พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ <
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๓

   “เอวํ กโรนฺโต หิ กิจฺจการี โหติ วุตฺตมฺปิ เจตํ
   ปณฺฑํ วิหารํ สยนาสนญฺจ
   อาปญจ สงฺฆาฏิรชูปาหนํ
   สุตฺวาน ธมฺมํ สุคเตน เทสิตํ
   สงฺขาย เสเว วรปญฺญสาวโก
   ตสฺมา หิ ปิณฺเฑ สยนาสเส จ
   อเป จ สงฺฆาฏิรชูปวาหเน
   เอเตสุ ธมฺเมสุ อนุปฺปลิตฺโต
   ภิกฺขุ ยถา โปกฺขเร วาริวินฺทฺ
   กาเลน ลทฺธา ปรโต อนุคฺคหา
   ขชุเชสุ โกเชสุ จ สายเนสุ จ
   มตฺตํ โส ชญฺญา สตตํ อุปฏฐิโต
   วณสฺส อาเลปนรูหเน ยถา
   กนฺตาเร ปุตตมํสญฺจ       อกฺขสสพภญชนํ ยถา-
   เอวํ อาหริ อาหารํ       ยาปนาย อมุจฺฉิโตตี”

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในจตุปาริสุทธิศีล อันมีในศีลนิเทศ ในพระวิสุทธิมรรคปกรณ์ สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี “เอวํ กโรนฺโต หิ กิจฺจการี” แท้จริงเมื่อพระภิกษุกระทำดังกล่าวแล้วนี้ก็ได้ชื่อว่า “กิจฺจการี” คือจะยังสามีบริโภคให้สำเร็จสมดังวาระพระบาลีอันพระธรรมสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลายกล่าวไว้ว่า “ปิณฺฑํ วหารํ สยนาสนญฺจ” พระภิกษุอันเป็นเสขบุคคลแลเป็นปุถุชน เป็นสาวกแห่งองค์พระผู้ทรงพระภาค ผู้ทรงปัญญาอันอุดม ได้สดับพระธรรมเทศนาอันพระสุคตทรงแสดงแล้วก็พิจารณาซึ่งก้อนอามิสแลวิหาร แลเสนาสนะมีเตียงเป็นอาทิ แลอุทกังคือน้ำอันจะชำระผ้าสังฆาฏิ อันแปดเปื้อนด้วยธุลี มีมลทินคือฝุ่นเป็นอาทิ ด้วยปัญญาแล้ว แลเสพซึ่งจตุปัจจัยทั้ง ๔ เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุอันเป็นพระอริยสาวก อย่ามีจิตระคนข้างอยู่ในธรรมทั้งหลาย คือก้อนอามิสแลที่อันเป็นที่นอนแลที่อันเป็นที่นั่งแลน้ำอันจะชำระธุลีอันแปดเปื้อนซึ่งผ้าสังฆาฏิ หยาดน้ำมิได้ติดอยู่ในใบบัวฉันใด พึงปฏิบัติพึงประพฤติเป็นไปในธรรมทั้งหลาย มีก้อนอามิสเป็นอาทิ เหมือนกันฉันนั้น

   “กาเลน ลทฺธา ปรโต อนุคฺคหา” พระภิกษุนั้นได้ซึ่งวัตถุมีขาทนียะเป็นต้น ในสำนักแห่งบุคคลผู้อื่นคือทายก ด้วยความอนุเคราะห์ว่าตนมีศีล ในเวลาบิณฑบาต ก็มีสติอันตั้งมั่น รู้ประมาณในวัตถุคือขาทนียะ โภชนียะอันตนจะพึงเคี้ยวแลจะพึงบริโภค แลจะลิ้มเลียแลจะดื่มกินสิ้นกาลทั้งปวง มีอุปไมยดังว่าบุรุษมีโรค คือบาดแผลในสรีระต้องพอกยายังเนื้อให้งอกขึ้น

   “กนฺตาเร ปุตฺตมํสญฺจ” ไม่ฉะนั้น มีอุปมาว่า สามีกับภรรยาอุ้มบาตรไปในหนทางกันดาร เสบียงอาหารสิ้นแล้วก็กินเนื้อบุตรเป็นอาหาร จึงข้ามเส้นกันดารได้ “ยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใดก็ดี

