจรภูมิ ด้วยสามารถเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกขังนำมาซึ่งทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตน

   แลละเสียเว้นเสียแลมีเจตนาแลมีสังวรแลไม่ล่วง ซึ่งถือเอาด้วยความหลงว่าโลกนี้ อิสสรเทวราชตกแต่งเป็นอาทิ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ เห็นเนือง ๆ ซึ่งพระไตรลักษณ์ อันถึงซึ่งภาวะเป็นธรรมอันตั้งมั่น ซึ่งอันถือเอาซึ่งภาวะเป็นที่พึ่ง แลเป็นที่เร้นในสังขารธรรมทั้งหลาย ด้วยอาทีนวานุปัสสนาเห็นเนือง ๆ ซึ่งโทษ

   ซึ่งมิได้สละเสียซึ่งสังขารทั้งหลาย ด้วยปฏิสังขารานุปัสสนาคือเห็นเนือง ๆ ซึ่งสละเสียซึ่งสังขารธรรมทั้งหลาย ซึ่งอันถือเอาซึ่งสังโยคคือจะประกอบไว้ด้วยดี ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนาเห็นเนือง ๆ ซึ่งวิวัฏ คือปราศจากที่อันเป็นที่วนคือสังขาร แลสละเสียเว้นเสียแลเจตนาแลสังวรแลไม่ให้หลงซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเอกัฏฐานบังเกิดกับด้วยทิฏฐิด้วยพระโสดาปัตติมรรคซึ่งกิเลสทั้่งหลายอันหยาบด้วยพระสกิทาคามิมรรค ซึ่งกิเลสทั้งหลายอันเบาบางบังเกิดแล้วด้วยพระอนาคามีผลมรรค แลละเสียแลเว้นเสียแลเจตนาและสังวรแลมิได้ก้าวล่วงแห่งกิเลสทั้งปวง ด้วยพระอรหัตตมรรคก็จัดเป็นศีลสิ่งละห้า ๆ ดุจเดียวกันดังนี้

   “เอวรูปานิ สีลานิ” ศีลทั้งหลายที่พรรณนามานี้ ย่อมจะประพฤติเป็นไป คือจะมิให้เดือดร้อนกินแหนงแห่งจิต

   แลจะประพฤิตเป็นไปเพื่อจะให้ได้ดรุณปีติ คือปีติอันอ่อน

   แลจะประพฤติเป็นไปเพื่อจะให้ได้พลวปีติ คือปีติอันกล้ามีกำลัง

   แลจะประพฤติเป็นไปเืพื่อจะให้ได้ปัสสัทธิ ระงับกาย แลวาจา

   แลจะประพฤติเป็นไปเพื่อจะให้ได้โสมนัส

   แลจะประพฤติเป็นไปเพื่อจะให้ได้เสพซึ่งสมาธิ

   แลจะประพฤติเป็นไปเพื่อจะยังสมาธินั้นให้เจริญ แลจะกระทำให้มากซึ่งสมาธิ

   และจะกระทำประดับซึ่งพระสมาธินั้น และเป็นไปเพื่อจะเป็นสัมภาระแห่งพระสมาธิ

   แลจะยังธรรมวิเศษมีมติและวิริยะเป็นอาทิ อันบังเกิดเป็นบริวารแห่งสมาธิให้ถึงพร้อม

   แลจะยังสมาธิให้บริบูรณ์ แลจะให้เหนื่อยหน่ายเตภูมิกธรรม และให้ประพฤติเป็นไปเพื่อวิราคะ คือปราศจากยินดี

   และจะเป็นไปเพื่อนิโรธแลเข้าไปใกล้ระงับ แลตรัสรู้ยิ่งแลตรัสรู้ด้วย และจะประพฤติเป็นไปเพื่อจะให้ได้สำเร็จแก่พระนิพพานอันหาปัจจัยมิได้

   ในบทคือ “ปหานํ” แปลว่าสละชื่อว่าหานศีลที่ ๑ นั้น มีอรรถสังวรรณนาว่า “โกจิ ธมฺโม นาม นตฺถิ” ธรรมอันใดอันหนึ่งเว้นจากมาตรว่า คืออันจะยังบาปทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น มีประการอันเรากล่าวแล้วไม่ให้บังเกิดขึ้นนั้น จะได้ชื่อว่าปหานะหาบมิได้

   อนึ่ง กิริยาที่จะสละเสียซึ่งอกุศลธรรมนั้น ๆ มีสละปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าอุปธารณะ ด้วยอรรถว่า คือสภาวะที่สละบาปธรรมนั้นเป็นที่ตั้งแห่งกุศลกรรมนั้น ๆ แลชื่อว่าสมาทาน เพราะเหตุว่าไม่กระทำให้เรี่ยราย

   เหตุใดเหตุดังนั้น การที่สละละอกุศลธรรมนี้ พระธรรมเสนาบัติสารีบุตรจึงมีเถรวาทเรียกชื่อว่าศีล ด้วยอรรถคือสภาวะบาปธรรมนั้นชื่อว่าสีลนา กล่าวคือเป็นที่ตั้ง แลมิได้กระทำให้เรี่ยราย