   อนึ่ง นายสารถีจะขับรถไป ก็ต้องเอาน้ำมันทาเพลารถเสียก่อนจึงจะขับไปได้ “ยถา” อันนี้แลอุปมาฉันใดก็ดี พระภิกษุในพระศาสนานี้มิได้สยบซบอยู่ด้วยตัณหา คือความปรารถนาในสูบกลิ่นกินซึ่งอาหาร เพีื่อจะยังสรีระให้ประพฤติเป็นไป “เอวํ ตถา” อันนี้ก็มีอุปไมยเหมือนคำอุปมาทั้ง ๒ นั้น

   อาจารย์พึงกล่าวนิทานแห่งพระสังฆรักขิตสามเณร อันเป็นหลานแห่งพระสังฆรักขิตเถรเจ้า สาธกเข้าในวิธีที่พระภิกษุกระทำปัจจัยสันนิสสิตนี้บริบูรณ์

   “โส หิ สมฺมา ปจฺจเวกฺขิตฺวา” แท้จริงพระสังฆรักขิตสามเณรนั้น พิจารณาด้วยอาการอันดีแล้วจึงบริโภค เหตุใดเหตุดังนั้นพระสามเณรจึงกล่าวพระคาถาว่า “อุปชฺฌาโย มํ ภุญฺชมานํ สาลิรุกํ สนิพฺพุตํ” เมื่อเราจะบริโภคข้าวสุก อันบุคคลหุงด้วยข้าวสารสาลีอันเย็นแล้ว พระอุปัชฌายะท่านว่าแก่เราว่า ดูกรเจ้าสามเณร ท่านมิได้สำรวมบริโภคอย่ายังชิวหาแห่งท่านให้ไหม้ “อุชฺฌายสฺส วโจ สุตฺวา” เราได้ฟังวาจาพระอุปัชฌายะกล่าวดังนี้ ได้ความสังเวชขึ้นมาในกาลนั้น “เอกาสเน นิสีทิตฺวา” เราก็นั่งอยู่เหนืออาสนะอันเดียว เจริญพระวิปัสสนาบรรลุถึงพระอรหันต์ เราก็มีความปรารถนาบริบูรณ์ “จนฺโท ปณฺณรโส ยถา” ดุจดังว่าดวงจันทร์ในวันเพ็ญสิบห้าค่ำ ตนของเรานั้นก็มีอาสวะอันสิ้นไปภพใหม่ก็มิได้มีแก่เรา

   เพราะเหตุการณ์นั้น พระภิกษุึรูปอื่นปรารถนาจะยังวัฏฏทุกข์ให้ิสิ้นไป พึงพิจารณาด้วยอุบายปัญญาแล้วจึงบริโภคจตุปัจจัย

   บัณฑิตพึงรู้ว่าศีลมี ๕ ประการ มีพระปฏิโมกขสังวรศีลเป็นประธาน โดยนัยดังแสดงมาแล้วนี้

   แต่นี้จะวินิจฉัยในปฐมปัญจกะแห่งศีล ๕ ประการ

   เนื้อความอันนี้ บัณฑิตพึงรู้ด้วยสามารถแห่งศีลทั้งหลาย มีอนุปสัมปันนศีล คือศีลแห่งพระสามเณรเป็นอาทิ

   “วุึตฺตํ เหต ปฏิสมฺภิทายํ” สมด้วยพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทาว่า “กตมํ ปรยินฺตปาริสุทธิสีลํ” ปริยันตปาริสุทธิศีลนั้นเป็นดังฤๅ

   ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ศีลอันใดเป็นศีลแห่งอนุปสัมบัน ศีลแห่งพระสามเณรอันที่มีกำหนด ศีลนั้นชื่อว่าปริยันตปาริสุึทธิศีลที่ ๑

   “กตมํ อปริยนฺตปาริสุทธิสีลํ” อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นดังฤๅ

   ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ศีลอันใดเป็นศีลแห่งอุปสัมบันคือพระภิกษุมีสิกขาบทจะกำหนดมิได้ ศีลนี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีลที่ ๒

   “กตมํ ปรามฏฺฐปาริสุทฺธิสีลํ” ปริปุณเณหาริสุทธิศีลนั้นเป็นดังฤๅ

   ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ศีลอันใดเป็นศีลแห่งปุถุชนทั้งหลาย มีคุณอันนักปราชญ์จะพึงนับถือ ย่อมประกอบในกุศลธรรม แลกระทำให้บริบูรณ์ในวิปัสสนาธรรมเป็นโลกิยะ อันเพ่งเอาซึ่งโคตรภูญาณแล้วแลตั้งอยู่ มีเสขิยธรรมคือพระโสดามรรคนั้นเป็นแดนมิได้อาลัยในกายแลชีวิต มีจิตอันบริจาคชนม์ชีพแห่งตน ศีลนี้ชื่อว่าปริสุทธิศีลที่ ๓

   “กตมํ อปารามฏฺฐปริสุทธิสีลํ” อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนั้นเป็นดังฤๅ

   ดูกรอาวุโส ศีลอันใดแห่งพระเสขบุคคลทั้งหลาย ๗ จำพวก ศีลนี้ชื่อว่า อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลที่ ๔

   “กตมํ ปฏิปสฺสทฺธิปาริสุทธิสีลํ” ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนั้น เป็นดังฤๅ

   ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ศีลอันใดแห่งพระขีณาสวะเจ้า อันเป็นสาวกของพระตถาคตแลเป็นของแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันมาสู่พระภูมิ เป็นองค์พระอรหันต์อันประเสริฐศีลนี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิศีลที่ ๕

   แท้จริง ศีลแห่งอนุปสัมบันทั้งหลาย บัณฑิตพึงรู้ชื่อว่า ปริยันตปาริสุทธิศีล เพราะเหตุว่ามีที่กำหนด ด้วยสามารถอาจนับได้

   อนึ่ง ศีลแห่งอุปสัมบันบุคคลทั้งหลาย คือพระภิกษุนั้น เป็นไปกับด้วยที่สุดบ้าง หาที่สุดมิได้บ้าง เป็นไปกับด้วยที่สุดนั้นด้วยสามารถแห่งอาจารย์นับว่าสังวรวินัย ศีลแห่งพระภิกษุนั้นนับได้ ๙ พัน ๑๘๐ โกฏิ ๕๐ แสนเศษ ๓๖ สังวรวินัยทั้งปวง กล่าวคือสิกขาบท โดยนัยมาดังกล่าวแล้วนี้ โดยเปยยาลเป็นประธาน อันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระวินัยปิฎก

   แลสังวรวินัย กล่าวคือสิกขาบทหาที่สุดมิได้นั้น บัณฑิตอาศัยซึ่งสมาทานบมิได้เหลือแลมีที่สุดบมิได้ปรากฏ สมด้วยสามารถแห่งลาภแลยศ แลญาติแลอวัยวะแลชีวิต แล้วแลพึงรู้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล

   ดุจดังว่าศีลแห่งพระอัมพขาทกมหาดิสสเถรเจ้า อันอยู่ในจิรคุมพกวิหาร “ตถา ตทิทิมินา สจฺจํ” คำที่กล่าวมานั้นก็สามด้วยคำนี้

   “โส มหาติสฺสเถโร” พระมหาดิสสเถรเจ้านั้น บมิได้ละเสียซึ่งอนุสสติระลึกเนือง ๆ ซึ่งคำแห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกนารถผู้เป็นองค์อริยสัปบุรุษ ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า

   “ธนํ จเช องฺควรสฺส เหตุ” บุคคลพึงละเสียซึ่งทรัพย์ เพราะเหตุจะรักษาซึ่งอวัยวะอันประเสริฐ

   “องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน” เมื่อบุคคลจะรักษาไว้ซึ่งชีวิตก็พึงสละเสียซึ่งอวัยวะ

   “องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต” เมื่อบุคคลระลึกเนือง ๆ ซึ่งพระสัทธรรม เป็นคำแห่งองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาสั่งสอน ก็พึงสละเสียซึ่งวัตถุสิ่งของทั้ง ๓ ประการ คือทรัพย์แลอวัยวะน้อยใหญ่แลชีวิต อย่าได้คิดอาลัยในวัตถุสิ่งของทั้ง ๓ ประการนี้

   ในเมื่อความสงสัยในชีวิตบังเกิดมี เพราะเหตุกระวนกระวายในความอยาก “สกฺขปทํ อวิติกฺกม” พระผู้เป็นเจ้าก็มิได้ล่วงสิกขาบทตั้งอยู่เหนือหลังแห่งอุบาสก บรรลุถึงพระอรหันต์ เพราะเหตุอาศัยซึ่งอปริยันตปาริสุทธิศีล

   เหตุใดเหตุดังนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงนิพนธ์พระคาถาไว้ว่า