   ศีลทั้ง ๔ คือเวรมณีศีลแลเจตนาศีล แลสังวโรศีลแลอวิติกกโมศีลนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็กล่าวสหายเอาซึ่งสภาวะ คือประพฤติเป็นไปแห่งจิตที่จะเว้นจากอกุศลกรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนั้น ๆ

   แลจะประพฤติเป็นไปแห่งจิต ที่จะปกปิดไม่ให้ช่องแก่อกุศลมีปาณาติบาตเป็นต้นนั้น ๆ

   แลจะประพฤติเป็นไปแห่งจิต ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันประกอบด้วยเอกุปปาทิปหาน เกิดกับดับพร้อมด้วยเวรมณีแลสังวรทั้ง ๒ นั้น

   แลจะประพฤติเป็นไปแห่งจิตที่จะไม่ล่วง แห่งบุคคลอันมิได้ล่วงซึ่งอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนั้น ๆ

   อนึ่ง อรรถคือศีลนะแห่งศีลทั้งหลายมีเวรมณีศีลเป็นต้น ข้าพระองค์มีนามชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์แสดงแล้วในหนหลัง

   “เอวํ ปญจวิธํ สีลํ” ศีลมี ๕ ประการ โดยประเภทมีปหานศีลเป็นประธาน ดังวิสัชนามาดังนี้

   กิริยาที่วิสัชนาซึ่งอรรถปัญหาที่ถามว่า “กึ สีลํ” ธรรมดังฤๅชื่อว่า ศีล

   แลถามว่าธรรมชื่อว่าศีลนั้นด้วยอรรถเป็นดังฤๅ

   แลธรรมดังฤๅ ชื่อว่าลักษณะแลเป็นกิจแลเป็นผลแลเป็นอาสันนเหตุแห่งศีล

   แลถามว่า ศีลนี้มีธรรมดังฤๅเป็นอานิสงส์

   แลถามว่าศีลนี้มีประการเท่าดังฤๅ

   ก็ตั้งอยู่แล้วด้วยอาการอันสำเร็จ โดยลำดับแห่งพระบาลีมีประมาณเท่านี้

   “ยํ ปน วุตฺติ” อันหนึ่งปัญหากรรมคำปุจฉาอันใด ที่กล่าวไว้ว่า “โก จสฺส สงฺกิเลโส” ธรรมดังฤๅชื่อว่าสังกิเลส คือเศร้าหมองแห่งศีลแลธรรมดังฤๅชื่อ บริสุทธิ์แห่งศีล

   เราจะวิสุชนากล่าวแก้ในปัญาหากรรมที่ถามนั้น

   สภาวะมีศีลขาดเป็นอาทิ ชื่อว่าสังกิเลสคือเศร้าหมองแห่งศีล

   สภาวะมีศีลไม่ขาดเป็นอาทิ ชื่อว่าบริสุทธิ์แห่งศีล

   สภาวะธรรมที่จะกระทำให้มีศีลขาดเป็นอาทินั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนา ประสงค์เอาด้วยการที่จะทำลายมีลาภแลมียศเป็นอาิทิ เป็นเหตุที่จะให้ทำลายด้วยเมถุนสังโยค ๗ ประการ

   “ตถา หิ” คำที่กล่าวดังนั้นจริง “ยสฺส สิกฺขาปทํ ภินฺนํ” สิกขาบทแห่งพระภิกษุใดทำลายในเบื้องต้นก็ดี ในที่สุดก็ดี ในอาบัติขันธ์ทั้ง ๗ “ตสฺส สีลํ ปริยเนฺต” ศีลแห่งพระภิกษุนั้นก็ชื่อว่าขาดดุจดังผ้าสาฎกอันขาดโดยภาคทั้งหลาย

   อนึ่ง ศีลแห่งพระภิกษุรูปใดทำลายในท่ามกลาง ศีลแห่งพระภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นช่องดุจดังผ้าสาฎกอันทะลุเป็นช่องอยู่ในท่ามกลาง

   ศีลแห่งพระภิกษุใดทำลายทั้งสองทั้งสามสถานโดยลำดับ ศีลแห่งพระภิกษุนั้น ก็เป็นศีลอันด่างพร้อย ดุจดังโคมีสีดำแลสีแดงเป็นอาทิ เป็นสีอันใดอันหนึ่งด้วยวรรณอันเป็นวิสภาค มีส่วนแห่งสีมิได้เสมอกันคือดำบ้างแดงบ้าง อันตั้งขึ้นในหลังแลท้อง

   “ยสฺส อนฺตรนฺตรา ภินฺนานิ” ศีลทั้งหลายแห่งพระภิกษุใดทำลายในระหว่างแลระหว่างศีลแห่งพระภิกษุนั้น ชื่อว่าพร้อมดุจดังว่าโคมีสรีระอันเป็นของด่างด้วยสีอันเป็นวิสภาคมีส่วนมิได้เสมอกัน

   “เอวํ ตาว ลาภทิเหตุเกน” สภาวะแห่งศีลมีศีลอันขาดเป็นต้น ด้วยทำลายเพราะเหตุลาภเป็นอาทิ บัณฑิตพึงรู้ว่ามีด้วยประการดังนี้ก่อนเอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com