   “น ปิตา น ปิ เต มาตา ฯ ญาติ น ปิ พนฺธวา” เป็นอาทิ

   แปลเนื้อความว่าพระอัมพขาทกมหาดิสสเถรเจ้านั้น ตั้งอยู่เหนือหลังอุบาสกยังสังเวชให้บังเกิดขึ้นด้วยความปริวิตกว่า อุบาสกนี้มิได้เป็นมารดาบิดาของท่าน แลจะเป็นญาติของท่านก็หามิได้ ใช่แต่เท่านั้น อุบาสกนี้จะเป็นเผ่าพันธุ์แห่งท่านก็หามิได้ อุบาสกนี้กระทำซึ่งกิจคือยังท่านให้นั่งอยู่เหนือบ่าแล้วแลพาไป ก็เพราะเหตุอาศัยแก่ท่านเป็นบรรพชิตอันมีศีล

   “สมฺมสิตฺวาน โยนิโส” พระมหาเถรเจ้าบังเกิดธรรมสังเวชดังนี้ แล้วพิจารณาพระกรรมฐานด้วยวิปัสสนาปัญญา ตั้งอยู่เหนือหลังแห่งอุบาสกนั้น บรรลุถึงพระอรหันต์

   “ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ สีลํ” ศีลแห่งพระภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชน มีคุณอันบัณฑิตพึงนับปราศจากมลทินแล้ว ก็เป็นปทัฏฐานที่ตั้งแห่งพระอรหัตต์ ด้วยประมาณแห่งจิตตุบาทคือดำริจิตคิดว่าอาตมาจะยกตนออกจากวัฏฏทุกข์ จะประพฤติเป็นไปดังนี้ ก็เพราะว่าภิกษุนั้นมีศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งนัก ดุจดังว่าแก้วมณีอันนายช่างชำระแล้วเป็นอันดี มิฉะนั้นดุจดังว่าทองอันช่างทองกระทำบริกรรมแล้วเป็นอันดี จำเดิมแต่อุปสมบทแล้วมา เพราะเหตุการณ์นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสเรียกศีลแห่งพระภิกษุอันเป็นกัลยาณปุถุชนชื่อว่าปริปุณณปาริสุทธิศีล ดุจดังว่าศีลแห่งพระมหาสังฆรักขิตเถรเจ้าแลพระภาคิเนยยสังฆรักขิตเถรเจ้า

   “กิร” ดังได้สดับมา เมื่อพระมหาสังฆรักขิตเถรเจ้ามีวัสสาล่วงได้ ๖๐ วัสสาแล้ว พระผู้เป็นเจ้านอนอยู่เหนือเตียงอันเป็นที่กระทำมรณกาลกิริยา พระภิกษุทั้งหลายไถ่ถามกิริยาที่พระผู้เป็นเจ้าได้สำเร็จมรรคแลผล พระมหาเถรเจ้าจึงบอกว่าโลกุตตธรรมแห่งเรานั้นมิได้มี

   ในกาลนั้น พระภิกษุหนุ่มผู้เป็นอุปัฏฐากปฏิบัติ พระมหาเถรเจ้าจึงกล่าวว่า “ภนฺเต” ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ มนุษย์ทั้งหลายอยู่ในที่ ๑๒ โยชน์ โดยรอบคอบพระอาราม มาประชุมพร้อมกันเพราะเหตุกิตติศัพท์กล่าวกันว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรินิพพาน “ตุมฺหากํ ปุถุชฺชนกาลกิริยาย” เมื่อพระผู้เป็นเจ้ากระทำกาลกิริยาอันเป็นของแห่งปุถุชนคนทั้งหลายที่มาประชุมกันนี้ก็มีความวิปฏิสารีเดือดร้อนกินแหนงเป็นอันมาก

   จึงมีเถรวาทกล่าวว่า ดูกรอาวุโส เรามีความปรารถนาจะทัศนาการเห็นองค์พระผู้ทรงพระภาค ผู้ทรงพระนามว่าอริยเมตไตย เราจึงมิได้ตั้งไว้ซึ่งพระวิปัสสนา ถ้ากระนั้นดูกรอาวุโส ท่านจงยังเราให้นั่งจงกระทำซึ่งโอกาสแห่งเรา

   พระภิกษุหนุ่มนั้นก็ยังพระมหาเถรเจ้าให้นั่ง ตั้งสรีรวายได้แล้วก็ลุกออกไปภายนอก

   พระมหาเถรเจ้าก็บรรลุถึงพระอรหัตต์ พร้อมกับด้วยการที่พระภิกษุหนุ่มลุกออกไปภายนอกนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ให้สำคัญสัญญาด้วยอันดีดนิ้ว

   พระภิกษุสงฆ์ก็ประชุมพร้อมกัน เข้าไปกล่าวแก่พระผู้เป็นเจ้าว่า “ภนฺเต” ข้าแต่ท่านผู้เป็นอริยสัปบุรุษ พระผู้เป็นเจ้ายังโลกุตตรธรรมอันข้ามขึ้นจากโรค ให้บังเกิดได้ในกาลเมื่อจะกระทำมรณกาลนี้พระผู้เป็นเจ้ากระทำได้ด้วยยาก

   จึงมีเถรวาทว่า ดูกรวาวุโสทั้งหลาย กิริยาที่เรายังโลกุตตรธรรมให้บังเกิดในกาลครั้งนี้ เราจะกระทำด้วยยากหามิได้ “อปิจ โว ทุกฺกรํ” อนึ่งเราจะบอกการที่กระทำได้ด้วยยากให้ท่านทั้งหลายฟัง ดูกรอาวุโสทั้งหลายเราระลึกไม่ได้ซึ่งการที่เราไม่รู้แล้วแลกระทำด้วยหาสติมิได้ จำเดิมแต่บรรพชาแล้ว

   อนึ่ง พระภาคิเนยยสงฆ์รักขิตเถรเจ้าผู้เป็นหลานแห่งพระมหาสังฆรักขิตเถรเจ้านี้ เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามีวัสสา ๕๐ ก็บรรลุพระอรหัตต์เป็นองค์พระอรหัตต์เหมือนกันดังนี้

   “อปฺปสฺสุโตปิ เจ โตติ” นัยหนึ่งพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ถ้าแลได้สดับฟังพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกนั้นน้อย แลมิได้ตั้งอยู่ด้วยอาการอันดี ในพระจตุปาริสุทธิศีล ชนทั้งหลายก็นินทาพระภิกษุนั้นโดยส่วนทั้งสอง คือมิได้มีศีลประการหนึ่ง คือมิได้สดับฟังพระพุทธวจนะประการหนึ่ง

   “อปฺปสฺสุโตปิ เจ โหติ” อนึ่งพระภิกษุในพระศาสนานี้ ถ้าแลว่าได้สดับฟังพระพุทธวจนะน้อย แต่ทว่าตั้งอยู่ด้วยอาการอันดีในพระจตุปาริสุทธิศีล ชนทั้งหลายก็สรรเสริญพระภิกษุนั้นโดยส่วนแห่งศีล การที่สดับพระพุทธวจนะจะให้นำมาซึ่งบริบูรณ์แก่ตน และให้บริบูรณ์แก่บุคคลทั้งหลายอื่น ก็มิได้สำเร็จแก่พระภิกษุนั้น

   “พหุสฺสุโตปิ เจ โตติ” อนึ่งถ้าแลว่าพระภิกษุเป็นพหุสูต ได้สดับพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกทั้งหลายมาก แต่ทว่ามิได้ตั้งมั่นอยู่ในศีล “สิลโต นํ ครหนฺติ” ชนทั้งหลายก็ติเตียนพระภิกษุนั้นโดยส่วนแห่งศีลว่า พระภิกษุนั้นไม่มีศีล แต่กิจสดับฟังพระพุทธวจนะนั้น ก็บริบูรณ์แก่พระภิกษุนั้น

   “พหุสฺสุโตปิ เจ โหติ” อนึ่งถ้าแลว่าพระภิกษุเป็นพหุสูตได้สดับพุทธวจนะมาก ตั้งอยู่ในพระจตุปาริสุทธิศีล ชนทั้งหลายก็สรรเสริญพระภิกษุนั้นโดยส่วนทั้งหลาย คือเป็นภิกษุมีศีลนั้นส่วนหนึ่ง คือเป็นพหุสูตนั้นส่วนหนึ่ง

   “โก ตํ นินฺทิตุมรหติ” บุคคลดังฤๅจะสมควรเพื่อจะนินทาพระภิกษุนั้น อันเป็นพหุสูตทรงไว้ซึ่งธรรม ประกอบด้วยปัญญา เป็นสาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดุจดังว่าท่อนทองชมพู เทพยดาแลมนุษย์ย่อมสรรเสริญพระภิกษุนั้น

   “พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต” ถึงท้าวมหาพรหมก็ย่อมสรรเสริญพระภิกษุนั้น เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com